เศรษฐกิจซึ่งย่ำแย่ในยุโรป ทำให้ตลาดบ้านในประเทศส่วนใหญ่กู่ไม่กลับ โดยเฉพาะที่สเปนซึ่งได้รับผลกระทบหนักมา 2-3 ปีตั้งแต่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ โดยมีบ้านค้างสต๊อกเหลือขายนับล้านหน่วย เปรียบเทียบกันแล้ว ปัญหาตลาดบ้านของไทยดูเป็นเด็กๆ ไปเลย
แต่ไหนแต่ไร สเปนเป็นประเทศที่ชาวต่างชาตินิยมไปท่องเที่ยว ทั้งคนอเมริกัน คนเอเชีย และยุโรป โดยเฉพาะชาวยุโรปชาติอื่นๆ นิยมไปซื้อบ้านพักตากอากาศหรือบ้านหลังที่สองไว้มาก จนบริษัทพัฒนาที่อยู่อาศัยในสเปนสร้างบ้านออกมาขายกันมากมายทั้งแนวราบแนวสูงจนเพลิน แต่เมื่อเผชิญวิกฤตจนสถานะการเงินของทั้งสหรัฐและของชาติยุโรปส่วนใหญ่ย่ำแย่ หลายประเทศถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ สถาบันการเงินมีปัญหา ต้องทำ Stress Test กันหลายรอบ เม็ดเงินสนับสนุนโครงการจากสถาบันการเงินจึงเหือดแห้งไปด้วย ในแง่ผู้บริโภคก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลตนเอง เช่นถูกรีดภาษีเพิ่ม ถูกลดสวัสดิการ ถูกลดเงินบำเหน็จบำนาญ ไปจนถึงขั้นตกงาน จนเกิดการประท้วงวุ่นวายไปหลายพื้นที่ ดังนั้น กำลังซื้อจากทั้งในประเทศและจากต่างประเทศจึงหายวับ สเปนจึงเกิดฟองสบู่ตลาดบ้านที่แตกไปแล้ว
ปัญหาแบบเดียวกับสเปนเกิดขึ้นที่ประเทศกรีซด้วยตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา มาตรการรัดเข็มขัดของกรีซงัดเอาเรื่องการเก็บภาษีแบบขั้นบันไดสำหรับบ้านหรูมาใช้ จนราคาบ้านหรูลดลงกว่าครึ่งจากราคาเดิม ทางการเมืองก็ประท้วงกันจนเกิดจลาจล ราคาบ้านหล่นวูบในทุกเมือง ก่อนหน้านั้นตลาดบ้านเฟื่องมาก ไม่น่าเชื่อว่าสินเชื่อบ้านคงค้างมีขนาดใหญ่มากถึงประมาณร้อยละ 30 ของ GDP ทั้งประเทศกรีซเมื่อปี 2550 ทั้งๆ ที่7 ปีก่อนหน้านั้นมีแค่ประมาณร้อยละ 8 แต่หลังจากปี 2550 สินเชื่อบ้านคงค้างก็แทบไม่เติบโตแล้ว (สำหรับของประเทศไทย ขณะนี้สินเชื่อบ้านคงค้างมีประมาณ 2 ล้านล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของ GDP ที่มีประมาณ 10 ล้านล้านบาท)
สเปนและกรีซจึงเป็นสองประเทศที่ตลาดบ้านย่ำแย่ที่สุดขณะนี้ แต่ในประเทศอื่นๆ ก็ใช่ว่าจะดีไอร์แลนด์ก็มีปัญหามาก แต่ตลาดเล็กกว่า อิตาลีซึ่งถูกหั่นเครดิตด้วยก็พบว่าราคาบ้านตกลงมาเมื่อเทียบราคาจริง แต่อัตราส่วนความเป็นเจ้าของบ้านของชาวอิตาลีสูงมากถึงร้อยละ 80 และถือว่าความเป็นหนี้สินเชื่อบ้านยังน้อย แม้ยอดสินเชื่อบ้านคงค้างอยู่ที่ประมาณร้อยละ 22 สูงกว่าของไทยเล็กน้อย
