มวลน้ำก้อนมหึมาที่ไหลบ่า "ภาคเหนือ" ลงมา "ภาคกลางตอนล่าง" และกำลังตีโอบเข้าสู่กรุงเทพมหาคร (กทม.) เลาะตามพื้นที่ชายขอบเมือง จาก "ด้านเหนือ-ตะวันออก-ตะวันตก" คืบคลานเข้าสู่บริเวณชั้นในย่านใจกลางเมือง
มหาอุทกภัยในครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ทุกหย่อมหญ้า ยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจการค้าและโปรเจ็กต์ก่อสร้างที่กระจายอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ทั้งเขตกรุงเทพฯและ ปริมณฑลต้องเจอหางเลขถ้วนหน้า
จากการสำรวจพื้นที่มีหลายโครงการที่กำลังก่อสร้างต้องปิดไซต์หนีน้ำท่วม หลังปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่า จะเป็นรถไฟฟ้าหลากสี ถนนตัดใหม่ สะพานข้ามแยก และอุโมงค์ทางลอด
โดยหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ทั้งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรมทางหลวง และกรุงเทพ มหานคร (กทม.) ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วิกฤต "น้ำท่วม" เป็น "ตัวแปร" เร่งให้ผู้รับเหมาปิดไซต์เร็วขึ้น
เพราะก่อนหน้านี้แทบทุกงานได้รับผลกระทบมาได้ระยะหนึ่งแล้ว จากปัญหา "แรงงาน-วัสดุก่อสร้าง" ที่ขาดแคลน ประเมินว่าผลพวงน้ำท่วมครั้งนี้ทุกโปรเจ็กต์จะเลื่อนวันกำหนดแล้วเสร็จออกไปอย่างไม่มีกำหนด เพราะยังไม่รู้ว่าผู้รับเหมาจะหยุดงานก่อสร้างนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำจะลดลงเมื่อไหร่
รถไฟฟ้า 3 สายสำลักน้ำ
เริ่มที่ "รถไฟฟ้า" เมกะโปรเจ็กต์ของกระทรวงคมนาคม หนักสุดคือ "สายสีม่วง" (บางซื่อ-บางใหญ่) เพราะพื้นที่ก่อสร้างส่วนใหญ่อยู่ จ.นนทบุรี ถูกน้ำท่วมเกือบจะเต็ม 100% ตลอดระยะทาง 23 ก.ม. แทบจะไม่มีงานก่อสร้าง
"รณชิต แย้มสอาด" รักษาการผู้ว่าการ รฟม. อัพเดตสถานการณ์ล่าสุดว่า หยุดก่อสร้างไปแล้วสัญญาที่ 3 งานศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ 4 แห่งของกลุ่มเพาเวอร์ไลน์เพราะถูกน้ำท่วม อีก 2 สัญญามีแนวโน้มจะปิดเช่นกัน เพราะปัจจุบันผู้รับเหมาทำงานได้ไม่เต็มที่ขาดทั้งแรงงานและวัสดุก่อสร้าง
โดยสัญญาที่ 2 บนถนนรัตนาธิเบศร์ของซิโน-ไทยฯ ทำงานได้แค่ 5-10% เพราะออฟฟิศในซอยท่าอิฐถูกน้ำท่วม ขาดแคลนแรงงานและวัสดุก่อสร้าง เช่นเดียวกับสัญญาที่ 1ของ ช.การช่าง ล่าสุดทำงานได้ 20% ปัจจุบันงานก่อสร้างสายสีม่วงคืบหน้า 40% ช้าจากแผนอยู่ 5% หลังน้ำลดหากเร่งงานก่อสร้างไม่ได้จะต้องเลื่อนวันแล้วเสร็จและเปิดบริการจากปลายปี 2557 เป็นต้นปี 2558
ส่วน "สีน้ำเงิน" (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) หยุดสร้างบางพื้นที่ มี "สถานีบางพลัด" บนถนนจรัญสนิทวงศ์ ไซต์สัญญาที่ 3 ของ กลุ่มยูนิคฯ หลังถูกน้ำท่วมฉับพลันกินรัศมีหลายร้อยเมตร เมื่อเย็นวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา
