แบงก์เข้มสินเชื่อโครงการอสังหาฯ "เกียรตินาคิน" ชี้ตลาดเริ่มชะลอ อาจใช้เวลา 2 ปีระบายสต๊อกหมด "กสิกรฯ-ไทยพาณิชย์" เผยจุดเสี่ยง "ความสูงต่ำของที่ดิน-ระบบป้องกันน้ำท่วม" ผู้ประกอบการหวั่นแผนลงทุนใหม่สะดุด
นายธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ธนาคารอยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์ซื้อขายและการโอนกรรมสิทธิ์บ้านในโครงการพื้นที่ประสบภัยว่าผู้บริโภคจะยังคงตัดสินใจซื้อบ้านในโซนน้ำท่วมอยู่หรือไม่
หากตลาดซื้อขายบ้านชะลอตัว ธนาคารก็จะชะลอการปล่อยสินเชื่อโครงการ (พรีไฟแนนซ์) จนกว่าสัญญาณจะดีขึ้น ส่วนโครงการในพื้นที่น้ำไม่ท่วม ธนาคารยังคงพิจารณาปล่อยสินเชื่อตามปกติ ในเบื้องต้นประเมินแล้วว่า ขณะนี้เป็นภาวะช็อก หากเลวร้ายสุดคาดว่าบ้านในสต๊อกบนทำเลน้ำท่วมจะระบายหมดต้องใช้เวลา 1-2 ปี
นายธวัชไชยเปิดเผยว่า ปัจจุบันธนาคารปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบ การอสังหาริมทรัพย์รวมแล้ว 250 โครงการ จำนวนนี้เป็นโครงการที่ถูกน้ำท่วม 40 โครงการ หรือเกือบ 20% ซึ่งธนาคารไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยเชิญลูกค้าที่มีโครงการอยู่ในพื้นที่ประสบภัยมาเวิร์กช็อปหาทางออก ข้อสรุปที่ได้คือ น้ำท่วมใหญ่รอบนี้คงไม่ทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐาน หรือถ้าย้ายก็คงน้อยมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนจากซื้อบ้านไปซื้อคอนโดฯ แต่กำลังซื้อช่วงนี้หดหายไป ซึ่งเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อปี 2555 จะปล่อยกับลูกค้า 3 กลุ่ม คือ 1)อสังหาฯ 2)เช่าซื้อรถ และ 3)เอสเอ็มอี
สำหรับธุรกิจอสังหาฯเติบโตเพียง 5% ปีที่ผ่านมารวมสินเชื่อที่ปล่อยแล้วประมาณ 15,000-16,000 ล้านบาท ส่วนกลุ่มเช่าซื้อรถและเอสเอ็มอีน่าจะไปได้ เพราะมีมาตรการรถคันแรกและเอสเอ็มอีก็คงฟื้นตัวเร็ว โดยตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ 20%
"กสิกรฯ-ไทยพาณิชย์" เข้ม
นายวิศิน วณิชย์วรนันต์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้ธนาคารจะปล่อยสินเชื่อโครงการอย่างรัดกุมและละเอียดมากขึ้น โดยพิจารณาเพิ่มเติม 3 ข้อคือ 1)เป็นโครงการที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มหรือที่ดอน ที่ดินสูงจากระดับน้ำทะเลเท่าไหร่ หรืออยู่ในทำเลฟลัดเวย์ (ทางน้ำผ่าน) 2)โครงการมีมาตรการหรือระบบป้องกันน้ำท่วมอย่างไร และ 3)ความต้องการซื้อบ้านในพื้นที่ประสบภัย
เหตุผลเพราะธนาคารประเมินว่า ความต้องการซื้อบ้านในปีนี้จะชะลอตัวลง แต่ไม่สามารถประเมินได้ว่าจะกินเวลานานแค่ไหน โดยภาพรวมการลงทุนคอนโดฯจะแซงบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ 50-60% ทิศทางของกสิกรฯคงต้องจัดสัดส่วนการปล่อยพรีไฟแนนซ์คอนโดฯเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
นายสารัชต์ รัตนภรณ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวทำนองเดียวกันว่า การปล่อยพรีไฟแนนซ์โครงการในพื้นที่ประสบภัย ธนาคารจำเป็นต้องปล่อยสินเชื่ออย่างรัดกุมเช่นกัน โดยพิจารณาเพิ่มเติมอีก 2 ข้อคือ 1)เป็นทำเลในพื้นที่น้ำท่วมหรือไม่ และ 2)โครงการจัดทำระบบป้องกันน้ำท่วมดีหรือไม่ เช่น ถมดินสูงขึ้น สร้างกำแพงทึบ ฯลฯ
