"แสนสิริ" รับแล้ว ทุ่ม 800 ล. ซื้อที่ 40 ไร่ ที่ตั้งเดิมโครงการไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ เตรียมผุดบ้านหรูหลังละ 10 ล้าน สู้ศึก "จุฬางกูร-จึงรุ่งเรืองกิจ" งัดแลนด์แบงก์ผุดโปรเจ็กต์ใหม่
แหล่งข่าวจากบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" กรณีมีกระแสข่าวว่า แสนสิริได้วางมัดจำซื้อที่ดินในทำเลถนนบางนา-ตราด หลังจากผู้ซื้อรายเดิมคือบริษัท อาซือหม่ากรุ๊ป ได้วางเงินมัดจำ และมีแผนจะพัฒนาเป็นโครงการศูนย์ค้าส่งสินค้าจีนขนาดใหญ่ แต่สุดท้ายไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินว่า ยอมรับว่าบริษัทสนใจที่ดินแปลงดังกล่าว และก่อนหน้านี้ผู้บริหาร แสนสิริ ได้ติดต่อเจรจากับเจ้าของที่ดินดังกล่าว และวางมัดจำก้อนแรกไปแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างต่อรองราคา คาดว่าจะได้ข้อยุติและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ภายใน 1-2 เดือนนี้
สำหรับที่ดินที่ซื้อมีเนื้อที่ 40 ไร่ ติดถนนบางนา-ตราด ช่วงกิโลเมตร ที่ 11 ติดกับศูนย์จำหน่ายวัสดุบุญถาวร ราคาซื้อขายคาดว่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ตารางวาละ 50,000 บาท หรือไร่ละ 20 ล้านบาท รวมทั้งแปลงราคาประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่งช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินทำเลบางนาขยับสูงขึ้นมาก เดิมตารางวาละ 20,000-30,000 บาท ปัจจุบันปรับขึ้นเป็นประมาณ 50,000 บาท หรือปรับขึ้นเท่าตัว
เหตุผลที่สนใจเป็นเพราะแสนสิริมองว่าที่ดินแปลงนี้เป็นทำเลที่ดีตั้งอยู่ติดถนนบางนา-ตราด ที่สำคัญไม่มีปัญหาน้ำท่วมเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ประกอบกับปัจจุบันศักยภาพทำเลในแถบนี้ก็เปลี่ยนไปมาก หลังจากมีโครงการ "อิเกีย" เปิดให้บริการ และโครงการ "เมกะบางนา" ก็กำลังจะเปิดบริการเร็ว ๆ นี้ คาดว่าหลังจากโอนกรรมสิทธิ์แล้วจะต้องใช้เวลาออกแบบและขออนุญาตก่อสร้างอีกประมาณ 1 ปี น่าจะเปิดตัวโครงการได้ช่วงต้นปี 2556
แหล่งข่าวกล่าวว่าจากศักยภาพที่ดินเบื้องต้นมีแนวโน้มจะพัฒนาเป็นโครงการบ้านเดี่ยวระดับกลาง-บนเป็นหลัก แต่ยังไม่ได้สรุปว่าจะเป็นแบรนด์ "บุราสิริ" หรือ "เศรษฐสิริ" รวมถึงอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนพัฒนา ทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียมด้วย
ปัจจุบันแสนสิริมีโครงการในทำเลบางนา 2 โครงการคือ บุราสิริ อ่อนนุช-บางนา เป็นบ้านเดี่ยวระดับกลาง-บน ราคายูนิตละกว่า 4-9.5 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดขาย และเศรษฐสิริ บางนา-วงแหวน ซึ่งปิดการขายไปแล้ว
