วรรัตน์ พราวผกา"นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟินันเซียไซรัส วิเคราะห์กลุ่มรับเหมาก่อสร้างปี2555 ยังมีงานประมูลใหม่ แต่ต้นทุนกดดันจึงยังคงให้น้ำหนักลงทุนปกติ
แนวโน้มปี 2555 คาดว่ายังมีโอกาสขยายตัวจากงานประมูลใหม่ทั้งจากภาครัฐและเอกชน โดยมีทั้งงานรถไฟฟ้าและงานฟื้นฟูระบบป้องกันน้ำท่วม แต่ต้นทุนการก่อสร้างที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นทั้งค่าจ้างงานและค่าวัสดุก่อสร้างก็เป็นปัจจัยลบต่ออัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจลดลงโดยเฉลี่ย1% ซึ่งบริษัทที่มีงานในมือที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงจะกระทบน้อยกว่า
"เลือกหุ้นบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) เป็นหุ้นที่เลือกลงทุน เพราะทำกำไรสม่ำเสมอ งานในมือมีอัตรากำไรขั้นต้นดี ฐานะการเงินแกร่ง และสามารถรับงานได้ทั้งภาครัฐและเอกชน"
ทั้งนี้ การลงทุนขยายเครือข่ายรถไฟฟ้ายังช่วยสนับสนุนการก่อสร้างในระยะยาวโดยรัฐบาลมีแผนก่อสร้างรถไฟฟ้า10 สายให้แล้วเสร็จภายใน 7-8 ปี โดยทุกสายมีแผนจะเริ่มก่อสร้างและประมูลภายใน 4 ปี
ซึ่งในปี 2555 คาดว่าจะเปิดประมูลรถไฟฟ้า 4 สาย คือ สายแรก สายสีเขียว(หมอชิต-สะพานใหม่) วงเงิน 3.32 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเปิดประมูลไตรมาส 2 ปี 2555 สายที่สอง สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)มูลค่า 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเปิดประมูลครึ่งแรกปีหน้า สายที่สาม สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชันมีนบุรี วงเงิน 1.43 แสนล้านบาท สายที่สี่ สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 2.84 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเปิดประมูลช่วงครึ่งหลังปี 2555
นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่จะผลักดันในปี 2555 คือ โครงการรถไฟสายตะวันออก (บางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก)มูลค่า 3.7 หมื่นล้านบาท โครงการรถไฟรางคู่ 2 เส้นทาง คือ ช่วงมาบกะเบาชุมทางจิระ วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท และช่วงนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน วงเงิน 1.66 หมื่นล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯหนองคาย วงเงิน 9 หมื่นล้านบาท
การก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมของทั้งรัฐและเอกชนจะเป็นโอกาสสร้างรายได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยรัฐบาลมีแผนออกพระราชกำหนดกู้เงิน 2 แสนล้านบาท เพื่อฟื้นฟูและวางระบบป้องกันน้ำท่วมระยะเร่งด่วน คาดว่าจะดำเนินการได้ในปี2555 และจะออกพระราชบัญญัติกู้เงิน 6 แสนล้านบาท ในการวางโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ซึ่งรวมถึงระบบบริหารการจัดการน้ำ ซึ่งเป็นแผนระยะปานกลางถึงระยะยาว
นอกจากนี้ ยังมีโอกาสจากงานเอกชนในการสร้างเขื่อนคอนกรีตเพื่อป้องกันน้ำท่วมของนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วม7 แห่ง มูลค่าลงทุน 3,750 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มดำเนินงานในปี 2555
สำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้างปีนี้มูลค่าได้ชะลอไปจากการเบิกจ่ายที่ล่าช้าของภาครัฐ ส่วนภาคเอกชนยังเติบโตมูลค่าก่อสร้างรวมตามราคาตลาดใน 9 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 6.39 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนขณะที่มูลค่าก่อสร้างรวมที่ตามมูลค่าจริง 9 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 2.47 แสนล้านบาท ลดลง 5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนมูลค่างานก่อสร้างในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้มาจากภาครัฐ 46% เอกชน 54%โดยการลงทุนภาคก่อสร้างในปีนี้มาจากเอกชนมากกว่า
