บริษัทบริหารสินทรัพย์ตั้งท่าขยับเพิ่มค่าบริหารจัดการคอนโดฯ อาคารสำนักงาน-บ้านจัดสรร "โจนส์ แลง ลาซาลล์" ปรับขึ้นสูงสุด 50% "ซีบีอาร์อี" ขึ้นทุกอาคารไม่มีข้อยกเว้น "คอลลิเออร์ส" เล็งเพิ่มสัดส่วนรายได้ค่าบริหารจัดการอาคารเป็น 30% พลัส พร็อพเพอร์ตี้ในเครือแสนสิริ เพิ่มอีก 5-15% ขณะที่แอล.พี.เอ็น.สวนกระแส ไม่อยากเพิ่มภาระให้ชุมชน
นางสุพินท์ มีชูชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในปี 2557 นี้บริษัทมีนโยบายจะปรับขึ้นค่าบริหารจัดการอาคารและโครงการทั้งหมดที่บริษัทรับบริหารจัดการจำนวน 70 อาคาร ประกอบด้วยอาคารสำนักงาน 26 อาคาร ศูนย์การค้า 4 อาคาร, คอนโด มิเนียมในกรุงเทพฯ 20 โครงการ และบ้านพักตากอากาศ รวมทั้งคอนโดมิเนียมในเมืองท่องเที่ยวอาทิ ภูเก็ต , พัทยา และกระบี่ อีก 20 โครงการ หรือคิดเป็นพื้นที่รวมประมาณ 4.5 ล้านตร.ม. โดยเพิ่มขึ้นอีก 10-50% เนื่องจากผลกระทบค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศที่มีผลมาตั้งแต่ปี 2556 แต่ที่ผ่านมาคอนโดมิเนียมหลายอาคารไม่สามารถปรับขึ้นค่าบริหารส่วนกลางได้ในทันที เพราะต้องขอมติความเห็นชอบจากเจ้าของร่วม จึงใช้วิธีลดต้นทุนการบริหารจัดการ รวมถึงลดจำนวนบุคลากรที่เกี่ยวกับการดูแลอาคาร
อย่างไรก็ดีในปีนี้บริษัทมีความจำเป็นต้องปรับค่าบริหารส่วนกลางให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ซึ่งปกติค่าบริหารส่วนกลางจะต้องปรับทุกปีเฉลี่ยประมาณ 10-15% ในปีนี้ก็เช่นกัน แต่สำหรับบางอาคารหรือบางโครงการอาจต้องมีการปรับค่าบริหารส่วนกลางเพิ่มขึ้นมากถึง 35-50% ตามความเหมาะสมและเหตุผลที่กล่าวมาในข้างต้น
ด้านนายวิทวัส อัจฉริยวนิช ผู้อำนวยการ แผนกบริหารจัดการทรัพย์ บริษัท ซีบีอาร์อี ประเทศไทยฯ กล่าวเช่นกันว่า ในปีนี้บริษัทเตรียมปรับขึ้นค่าบริหารจัดการอาคารและโครงการทุกอาคารซึ่งมีมากกว่า 30 อาคารขึ้นอีก 5-10% หลังจากในปี 2556 บางอาคารไม่มีการปรับขึ้น แต่ในปีนี้จะปรับขึ้นทุกอาคาร ซึ่งแต่ละอาคารจะมีอัตราไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับที่ตั้งของอาคาร เช่น ในพื้นที่ธุรกิจกลางเมืองอาจจะปรับสูงถึง 10% เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูงกว่าอาคารที่อยู่ในเขตพื้นที่ธุรกิจรอบนอกที่อาจปรับขึ้นเพียงแค่ 5%
เช่นเดียวกับนายสุรเชษฐ กองชีพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ปีนี้บริษัทมีความจำเป็นต้องปรับขึ้นค่าบริหารจัดการอาคารและโครงการทุกโครงการขึ้นอีกประมาณ 3- 10% หลังจากที่บางอาคารหรือโครงการไม่มีการปรับขึ้นมาทั้งปี เพราะยังเตรียมตัวไม่ทันกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งจากต้นทุนค่าแรง . ค่าวัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทต้องใช้วิธีปรับขึ้นค่าส่วนกลางอีก 5-10 บาทต่อตร.ม. เพื่อช่วยลดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นลงบ้าง แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น
สอดรับกับนายภูมิภักดิ์ จุลมณีโชติ กรรมการผู้จัดการบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ในเครือบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทจะปรับขึ้นค่าส่วนกลางประมาณ 5-15% หลังจากแบกรับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นมาระยะหนึ่ง โดยอาคารสำนักงานย่านซีบีดี ค่าส่วนกลางจะอยู่ที่ประมาณ 50 บาทต่อตร.ม. ในขณะที่บ้านจัดสรรอยู่ที่ 40-50 บาทต่อตร.ว. และทาวน์เฮาส์ 100 บาทต่อตร.ว. ทั้งนี้โครงการที่บริษัทรับผิดชอบมีทั้งหมด 150 โครงการ แบ่งเป็นโครงการของบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ประมาณ 80% ที่เหลือเป็นโครงการภายนอก 20%
ขณะที่นายจรัญ เกษร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ (L.P.N.) กล่าวว่า ในส่วนของบริษัทยังไม่มีนโยบายที่จะปรับเพิ่มค่าบริหารจัดการในปีนี้ เนื่องจากบริษัทได้มีการปรับขึ้นไปแล้วเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ด้วยเพราะต้องการให้เพิ่มภาระให้คนในชุมชน ประกอบกับบริษัทได้มีมาตรการช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ อาทิ นโย บายประหยัดพลังงานในพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
