กทพ. สนองนโยบาย "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" งัดพื้นที่ใต้ทางด่วน 5 แห่งพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคม นำร่องพื้นที่ "สุขุมวิท" 7,245 ตารางวา พัฒนารูปแบบผสมผสานทั้งสาธารณประโยชน์+เชิงพาณิชย์ ผุดศูนย์สุขภาพ ลานกีฬา เรียนรู้ โอท็อป เตรียมเปิดเช่าบูทร้านค้าเร็ว ๆ นี้
นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตามที่ได้มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) 6 ธันวาคม 2554 เห็นชอบหลักการแนวทางพัฒนาพื้นที่ใต้เขตทางด่วน เพื่อนำไปพัฒนาเพื่อสาธารณประโยชน์และในเชิงพาณิชย์ 5 บริเวณ ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 กทพ. ได้เสนอรายละเอียดให้ ครม.พิจารณาพื้นที่นำร่องคือ บริเวณสุขุมวิท หรือช่วงเพลินจิต ประมาณ 7,245 ตารางวา โดยกระทรวงสาธารณสุขขอใช้พื้นที่ 5 ปี พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก เช่น ลานกีฬา สนามเด็กเล่น ลานออกกำลังกาย ห้องสมุด ศูนย์เรียนรู้ การฝึกอาชีพ
นอกจากนี้ จะมีพื้นที่สำหรับเปิดขายสินค้าโอท็อปตามนโยบายรัฐบาลและ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เปิดโครงการเมื่อ 21 มกราคมที่ผ่านมา
"สำหรับร้านค้าโอท็อป กทพ.กำลังออกแบบร้านค้าและกำหนดค่าเช่า คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้ มีประมาณ 10 กว่าบูท"
นายอัยยณัฐกล่าวต่อว่า สำหรับพื้นที่ที่เหลืออีก 4 แห่ง ประกอบด้วย 1) บริเวณถนนสีลม 2) บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ซอยศาสนา 3) บริเวณถนนประดิษฐ์มนูธรรม และ 4) บริเวณทางเข้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษจตุโชติของทางพิเศษฉลองรัช (อาจณรงค์-รามอินทรา-วงแหวนรอบนอกตะวันออก)
ทั้งนี้ แผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ใต้ทางด่วน กทพ.ได้ว่าจ้างให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาและจัดทำแผนแม่บท โดยบริเวณ "ถนนสีลม" พื้นที่ 1,606 ตารางวา ตั้งแต่ถนนสีลมถึงสุรวงศ์ รูปแบบพัฒนาเป็นแบบผสมผสาน เช่น ทางเท้า สวนพักผ่อน ลานโล่งสาธารณะ ลานกีฬาชุมชน และเพื่อธุรกิจ เช่น ตลาดชุมชน ตลาดอาหาร ตลาดสินค้า มอลล์เล็ก ๆ ที่จอดรถ ศูนย์บริการรถขนส่ง ที่จอดรถและร้านค้าขนาดเล็ก ลานจอดรถในระยะสั้นและระยะยาว
"บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ซอยศาสนา" พื้นที่ 15,791 ตารางวา จุดเริ่มต้นจากสวนพญาไทภิรมย์ไล่ไปจนถึงด่านพหลโยธิน 2 แนวคิดการพัฒนาจะเน้นการขนส่งสาธารณะขนาดเล็ก เพราะย่านนี้เป็นศูนย์รวมการคมนาคม เช่น ศูนย์รถตู้ จะมีโถงพักรอผู้โดยสาร ห้องจำหน่ายตั๋ว ห้องน้ำ ร้านค้าเครื่องดื่ม และพื้นที่สวน พื้นที่พาณิชยกรรม เน้นขายอาหารและสินค้า
"บริเวณถนนประดิษฐ์มนูธรรม" พื้นที่ 108,946 ตารางวา เริ่มต้นจากซอยศูนย์วิจัยจนถึงถนนรามอินทรา แนวคิดการพัฒนา เช่น ศูนย์กีฬา ลานกิจกรรม และส่วนบริการ ลานจอดรถ ตลาดนัด สวนหย่อม
และ "บริเวณทางเข้าด่านจตุโชติ" พื้นที่ 43,699 ตารางวา เหมาะพัฒนาเป็นจุดพักรถ ภายในจะมีสถานีบริการน้ำมัน ร้านค้า ลานจอดรถ จุดซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ที่ครบครันด้านบริการ รวมถึงเป็นจุดรองรับการขนส่งสินค้า โลจิสติกส์ด้วย เนื่องจากอยู่ในเส้นทางที่เข้า-ออกเมืองได้สะดวก
นายอัยยณัฐกล่าวตอนท้ายว่า ในส่วนของรายได้รวมในส่วนค่าเช่าพื้นที่ใต้เขตทาง ปี 2555 น่าจะเท่ากับปี 2554 ที่มีรายได้ประมาณ 140 ล้านบาท แม้ว่าปีนี้จะมีการพัฒนาพื้นที่ใต้เขตทางเป็นเชิงพาณิชย์ด้วย แต่คาดว่าจะยังไม่มีผลทำให้รายได้เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะส่วนใหญ่เน้นใช้ประโยชน์เพื่อสังคมเป็นหลัก