ขณะที่สัญญาที่ 1ของอิตาเลียนไทยยังนิ่งเพราะอยู่ช่วงออกแบบ สัญญาที่ 2 ไซต์ของ ช.การช่าง เริ่มประสบกับน้ำท่วมขังสถานีสนามไชยจากมวลน้ำ ที่ทะลักมาจากเจ้าพระยา ส่วนสัญญาที่ 4 ของซิโน-ไทยฯ มีพื้นที่รอยต่อถนน "จรัญฯ-เพชรเกษม" ขณะนี้ยังไม่เห็นผล แต่บิ๊ก รฟม.ประเมินจากปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นจากสัญญาที่ 3 คาดว่าน่าจะลามมาถึงได้เช่นกัน "รองฯรณชิต" ประเมินภาพรวมของสีน้ำเงินแล้ว อาจจะต้องเลื่อนวันแล้วเสร็จจากสัญญาเดิมปี 2558 ออกไปเช่นกัน
มาดูไซต์ "สีแดง" (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ของการรถไฟฯ ผู้รับเหมาบริษัทยูนิคฯ มี "สถานีบางบำหรุ" ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่ง "ยุทธนา ทัพเจริญ" ผู้ว่าการรถไฟฯ บอกว่าได้หยุดก่อสร้างไปชั่วคราวรอจนกว่าน้ำจะลด แต่ไม่ถึงกับทำให้โครงการโดยรวมสะดุด เพราะงานก่อสร้างคืบหน้ากว่า 80% แล้ว แต่ หากผู้รับเหมาขอขยายเวลา อาจจะเลื่อนวันกำหนดเสร็จจากเดิมวันที่ 15 มกราคม 2555
อุโมงค์-ถนนตัดใหม่ ชะลอตรึม
ทางฝั่ง "กทม." มีหลายโปรเจ็กต์ในพื้นที่เสี่ยงถูกน้ำท่วม และมีแนวโน้มจะหยุดการก่อสร้าง ที่กำลังลุ้นระทึก คือไซต์ถนนตัดใหม่ "พหลโยธิน-รัตนโกสินทร์สมโภช" ระยะทาง 5.25 ก.ม. ติดกับ "ห้างบิ๊กซี สะพานใหม่" ที่กำลังจะถูกน้ำเหนือไหลมาจากรังสิตจู่โจม มีสิทธิ์ขยายเวลาออกไปจาก วันที่ 14 มิ.ย.2555
ในย่านธนบุรีที่มีพื้นที่ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยามีหลายไซต์ ทั้ง "อุโมงค์ ทางลอด" 2 แห่งคือ แยกบรมราชชนนี (ถนนจรัญฯ-บรมราชชนนี) กำหนดเสร็จกันยายน 2555 และสามแยกไฟฉาย (ถนนจรัญฯ-พรานนก) งานขยายถนนพุทธมณฑลสาย 3 กำหนดเสร็จพฤศจิกายน 2555 ด้านโซนตะวันออก อาทิ งานปรับปรุงถนนเลียบวารี เป็นต้น ทุกโครงการมีแนวโน้มที่ กทม.จะขยายการก่อสร้างออกไปอีกอย่างไม่มีกำหนด
ทล.เลื่อนเปิด "สะพานหลักสี่"
ขณะที่ "ทล.-กรมทางหลวง" มีไซต์ ที่น่าห่วงจากน้ำเหนือที่เริ่มประชิดเข้ามาคือ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยก วงเวียนหลักสี่ ตอนนี้ "หจก.แพร่วิศวกรรม" ผู้รับเหมาเร่งงานทั้งวันทั้งคืน แถมยังมาต้องเจอปัญหาอุปสรรคจากที่ประชาชนโดยรอบนำที่ว่างของไซต์เป็นที่จอดรถหนีน้ำท่วมชั่วคราว
"วันชัย ภาคลักษณ์" อธิบดีกรมทางหลวงกล่าวว่า ตอนนี้ผู้รับเหมา ยังเดินหน้าก่อสร้างอยู่ แต่หากว่าไซต์ก่อสร้างถูกน้ำท่วมจริง ๆ จะต้องหยุดอย่างแน่นอน และอาจจะต้องขยายเวลาก่อสร้างให้ผู้รับเหมาออกไปอีก ยังไม่รู้ว่าจะเป็นกี่วัน อย่างน้อยอาจจะเป็น 180 วันตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เคยอนุมัติทุกปี ซึ่งมีผลทำให้กรมฯต้องเลื่อนการเปิดใช้บริการจากเดิมจะเป็นปลายปีนี้ออกไปเป็นต้นปี 2555 แทน
