"อัยยณัฐ" ประเดิมเก้าอี้ผู้ว่าการการทางพิเศษฯ เตรียมชงบอร์ดกทพ.ขออนุมัติจัดงบศึกษาการขยายทางด่วนเพิ่มเชื่อมโยง 4 ทิศทางจากเดิมที่มีอยู่แล้วประมาณ 200 กิโลเมตร หลังพบว่าเส้นทางคมนาคม-โลจิสติกส์เดี้ยงจากปัญหาอุทกภัยครั้งล่าสุดยันเพื่อเป็นทางเลือกการเดินทาง คาดชงคมนาคมและครม.พิจารณาปีหน้า พ่วงข้อเสนอให้เอกชนร่วมลงทุนเป็นทางเลือก ส่วนแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอผลศึกษาขั้นสุดท้ายจากจุฬาฯ เล็งนำร่องก่อน 5 พื้นที่
นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เตรียมนำเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด)การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อขออนุมัติจัดตั้งงบประมาณ เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาความเหมาะสมการขยายเส้นทางด่วนให้เชื่อมโยง 4 ทิศทางที่มีอยู่เดิม ภายหลังจากที่พบว่าเส้นทางคมนาคม-โลจิสติกส์มีปัญหาจากผลกระทบอุทกภัยครั้งล่าสุดที่ผ่านมา การขยายเส้นทางด่วนดังกล่าว เพื่อการใช้ประโยชน์สูงสุดนอกเหนือจากการสร้างจุดเชื่อมต่อต่างๆ ที่มีสภาพการจราจรติดขัดให้บรรเทาลงไป จึงจำเป็นต้องขยายเส้นทางเพิ่มเพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางและยังช่วยแก้ไขปัญหาโลจิสติกส์ในยามฉุกเฉินจากปัจจุบันที่มีระยะทางรวมกันประมาณ 200 กิโลเมตร โดยในปีหน้าจะนำเสนอให้กระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา เพื่อแสดงความชัดเจนที่พร้อมเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าวต่อไป
สำหรับทางด่วนที่กทพ.จะขออนุมัติเสนอสร้างเพิ่มเติมได้แก่ด้านทิศเหนือเริ่มจากบางปะอินไปจนถึงสระบุรี ด้านทิศใต้เริ่มจากพระราม 2 บางขุนเทียนไปจนถึงสมุทรสงคราม สมุทรสาครหรือปากท่อ ด้านทิศตะวันออกเริ่มจากจุดต่อเชื่อมบางปะกงไปสิ้นสุดที่แหลมฉบังหรือพัทยา ส่วนด้านตะวันตกจุดต่อเชื่อมจากทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกไปสิ้นสุดที่นครปฐมหรือกาญจนบุรี
นายอัยยณัฐ กล่าวอีกว่า ผลดีของการที่รัฐบาลลงทุนเองนั้น เมื่อยามฉุกเฉินสามารถยกเว้นการจัดเก็บค่าใช้เส้นทาง เพราะเป็นอำนาจที่สามารถตัดสินใจได้ทันที แต่หากเป็นการร่วมลงทุนรัฐอาจจะต้องมีการชดเชยผลกระทบในภายหลังให้กับเอกชน โดยโครงการนี้เป็นการปูพื้นฐานรองรับไว้ก่อน หากรัฐบาลเห็นชอบก็จะเร่งศึกษาความเหมาะสมต่อไป เพราะเห็นว่ามีประโยชน์จริงต่อประเทศไทย โดยเฉพาะการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ
"อาจต้องมีการประสานกับกรมทางหลวงในการขออนุมัติพื้นที่เขตทางเพื่อนำไปสร้างทางด่วนตามแผนที่กำหนดไว้ ส่วนเส้นทางด่วนที่อยู่ระหว่างดำเนินการในขณะนี้ คือ ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกที่กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2559 โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาเป็นระยะเวลา 18 เดือนภายใต้งบประมาณ 90 ล้านบาท โครงการทางพิเศษสายดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำขอบเขตงานจ้างที่ปรึกษา ระยะเวลาศึกษา 15 เดือน ภายใต้งบประมาณ 30 ล้านบาท" นายอัยยณัฐกล่าวและว่า
ส่วนความคืบหน้าในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ใต้ทางด่วน ขณะนี้ได้เร่งหารือกับหน่วยงานต่างๆตามที่มติครม.ได้ให้ความเห็นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมาแล้ว คาดว่าไม่มีปัญหาใดๆ โดยต้องการนำร่องก่อน 5 จุดจากผลการศึกษาไว้แล้วในเบื้องต้นจากทั้งสิ้น 7 แห่ง ดังนี้ 1.บริเวณถนนสุขุมวิท ด้านทิศใต้ เนื้อที่ประมาณ 4.4 ไร่ โดยจะพัฒนาเป็นที่จอดรถ ตลาดสินค้า-อาหาร และลานโล่งสาธารณะ 2.บริเวณถนนสีลม เนื้อที่ประมาณ 8.4 ไร่ พัฒนาเป็นศูนย์บริการขนส่งสาธารณะ ตลาดชุมชนเล็ก 3.บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ซอยศาสนา โดยจัดทำเป็นพื้นที่ขนส่งรถโดยสารขนาดเล็ก เช่น จัดระเบียบทางเข้าออก ยกระดับพื้นที่ 2 ชั้น โดยชั้นล่างเป็นลานจอดรถ ชั้นบนเป็นพื้นที่สำหรับพักผู้โดยสาร 4.บริเวณถนนประดิษฐมนูธรรม เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ ความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร โดยพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อชุมชน เช่น ศูนย์กีฬา และมีแนวคิดการสร้างสะพานลอยข้ามในจุดที่ใกล้แยก โดยสร้างลักษณะเฉพาะในแต่ละแยกถนนหลัก เพื่อเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละส่วน
