กรุงเทพฯ : AREA ตอกย้ำอาคารชุดใจกลางเมืองยังไม่ล้นตลาด เผยปี 53 ขายไปแล้ว 81% ทั้งระบบเหลือรอขายเพียง 14,961 หน่วย จี้ใช้กฎหมายดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาและคุ้มครองเงินดาวน์อย่างจริงจัง ป้องกันความเสี่ยงเหตุแบงก์ปล่อยกู้สูง
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหารศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA เปิดเผยว่า ภาพรวมอาคารชุดใจกลางเมืองทั้งระบบ ทั้งที่เปิดใหม่และโครงการเดิมที่ยังเปิดขายอยู่มี 78,485 หน่วย รวมมูลค่า 328,276 ล้านบาท พบว่าขายไปแล้ว 63,524 หน่วย หรือ 81% เหลือรอขายเพียง 14,961 หน่วย
ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนของปี 2553 นั้นมีอาคารชุดเปิดขายใหม่ถึง 59,769 หน่วย รวมมูลค่า 140,420 ล้านบาท และภายในเดือนเดียวมีผู้จองซื้อแล้วถึง 53% เหลืออยู่เพียง 47% แสดงให้เห็นว่ามีการจองซื้อกันตามแรงโฆษณาสูงมาก และความต้องการห้องชุดมีมากโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2553 โดยเกิดขึ้นถึง 41,395 หน่วย (69% ของจำนวนอาคารชุดที่เปิดใหม่ทั้งปี) รวมมูลค่า 94,058 (67% ของมูลค่าอาคารชุดที่เปิดใหม่ทั้งปี)
อาคารชุดใจกลางเมืองที่เปิดใหม่เฉพาะในช่วง 5 เดือนหลังของปี 2553 (กรกฎาคม-พฤศจิกายน) มีมากถึง 23,970 หน่วย รวมมูลค่า 71,083 ล้านบาท เฉลี่ยราคาหน่วยละ 3 ล้านบาท และปรากฏว่าในช่วงเดือนแรกที่เปิดขายสามารถขายได้แล้วถึง 53% แสดงว่าสถานการณ์การขายไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด
สำหรับอาคารชุดที่มีราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยระบุว่ามีเปิดใหม่ถึง 70,000-75,000 หน่วยนั้น พบว่ามีเปิดใหม่ในช่วง 11 เดือนเพียง 47,023 หน่วย รวมมูลค่า 72,391 ล้านบาท ส่วนใหญ่เพิ่งเปิดในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ถึง 32,977 หน่วย รวมมูลค่า 52,578 ล้านบาท และโครงการตั้งอยู่ใจกลางเมืองมีจำนวนเพียง 15,804 หน่วย รวมมูลค่า 30,419 ล้านบาท
นอกจากนี้การสำรวจยังครอบคลุมห้องชุดจำนวน 40,027 หน่วย โดยพบว่าในจำนวนนี้มีผู้เข้าอยู่แล้ว 31,584 หน่วย หรือ 79% ของทั้งหมด แสดงว่าสินค้าเหล่านี้มีผู้ใช้สอยจริงโดยเจ้าของซื้ออยู่ถึง 58% ผู้เช่าอยู่ 21% และห้องชุดว่าง 21% การเก็งกำไรจึงยังมีไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม แม้ภาวะขณะนี้การขายยังดีและซื้อเพื่อเข้าอยู่จริง แต่การที่สถาบันการเงินอำนวยสินเชื่อสูงถึง 90-110% ถือเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่ง ขณะที่ตลาดที่อยู่อาศัยยังไม่มีการคุ้มครองเงินดาวน์ของผู้ซื้อ (Escrow Account) แม้ประเทศไทยจะมีพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 แต่ในทางปฏิบัติยังไม่มีการบังคับใช้อย่างจริงจัง ดังนั้น หากเกิดเหตุเปราะบางทางเศรษฐกิจที่กระทบต่อตลาดอสังหาฯขึ้นมาเช่นในอดีตจะทำให้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง
ที่มา หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหารศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA เปิดเผยว่า ภาพรวมอาคารชุดใจกลางเมืองทั้งระบบ ทั้งที่เปิดใหม่และโครงการเดิมที่ยังเปิดขายอยู่มี 78,485 หน่วย รวมมูลค่า 328,276 ล้านบาท พบว่าขายไปแล้ว 63,524 หน่วย หรือ 81% เหลือรอขายเพียง 14,961 หน่วย
ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนของปี 2553 นั้นมีอาคารชุดเปิดขายใหม่ถึง 59,769 หน่วย รวมมูลค่า 140,420 ล้านบาท และภายในเดือนเดียวมีผู้จองซื้อแล้วถึง 53% เหลืออยู่เพียง 47% แสดงให้เห็นว่ามีการจองซื้อกันตามแรงโฆษณาสูงมาก และความต้องการห้องชุดมีมากโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2553 โดยเกิดขึ้นถึง 41,395 หน่วย (69% ของจำนวนอาคารชุดที่เปิดใหม่ทั้งปี) รวมมูลค่า 94,058 (67% ของมูลค่าอาคารชุดที่เปิดใหม่ทั้งปี)
อาคารชุดใจกลางเมืองที่เปิดใหม่เฉพาะในช่วง 5 เดือนหลังของปี 2553 (กรกฎาคม-พฤศจิกายน) มีมากถึง 23,970 หน่วย รวมมูลค่า 71,083 ล้านบาท เฉลี่ยราคาหน่วยละ 3 ล้านบาท และปรากฏว่าในช่วงเดือนแรกที่เปิดขายสามารถขายได้แล้วถึง 53% แสดงว่าสถานการณ์การขายไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด
สำหรับอาคารชุดที่มีราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยระบุว่ามีเปิดใหม่ถึง 70,000-75,000 หน่วยนั้น พบว่ามีเปิดใหม่ในช่วง 11 เดือนเพียง 47,023 หน่วย รวมมูลค่า 72,391 ล้านบาท ส่วนใหญ่เพิ่งเปิดในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ถึง 32,977 หน่วย รวมมูลค่า 52,578 ล้านบาท และโครงการตั้งอยู่ใจกลางเมืองมีจำนวนเพียง 15,804 หน่วย รวมมูลค่า 30,419 ล้านบาท
นอกจากนี้การสำรวจยังครอบคลุมห้องชุดจำนวน 40,027 หน่วย โดยพบว่าในจำนวนนี้มีผู้เข้าอยู่แล้ว 31,584 หน่วย หรือ 79% ของทั้งหมด แสดงว่าสินค้าเหล่านี้มีผู้ใช้สอยจริงโดยเจ้าของซื้ออยู่ถึง 58% ผู้เช่าอยู่ 21% และห้องชุดว่าง 21% การเก็งกำไรจึงยังมีไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม แม้ภาวะขณะนี้การขายยังดีและซื้อเพื่อเข้าอยู่จริง แต่การที่สถาบันการเงินอำนวยสินเชื่อสูงถึง 90-110% ถือเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่ง ขณะที่ตลาดที่อยู่อาศัยยังไม่มีการคุ้มครองเงินดาวน์ของผู้ซื้อ (Escrow Account) แม้ประเทศไทยจะมีพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 แต่ในทางปฏิบัติยังไม่มีการบังคับใช้อย่างจริงจัง ดังนั้น หากเกิดเหตุเปราะบางทางเศรษฐกิจที่กระทบต่อตลาดอสังหาฯขึ้นมาเช่นในอดีตจะทำให้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง
ที่มา หนังสือพิมพ์โลกวันนี้