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตามที่ได้มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) 6 ธันวาคม 2554 เห็นชอบหลักการแนวทางพัฒนาพื้นที่ใต้เขตทางด่วน เพื่อนำไปพัฒนาเพื่อสาธารณประโยชน์และในเชิงพาณิชย์ 5 บริเวณ ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 กทพ. ได้เสนอรายละเอียดให้ ครม.พิจารณาพื้นที่นำร่องคือ บริเวณสุขุมวิท หรือช่วงเพลินจิต ประมาณ 7,245 ตารางวา โดยกระทรวงสาธารณสุขขอใช้พื้นที่ 5 ปี พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก เช่น ลานกีฬา สนามเด็กเล่น ลานออกกำลังกาย ห้องสมุด ศูนย์เรียนรู้ การฝึกอาชีพ
นอกจากนี้ จะมีพื้นที่สำหรับเปิดขายสินค้าโอท็อปตามนโยบายรัฐบาลและ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เปิดโครงการเมื่อ 21 มกราคมที่ผ่านมา
"สำหรับร้านค้าโอท็อป กทพ.กำลังออกแบบร้านค้าและกำหนดค่าเช่า คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้ มีประมาณ 10 กว่าบูท"
นายอัยยณัฐกล่าวต่อว่า สำหรับพื้นที่ที่เหลืออีก 4 แห่ง ประกอบด้วย 1) บริเวณถนนสีลม 2) บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ซอยศาสนา 3) บริเวณถนนประดิษฐ์มนูธรรม และ 4) บริเวณทางเข้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษจตุโชติของทางพิเศษฉลองรัช (อาจณรงค์-รามอินทรา-วงแหวนรอบนอกตะวันออก)
ทั้งนี้ แผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ใต้ทางด่วน กทพ.ได้ว่าจ้างให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาและจัดทำแผนแม่บท โดยบริเวณ "ถนนสีลม" พื้นที่ 1,606 ตารางวา ตั้งแต่ถนนสีลมถึงสุรวงศ์ รูปแบบพัฒนาเป็นแบบผสมผสาน เช่น ทางเท้า สวนพักผ่อน ลานโล่งสาธารณะ ลานกีฬาชุมชน และเพื่อธุรกิจ เช่น ตลาดชุมชน ตลาดอาหาร ตลาดสินค้า มอลล์เล็ก ๆ ที่จอดรถ ศูนย์บริการรถขนส่ง ที่จอดรถและร้านค้าขนาดเล็ก ลานจอดรถในระยะสั้นและระยะยาว
"บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ซอยศาสนา" พื้นที่ 15,791 ตารางวา จุดเริ่มต้นจากสวนพญาไทภิรมย์ไล่ไปจนถึงด่านพหลโยธิน 2 แนวคิดการพัฒนาจะเน้นการขนส่งสาธารณะขนาดเล็ก เพราะย่านนี้เป็นศูนย์รวมการคมนาคม เช่น ศูนย์รถตู้ จะมีโถงพักรอผู้โดยสาร ห้องจำหน่ายตั๋ว ห้องน้ำ ร้านค้าเครื่องดื่ม และพื้นที่สวน พื้นที่พาณิชยกรรม เน้นขายอาหารและสินค้า
"บริเวณถนนประดิษฐ์มนูธรรม" พื้นที่ 108,946 ตารางวา เริ่มต้นจากซอยศูนย์วิจัยจนถึงถนนรามอินทรา แนวคิดการพัฒนา เช่น ศูนย์กีฬา ลานกิจกรรม และส่วนบริการ ลานจอดรถ ตลาดนัด สวนหย่อม
และ "บริเวณทางเข้าด่านจตุโชติ" พื้นที่ 43,699 ตารางวา เหมาะพัฒนาเป็นจุดพักรถ ภายในจะมีสถานีบริการน้ำมัน ร้านค้า ลานจอดรถ จุดซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ที่ครบครันด้านบริการ รวมถึงเป็นจุดรองรับการขนส่งสินค้า โลจิสติกส์ด้วย เนื่องจากอยู่ในเส้นทางที่เข้า-ออกเมืองได้สะดวก
นายอัยยณัฐกล่าวตอนท้ายว่า ในส่วนของรายได้รวมในส่วนค่าเช่าพื้นที่ใต้เขตทาง ปี 2555 น่าจะเท่ากับปี 2554 ที่มีรายได้ประมาณ 140 ล้านบาท แม้ว่าปีนี้จะมีการพัฒนาพื้นที่ใต้เขตทางเป็นเชิงพาณิชย์ด้วย แต่คาดว่าจะยังไม่มีผลทำให้รายได้เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะส่วนใหญ่เน้นใช้ประโยชน์เพื่อสังคมเป็นหลัก
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