และ 5.บริเวณทางเข้าด่านฯจตุโชติ (ทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) หรือบริเวณวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก เนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ ต้องการให้เป็นพื้นที่โลจิสติกส์เพื่อขนส่งสินค้าและรองรับจุดพักรถขนาดใหญ่และกิจกรรมทางอุตสาหกรรมด้านเหนือและฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครที่ปัจจุบันมีสภาพการจรคับคั่งในแต่ละวัน
"ที่เหลืออีก 2 แห่ง คือ พระราม 9 และวัชรพลหรือพื้นที่อื่นๆ กทพ.ยังยืนยันในความชัดเจนสำหรับการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว แม้ว่าจะมอบพื้นที่ให้เช่าแก่หน่วยงานต่างๆไปมากกว่าครึ่งแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพื่อต้องการจัดระเบียบให้เรียบร้อย ไม่ปล่อยรกร้างว่างเปล่าจนยากแก่การดูแลในภายหลังสู้บริหารจัดการพื้นที่นั้นๆ ให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้มาชดเชยส่วนต่างๆ ที่สูญเสียไปดีกว่าปล่อยไว้เฉย ๆ เพราะเงินทุกบาททุกสตางค์เข้าคลังทั้งหมด สิ่งสำคัญเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ต่อประชาชนและชุมชนนั้น ๆเพราะพื้นที่ทั้งหมดล้วนเหลือจากจากก่อสร้างทั้งสิ้น ดังนั้นจึงต้องเร่งเข้าไปบริหารจัดการตามอำนาจที่มีอยู่ต่อไปโดยเร็ว สำหรับผลการศึกษาขั้นสุดท้ายนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพร้อมจะนำเสนอในช่วงเดือนมกราคมปี 2555 นี้" นายอัยยณัฐกล่าว
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,697 18-21 ธันวาคม พ.ศ. 2554
นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เตรียมนำเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด)การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อขออนุมัติจัดตั้งงบประมาณ เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาความเหมาะสมการขยายเส้นทางด่วนให้เชื่อมโยง 4 ทิศทางที่มีอยู่เดิม ภายหลังจากที่พบว่าเส้นทางคมนาคม-โลจิสติกส์มีปัญหาจากผลกระทบอุทกภัยครั้งล่าสุดที่ผ่านมา การขยายเส้นทางด่วนดังกล่าว เพื่อการใช้ประโยชน์สูงสุดนอกเหนือจากการสร้างจุดเชื่อมต่อต่างๆ ที่มีสภาพการจราจรติดขัดให้บรรเทาลงไป จึงจำเป็นต้องขยายเส้นทางเพิ่มเพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางและยังช่วยแก้ไขปัญหาโลจิสติกส์ในยามฉุกเฉินจากปัจจุบันที่มีระยะทางรวมกันประมาณ 200 กิโลเมตร โดยในปีหน้าจะนำเสนอให้กระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา เพื่อแสดงความชัดเจนที่พร้อมเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าวต่อไป
สำหรับทางด่วนที่กทพ.จะขออนุมัติเสนอสร้างเพิ่มเติมได้แก่ด้านทิศเหนือเริ่มจากบางปะอินไปจนถึงสระบุรี ด้านทิศใต้เริ่มจากพระราม 2 บางขุนเทียนไปจนถึงสมุทรสงคราม สมุทรสาครหรือปากท่อ ด้านทิศตะวันออกเริ่มจากจุดต่อเชื่อมบางปะกงไปสิ้นสุดที่แหลมฉบังหรือพัทยา ส่วนด้านตะวันตกจุดต่อเชื่อมจากทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกไปสิ้นสุดที่นครปฐมหรือกาญจนบุรี