ข่าวจากประชาชาติธุรกิจ 2 พ.ย. 2554
มหาอุทกภัยในครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ทุกหย่อมหญ้า ยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจการค้าและโปรเจ็กต์ก่อสร้างที่กระจายอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ทั้งเขตกรุงเทพฯและ ปริมณฑลต้องเจอหางเลขถ้วนหน้า
จากการสำรวจพื้นที่มีหลายโครงการที่กำลังก่อสร้างต้องปิดไซต์หนีน้ำท่วม หลังปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่า จะเป็นรถไฟฟ้าหลากสี ถนนตัดใหม่ สะพานข้ามแยก และอุโมงค์ทางลอด
โดยหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ทั้งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรมทางหลวง และกรุงเทพ มหานคร (กทม.) ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วิกฤต "น้ำท่วม" เป็น "ตัวแปร" เร่งให้ผู้รับเหมาปิดไซต์เร็วขึ้น
เพราะก่อนหน้านี้แทบทุกงานได้รับผลกระทบมาได้ระยะหนึ่งแล้ว จากปัญหา "แรงงาน-วัสดุก่อสร้าง" ที่ขาดแคลน ประเมินว่าผลพวงน้ำท่วมครั้งนี้ทุกโปรเจ็กต์จะเลื่อนวันกำหนดแล้วเสร็จออกไปอย่างไม่มีกำหนด เพราะยังไม่รู้ว่าผู้รับเหมาจะหยุดงานก่อสร้างนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำจะลดลงเมื่อไหร่
รถไฟฟ้า 3 สายสำลักน้ำ
เริ่มที่ "รถไฟฟ้า" เมกะโปรเจ็กต์ของกระทรวงคมนาคม หนักสุดคือ "สายสีม่วง" (บางซื่อ-บางใหญ่) เพราะพื้นที่ก่อสร้างส่วนใหญ่อยู่ จ.นนทบุรี ถูกน้ำท่วมเกือบจะเต็ม 100% ตลอดระยะทาง 23 ก.ม. แทบจะไม่มีงานก่อสร้าง
"รณชิต แย้มสอาด" รักษาการผู้ว่าการ รฟม. อัพเดตสถานการณ์ล่าสุดว่า หยุดก่อสร้างไปแล้วสัญญาที่ 3 งานศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ 4 แห่งของกลุ่มเพาเวอร์ไลน์เพราะถูกน้ำท่วม อีก 2 สัญญามีแนวโน้มจะปิดเช่นกัน เพราะปัจจุบันผู้รับเหมาทำงานได้ไม่เต็มที่ขาดทั้งแรงงานและวัสดุก่อสร้าง
โดยสัญญาที่ 2 บนถนนรัตนาธิเบศร์ของซิโน-ไทยฯ ทำงานได้แค่ 5-10% เพราะออฟฟิศในซอยท่าอิฐถูกน้ำท่วม ขาดแคลนแรงงานและวัสดุก่อสร้าง เช่นเดียวกับสัญญาที่ 1ของ ช.การช่าง ล่าสุดทำงานได้ 20% ปัจจุบันงานก่อสร้างสายสีม่วงคืบหน้า 40% ช้าจากแผนอยู่ 5% หลังน้ำลดหากเร่งงานก่อสร้างไม่ได้จะต้องเลื่อนวันแล้วเสร็จและเปิดบริการจากปลายปี 2557 เป็นต้นปี 2558
ส่วน "สีน้ำเงิน" (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) หยุดสร้างบางพื้นที่ มี "สถานีบางพลัด" บนถนนจรัญสนิทวงศ์ ไซต์สัญญาที่ 3 ของ กลุ่มยูนิคฯ หลังถูกน้ำท่วมฉับพลันกินรัศมีหลายร้อยเมตร เมื่อเย็นวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา
