โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และสะพานใหม่-คูคตลำลูกกา ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ที่ออกมายืนยันว่า จะเปิดประมูลหาผู้รับเหมาภายในปี 2555 นี้ หลังจากล่าช้ามานาน
ล่าสุด มีปมให้รฟม.ต้องแก้ปัญหาอีก คือ ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ที่มีการปรับเปลี่ยนจากสถานีเดิมที่อยู่บริเวณ สำนักงานเขตบางเขน ของ กรุงเทพมหานคร (กทม.) บนเนื้อที่ 20 ไร่ เป็นบริเวณวงเวียนหลักสี่ เนื่องจากกรุงเทพมหานคร ไม่ให้ใช้พื้นที่
หลังจากปรับแบบและปรับสถานีวัดพระศรีมหาธาตุใหม่ดังกล่าว จึงเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอต่อสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ให้กับคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ผลปรากฏว่า ที่ประชุม มีมติตีกลับแผนปรับสถานีวัดพระศรีมหาธาตุบริเวณวงเวียนหลักสี่ ให้กลับไปใช้ที่ดินเดิมคือ ที่ดินของสำนักงานเขตบางเขน สร้างเป็นสถานีวัดพระศรีมหาธาตุเนื่องจากมองว่าเหมาะสมกว่า
โดยให้รฟม. ไปเจรจากับกทม. เพื่อหาข้อยุติ โดยให้ความเห็นว่าทำเลใหม่ บดบังทัศนียภาพพื้นที่วงเวียน ที่ใกล้กับศาสนสถานและ อนุสรณ์สถานจำลองและอ้างเงื่อนไขที่ว่า บริเวณวงเวียนหลักสี่ โครงสร้างต่างๆไม่ว่าอาคารหรือรถไฟฟ้า สะพาน ต้องห้าม มีสิ่งปลูกสร้างในรัศมี 50 เมตร ในทางกลับกัน ที่ผ่านมารฟม.เคยเจรจากับกทม.ขอใช้พื้นที่แล้ว แต่กลับอ้างว่า ต้องนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น คือ รถเมล์ด่วน บีอาร์ที เมื่อ กทม.ไม่อนุญาตจึงจำเป็นต้องปรับตำแหน่งสถานีใหม่
อย่างไรก็ดี รฟม. ประเมินว่า สถานีวัดพระศรีฯแห่งใหม่ บริเวณวงเวียนหลักสี่ มีความเหมาะสม เพราะสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่มาจาก แคราย แจ้งวัฒนะไปมีนบุรีได้อีกด้วยผู้โดยสารไม่ต้องเดินไกล
ขณะเดียวกันได้ปรับแบบก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ขยายโครงการก่อสร้างออกไปจนถึงคูคต ซึ่งเพิ่มระยะทางอีก 6.7 กิโลเมตร และก่อสร้างเพิ่มอีก 2 สถานี จากเดิม 11 กิโลเมตร โดยให้เหตุผลว่า รฟม.ไม่สามารถที่จะใช้สถานที่บริเวณดอนเมืองก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและพื้นที่จอดรถไฟฟ้า (Depo) ได้ เนื่องจากฝ่ายทหารเกรงว่าจะกระทบกับความมั่นคงของประเทศ เพราะอยู่ใกล้กองทัพอากาศ ดังนั้น จึงต้องมีการปรับแบบก่อสร้างใหม่ โดยย้ายสถานที่ก่อสร้างดังกล่าวไปไว้ที่ย่านคูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี แทน ทั้งนี้ วงเงินก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นอีก กิโลเมตรละ 2 พันล้านบาท หรือประมาณ 1.34 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ดี จากการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา เบื้องต้นพบว่าปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม กรณีดำเนินการก่อสร้างช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จะมีประมาณ 202,000 คนต่อวัน และมีปริมาณเพิ่มเป็น 404,000 คนต่อวัน ในปี 2577
โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เริ่มจาก บริเวณ ห้าแยกลาดพร้าวใกล้กับเซ็นทรัลลาดพร้าว ไปตามถนนพหลโยธิน และถนนลำลูกกา ไปสิ้นสุดยังคูคต ลำลูกกาคลอง 4 ใกล้กับถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก
รถไฟฟ้าสายนี้ จะสร้างได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเจรจาขอใช้พื้นที่สำนักงานเขตบางเขน ระหว่างรฟม.และกทม. จะออกหัวออกก้อย ต้องติดตามห้ามกะพริบตาเพราะงานนี้อบอวลไปด้วยกลิ่นตุๆ ของการเมืองเข้าแทรกล้วนๆ !!!