ผู้สื่อข่าวสำรวจความเคลื่อนไหวการลงทุนในทำเลถนนบางนา-ตราด พบว่าที่ผ่านมา แสนสิริ ขยายการพัฒนาโครงการในย่านนี้เพียงไม่กี่โครงการ ขณะที่ช่วงกว่า 5 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาโครงการในทำเลนี้ส่วนใหญ่เป็นโครงการบ้านเดี่ยวจับกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบน อาทิ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ อาทิ บ้านมัณฑนา บางนา, บ้านสีวลี บางนา ฯลฯ แมกโนเลีย ควอลิตี้ฯ ในกลุ่มซีพี เปิดตัวโครงการบ้านหรูแมกโนเลีย บางนา-ตราด เมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา, อนันดาฯ พัฒนาโครงการ "วินด์มิลล์" หลังผ่านพ้นวิกฤตฟองสบู่ ฯลฯ
อย่างไรก็ตามในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทำเลบางนา-ตราดได้พลิกโฉมไปจากเดิม หลังจากเมื่อ 2 ปีก่อนมีข่าวความเคลื่อนไหวการเข้ามาลงทุนของกลุ่ม"อิเกีย" และโครงการ "ไชน่าซิตี้" ของอาซือหม่ากรุ๊ป ส่งผลให้การซื้อที่ดินขึ้นโครงการทั้งที่อยู่อาศัยและพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามมาหลายโครงการ อาทิ กลุ่มเซ็นทรัลที่เปิดตัวศูนย์จำหน่ายวัสดุ"ไทวัสดุ" บนถนนบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 7 , ตระกูล "จุฬางกูร" เทกโอเวอร์ห้างอิมพีเรียลบางนา และใส่เงินลงทุน 1,100 ล้านบาท ปรับปรุงใหม่เป็นออฟฟิศให้เช่า
เอสบี เฟอร์นิเจอร์ เปิดเป็นศูนย์ดีไซน์สแควร์, แอล.พี.เอ็น.ฯ เปิดโครงการลุมพินีเมกะซิตี้บางนา บนเนื้อที่ 17 ไร่ รวม 1,123 ยูนิต, อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ เปิดตัวสาขาบางนา, ตระกูล "จึงรุ่งเรืองกิจ" ลงทุนโครงการทาวน์โฮม 4 ชั้น แบรนด์ "เอ็นเตอร์ไพรซ์ ปาร์ค" ริมถนนบางนา-ตราด กม.5 เสนาดีเวลลอปเม้นท์ ขึ้นโครงการคอนโดฯ เดอะนิช โมโนบางนา ฯลฯ
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
แหล่งข่าวจากบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" กรณีมีกระแสข่าวว่า แสนสิริได้วางมัดจำซื้อที่ดินในทำเลถนนบางนา-ตราด หลังจากผู้ซื้อรายเดิมคือบริษัท อาซือหม่ากรุ๊ป ได้วางเงินมัดจำ และมีแผนจะพัฒนาเป็นโครงการศูนย์ค้าส่งสินค้าจีนขนาดใหญ่ แต่สุดท้ายไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินว่า ยอมรับว่าบริษัทสนใจที่ดินแปลงดังกล่าว และก่อนหน้านี้ผู้บริหาร แสนสิริ ได้ติดต่อเจรจากับเจ้าของที่ดินดังกล่าว และวางมัดจำก้อนแรกไปแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างต่อรองราคา คาดว่าจะได้ข้อยุติและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ภายใน 1-2 เดือนนี้
สำหรับที่ดินที่ซื้อมีเนื้อที่ 40 ไร่ ติดถนนบางนา-ตราด ช่วงกิโลเมตร ที่ 11 ติดกับศูนย์จำหน่ายวัสดุบุญถาวร ราคาซื้อขายคาดว่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ตารางวาละ 50,000 บาท หรือไร่ละ 20 ล้านบาท รวมทั้งแปลงราคาประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่งช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินทำเลบางนาขยับสูงขึ้นมาก เดิมตารางวาละ 20,000-30,000 บาท ปัจจุบันปรับขึ้นเป็นประมาณ 50,000 บาท หรือปรับขึ้นเท่าตัว
