สายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันยังส่อเค้าวุ่นไม่เลิก วงในเผยสร้างเขื่อนนานเป็นปี เหตุศาลปกครองสูงสุดชี้สัญญาเป็นโมฆะ อีกทั้งมติครม.ยังไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้รับเหมาไม่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น แต่ร.ฟ.ท.ยังเดินหน้าว่าจ้างที่ปรึกษาบริหาร แถมยังส่อแววไม่มีหัวรถจักรวิ่งให้บริการเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ลุ้น"จารุพงศ์" ชี้ขาดส่วนช่วงบางซื่อ-รังสิต เรื่องทุบทิ้งตอม่อโฮปเวลล์ยังเป็นปัญหา เผย AIT ยืนยันใช้งานได้อีก 50 ปี ล่าสุดมีเอกชนพร้อมทุบให้ฟรีแลกกับการนำเหล็กไปขาย
แหล่งข่าวระดับสูงการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันและช่วงบางซื่อ-รังสิต ยังส่อเค้าวุ่นไม่จบโดยเตรียมนำเสนอให้นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ชี้ขาดในการดำเนินการต่อไป สืบเนื่องจากกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดชี้สัญญาเป็นโมฆะ เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งผู้รับเหมาที่เข้าแข่งขันมีเพียง 2 ราย โดย 1 รายไม่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น โดยไม่มีหนังสือรับรองแต่ยังพบว่าการรถไฟฯให้ผู้รับเหมาเข้าพื้นที่ก่อสร้างนานกว่า 1 ปีแล้วซึ่งเป็นการสุ่มเสี่ยงว่าสร้างไปโดยไม่ถูกต้อง
"ล่าสุดยังพบอีกว่าการรถไฟฯเตรียมว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการรถไฟชานเมืองช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ทั้งๆที่เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จยังไม่แน่ใจว่าจะมีหัวรถจักรมาวิ่งให้บริการเนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินการยังไม่ได้รับการแก้ไขและยังไม่มีความชัดเจนอีกหลายเรื่องโดยเฉพาะประเด็นการจัดซื้อหัวรถจักรและเรื่องระบบอาณัติสัญญาณที่ต้องไปใช้ร่วมกับช่วงบางซื่อ-รังสิต แต่ช่วงดังกล่าวอาจล่าช้าหรือไม่ได้ก่อสร้างเนื่องจากทับซ้อนพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ปัจจุบันโครงการช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันนี้ยังล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้มาก มีการประมูลล่าช้าไปถึง 2 ปีจนส่งผลต้องเสียค่าใช้จ่ายให้ไจก้าเป็นค่าเบิกเงินกู้ล่าช้าไปแล้วกว่า 40 ล้านบาท"
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่าสำหรับความชัดเจนในโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตนั้น จนถึงขณะนี้การพิจารณาสัญญาต่างๆ ทั้งในส่วนของการรถไฟฯและไจก้ายังไม่คืบหน้าโดยเฉพาะสัญญา 3 ที่คณะกรรมการพิจารณาสัญญาในส่วนของการรถไฟฯเสนอให้จัดประมูลใหม่เนื่องจากรายละเอียดของผู้รับเหมาบางรายเกี่ยวโยงกันส่อไปในทางผิดระเบียบเงื่อนไขแต่ไจก้ายังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ
ประเด็นสำคัญยังมีการพิจารณาต่อไปอีกในเรื่องการทุบทิ้งเสาตอม่อโฮปเวลล์ที่กีดขวางการก่อสร้างซึ่งต้องใช้งบประมาณมากถึง 11,000 ล้านบาท ก่อนส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาจะสร้างเสาตอม่อใหม่ ล่าสุดนั้นสถาบันเอไอทีก็ยืนยันว่าสามารถใช้งานได้อีก 50 ปี ไม่ต้องทุบทิ้งทั้งหมด มีเพียงบางต้นเท่านั้นที่จำเป็นต้องทุบทิ้งไป
