กรมโยธาฯมั่นใจรัฐสภาใหม่อยู่ที่เกียกกาย แจงรื้อย้าย-ก่อสร้าง-ชดเชยคืบไปมาก ลุยต่ออายุประกาศกระทรวงมหาดไทย ห้ามสร้างตึกสูงรัศมีรอบที่ตั้งรัฐสภาใหม่ หากกทม.ร่างข้อบัญญัติรองรับไม่ทัน 28 มกราคม 2555 ชี้หากเกิดสุญญากาศ เอกชนก็ไม่กล้าพัฒนาตึกสูงบริเวณนี้ เพราะกลัวปัญหาซ้ำรอย แถมมีกฎอีไอเอคุม
นายเชตวัน อนันตสมบูรณ์ รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า กรณีที่ สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร ไม่สามารถออกข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารบางชนิดบางประเภท รัศมีรอบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่บริเวณเกียกกายได้ทันภายในวันที่ 28 มกราคม 2555 เพื่อรองรับ ประกาศกระทรวงมหาดไทยที่หมดอายุลง วันที่ 29 มกราคม 2555 ดังนั้นกรมจึงต้อง เสนอกระทรวงมหาดไทยอีกครั้ง เพื่อขอต่ออายุประกาศดังกล่าวเพื่อบังคับใช้ต่อไปจนกว่า ข้อบัญญัติกทม.จะออกมาบังคับใช้
สำหรับประกาศกระทรวงมหาดไทยห้ามก่อสร้างอาคารบางชนิดบางประเภท รัศมีรอบที่ตั้งสภาแห่งใหม่บริเวณเกียกกาย สาระสำคัญกำหนดให้บริเวณที่ 1 ระยะ 300 เมตร วัดจากรั้วของอาคารรัฐสภา ห้ามสร้างอาคารสูง เกิน 15 เมตรหรือ เกิน 5 ชั้น ระยะที่ 2 รัศมี ต่อจาก 300 เมตร หรือระยะที่ 1 ออกไปอีก 500 เมตร ห้ามก่อสร้างอาคารสูงเกิน 23 เมตรหรือเกิน 8 ชั้น
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า สถานที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ จะอยู่ที่เกียกกาย หรือ ย้ายไปอยู่ที่ใหม่ แต่กรมประเมินด้วยเหตุด้วยผลแล้ว เชื่อว่า รัฐสภาใหม่จะอยู่ที่เกียกกายเหมือนเดิม ทั้งนี้เนื่องจากภาพรวมพบว่า มีความคืบหน้าไปมากในทุกด้านไม่ว่าจะเรื่องของการเจรจาขอพื้นที่ได้ทั้งหมด 119 ไร่ แล้ว ยังมีความคืบหน้าในการรื้อถอนอาคารหลายแห่ง การก่อสร้างแฟลตทหาร โรงเรียนโยธินบูรณะการจ่ายชดเชย ที่เบิกจ่ายไปกว่า 7,000 ล้านบาท สำคัญยังมีการวางศิลาฤกษ์แล้ว และหากย้ายไปที่แห่งใหม่ เชื่อว่าจะต้องเสียเวลาหาพื้นที่ ไล่รื้ออาคารและชาวบ้านออกจากพื้นที่อีก รวมถึงการเริ่มนับหนึ่งใหม่ ยิ่งทำให้เสียเวลามากขึ้น
นายเชตวัน กล่าวต่อไปว่า แม้ขณะนี้ยังไม่มีข้อยุติ เรื่องย้ายไม่ย้ายอาคารรัฐสภาใหม่ กรมต้องเร่งร่างประกาศมหาดไทย เพื่อควบคุมพื้นที่ดังกล่าวต่อไป เพราะรัฐยังขาดความชัดเจน คาดว่าจะใช้เวลา 3 วัน ในการยกร่าง และเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย พิจารณาเห็นชอบ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.1) นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ลงนาม หรือกระทรวงมหาดไทยสามารถขยายอายุประกาศกระทรวงต่อไปได้เลย
"ที่จริงแล้ว หากต้องการบังคับใช้ต่อ จะต้องออกเป็นกฎกระทรวงหรือให้ท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ บังคับใช้ต่อไปในระยะยาว แต่หากเห็นว่าบริเวณดังกล่าวไม่ควรมีกฎระเบียบข้อบังคับควบคุมอายุประกาศกระทรวงก็หมดไปโดยปริยายเพราะมีอายุแค่ 1ปี แต่เมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องควบคุมพื้นที่นั้นต่อ ขณะที่ ข้อบัญญัติท้องถิ่นยังไม่มีความพร้อม กรมโยธาฯก็สามารถต่ออายุประกาศกระทรวงมหาดไทยต่อได้ทันที โดยอาศัยอำนาจกฎหมายควบคุมอาคาร"
