กรมโยธาฯยอมรับ ดันผังเมืองรวมภาคคลุม 6 จังหวัด กทม.- ปริมณฑล รวมเป็นผืนเดียว หวังแก้น้ำท่วม -จราจรทำได้ยาก หลังมีการถ่ายโอนอำนาจให้ท้องถิ่นวางผังเอง เปิดช่องพัฒนาลักลั่นกัน ทำให้น้ำท่วม แต่หาทางออกด้วยการใช้วิธีเจรจา ให้แนวตะเข็บรอยต่อของเมืองใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกัน นายกสมาคมธุรกิจบ้านกระทุ้งรัฐ ต้องรวมผังเป็นหนึ่งเดียว
นายอุดม พัวสกุล อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากกรณีที่กรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันให้ยกร่างผังภาค หรือผังเมืองให้ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ประกอบด้วย นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสาคร รวมทั้งกลุ่มจังหวัดภาคอื่นๆด้วย ซึ่งที่ผ่านมากรมโยธาธิการฯได้ผลักดันเรื่องนี้มาโดยตลอด เพื่อให้การบังคับใช้ผังเมืองมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่แนวทางการวางผังภาค จะทำได้ยาก เพราะปัจจุบันมีกฎหมายกระจายอำนาจท้องถิ่น และส่วนใหญ่คนในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้วางผัง โดยกรมโยธาธิการฯจะเป็นที่ปรึกษา หรือพี่เลี้ยง
ทั้งนี้ที่ผ่านมา ทั้งกทม.และ ปริมณฑล ได้เคยหารือร่วมกันแล้ว และทุกฝ่ายเห็นสอดคล้องกันว่า น่าจะวางผังเมืองหรือ ผังภาค เพียงผังเดียวให้ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีปัญหาผังหมดอายุเพราะแต่ละจังหวัดจะประกาศใช้และหมดอายุไม่พร้อมกัน จากที่กำหนดให้แต่ละผังมีอายุการใช้ 5 ปี ต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ปีรวม 7 ปี และหากพ้นช่วงต่ออายุไม่สามารถประกาศผังใหม่ทัน สาเหตุอาจมาจากคัดค้านของคนในพื้นที่ จะส่งผลให้ผังเกิดสุญญากาศ สามารถเปิดช่องให้พัฒนาได้ทุกประเภท แม้จะมี กฎหมายควบคุมอาคาร เช่น เทศบัญญัติ ควบคุมก็ตาม แต่ในทางผังเมืองไม่สามารถบังคับได้
นอกจากนี้ พื้นที่แนวตะเข็บชายแดน หรือ พื้นที่รอยต่อของแต่ละจังหวัด มีปัญหาการกำหนดสีผังและการกำหนดข้อบังคับการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่สัมพันธ์กัน เช่น กทม.กับสมุทรปราการ อย่าง เขตบางนา กทม. กับบางพลี สมุทรปราการ พื้นที่สีส้ม หรือ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางเหมือนกัน แต่กทม. จะมีเรื่องของ FAR หรือสัดส่วนพื้นที่อาคารต่อพื้นที่ดินจำกัดความหนาแน่น แค่ 4.5 เท่า แต่สมุทรปราการพัฒนาได้ 10 เท่าของแปลงที่ดิน ซึ่งจะเห็นได้จากห้างใหญ่ๆ เกิดขึ้น เช่น อิเกียฯลฯ รวมถึง นนทบุรี ที่สามารถพัฒนาได้มาก เช่น พื้นที่บริเวณเมืองธานีแจ้งวัฒนา นนทบุรี เป็นพื้นที่สีน้ำตาลหรือ ที่ดินประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นมาก สร้างได้ 10 เท่าของแปลงที่ดิน แต่ข้ามมาฝั่งกทม. กลับเป็นพื้นที่สีเหลืองพัฒนาได้เฉพาะบ้านเดี่ยว และมี FAR ควบคุม ปัญหาดังกล่าว จึงทำให้ต่างคนต่างสร้าง พื้นที่ไหนสร้างได้มากก็อพยพไปที่นั่น เช่น การซื้อที่ดินบริเวณรอยต่อของจังหวัด เช่นเขตพื้นที่นนทบุรี เพราะเพียงข้ามเขตพื้นที่ กทม. ข้อบังคับผังเมืองก็ลดน้อยลง สามารถพัฒนาได้มาก เป็นต้น