"เราต้องดูเป็นราย ๆ แบบ case by case ถ้าโครงการไหนไม่มีระบบป้องกันน้ำท่วมเลย การปล่อยสินเชื่อก็คงยาก โจทย์ตอนนี้เริ่มเปลี่ยนไป หลังเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่"
กูรูอสังหาฯชี้กระทบหนัก
นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้สถาบันการเงินเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อโครงการใหม่ ทั้งคอนโดมิเนียมและบ้านจัดสรรในพื้นที่น้ำท่วม และจับตาดูกันอยู่ว่า ยอดขายจะชะลอตัวนานถึง 1 ปีหรือไม่ ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ก็เข้มงวดกับผู้ประกอบการรายกลางรายเล็กอยู่แล้ว โอกาสโครงการใหม่จึงทำได้ยากขึ้น
"ก่อนหน้านี้ 3 สมาคมอสังหาฯก็ห่วงเรื่องการปล่อยโพสต์ไฟแนนซ์ (สินเชื่อผู้ซื้อบ้าน) และได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีไปแล้ว ส่วนเรื่องพรีไฟแนนซ์ตอนนี้ยังไม่มีทางออก เพราะคงไม่สามารถบังคับให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อตามปกติได้"
อสังหาฯชะลอขึ้นโครงการใหม่
นายสุทธิรักษ์ เสถียรภาพอยุทธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนาสิริกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า จากเดิมธนาคารเคยให้วงเงินสินเชื่อก้อนแรกสำหรับก่อสร้างบ้านตัวอย่างและบ้านในเฟสแรกไปพร้อม ๆ กัน แต่หลังเกิดน้ำท่วม การเบิกจ่ายสินเชื่อบ้านในเฟสแรก กลับลดลง เช่น เคยให้วงเงินสร้างบ้านเฟสแรก 30 ยูนิต ก็ลดลงเหลือ 20 ยูนิต
ล่าสุดธนาสิริยังไม่ได้หารือกับธนาคารพาณิชย์เรื่องขอพรีไฟแนนซ์ 4 โครงการใหม่ที่จะพัฒนาในปีนี้ เพราะกำลังรอดูสถานการณ์และจำนวนลูกค้าที่แวะเข้ามาชมบ้านตัวอย่าง หากแนวโน้มดีก็จะเริ่มพัฒนาเป็นบ้านเดี่ยวบ้านแฝด 150 ยูนิต
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจฉบับวันที่ 12 - 15 ม.ค. 2555
นายธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ธนาคารอยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์ซื้อขายและการโอนกรรมสิทธิ์บ้านในโครงการพื้นที่ประสบภัยว่าผู้บริโภคจะยังคงตัดสินใจซื้อบ้านในโซนน้ำท่วมอยู่หรือไม่
หากตลาดซื้อขายบ้านชะลอตัว ธนาคารก็จะชะลอการปล่อยสินเชื่อโครงการ (พรีไฟแนนซ์) จนกว่าสัญญาณจะดีขึ้น ส่วนโครงการในพื้นที่น้ำไม่ท่วม ธนาคารยังคงพิจารณาปล่อยสินเชื่อตามปกติ ในเบื้องต้นประเมินแล้วว่า ขณะนี้เป็นภาวะช็อก หากเลวร้ายสุดคาดว่าบ้านในสต๊อกบนทำเลน้ำท่วมจะระบายหมดต้องใช้เวลา 1-2 ปี
นายธวัชไชยเปิดเผยว่า ปัจจุบันธนาคารปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบ การอสังหาริมทรัพย์รวมแล้ว 250 โครงการ จำนวนนี้เป็นโครงการที่ถูกน้ำท่วม 40 โครงการ หรือเกือบ 20% ซึ่งธนาคารไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยเชิญลูกค้าที่มีโครงการอยู่ในพื้นที่ประสบภัยมาเวิร์กช็อปหาทางออก ข้อสรุปที่ได้คือ น้ำท่วมใหญ่รอบนี้คงไม่ทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐาน หรือถ้าย้ายก็คงน้อยมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนจากซื้อบ้านไปซื้อคอนโดฯ แต่กำลังซื้อช่วงนี้หดหายไป ซึ่งเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อปี 2555 จะปล่อยกับลูกค้า 3 กลุ่ม คือ 1)อสังหาฯ 2)เช่าซื้อรถ และ 3)เอสเอ็มอี