นายอัยยณัฐ กล่าวอีกว่า ผลดีของการที่รัฐบาลลงทุนเองนั้น เมื่อยามฉุกเฉินสามารถยกเว้นการจัดเก็บค่าใช้เส้นทาง เพราะเป็นอำนาจที่สามารถตัดสินใจได้ทันที แต่หากเป็นการร่วมลงทุนรัฐอาจจะต้องมีการชดเชยผลกระทบในภายหลังให้กับเอกชน โดยโครงการนี้เป็นการปูพื้นฐานรองรับไว้ก่อน หากรัฐบาลเห็นชอบก็จะเร่งศึกษาความเหมาะสมต่อไป เพราะเห็นว่ามีประโยชน์จริงต่อประเทศไทย โดยเฉพาะการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ
"อาจต้องมีการประสานกับกรมทางหลวงในการขออนุมัติพื้นที่เขตทางเพื่อนำไปสร้างทางด่วนตามแผนที่กำหนดไว้ ส่วนเส้นทางด่วนที่อยู่ระหว่างดำเนินการในขณะนี้ คือ ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกที่กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2559 โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาเป็นระยะเวลา 18 เดือนภายใต้งบประมาณ 90 ล้านบาท โครงการทางพิเศษสายดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำขอบเขตงานจ้างที่ปรึกษา ระยะเวลาศึกษา 15 เดือน ภายใต้งบประมาณ 30 ล้านบาท" นายอัยยณัฐกล่าวและว่า
ส่วนความคืบหน้าในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ใต้ทางด่วน ขณะนี้ได้เร่งหารือกับหน่วยงานต่างๆตามที่มติครม.ได้ให้ความเห็นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมาแล้ว คาดว่าไม่มีปัญหาใดๆ โดยต้องการนำร่องก่อน 5 จุดจากผลการศึกษาไว้แล้วในเบื้องต้นจากทั้งสิ้น 7 แห่ง ดังนี้ 1.บริเวณถนนสุขุมวิท ด้านทิศใต้ เนื้อที่ประมาณ 4.4 ไร่ โดยจะพัฒนาเป็นที่จอดรถ ตลาดสินค้า-อาหาร และลานโล่งสาธารณะ 2.บริเวณถนนสีลม เนื้อที่ประมาณ 8.4 ไร่ พัฒนาเป็นศูนย์บริการขนส่งสาธารณะ ตลาดชุมชนเล็ก 3.บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ซอยศาสนา โดยจัดทำเป็นพื้นที่ขนส่งรถโดยสารขนาดเล็ก เช่น จัดระเบียบทางเข้าออก ยกระดับพื้นที่ 2 ชั้น โดยชั้นล่างเป็นลานจอดรถ ชั้นบนเป็นพื้นที่สำหรับพักผู้โดยสาร 4.บริเวณถนนประดิษฐมนูธรรม เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ ความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร โดยพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อชุมชน เช่น ศูนย์กีฬา และมีแนวคิดการสร้างสะพานลอยข้ามในจุดที่ใกล้แยก โดยสร้างลักษณะเฉพาะในแต่ละแยกถนนหลัก เพื่อเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละส่วน
และ 5.บริเวณทางเข้าด่านฯจตุโชติ (ทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) หรือบริเวณวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก เนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ ต้องการให้เป็นพื้นที่โลจิสติกส์เพื่อขนส่งสินค้าและรองรับจุดพักรถขนาดใหญ่และกิจกรรมทางอุตสาหกรรมด้านเหนือและฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครที่ปัจจุบันมีสภาพการจรคับคั่งในแต่ละวัน
"ที่เหลืออีก 2 แห่ง คือ พระราม 9 และวัชรพลหรือพื้นที่อื่นๆ กทพ.ยังยืนยันในความชัดเจนสำหรับการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว แม้ว่าจะมอบพื้นที่ให้เช่าแก่หน่วยงานต่างๆไปมากกว่าครึ่งแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพื่อต้องการจัดระเบียบให้เรียบร้อย ไม่ปล่อยรกร้างว่างเปล่าจนยากแก่การดูแลในภายหลังสู้บริหารจัดการพื้นที่นั้นๆ ให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้มาชดเชยส่วนต่างๆ ที่สูญเสียไปดีกว่าปล่อยไว้เฉย ๆ เพราะเงินทุกบาททุกสตางค์เข้าคลังทั้งหมด สิ่งสำคัญเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ต่อประชาชนและชุมชนนั้น ๆเพราะพื้นที่ทั้งหมดล้วนเหลือจากจากก่อสร้างทั้งสิ้น ดังนั้นจึงต้องเร่งเข้าไปบริหารจัดการตามอำนาจที่มีอยู่ต่อไปโดยเร็ว สำหรับผลการศึกษาขั้นสุดท้ายนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพร้อมจะนำเสนอในช่วงเดือนมกราคมปี 2555 นี้" นายอัยยณัฐกล่าว
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,697 18-21 ธันวาคม พ.ศ. 2554