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,704 12-14 มกราคม พ.ศ. 2555
ล่าสุด มีปมให้รฟม.ต้องแก้ปัญหาอีก คือ ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ที่มีการปรับเปลี่ยนจากสถานีเดิมที่อยู่บริเวณ สำนักงานเขตบางเขน ของ กรุงเทพมหานคร (กทม.) บนเนื้อที่ 20 ไร่ เป็นบริเวณวงเวียนหลักสี่ เนื่องจากกรุงเทพมหานคร ไม่ให้ใช้พื้นที่
หลังจากปรับแบบและปรับสถานีวัดพระศรีมหาธาตุใหม่ดังกล่าว จึงเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอต่อสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ให้กับคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ผลปรากฏว่า ที่ประชุม มีมติตีกลับแผนปรับสถานีวัดพระศรีมหาธาตุบริเวณวงเวียนหลักสี่ ให้กลับไปใช้ที่ดินเดิมคือ ที่ดินของสำนักงานเขตบางเขน สร้างเป็นสถานีวัดพระศรีมหาธาตุเนื่องจากมองว่าเหมาะสมกว่า
โดยให้รฟม. ไปเจรจากับกทม. เพื่อหาข้อยุติ โดยให้ความเห็นว่าทำเลใหม่ บดบังทัศนียภาพพื้นที่วงเวียน ที่ใกล้กับศาสนสถานและ อนุสรณ์สถานจำลองและอ้างเงื่อนไขที่ว่า บริเวณวงเวียนหลักสี่ โครงสร้างต่างๆไม่ว่าอาคารหรือรถไฟฟ้า สะพาน ต้องห้าม มีสิ่งปลูกสร้างในรัศมี 50 เมตร ในทางกลับกัน ที่ผ่านมารฟม.เคยเจรจากับกทม.ขอใช้พื้นที่แล้ว แต่กลับอ้างว่า ต้องนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น คือ รถเมล์ด่วน บีอาร์ที เมื่อ กทม.ไม่อนุญาตจึงจำเป็นต้องปรับตำแหน่งสถานีใหม่
อย่างไรก็ดี รฟม. ประเมินว่า สถานีวัดพระศรีฯแห่งใหม่ บริเวณวงเวียนหลักสี่ มีความเหมาะสม เพราะสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่มาจาก แคราย แจ้งวัฒนะไปมีนบุรีได้อีกด้วยผู้โดยสารไม่ต้องเดินไกล
ขณะเดียวกันได้ปรับแบบก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ขยายโครงการก่อสร้างออกไปจนถึงคูคต ซึ่งเพิ่มระยะทางอีก 6.7 กิโลเมตร และก่อสร้างเพิ่มอีก 2 สถานี จากเดิม 11 กิโลเมตร โดยให้เหตุผลว่า รฟม.ไม่สามารถที่จะใช้สถานที่บริเวณดอนเมืองก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและพื้นที่จอดรถไฟฟ้า (Depo) ได้ เนื่องจากฝ่ายทหารเกรงว่าจะกระทบกับความมั่นคงของประเทศ เพราะอยู่ใกล้กองทัพอากาศ ดังนั้น จึงต้องมีการปรับแบบก่อสร้างใหม่ โดยย้ายสถานที่ก่อสร้างดังกล่าวไปไว้ที่ย่านคูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี แทน ทั้งนี้ วงเงินก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นอีก กิโลเมตรละ 2 พันล้านบาท หรือประมาณ 1.34 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ดี จากการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา เบื้องต้นพบว่าปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม กรณีดำเนินการก่อสร้างช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จะมีประมาณ 202,000 คนต่อวัน และมีปริมาณเพิ่มเป็น 404,000 คนต่อวัน ในปี 2577
โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เริ่มจาก บริเวณ ห้าแยกลาดพร้าวใกล้กับเซ็นทรัลลาดพร้าว ไปตามถนนพหลโยธิน และถนนลำลูกกา ไปสิ้นสุดยังคูคต ลำลูกกาคลอง 4 ใกล้กับถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก
รถไฟฟ้าสายนี้ จะสร้างได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเจรจาขอใช้พื้นที่สำนักงานเขตบางเขน ระหว่างรฟม.และกทม. จะออกหัวออกก้อย ต้องติดตามห้ามกะพริบตาเพราะงานนี้อบอวลไปด้วยกลิ่นตุๆ ของการเมืองเข้าแทรกล้วนๆ !!!
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,704 12-14 มกราคม พ.ศ. 2555