สำหรับธุรกิจอสังหาฯเติบโตเพียง 5% ปีที่ผ่านมารวมสินเชื่อที่ปล่อยแล้วประมาณ 15,000-16,000 ล้านบาท ส่วนกลุ่มเช่าซื้อรถและเอสเอ็มอีน่าจะไปได้ เพราะมีมาตรการรถคันแรกและเอสเอ็มอีก็คงฟื้นตัวเร็ว โดยตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ 20%
"กสิกรฯ-ไทยพาณิชย์" เข้ม
นายวิศิน วณิชย์วรนันต์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้ธนาคารจะปล่อยสินเชื่อโครงการอย่างรัดกุมและละเอียดมากขึ้น โดยพิจารณาเพิ่มเติม 3 ข้อคือ 1)เป็นโครงการที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มหรือที่ดอน ที่ดินสูงจากระดับน้ำทะเลเท่าไหร่ หรืออยู่ในทำเลฟลัดเวย์ (ทางน้ำผ่าน) 2)โครงการมีมาตรการหรือระบบป้องกันน้ำท่วมอย่างไร และ 3)ความต้องการซื้อบ้านในพื้นที่ประสบภัย
เหตุผลเพราะธนาคารประเมินว่า ความต้องการซื้อบ้านในปีนี้จะชะลอตัวลง แต่ไม่สามารถประเมินได้ว่าจะกินเวลานานแค่ไหน โดยภาพรวมการลงทุนคอนโดฯจะแซงบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ 50-60% ทิศทางของกสิกรฯคงต้องจัดสัดส่วนการปล่อยพรีไฟแนนซ์คอนโดฯเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
นายสารัชต์ รัตนภรณ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวทำนองเดียวกันว่า การปล่อยพรีไฟแนนซ์โครงการในพื้นที่ประสบภัย ธนาคารจำเป็นต้องปล่อยสินเชื่ออย่างรัดกุมเช่นกัน โดยพิจารณาเพิ่มเติมอีก 2 ข้อคือ 1)เป็นทำเลในพื้นที่น้ำท่วมหรือไม่ และ 2)โครงการจัดทำระบบป้องกันน้ำท่วมดีหรือไม่ เช่น ถมดินสูงขึ้น สร้างกำแพงทึบ ฯลฯ
"เราต้องดูเป็นราย ๆ แบบ case by case ถ้าโครงการไหนไม่มีระบบป้องกันน้ำท่วมเลย การปล่อยสินเชื่อก็คงยาก โจทย์ตอนนี้เริ่มเปลี่ยนไป หลังเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่"
กูรูอสังหาฯชี้กระทบหนัก
นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้สถาบันการเงินเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อโครงการใหม่ ทั้งคอนโดมิเนียมและบ้านจัดสรรในพื้นที่น้ำท่วม และจับตาดูกันอยู่ว่า ยอดขายจะชะลอตัวนานถึง 1 ปีหรือไม่ ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ก็เข้มงวดกับผู้ประกอบการรายกลางรายเล็กอยู่แล้ว โอกาสโครงการใหม่จึงทำได้ยากขึ้น
"ก่อนหน้านี้ 3 สมาคมอสังหาฯก็ห่วงเรื่องการปล่อยโพสต์ไฟแนนซ์ (สินเชื่อผู้ซื้อบ้าน) และได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีไปแล้ว ส่วนเรื่องพรีไฟแนนซ์ตอนนี้ยังไม่มีทางออก เพราะคงไม่สามารถบังคับให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อตามปกติได้"
อสังหาฯชะลอขึ้นโครงการใหม่
นายสุทธิรักษ์ เสถียรภาพอยุทธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนาสิริกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า จากเดิมธนาคารเคยให้วงเงินสินเชื่อก้อนแรกสำหรับก่อสร้างบ้านตัวอย่างและบ้านในเฟสแรกไปพร้อม ๆ กัน แต่หลังเกิดน้ำท่วม การเบิกจ่ายสินเชื่อบ้านในเฟสแรก กลับลดลง เช่น เคยให้วงเงินสร้างบ้านเฟสแรก 30 ยูนิต ก็ลดลงเหลือ 20 ยูนิต
ล่าสุดธนาสิริยังไม่ได้หารือกับธนาคารพาณิชย์เรื่องขอพรีไฟแนนซ์ 4 โครงการใหม่ที่จะพัฒนาในปีนี้ เพราะกำลังรอดูสถานการณ์และจำนวนลูกค้าที่แวะเข้ามาชมบ้านตัวอย่าง หากแนวโน้มดีก็จะเริ่มพัฒนาเป็นบ้านเดี่ยวบ้านแฝด 150 ยูนิต
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจฉบับวันที่ 12 - 15 ม.ค. 2555