ทั้งนี้ ยืนยันว่าต้องขยายประกาศกระทรวงมหาดไทย ห้ามอาคารสูงต่ออีก 1 ปี เพราะจะเกิดสุญญากาศ แต่มองในมุมกลับกันเชื่อว่าแม้กฎหมายเปิดช่องให้พัฒนาตึกสูงได้ตามปกติ อย่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร แต่มั่นใจว่าไม่มีบริษัทพัฒนาที่ดินรายใดกล้าที่ จะเข้ามากว้านซื้อที่ดินพัฒนาเพราะกลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอย และไม่มีความชัดเจน ขณะเดียวกัน หากกฎระเบียบออกไม่ทัน หรือ ประกาศกระทรวงมหาดไทยไม่ผ่านการพิจารณาให้ต่ออายุอีกครั้ง จากคณะกรรมการกระทรวง โดยยืนยันจะรอข้อบัญญัติกทม. แต่ ยังมั่นใจว่ายังมีด่านของกฎระเบียบของอีไอเอ หรือ การขออนุญาตทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)ซึ่งการสร้างอาคารสูงขนาดใหญ่ได้ เช่น ขนาดพื้นที่เกิน 4,000 ตารางเมตร 80 ห้องขึ้นไป จะต้องขออนุญาตทำอีไอเอ ใช้เวลาไม่ต่ำ 1ปี หากผ่านจึงจะขออนุญาตก่อสร้างอาคารจากท้องถิ่นได้ "รัฐสภาจ่ายเงินทหารสร้างแฟลตใหม่ เพื่อขอใช้พื้นที่ หากมีความคืบหน้ามากเช่นนี้ เชื่อว่าคงไม่ย้ายจากเกียกกายไปที่อื่น โดยต้องมองจากข้อเท็จจริง มีการลงทุนไปมาก โรงเรียนก็ย้าย ทหารก็ย้าย หากไม่สร้างสภาที่เกียกกาย ต้องคืนพื้นที่ให้ทหาร เพราะทหารไม่ยอมแน่ ส่วนโรงเรียนหากนำไปพัฒนาอย่างอื่น จะติดกฎโซนนิ่งสถานศึกษา"
แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า สำนักผังเมืองกทม.ไม่สามารถออกข้อบัญญัติได้ทัน แต่ได้มีการเร่งรัด ทั้งนี้ หากออกไม่ทัน กรมโยธาฯสามารถใช้อำนาจกฎหมายควบคุมอาคารขยายประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวออกไปอีก 1 ปีได้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,710 2-4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
นายเชตวัน อนันตสมบูรณ์ รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า กรณีที่ สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร ไม่สามารถออกข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารบางชนิดบางประเภท รัศมีรอบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่บริเวณเกียกกายได้ทันภายในวันที่ 28 มกราคม 2555 เพื่อรองรับ ประกาศกระทรวงมหาดไทยที่หมดอายุลง วันที่ 29 มกราคม 2555 ดังนั้นกรมจึงต้อง เสนอกระทรวงมหาดไทยอีกครั้ง เพื่อขอต่ออายุประกาศดังกล่าวเพื่อบังคับใช้ต่อไปจนกว่า ข้อบัญญัติกทม.จะออกมาบังคับใช้
สำหรับประกาศกระทรวงมหาดไทยห้ามก่อสร้างอาคารบางชนิดบางประเภท รัศมีรอบที่ตั้งสภาแห่งใหม่บริเวณเกียกกาย สาระสำคัญกำหนดให้บริเวณที่ 1 ระยะ 300 เมตร วัดจากรั้วของอาคารรัฐสภา ห้ามสร้างอาคารสูง เกิน 15 เมตรหรือ เกิน 5 ชั้น ระยะที่ 2 รัศมี ต่อจาก 300 เมตร หรือระยะที่ 1 ออกไปอีก 500 เมตร ห้ามก่อสร้างอาคารสูงเกิน 23 เมตรหรือเกิน 8 ชั้น
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า สถานที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ จะอยู่ที่เกียกกาย หรือ ย้ายไปอยู่ที่ใหม่ แต่กรมประเมินด้วยเหตุด้วยผลแล้ว เชื่อว่า รัฐสภาใหม่จะอยู่ที่เกียกกายเหมือนเดิม ทั้งนี้เนื่องจากภาพรวมพบว่า มีความคืบหน้าไปมากในทุกด้านไม่ว่าจะเรื่องของการเจรจาขอพื้นที่ได้ทั้งหมด 119 ไร่ แล้ว ยังมีความคืบหน้าในการรื้อถอนอาคารหลายแห่ง การก่อสร้างแฟลตทหาร โรงเรียนโยธินบูรณะการจ่ายชดเชย ที่เบิกจ่ายไปกว่า 7,000 ล้านบาท สำคัญยังมีการวางศิลาฤกษ์แล้ว และหากย้ายไปที่แห่งใหม่ เชื่อว่าจะต้องเสียเวลาหาพื้นที่ ไล่รื้ออาคารและชาวบ้านออกจากพื้นที่อีก รวมถึงการเริ่มนับหนึ่งใหม่ ยิ่งทำให้เสียเวลามากขึ้น