"ขณะนี้ยังรับทราบว่ามีเอกชนเสนอทุบทิ้งให้ฟรีพร้อมกับมอบเงินอีกจำนวนหนึ่งให้การรถไฟฯเพื่อขอแลกกับการนำเหล็กที่ได้จากการทุบตอม่อไปขายแทน แต่ที่ยังเป็นปัญหามากกว่านั้นคือไปกีดขวางพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ที่จะเริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อ โดยคาดว่าอาจต้องมีการพิจารณาทบทวนโครงการรถไฟชานเมืองในช่วงบางซื่อ-รังสิตอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปเนื่องจากช่วงที่พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้นำเสนอให้ไปก่อสร้างสถานีไฮสปีดเทรนที่เชียงราก จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแทน แต่ยังต้องรอความชัดเจนนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่อีกครั้ง"
ทั้งนี้รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันผู้รับเหมาในการก่อสร้างเส้นทางนี้คือ กลุ่มกิจการร่วมค้ายูนิค-ซุนวู (บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือUNIQ และ CHUNWO CONSTRUCTION & ENGINEERING CO.,LTD) ผู้รับจ้างเริ่มปฏิบัติงานตามสัญญา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 โดยมีกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด เป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง วงเงินค่าก่อสร้าง 8,749 ล้านบาท มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 17.77% อัตราตอบแทนทางด้านการเงินที่ประมาณ 8% เป็นโครงการที่สืบเนื่องมาจากโครงการระบบขนส่งมวลชนและทางด่วนเชื่อมโยงฝั่งกรุงเทพมหานครและธนบุรี โดยใช้พื้นที่เขตทางรถไฟในการพัฒนาโครงการ แนวเส้นทางโครงการมีทั้งทางรถไฟระดับดินและทางรถไฟยกระดับ โดยระดับดินเริ่มต้นจากบริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนนสวนผัก ไปตามแนวทางรถไฟสายใต้ผ่านถนนราชพฤกษ์ ข้ามคลองบางกอกน้อยไปจนถึงซอยหมู่บ้านภาณุรังสี ระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร จากนั้นจะเป็นทางยกระดับข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ แม่น้ำเจ้าพระยา ถนนประชาราษฎร์สาย 1 ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ถนนประชาชื่น ข้ามคลองประปา สิ้นสุดที่จุดเชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทางประมาณ 7.7 กิโลเมตร
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,708 26-28 มกราคม พ.ศ. 2555
แหล่งข่าวระดับสูงการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันและช่วงบางซื่อ-รังสิต ยังส่อเค้าวุ่นไม่จบโดยเตรียมนำเสนอให้นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ชี้ขาดในการดำเนินการต่อไป สืบเนื่องจากกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดชี้สัญญาเป็นโมฆะ เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งผู้รับเหมาที่เข้าแข่งขันมีเพียง 2 ราย โดย 1 รายไม่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น โดยไม่มีหนังสือรับรองแต่ยังพบว่าการรถไฟฯให้ผู้รับเหมาเข้าพื้นที่ก่อสร้างนานกว่า 1 ปีแล้วซึ่งเป็นการสุ่มเสี่ยงว่าสร้างไปโดยไม่ถูกต้อง
"ล่าสุดยังพบอีกว่าการรถไฟฯเตรียมว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการรถไฟชานเมืองช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ทั้งๆที่เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จยังไม่แน่ใจว่าจะมีหัวรถจักรมาวิ่งให้บริการเนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินการยังไม่ได้รับการแก้ไขและยังไม่มีความชัดเจนอีกหลายเรื่องโดยเฉพาะประเด็นการจัดซื้อหัวรถจักรและเรื่องระบบอาณัติสัญญาณที่ต้องไปใช้ร่วมกับช่วงบางซื่อ-รังสิต แต่ช่วงดังกล่าวอาจล่าช้าหรือไม่ได้ก่อสร้างเนื่องจากทับซ้อนพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ปัจจุบันโครงการช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันนี้ยังล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้มาก มีการประมูลล่าช้าไปถึง 2 ปีจนส่งผลต้องเสียค่าใช้จ่ายให้ไจก้าเป็นค่าเบิกเงินกู้ล่าช้าไปแล้วกว่า 40 ล้านบาท"