เหตุผลที่สนใจเป็นเพราะแสนสิริมองว่าที่ดินแปลงนี้เป็นทำเลที่ดีตั้งอยู่ติดถนนบางนา-ตราด ที่สำคัญไม่มีปัญหาน้ำท่วมเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ประกอบกับปัจจุบันศักยภาพทำเลในแถบนี้ก็เปลี่ยนไปมาก หลังจากมีโครงการ "อิเกีย" เปิดให้บริการ และโครงการ "เมกะบางนา" ก็กำลังจะเปิดบริการเร็ว ๆ นี้ คาดว่าหลังจากโอนกรรมสิทธิ์แล้วจะต้องใช้เวลาออกแบบและขออนุญาตก่อสร้างอีกประมาณ 1 ปี น่าจะเปิดตัวโครงการได้ช่วงต้นปี 2556
แหล่งข่าวกล่าวว่าจากศักยภาพที่ดินเบื้องต้นมีแนวโน้มจะพัฒนาเป็นโครงการบ้านเดี่ยวระดับกลาง-บนเป็นหลัก แต่ยังไม่ได้สรุปว่าจะเป็นแบรนด์ "บุราสิริ" หรือ "เศรษฐสิริ" รวมถึงอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนพัฒนา ทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียมด้วย
ปัจจุบันแสนสิริมีโครงการในทำเลบางนา 2 โครงการคือ บุราสิริ อ่อนนุช-บางนา เป็นบ้านเดี่ยวระดับกลาง-บน ราคายูนิตละกว่า 4-9.5 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดขาย และเศรษฐสิริ บางนา-วงแหวน ซึ่งปิดการขายไปแล้ว
ผู้สื่อข่าวสำรวจความเคลื่อนไหวการลงทุนในทำเลถนนบางนา-ตราด พบว่าที่ผ่านมา แสนสิริ ขยายการพัฒนาโครงการในย่านนี้เพียงไม่กี่โครงการ ขณะที่ช่วงกว่า 5 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาโครงการในทำเลนี้ส่วนใหญ่เป็นโครงการบ้านเดี่ยวจับกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบน อาทิ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ อาทิ บ้านมัณฑนา บางนา, บ้านสีวลี บางนา ฯลฯ แมกโนเลีย ควอลิตี้ฯ ในกลุ่มซีพี เปิดตัวโครงการบ้านหรูแมกโนเลีย บางนา-ตราด เมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา, อนันดาฯ พัฒนาโครงการ "วินด์มิลล์" หลังผ่านพ้นวิกฤตฟองสบู่ ฯลฯ
อย่างไรก็ตามในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทำเลบางนา-ตราดได้พลิกโฉมไปจากเดิม หลังจากเมื่อ 2 ปีก่อนมีข่าวความเคลื่อนไหวการเข้ามาลงทุนของกลุ่ม"อิเกีย" และโครงการ "ไชน่าซิตี้" ของอาซือหม่ากรุ๊ป ส่งผลให้การซื้อที่ดินขึ้นโครงการทั้งที่อยู่อาศัยและพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามมาหลายโครงการ อาทิ กลุ่มเซ็นทรัลที่เปิดตัวศูนย์จำหน่ายวัสดุ"ไทวัสดุ" บนถนนบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 7 , ตระกูล "จุฬางกูร" เทกโอเวอร์ห้างอิมพีเรียลบางนา และใส่เงินลงทุน 1,100 ล้านบาท ปรับปรุงใหม่เป็นออฟฟิศให้เช่า
เอสบี เฟอร์นิเจอร์ เปิดเป็นศูนย์ดีไซน์สแควร์, แอล.พี.เอ็น.ฯ เปิดโครงการลุมพินีเมกะซิตี้บางนา บนเนื้อที่ 17 ไร่ รวม 1,123 ยูนิต, อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ เปิดตัวสาขาบางนา, ตระกูล "จึงรุ่งเรืองกิจ" ลงทุนโครงการทาวน์โฮม 4 ชั้น แบรนด์ "เอ็นเตอร์ไพรซ์ ปาร์ค" ริมถนนบางนา-ตราด กม.5 เสนาดีเวลลอปเม้นท์ ขึ้นโครงการคอนโดฯ เดอะนิช โมโนบางนา ฯลฯ
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