9 เดือนแรกปีนี้เอกชนมีการลงทุน1.33 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการลงทุนภาคที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ โดยส่วนใหญ่เป็นงานต่อเนื่องในโครงการคอนโดมิเนียม ส่วนภาครัฐการลงทุนลดลง15.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่1.13 แสนล้านบาท เพราะการเบิกจ่ายล่าช้าในโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 โดยหลายหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงแบบแปลนการก่อสร้าง เปลี่ยนแปลงรายการและสถานที่ก่อสร้าง รวมถึงการยกเลิกประกวดราคา และคาดว่าทั้งปีนี้การลงทุนภาคการก่อสร้างน่าจะทรงตัวจากปีก่อนเพราะอุทกภัยทำให้การก่อสร้างล่าช้าออกไป
ราคาวัสดุก่อสร้างประเภทเหล็กและซีเมนต์ในปี 2554 โดยเฉลี่ยปรับขึ้นประมาณ 12% จากปีก่อน ส่วนราคาวัสดุก่อสร้างอื่นๆ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5% จากปีก่อนขณะที่ปี 2555 คาดว่าแนวโน้มราคาวัสดุก่อสร้างอาจเพิ่มขึ้น แต่น่าจะอยู่ในอัตราที่ชะลอลง
แนวโน้มต้นทุนของกลุ่มรับเหมาก่อสร้างจะปรับขึ้นในปี 2555 ทั้งด้านต้นทุนวัสดุก่อสร้างจากความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างเพื่อฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างหลังน้ำท่วมจะมากขึ้นในช่วงครึ่งแรกปี 2555 ทำให้แนวโน้มราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวขึ้นอีกจากปีนี้
ขณะที่ต้นทุนแรงงานจะสูงขึ้นเช่นกันเพราะวันที่ 1 เม.ย. 2555 จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างงานขั้นต่ำเป็น 300 บาทใน 7จังหวัด และปรับขึ้น 40% ในจังหวัดอื่นส่งผลให้ต้นทุนการก่อสร้างของผู้รับเหมาก่อสร้างเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1% กดดันอัตรากำไรขั้นต้น กรณีที่งานอยู่ระหว่างการก่อสร้างแต่หากเป็นงานใหม่ก็สามารถปรับราคาก่อสร้างให้สอดคล้องต้นทุนได้
ปี 2555 รัฐบาลตั้งงบประมาณรายจ่ายในการลงทุนไว้ที่ 4.23 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% จากปีงบประมาณ 2554ที่ 3.55 แสนล้านบาท รายจ่ายในการลงทุนคิดเป็น17% ของวงเงินงบประมาณปี 2555 เพิ่มขึ้นเทียบ 16.4%.ในปีงบประมาณ2554 สำหรับ STEC ให้ราคาเป้าหมายปี2555 ที่ 15 บาท อิงราคาตามมูลค่าบัญชีที่ 2.5 เท่า
และแนะนำให้ซื้อแนวโน้มกำไรไตรมาส 4 ปี 2554 จะชะลอลงจากไตรมาส 3 เพราะโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใน กทม.และปริมณฑล ทำให้ต้องหยุดก่อสร้างในเดือน ต.ค.-พ.ย. ทำให้รายได้จากรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ปกติรับรู้ 800 ล้านบาทต่อไตรมาส หายไปในไตรมาส 4 ปี2554
งานในมือไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท รองรับรายได้ใน 3 ปีข้างหน้า โดยบริษัทคาดว่าจะรับรู้รายได้จากงานในมือ 1.8 หมื่นล้านบาทในปีหน้า 1.9-2 หมื่นล้านบาทในปี 2556 และที่เหลือปี 2557 โดยมูลค่างานในมือจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน (ส่วนใหญ่เป็นรถไฟฟ้า) สัดส่วน 55% งานโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรม 42% และงานอาคาร3%บริษัทคาดว่าปี 2555 ยังมีงานประมูลโครงการภาครัฐขนาดใหญ่ ได้แก่งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสีต่างๆ
งานโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานตามแผนป้องกันน้ำท่วม ที่น่าจะเริ่มทยอยเปิดประมูลช่วงไตรมาส 2 ปี2555 เป็นต้นไป ส่วนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าคาดว่าจะเปิดประมูลปลายปีหน้า โดยคาดว่าจะมีมูลค่ารับงานใหม่ 2 หมื่นล้านบาทต่อปี