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่าสำหรับความชัดเจนในโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตนั้น จนถึงขณะนี้การพิจารณาสัญญาต่างๆ ทั้งในส่วนของการรถไฟฯและไจก้ายังไม่คืบหน้าโดยเฉพาะสัญญา 3 ที่คณะกรรมการพิจารณาสัญญาในส่วนของการรถไฟฯเสนอให้จัดประมูลใหม่เนื่องจากรายละเอียดของผู้รับเหมาบางรายเกี่ยวโยงกันส่อไปในทางผิดระเบียบเงื่อนไขแต่ไจก้ายังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ
ประเด็นสำคัญยังมีการพิจารณาต่อไปอีกในเรื่องการทุบทิ้งเสาตอม่อโฮปเวลล์ที่กีดขวางการก่อสร้างซึ่งต้องใช้งบประมาณมากถึง 11,000 ล้านบาท ก่อนส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาจะสร้างเสาตอม่อใหม่ ล่าสุดนั้นสถาบันเอไอทีก็ยืนยันว่าสามารถใช้งานได้อีก 50 ปี ไม่ต้องทุบทิ้งทั้งหมด มีเพียงบางต้นเท่านั้นที่จำเป็นต้องทุบทิ้งไป
"ขณะนี้ยังรับทราบว่ามีเอกชนเสนอทุบทิ้งให้ฟรีพร้อมกับมอบเงินอีกจำนวนหนึ่งให้การรถไฟฯเพื่อขอแลกกับการนำเหล็กที่ได้จากการทุบตอม่อไปขายแทน แต่ที่ยังเป็นปัญหามากกว่านั้นคือไปกีดขวางพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ที่จะเริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อ โดยคาดว่าอาจต้องมีการพิจารณาทบทวนโครงการรถไฟชานเมืองในช่วงบางซื่อ-รังสิตอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปเนื่องจากช่วงที่พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้นำเสนอให้ไปก่อสร้างสถานีไฮสปีดเทรนที่เชียงราก จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแทน แต่ยังต้องรอความชัดเจนนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่อีกครั้ง"
ทั้งนี้รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันผู้รับเหมาในการก่อสร้างเส้นทางนี้คือ กลุ่มกิจการร่วมค้ายูนิค-ซุนวู (บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือUNIQ และ CHUNWO CONSTRUCTION & ENGINEERING CO.,LTD) ผู้รับจ้างเริ่มปฏิบัติงานตามสัญญา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 โดยมีกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด เป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง วงเงินค่าก่อสร้าง 8,749 ล้านบาท มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 17.77% อัตราตอบแทนทางด้านการเงินที่ประมาณ 8% เป็นโครงการที่สืบเนื่องมาจากโครงการระบบขนส่งมวลชนและทางด่วนเชื่อมโยงฝั่งกรุงเทพมหานครและธนบุรี โดยใช้พื้นที่เขตทางรถไฟในการพัฒนาโครงการ แนวเส้นทางโครงการมีทั้งทางรถไฟระดับดินและทางรถไฟยกระดับ โดยระดับดินเริ่มต้นจากบริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนนสวนผัก ไปตามแนวทางรถไฟสายใต้ผ่านถนนราชพฤกษ์ ข้ามคลองบางกอกน้อยไปจนถึงซอยหมู่บ้านภาณุรังสี ระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร จากนั้นจะเป็นทางยกระดับข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ แม่น้ำเจ้าพระยา ถนนประชาราษฎร์สาย 1 ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ถนนประชาชื่น ข้ามคลองประปา สิ้นสุดที่จุดเชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทางประมาณ 7.7 กิโลเมตร
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,708 26-28 มกราคม พ.ศ. 2555