ทางออกเรื่องนี้ กรมโยธาธิการฯและจังหวัดจะทำหน้าที่เจรจาเพื่อปรับให้ผังเมืองของแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณแนวชายขอบระหว่างรอยต่อจังหวัด มีความต่อเชื่อมสัมพันธ์กัน เช่น พื้นที่สีเขียวหรือ ที่ดินประเภทชนบท และเกษตรกรรมเหมือนกัน พื้นที่สีเหลือง หรือที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นเหมือนกัน รวมถึงการ กำหนด ค่าFAR เหมือนกัน เช่น กทม.ใช้ พื้นที่ปริมณฑลก็ต้องใช้ ซึ่งขณะนี้ ผังในจังหวัดปริมณฑลที่ยกร่างใหม่ เช่น นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม ได้นำค่าFAR เหมือนกับกทม.มาบังคับใช้ด้วยแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้เท่าเทียมกันไม่ลักลั่น
ด้านนายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ต้องการให้ภาครัฐวางผังเมืองให้ครอบคลุมทั้งกทม.และปริมณฑลให้เป็นผืนเดียวกัน เพื่อจะง่ายต่อการบังคับใช้ ไม่ลักลั่นในการพัฒนา และไม่ใช่ลักษณะต่างคนต่างทำ โดยยึดว่าเป็นพื้นที่ของตนเอง ซึ่งทุกอย่างต้องให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้จะเห็นตัวอย่างความลักลั่นในปัจจุบัน พื้นที่รอยต่อติดกัน แต่การพัฒนาแตกต่างโดยสิ้นเชิง เช่น ด้านเขตทวีวัฒนา คลองมหาสวัสดิ์ ตลิ่งชัน ของกทม.เป็นพื้นที่เขียวทแยงขาว หรื ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม พัฒนาบ้านเดี่ยวได้ 100 ตารางงวา ขณะที่ฝั่งนนทบุรี ห่างกันเพียงคลองกั้น เป็นพื้นที่สีเหลือง อย่างราชพฤกษ์ พัฒนาได้ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ อาคารสารพัดทำให้เกิดความหนาแน่น และเมื่อมีการถมดินต่างคนต่างสร้าง ก็ทำให้เกิดการขวางทางน้ำ อย่างไรก็ดีแม้ว่า กทม.จะกำหนดพื้นที่รอยต่อเป็นพื้นที่เขียวลาย พัฒนาเฉพาะบ้านเดี่ยว 100 ตารางวา เท่านั้น แต่ช่องโหว่กฎหมายผังเมืองกับกฎหมายอาคาร กฎหมายจัดสรรไม่สัมพันธ์กัน ทำให้ลักไก่สร้างอาคาร เว้น 50 เซนติเมตร และแบ่งแปลงไม่เกิน 9 แปลง
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,706 19-21 มกราคม พ.ศ. 2555
นายอุดม พัวสกุล อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากกรณีที่กรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันให้ยกร่างผังภาค หรือผังเมืองให้ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ประกอบด้วย นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสาคร รวมทั้งกลุ่มจังหวัดภาคอื่นๆด้วย ซึ่งที่ผ่านมากรมโยธาธิการฯได้ผลักดันเรื่องนี้มาโดยตลอด เพื่อให้การบังคับใช้ผังเมืองมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่แนวทางการวางผังภาค จะทำได้ยาก เพราะปัจจุบันมีกฎหมายกระจายอำนาจท้องถิ่น และส่วนใหญ่คนในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้วางผัง โดยกรมโยธาธิการฯจะเป็นที่ปรึกษา หรือพี่เลี้ยง
ทั้งนี้ที่ผ่านมา ทั้งกทม.และ ปริมณฑล ได้เคยหารือร่วมกันแล้ว และทุกฝ่ายเห็นสอดคล้องกันว่า น่าจะวางผังเมืองหรือ ผังภาค เพียงผังเดียวให้ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีปัญหาผังหมดอายุเพราะแต่ละจังหวัดจะประกาศใช้และหมดอายุไม่พร้อมกัน จากที่กำหนดให้แต่ละผังมีอายุการใช้ 5 ปี ต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ปีรวม 7 ปี และหากพ้นช่วงต่ออายุไม่สามารถประกาศผังใหม่ทัน สาเหตุอาจมาจากคัดค้านของคนในพื้นที่ จะส่งผลให้ผังเกิดสุญญากาศ สามารถเปิดช่องให้พัฒนาได้ทุกประเภท แม้จะมี กฎหมายควบคุมอาคาร เช่น เทศบัญญัติ ควบคุมก็ตาม แต่ในทางผังเมืองไม่สามารถบังคับได้