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
แนวโน้มปี 2555 คาดว่ายังมีโอกาสขยายตัวจากงานประมูลใหม่ทั้งจากภาครัฐและเอกชน โดยมีทั้งงานรถไฟฟ้าและงานฟื้นฟูระบบป้องกันน้ำท่วม แต่ต้นทุนการก่อสร้างที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นทั้งค่าจ้างงานและค่าวัสดุก่อสร้างก็เป็นปัจจัยลบต่ออัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจลดลงโดยเฉลี่ย1% ซึ่งบริษัทที่มีงานในมือที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงจะกระทบน้อยกว่า
"เลือกหุ้นบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) เป็นหุ้นที่เลือกลงทุน เพราะทำกำไรสม่ำเสมอ งานในมือมีอัตรากำไรขั้นต้นดี ฐานะการเงินแกร่ง และสามารถรับงานได้ทั้งภาครัฐและเอกชน"
ทั้งนี้ การลงทุนขยายเครือข่ายรถไฟฟ้ายังช่วยสนับสนุนการก่อสร้างในระยะยาวโดยรัฐบาลมีแผนก่อสร้างรถไฟฟ้า10 สายให้แล้วเสร็จภายใน 7-8 ปี โดยทุกสายมีแผนจะเริ่มก่อสร้างและประมูลภายใน 4 ปี
ซึ่งในปี 2555 คาดว่าจะเปิดประมูลรถไฟฟ้า 4 สาย คือ สายแรก สายสีเขียว(หมอชิต-สะพานใหม่) วงเงิน 3.32 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเปิดประมูลไตรมาส 2 ปี 2555 สายที่สอง สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)มูลค่า 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเปิดประมูลครึ่งแรกปีหน้า สายที่สาม สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชันมีนบุรี วงเงิน 1.43 แสนล้านบาท สายที่สี่ สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 2.84 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเปิดประมูลช่วงครึ่งหลังปี 2555
นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่จะผลักดันในปี 2555 คือ โครงการรถไฟสายตะวันออก (บางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก)มูลค่า 3.7 หมื่นล้านบาท โครงการรถไฟรางคู่ 2 เส้นทาง คือ ช่วงมาบกะเบาชุมทางจิระ วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท และช่วงนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน วงเงิน 1.66 หมื่นล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯหนองคาย วงเงิน 9 หมื่นล้านบาท
การก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมของทั้งรัฐและเอกชนจะเป็นโอกาสสร้างรายได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยรัฐบาลมีแผนออกพระราชกำหนดกู้เงิน 2 แสนล้านบาท เพื่อฟื้นฟูและวางระบบป้องกันน้ำท่วมระยะเร่งด่วน คาดว่าจะดำเนินการได้ในปี2555 และจะออกพระราชบัญญัติกู้เงิน 6 แสนล้านบาท ในการวางโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ซึ่งรวมถึงระบบบริหารการจัดการน้ำ ซึ่งเป็นแผนระยะปานกลางถึงระยะยาว
นอกจากนี้ ยังมีโอกาสจากงานเอกชนในการสร้างเขื่อนคอนกรีตเพื่อป้องกันน้ำท่วมของนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วม7 แห่ง มูลค่าลงทุน 3,750 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มดำเนินงานในปี 2555
สำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้างปีนี้มูลค่าได้ชะลอไปจากการเบิกจ่ายที่ล่าช้าของภาครัฐ ส่วนภาคเอกชนยังเติบโตมูลค่าก่อสร้างรวมตามราคาตลาดใน 9 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 6.39 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนขณะที่มูลค่าก่อสร้างรวมที่ตามมูลค่าจริง 9 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 2.47 แสนล้านบาท ลดลง 5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนมูลค่างานก่อสร้างในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้มาจากภาครัฐ 46% เอกชน 54%โดยการลงทุนภาคก่อสร้างในปีนี้มาจากเอกชนมากกว่า