นายเชตวัน กล่าวต่อไปว่า แม้ขณะนี้ยังไม่มีข้อยุติ เรื่องย้ายไม่ย้ายอาคารรัฐสภาใหม่ กรมต้องเร่งร่างประกาศมหาดไทย เพื่อควบคุมพื้นที่ดังกล่าวต่อไป เพราะรัฐยังขาดความชัดเจน คาดว่าจะใช้เวลา 3 วัน ในการยกร่าง และเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย พิจารณาเห็นชอบ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.1) นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ลงนาม หรือกระทรวงมหาดไทยสามารถขยายอายุประกาศกระทรวงต่อไปได้เลย
"ที่จริงแล้ว หากต้องการบังคับใช้ต่อ จะต้องออกเป็นกฎกระทรวงหรือให้ท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ บังคับใช้ต่อไปในระยะยาว แต่หากเห็นว่าบริเวณดังกล่าวไม่ควรมีกฎระเบียบข้อบังคับควบคุมอายุประกาศกระทรวงก็หมดไปโดยปริยายเพราะมีอายุแค่ 1ปี แต่เมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องควบคุมพื้นที่นั้นต่อ ขณะที่ ข้อบัญญัติท้องถิ่นยังไม่มีความพร้อม กรมโยธาฯก็สามารถต่ออายุประกาศกระทรวงมหาดไทยต่อได้ทันที โดยอาศัยอำนาจกฎหมายควบคุมอาคาร"
ทั้งนี้ ยืนยันว่าต้องขยายประกาศกระทรวงมหาดไทย ห้ามอาคารสูงต่ออีก 1 ปี เพราะจะเกิดสุญญากาศ แต่มองในมุมกลับกันเชื่อว่าแม้กฎหมายเปิดช่องให้พัฒนาตึกสูงได้ตามปกติ อย่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร แต่มั่นใจว่าไม่มีบริษัทพัฒนาที่ดินรายใดกล้าที่ จะเข้ามากว้านซื้อที่ดินพัฒนาเพราะกลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอย และไม่มีความชัดเจน ขณะเดียวกัน หากกฎระเบียบออกไม่ทัน หรือ ประกาศกระทรวงมหาดไทยไม่ผ่านการพิจารณาให้ต่ออายุอีกครั้ง จากคณะกรรมการกระทรวง โดยยืนยันจะรอข้อบัญญัติกทม. แต่ ยังมั่นใจว่ายังมีด่านของกฎระเบียบของอีไอเอ หรือ การขออนุญาตทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)ซึ่งการสร้างอาคารสูงขนาดใหญ่ได้ เช่น ขนาดพื้นที่เกิน 4,000 ตารางเมตร 80 ห้องขึ้นไป จะต้องขออนุญาตทำอีไอเอ ใช้เวลาไม่ต่ำ 1ปี หากผ่านจึงจะขออนุญาตก่อสร้างอาคารจากท้องถิ่นได้ "รัฐสภาจ่ายเงินทหารสร้างแฟลตใหม่ เพื่อขอใช้พื้นที่ หากมีความคืบหน้ามากเช่นนี้ เชื่อว่าคงไม่ย้ายจากเกียกกายไปที่อื่น โดยต้องมองจากข้อเท็จจริง มีการลงทุนไปมาก โรงเรียนก็ย้าย ทหารก็ย้าย หากไม่สร้างสภาที่เกียกกาย ต้องคืนพื้นที่ให้ทหาร เพราะทหารไม่ยอมแน่ ส่วนโรงเรียนหากนำไปพัฒนาอย่างอื่น จะติดกฎโซนนิ่งสถานศึกษา"
แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า สำนักผังเมืองกทม.ไม่สามารถออกข้อบัญญัติได้ทัน แต่ได้มีการเร่งรัด ทั้งนี้ หากออกไม่ทัน กรมโยธาฯสามารถใช้อำนาจกฎหมายควบคุมอาคารขยายประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวออกไปอีก 1 ปีได้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,710 2-4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555