ส่วนเนเธอร์แลนด์ ประเทศที่คนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และนักวางแผนน้ำเมืองไทยมักเอ่ยอ้างถึงนั้น ราคาจริงของบ้านหลังหักค่าเงินเฟ้อถือว่าลดลง แต่ด้วยความที่บ้านส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ต่ำ รัฐบาลจึงเข้ามามีบทบาทในการวางแผนวางผังที่อยู่อาศัยมาก ถือว่ารัฐบาลยังดูแลได้อยู่ อังกฤษเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกกลางปีนี้ เจอผลกระทบไปแล้วก่อนหน้า แต่ช่วงขณะนี้คงได้อานิสงส์จากมหกรรมกีฬานี้ไปก่อนจนกว่าหลังกีฬาจบ หลังจากนั้นตัวใครตัวมัน เพราะงบประมาณจัดกีฬาที่บานเกินกว่าประมาณการเดิมอาจทำให้เกิดความกังวลว่าจะซ้ำรอยเจ้าภาพโอลิมปิกยุคหลังๆ ซึ่งจัดงานเสร็จทีไรมีปัญหาเศรษฐกิจตามมาทุกที ส่วนเยอรมนีพี่เอื้อยนั้นยกนิ้วให้ เพราะเศรษฐกิจยังแข็ง ตลาดบ้านจึงยังไม่มีปัญหา
โดยภาพรวม ตลาดบ้านในยุโรปเติบโตล้อกับตลาดในสหรัฐในระหว่างปี 2545-2551 แต่มาเสียเส้นหลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ขณะที่ช่วงปลายปี 2555 ต่อเนื่องต้นปี 2556 ตลาดในสหรัฐน่าจะ Bottom Out ในเชิงราคา แต่ตลาดในบรรดาประเทศยุโรปที่โดนหั่นเครดิตเพราะเสถียรภาพทรุดนั้น ตลาดน่าจะลากยาวออกไปนานกว่าในสหรัฐ
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
แต่ไหนแต่ไร สเปนเป็นประเทศที่ชาวต่างชาตินิยมไปท่องเที่ยว ทั้งคนอเมริกัน คนเอเชีย และยุโรป โดยเฉพาะชาวยุโรปชาติอื่นๆ นิยมไปซื้อบ้านพักตากอากาศหรือบ้านหลังที่สองไว้มาก จนบริษัทพัฒนาที่อยู่อาศัยในสเปนสร้างบ้านออกมาขายกันมากมายทั้งแนวราบแนวสูงจนเพลิน แต่เมื่อเผชิญวิกฤตจนสถานะการเงินของทั้งสหรัฐและของชาติยุโรปส่วนใหญ่ย่ำแย่ หลายประเทศถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ สถาบันการเงินมีปัญหา ต้องทำ Stress Test กันหลายรอบ เม็ดเงินสนับสนุนโครงการจากสถาบันการเงินจึงเหือดแห้งไปด้วย ในแง่ผู้บริโภคก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลตนเอง เช่นถูกรีดภาษีเพิ่ม ถูกลดสวัสดิการ ถูกลดเงินบำเหน็จบำนาญ ไปจนถึงขั้นตกงาน จนเกิดการประท้วงวุ่นวายไปหลายพื้นที่ ดังนั้น กำลังซื้อจากทั้งในประเทศและจากต่างประเทศจึงหายวับ สเปนจึงเกิดฟองสบู่ตลาดบ้านที่แตกไปแล้ว