9 เดือนแรกปีนี้เอกชนมีการลงทุน1.33 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการลงทุนภาคที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ โดยส่วนใหญ่เป็นงานต่อเนื่องในโครงการคอนโดมิเนียม ส่วนภาครัฐการลงทุนลดลง15.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่1.13 แสนล้านบาท เพราะการเบิกจ่ายล่าช้าในโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 โดยหลายหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงแบบแปลนการก่อสร้าง เปลี่ยนแปลงรายการและสถานที่ก่อสร้าง รวมถึงการยกเลิกประกวดราคา และคาดว่าทั้งปีนี้การลงทุนภาคการก่อสร้างน่าจะทรงตัวจากปีก่อนเพราะอุทกภัยทำให้การก่อสร้างล่าช้าออกไป
ราคาวัสดุก่อสร้างประเภทเหล็กและซีเมนต์ในปี 2554 โดยเฉลี่ยปรับขึ้นประมาณ 12% จากปีก่อน ส่วนราคาวัสดุก่อสร้างอื่นๆ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5% จากปีก่อนขณะที่ปี 2555 คาดว่าแนวโน้มราคาวัสดุก่อสร้างอาจเพิ่มขึ้น แต่น่าจะอยู่ในอัตราที่ชะลอลง
แนวโน้มต้นทุนของกลุ่มรับเหมาก่อสร้างจะปรับขึ้นในปี 2555 ทั้งด้านต้นทุนวัสดุก่อสร้างจากความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างเพื่อฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างหลังน้ำท่วมจะมากขึ้นในช่วงครึ่งแรกปี 2555 ทำให้แนวโน้มราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวขึ้นอีกจากปีนี้
ขณะที่ต้นทุนแรงงานจะสูงขึ้นเช่นกันเพราะวันที่ 1 เม.ย. 2555 จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างงานขั้นต่ำเป็น 300 บาทใน 7จังหวัด และปรับขึ้น 40% ในจังหวัดอื่นส่งผลให้ต้นทุนการก่อสร้างของผู้รับเหมาก่อสร้างเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1% กดดันอัตรากำไรขั้นต้น กรณีที่งานอยู่ระหว่างการก่อสร้างแต่หากเป็นงานใหม่ก็สามารถปรับราคาก่อสร้างให้สอดคล้องต้นทุนได้
ปี 2555 รัฐบาลตั้งงบประมาณรายจ่ายในการลงทุนไว้ที่ 4.23 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% จากปีงบประมาณ 2554ที่ 3.55 แสนล้านบาท รายจ่ายในการลงทุนคิดเป็น17% ของวงเงินงบประมาณปี 2555 เพิ่มขึ้นเทียบ 16.4%.ในปีงบประมาณ2554 สำหรับ STEC ให้ราคาเป้าหมายปี2555 ที่ 15 บาท อิงราคาตามมูลค่าบัญชีที่ 2.5 เท่า
และแนะนำให้ซื้อแนวโน้มกำไรไตรมาส 4 ปี 2554 จะชะลอลงจากไตรมาส 3 เพราะโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใน กทม.และปริมณฑล ทำให้ต้องหยุดก่อสร้างในเดือน ต.ค.-พ.ย. ทำให้รายได้จากรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ปกติรับรู้ 800 ล้านบาทต่อไตรมาส หายไปในไตรมาส 4 ปี2554
งานในมือไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท รองรับรายได้ใน 3 ปีข้างหน้า โดยบริษัทคาดว่าจะรับรู้รายได้จากงานในมือ 1.8 หมื่นล้านบาทในปีหน้า 1.9-2 หมื่นล้านบาทในปี 2556 และที่เหลือปี 2557 โดยมูลค่างานในมือจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน (ส่วนใหญ่เป็นรถไฟฟ้า) สัดส่วน 55% งานโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรม 42% และงานอาคาร3%บริษัทคาดว่าปี 2555 ยังมีงานประมูลโครงการภาครัฐขนาดใหญ่ ได้แก่งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสีต่างๆ
งานโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานตามแผนป้องกันน้ำท่วม ที่น่าจะเริ่มทยอยเปิดประมูลช่วงไตรมาส 2 ปี2555 เป็นต้นไป ส่วนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าคาดว่าจะเปิดประมูลปลายปีหน้า โดยคาดว่าจะมีมูลค่ารับงานใหม่ 2 หมื่นล้านบาทต่อปี
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์