นอกจากนี้ พื้นที่แนวตะเข็บชายแดน หรือ พื้นที่รอยต่อของแต่ละจังหวัด มีปัญหาการกำหนดสีผังและการกำหนดข้อบังคับการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่สัมพันธ์กัน เช่น กทม.กับสมุทรปราการ อย่าง เขตบางนา กทม. กับบางพลี สมุทรปราการ พื้นที่สีส้ม หรือ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางเหมือนกัน แต่กทม. จะมีเรื่องของ FAR หรือสัดส่วนพื้นที่อาคารต่อพื้นที่ดินจำกัดความหนาแน่น แค่ 4.5 เท่า แต่สมุทรปราการพัฒนาได้ 10 เท่าของแปลงที่ดิน ซึ่งจะเห็นได้จากห้างใหญ่ๆ เกิดขึ้น เช่น อิเกียฯลฯ รวมถึง นนทบุรี ที่สามารถพัฒนาได้มาก เช่น พื้นที่บริเวณเมืองธานีแจ้งวัฒนา นนทบุรี เป็นพื้นที่สีน้ำตาลหรือ ที่ดินประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นมาก สร้างได้ 10 เท่าของแปลงที่ดิน แต่ข้ามมาฝั่งกทม. กลับเป็นพื้นที่สีเหลืองพัฒนาได้เฉพาะบ้านเดี่ยว และมี FAR ควบคุม ปัญหาดังกล่าว จึงทำให้ต่างคนต่างสร้าง พื้นที่ไหนสร้างได้มากก็อพยพไปที่นั่น เช่น การซื้อที่ดินบริเวณรอยต่อของจังหวัด เช่นเขตพื้นที่นนทบุรี เพราะเพียงข้ามเขตพื้นที่ กทม. ข้อบังคับผังเมืองก็ลดน้อยลง สามารถพัฒนาได้มาก เป็นต้น
ทางออกเรื่องนี้ กรมโยธาธิการฯและจังหวัดจะทำหน้าที่เจรจาเพื่อปรับให้ผังเมืองของแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณแนวชายขอบระหว่างรอยต่อจังหวัด มีความต่อเชื่อมสัมพันธ์กัน เช่น พื้นที่สีเขียวหรือ ที่ดินประเภทชนบท และเกษตรกรรมเหมือนกัน พื้นที่สีเหลือง หรือที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นเหมือนกัน รวมถึงการ กำหนด ค่าFAR เหมือนกัน เช่น กทม.ใช้ พื้นที่ปริมณฑลก็ต้องใช้ ซึ่งขณะนี้ ผังในจังหวัดปริมณฑลที่ยกร่างใหม่ เช่น นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม ได้นำค่าFAR เหมือนกับกทม.มาบังคับใช้ด้วยแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้เท่าเทียมกันไม่ลักลั่น
ด้านนายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ต้องการให้ภาครัฐวางผังเมืองให้ครอบคลุมทั้งกทม.และปริมณฑลให้เป็นผืนเดียวกัน เพื่อจะง่ายต่อการบังคับใช้ ไม่ลักลั่นในการพัฒนา และไม่ใช่ลักษณะต่างคนต่างทำ โดยยึดว่าเป็นพื้นที่ของตนเอง ซึ่งทุกอย่างต้องให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้จะเห็นตัวอย่างความลักลั่นในปัจจุบัน พื้นที่รอยต่อติดกัน แต่การพัฒนาแตกต่างโดยสิ้นเชิง เช่น ด้านเขตทวีวัฒนา คลองมหาสวัสดิ์ ตลิ่งชัน ของกทม.เป็นพื้นที่เขียวทแยงขาว หรื ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม พัฒนาบ้านเดี่ยวได้ 100 ตารางงวา ขณะที่ฝั่งนนทบุรี ห่างกันเพียงคลองกั้น เป็นพื้นที่สีเหลือง อย่างราชพฤกษ์ พัฒนาได้ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ อาคารสารพัดทำให้เกิดความหนาแน่น และเมื่อมีการถมดินต่างคนต่างสร้าง ก็ทำให้เกิดการขวางทางน้ำ อย่างไรก็ดีแม้ว่า กทม.จะกำหนดพื้นที่รอยต่อเป็นพื้นที่เขียวลาย พัฒนาเฉพาะบ้านเดี่ยว 100 ตารางวา เท่านั้น แต่ช่องโหว่กฎหมายผังเมืองกับกฎหมายอาคาร กฎหมายจัดสรรไม่สัมพันธ์กัน ทำให้ลักไก่สร้างอาคาร เว้น 50 เซนติเมตร และแบ่งแปลงไม่เกิน 9 แปลง
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,706 19-21 มกราคม พ.ศ. 2555