ขณะที่สัญญาที่ 1ของอิตาเลียนไทยยังนิ่งเพราะอยู่ช่วงออกแบบ สัญญาที่ 2 ไซต์ของ ช.การช่าง เริ่มประสบกับน้ำท่วมขังสถานีสนามไชยจากมวลน้ำ ที่ทะลักมาจากเจ้าพระยา ส่วนสัญญาที่ 4 ของซิโน-ไทยฯ มีพื้นที่รอยต่อถนน "จรัญฯ-เพชรเกษม" ขณะนี้ยังไม่เห็นผล แต่บิ๊ก รฟม.ประเมินจากปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นจากสัญญาที่ 3 คาดว่าน่าจะลามมาถึงได้เช่นกัน "รองฯรณชิต" ประเมินภาพรวมของสีน้ำเงินแล้ว อาจจะต้องเลื่อนวันแล้วเสร็จจากสัญญาเดิมปี 2558 ออกไปเช่นกัน
มาดูไซต์ "สีแดง" (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ของการรถไฟฯ ผู้รับเหมาบริษัทยูนิคฯ มี "สถานีบางบำหรุ" ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่ง "ยุทธนา ทัพเจริญ" ผู้ว่าการรถไฟฯ บอกว่าได้หยุดก่อสร้างไปชั่วคราวรอจนกว่าน้ำจะลด แต่ไม่ถึงกับทำให้โครงการโดยรวมสะดุด เพราะงานก่อสร้างคืบหน้ากว่า 80% แล้ว แต่ หากผู้รับเหมาขอขยายเวลา อาจจะเลื่อนวันกำหนดเสร็จจากเดิมวันที่ 15 มกราคม 2555
อุโมงค์-ถนนตัดใหม่ ชะลอตรึม
ทางฝั่ง "กทม." มีหลายโปรเจ็กต์ในพื้นที่เสี่ยงถูกน้ำท่วม และมีแนวโน้มจะหยุดการก่อสร้าง ที่กำลังลุ้นระทึก คือไซต์ถนนตัดใหม่ "พหลโยธิน-รัตนโกสินทร์สมโภช" ระยะทาง 5.25 ก.ม. ติดกับ "ห้างบิ๊กซี สะพานใหม่" ที่กำลังจะถูกน้ำเหนือไหลมาจากรังสิตจู่โจม มีสิทธิ์ขยายเวลาออกไปจาก วันที่ 14 มิ.ย.2555
ในย่านธนบุรีที่มีพื้นที่ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยามีหลายไซต์ ทั้ง "อุโมงค์ ทางลอด" 2 แห่งคือ แยกบรมราชชนนี (ถนนจรัญฯ-บรมราชชนนี) กำหนดเสร็จกันยายน 2555 และสามแยกไฟฉาย (ถนนจรัญฯ-พรานนก) งานขยายถนนพุทธมณฑลสาย 3 กำหนดเสร็จพฤศจิกายน 2555 ด้านโซนตะวันออก อาทิ งานปรับปรุงถนนเลียบวารี เป็นต้น ทุกโครงการมีแนวโน้มที่ กทม.จะขยายการก่อสร้างออกไปอีกอย่างไม่มีกำหนด
ทล.เลื่อนเปิด "สะพานหลักสี่"
ขณะที่ "ทล.-กรมทางหลวง" มีไซต์ ที่น่าห่วงจากน้ำเหนือที่เริ่มประชิดเข้ามาคือ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยก วงเวียนหลักสี่ ตอนนี้ "หจก.แพร่วิศวกรรม" ผู้รับเหมาเร่งงานทั้งวันทั้งคืน แถมยังมาต้องเจอปัญหาอุปสรรคจากที่ประชาชนโดยรอบนำที่ว่างของไซต์เป็นที่จอดรถหนีน้ำท่วมชั่วคราว
"วันชัย ภาคลักษณ์" อธิบดีกรมทางหลวงกล่าวว่า ตอนนี้ผู้รับเหมา ยังเดินหน้าก่อสร้างอยู่ แต่หากว่าไซต์ก่อสร้างถูกน้ำท่วมจริง ๆ จะต้องหยุดอย่างแน่นอน และอาจจะต้องขยายเวลาก่อสร้างให้ผู้รับเหมาออกไปอีก ยังไม่รู้ว่าจะเป็นกี่วัน อย่างน้อยอาจจะเป็น 180 วันตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เคยอนุมัติทุกปี ซึ่งมีผลทำให้กรมฯต้องเลื่อนการเปิดใช้บริการจากเดิมจะเป็นปลายปีนี้ออกไปเป็นต้นปี 2555 แทน
ข่าวจากประชาชาติธุรกิจ 2 พ.ย. 2554