นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน การขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ในช่วงปี 2557-2559 มี การก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายเส้นทางพร้อมกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครอย่างมาก ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ รับเหมาต้องมีการวางแผนจัดการจราจรร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างน้อยที่สุด
ทั้งนี้ ถนนพหลโยธินจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากเป็นแนวก่อสร้างหลักของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่คูคต) ระยะทาง 19.5 กิโลเมตรตลอดสาย และหากเกิดปัญหาจราจร จะกระทบต่อเนื่องไปถึงถนนรัชดา- ภิเษก ถนนลาดพร้าว และถนนวิภาวดี รังสิตที่เชื่อมกันเป็นวงแหวนด้วย โดยตามแผนขณะนี้พบว่ามี 3 จุดใหญ่ที่จะมีปัญหาจราจรอย่างมากคือ สี่แยกรัชโยธิน ซึ่งจะมีการทุบข้ามแยกสะพานรัชโยธินระหว่างก่อสร้างเพื่อปรับให้สอดคล้องกับโครงสร้างตอม่อของรถไฟฟ้า, สี่แยกเกษตร และช่วงอนุสาวรีย์หลักสี่ ซึ่งเป็นจุดที่เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)
"ปรกติทุกวันนี้ช่วงชั่วโมงเร่งด่วนถนนพหลโยธินไม่มีการก่อ สร้างก็รถติดอยู่แล้วแทบจะตลอดสายจนถึงอนุสาวรีย์หลักสี่ ประกอบ กับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นทุกปีขณะ ที่ถนนไม่มีเพิ่ม จึงต้องให้ความสำคัญต่อการจัดการจราจรอย่างมากในช่วง 3 ปี โดยอาจต้องหาพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อเบี่ยงการจราจรแทนถนนที่ถูกแบ่งไปเป็นพื้นที่ก่อสร้าง รวมถึงการวางแผนก่อสร้างของผู้รับเหมาเพื่อคืนผิวจราจรกลับมาโดยเร็วที่สุดต้องทำอย่างไร เป็นต้น
รวมทั้งมูลค่าโครงการที่เพิ่มขึ้นเพราะ ผู้รับเหมาต้องบริหารความเสี่ยงในการจัดการจราจรด้วย ซึ่งคน กทม. ต้องเจอสภาพจราจรติดขัดในช่วง 3 ปีนั้นแน่นอน แต่การก่อสร้างรถไฟฟ้าต้องเดินหน้าเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวและยั่งยืน ส่วนบัสเลนที่ผ่านมาทำแล้วไม่ค่อยได้ผล และถูกร้องเรียนเรื่องแบ่งพื้นที่ถนนที่มีน้อยอยู่แล้วออกไปให้รถเมล์ แม้จะเป็นวิธีที่ดีแต่ทำยาก" นายจุฬากล่าว
สำหรับรถไฟฟ้าที่เตรียมเสนอ ขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในปี 2555 เพื่อเปิดประมูลในปี2556 และเริ่มก่อสร้างในปี 2557 ประกอบด้วย 1.สายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ระยะทาง 19.5กิโลเมตร มูลค่าประมาณ 59,911.48 ล้านบาท 2.สายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) มูลค่าประมาณ 54,000 ล้านบาท
ขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะสามารถต่อขยายเส้นทางจากจุดสิ้นสุดเดิมที่มีนบุรีออกไปอีก 1 กิโลเมตร จนถึงสุวินทวงศ์ตามที่ ส.ส. ในพื้นที่ เรียกร้องได้หรือไม่ ซึ่งอาจจะแบ่งเป็น 2 เฟสเพื่อไม่ให้ล่าช้า เพราะการขยายเส้นทางจะต้องทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่ และต้องพิจารณาสถานที่ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงใหม่ 3.สายสีส้ม (ตลิ่งชันศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 17.5 กิโลเมตร และศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง 20 กิโลเมตร มูลค่าประมาณ 137,000 ล้านบาท
ที่มา: หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
"ปรกติทุกวันนี้ช่วงชั่วโมงเร่งด่วนถนนพหลโยธินไม่มีการก่อ สร้างก็รถติดอยู่แล้วแทบจะตลอดสายจนถึงอนุสาวรีย์หลักสี่ ประกอบ กับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นทุกปีขณะ ที่ถนนไม่มีเพิ่ม จึงต้องให้ความสำคัญต่อการจัดการจราจรอย่างมากในช่วง 3 ปี โดยอาจต้องหาพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อเบี่ยงการจราจรแทนถนนที่ถูกแบ่งไปเป็นพื้นที่ก่อสร้าง รวมถึงการวางแผนก่อสร้างของผู้รับเหมาเพื่อคืนผิวจราจรกลับมาโดยเร็วที่สุดต้องทำอย่างไร เป็นต้น
รวมทั้งมูลค่าโครงการที่เพิ่มขึ้นเพราะ ผู้รับเหมาต้องบริหารความเสี่ยงในการจัดการจราจรด้วย ซึ่งคน กทม. ต้องเจอสภาพจราจรติดขัดในช่วง 3 ปีนั้นแน่นอน แต่การก่อสร้างรถไฟฟ้าต้องเดินหน้าเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวและยั่งยืน ส่วนบัสเลนที่ผ่านมาทำแล้วไม่ค่อยได้ผล และถูกร้องเรียนเรื่องแบ่งพื้นที่ถนนที่มีน้อยอยู่แล้วออกไปให้รถเมล์ แม้จะเป็นวิธีที่ดีแต่ทำยาก" นายจุฬากล่าว
สำหรับรถไฟฟ้าที่เตรียมเสนอ ขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในปี 2555 เพื่อเปิดประมูลในปี2556 และเริ่มก่อสร้างในปี 2557 ประกอบด้วย 1.สายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ระยะทาง 19.5กิโลเมตร มูลค่าประมาณ 59,911.48 ล้านบาท 2.สายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) มูลค่าประมาณ 54,000 ล้านบาท
ขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะสามารถต่อขยายเส้นทางจากจุดสิ้นสุดเดิมที่มีนบุรีออกไปอีก 1 กิโลเมตร จนถึงสุวินทวงศ์ตามที่ ส.ส. ในพื้นที่ เรียกร้องได้หรือไม่ ซึ่งอาจจะแบ่งเป็น 2 เฟสเพื่อไม่ให้ล่าช้า เพราะการขยายเส้นทางจะต้องทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่ และต้องพิจารณาสถานที่ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงใหม่ 3.สายสีส้ม (ตลิ่งชันศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 17.5 กิโลเมตร และศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง 20 กิโลเมตร มูลค่าประมาณ 137,000 ล้านบาท
ที่มา: หนังสือพิมพ์โลกวันนี้