"หากไม่มีผลกระทบจากปัจจัยลบภายนอก บริษัทก็ไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นค่าบริหารจัดการ การขึ้นค่าบริหารจัดการอาคารจะขึ้นก็ต่อเมื่อชุมชนแห่งนั้นมีอายุเกินกว่า 5 ปี เพราะวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เริ่มเสื่อมโทรม จึงต้องมีการซ่อมบำรุง บริษัทจึงจะแจ้งให้ลูกบ้านรับทราบ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยค่าบริหารจัดการเฉลี่ยของแต่ละชุมชนอยู่ที่ประมาณ 1-7 แสนบาท หรือประมาณ 8-10 บาทต่อตร.ม. ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ปัจจุบันบริษัทมีโครงการที่อยู่ภายใต้การดูแลประมาณ 100 นิติบุคคลหรือประมาณ 8 หมื่นครอบครัว" นายจรัญ กล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 23 - 25 ม.ค. 2557
อย่างไรก็ดีในปีนี้บริษัทมีความจำเป็นต้องปรับค่าบริหารส่วนกลางให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ซึ่งปกติค่าบริหารส่วนกลางจะต้องปรับทุกปีเฉลี่ยประมาณ 10-15% ในปีนี้ก็เช่นกัน แต่สำหรับบางอาคารหรือบางโครงการอาจต้องมีการปรับค่าบริหารส่วนกลางเพิ่มขึ้นมากถึง 35-50% ตามความเหมาะสมและเหตุผลที่กล่าวมาในข้างต้น
ด้านนายวิทวัส อัจฉริยวนิช ผู้อำนวยการ แผนกบริหารจัดการทรัพย์ บริษัท ซีบีอาร์อี ประเทศไทยฯ กล่าวเช่นกันว่า ในปีนี้บริษัทเตรียมปรับขึ้นค่าบริหารจัดการอาคารและโครงการทุกอาคารซึ่งมีมากกว่า 30 อาคารขึ้นอีก 5-10% หลังจากในปี 2556 บางอาคารไม่มีการปรับขึ้น แต่ในปีนี้จะปรับขึ้นทุกอาคาร ซึ่งแต่ละอาคารจะมีอัตราไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับที่ตั้งของอาคาร เช่น ในพื้นที่ธุรกิจกลางเมืองอาจจะปรับสูงถึง 10% เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูงกว่าอาคารที่อยู่ในเขตพื้นที่ธุรกิจรอบนอกที่อาจปรับขึ้นเพียงแค่ 5%
เช่นเดียวกับนายสุรเชษฐ กองชีพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ปีนี้บริษัทมีความจำเป็นต้องปรับขึ้นค่าบริหารจัดการอาคารและโครงการทุกโครงการขึ้นอีกประมาณ 3- 10% หลังจากที่บางอาคารหรือโครงการไม่มีการปรับขึ้นมาทั้งปี เพราะยังเตรียมตัวไม่ทันกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งจากต้นทุนค่าแรง . ค่าวัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทต้องใช้วิธีปรับขึ้นค่าส่วนกลางอีก 5-10 บาทต่อตร.ม. เพื่อช่วยลดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นลงบ้าง แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น
สอดรับกับนายภูมิภักดิ์ จุลมณีโชติ กรรมการผู้จัดการบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ในเครือบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทจะปรับขึ้นค่าส่วนกลางประมาณ 5-15% หลังจากแบกรับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นมาระยะหนึ่ง โดยอาคารสำนักงานย่านซีบีดี ค่าส่วนกลางจะอยู่ที่ประมาณ 50 บาทต่อตร.ม. ในขณะที่บ้านจัดสรรอยู่ที่ 40-50 บาทต่อตร.ว. และทาวน์เฮาส์ 100 บาทต่อตร.ว. ทั้งนี้โครงการที่บริษัทรับผิดชอบมีทั้งหมด 150 โครงการ แบ่งเป็นโครงการของบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ประมาณ 80% ที่เหลือเป็นโครงการภายนอก 20%
ขณะที่นายจรัญ เกษร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ (L.P.N.) กล่าวว่า ในส่วนของบริษัทยังไม่มีนโยบายที่จะปรับเพิ่มค่าบริหารจัดการในปีนี้ เนื่องจากบริษัทได้มีการปรับขึ้นไปแล้วเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ด้วยเพราะต้องการให้เพิ่มภาระให้คนในชุมชน ประกอบกับบริษัทได้มีมาตรการช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ อาทิ นโย บายประหยัดพลังงานในพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
"หากไม่มีผลกระทบจากปัจจัยลบภายนอก บริษัทก็ไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นค่าบริหารจัดการ การขึ้นค่าบริหารจัดการอาคารจะขึ้นก็ต่อเมื่อชุมชนแห่งนั้นมีอายุเกินกว่า 5 ปี เพราะวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เริ่มเสื่อมโทรม จึงต้องมีการซ่อมบำรุง บริษัทจึงจะแจ้งให้ลูกบ้านรับทราบ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยค่าบริหารจัดการเฉลี่ยของแต่ละชุมชนอยู่ที่ประมาณ 1-7 แสนบาท หรือประมาณ 8-10 บาทต่อตร.ม. ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ปัจจุบันบริษัทมีโครงการที่อยู่ภายใต้การดูแลประมาณ 100 นิติบุคคลหรือประมาณ 8 หมื่นครอบครัว" นายจรัญ กล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 23 - 25 ม.ค. 2557