ปัญหาแบบเดียวกับสเปนเกิดขึ้นที่ประเทศกรีซด้วยตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา มาตรการรัดเข็มขัดของกรีซงัดเอาเรื่องการเก็บภาษีแบบขั้นบันไดสำหรับบ้านหรูมาใช้ จนราคาบ้านหรูลดลงกว่าครึ่งจากราคาเดิม ทางการเมืองก็ประท้วงกันจนเกิดจลาจล ราคาบ้านหล่นวูบในทุกเมือง ก่อนหน้านั้นตลาดบ้านเฟื่องมาก ไม่น่าเชื่อว่าสินเชื่อบ้านคงค้างมีขนาดใหญ่มากถึงประมาณร้อยละ 30 ของ GDP ทั้งประเทศกรีซเมื่อปี 2550 ทั้งๆ ที่7 ปีก่อนหน้านั้นมีแค่ประมาณร้อยละ 8 แต่หลังจากปี 2550 สินเชื่อบ้านคงค้างก็แทบไม่เติบโตแล้ว (สำหรับของประเทศไทย ขณะนี้สินเชื่อบ้านคงค้างมีประมาณ 2 ล้านล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของ GDP ที่มีประมาณ 10 ล้านล้านบาท)
สเปนและกรีซจึงเป็นสองประเทศที่ตลาดบ้านย่ำแย่ที่สุดขณะนี้ แต่ในประเทศอื่นๆ ก็ใช่ว่าจะดีไอร์แลนด์ก็มีปัญหามาก แต่ตลาดเล็กกว่า อิตาลีซึ่งถูกหั่นเครดิตด้วยก็พบว่าราคาบ้านตกลงมาเมื่อเทียบราคาจริง แต่อัตราส่วนความเป็นเจ้าของบ้านของชาวอิตาลีสูงมากถึงร้อยละ 80 และถือว่าความเป็นหนี้สินเชื่อบ้านยังน้อย แม้ยอดสินเชื่อบ้านคงค้างอยู่ที่ประมาณร้อยละ 22 สูงกว่าของไทยเล็กน้อย
ส่วนเนเธอร์แลนด์ ประเทศที่คนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และนักวางแผนน้ำเมืองไทยมักเอ่ยอ้างถึงนั้น ราคาจริงของบ้านหลังหักค่าเงินเฟ้อถือว่าลดลง แต่ด้วยความที่บ้านส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ต่ำ รัฐบาลจึงเข้ามามีบทบาทในการวางแผนวางผังที่อยู่อาศัยมาก ถือว่ารัฐบาลยังดูแลได้อยู่ อังกฤษเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกกลางปีนี้ เจอผลกระทบไปแล้วก่อนหน้า แต่ช่วงขณะนี้คงได้อานิสงส์จากมหกรรมกีฬานี้ไปก่อนจนกว่าหลังกีฬาจบ หลังจากนั้นตัวใครตัวมัน เพราะงบประมาณจัดกีฬาที่บานเกินกว่าประมาณการเดิมอาจทำให้เกิดความกังวลว่าจะซ้ำรอยเจ้าภาพโอลิมปิกยุคหลังๆ ซึ่งจัดงานเสร็จทีไรมีปัญหาเศรษฐกิจตามมาทุกที ส่วนเยอรมนีพี่เอื้อยนั้นยกนิ้วให้ เพราะเศรษฐกิจยังแข็ง ตลาดบ้านจึงยังไม่มีปัญหา
โดยภาพรวม ตลาดบ้านในยุโรปเติบโตล้อกับตลาดในสหรัฐในระหว่างปี 2545-2551 แต่มาเสียเส้นหลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ขณะที่ช่วงปลายปี 2555 ต่อเนื่องต้นปี 2556 ตลาดในสหรัฐน่าจะ Bottom Out ในเชิงราคา แต่ตลาดในบรรดาประเทศยุโรปที่โดนหั่นเครดิตเพราะเสถียรภาพทรุดนั้น ตลาดน่าจะลากยาวออกไปนานกว่าในสหรัฐ
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์