การส่งออกของไทยในเดือนมกราคม 2553 ยังคงเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับเครื่องชี้กิจกรรมการผลิตในภูมิภาคสำคัญต่างๆ ที่ยังขยายตัวสูง ซึ่งคาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงของประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐฯ และจีน จะยังคงเป็นปัจจัยหนุนการส่งออกของไทยในไตรมาสแรกให้ขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับการส่งออกของไทยในระยะข้างหน้า ที่สำคัญคือ ปัญหาต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนการผลิต ที่เพิ่มขึ้นทั้งต้นทุนวัตถุดิบ แรงงาน พลังงาน ตลอดจนต้นทุนการเงิน จากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ซึ่งปัจจัยกดดันต่อต้นทุนอาจยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า
ขณะเดียวกัน ในด้านอุปสงค์อาจต้องจับตาผลที่จะตามมาจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ซึ่งยิ่งแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มสูงมากขึ้น ก็จะยิ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้วัฏจักรขาขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยของประเทศเหล่านี้มีขนาดและระยะเวลาที่ยืดออกไป รวมทั้งจะทำให้การเริ่มต้นของวัฏจักรการปรับขึ้นดอกเบี้ยในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ยูโรโซนและสหรัฐฯ เกิดเร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้
n การส่งออกในไตรมาสแรกมีแนวโน้มเติบโตประมาณ 17%
ในเดือนมกราคม 2553 การส่งออกของไทยยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่า 16,747 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวร้อยละ 22.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) เร่งสูงขึ้นจากร้อยละ 18.8 ในเดือนก่อนหน้า ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 16,078 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวร้อยละ 33.3 เร่งตัวจากร้อยละ 11.5 ในเดือนก่อน การนำเข้าที่พุ่งทะยานสูงขึ้นทำให้ดุลการค้าในเดือนมกราคมขาดดุล 856.8 ล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นการกลับมาขาดดุลครั้งแรกในรอบ 6 เดือน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ทิศทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักที่ยังคงมีการฟื้นตัวได้ดี ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงกว่าช่วงปลายปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้การส่งออกของไทยในไตรมาสแรกขยายตัวค่อนข้างสูงประมาณร้อยละ 17 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของการส่งออกรายเดือนอาจจะเห็นตัวเลขที่แกว่งตัวค่อนข้างมาก เนื่องจากฐานเปรียบเทียบแต่ละเดือนในปีที่ผ่านมาตัวเลขมีการผันผวนสูง เช่น ในเดือนมีนาคม 2554 อาจเห็นอัตราการขยายตัวของการส่งออกเติบโตต่ำกว่าร้อยละ 10 เป็นครั้งแรกในรอบ 17 เดือน รวมทั้งเดือนมิถุนายน ซึ่งในปี 2553 เป็นเดือนที่การส่งออกของไทยพุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งมูลค่าและอัตราการขยายตัว(ที่มูลค่า 18,038 ล้านดอลลาร์ฯ และอัตราการขยายตัวร้อยละ 46.3) ซึ่งคงทำให้ตัวเลขในเดือนมิถุนายน 2554 ขยายตัวค่อนข้างต่ำในรูปดอลลาร์ฯ และอาจเห็นการส่งออกในรูปบาทเป็นตัวเลขติดลบได้
โดยรวมทั้งปี 2554 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงคาดการณ์อัตราการเติบโตของการส่งออกเท่าเดิมคือร้อยละ 8.0-12.0 แต่ปรับเพิ่มการเติบโตของการนำเข้าเป็นร้อยละ 12.0-17.0 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ จากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ โดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบอาจมีค่าเฉลี่ยประมาณ 92.0-100.0 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล ดุลการค้าทั้งปี คาดว่าจะยังคงเกินดุล แต่เป็นระดับที่ลดลงมาอยู่ที่ 4,700-8,200 ล้านดอลลาร์ฯ จากที่เกินดุลสูง 12,905 ล้านดอลลาร์ฯ ในปีก่อน (ตามฐานศุลกากร ซึ่งแตกต่างกับฐานดุลการชำระเงินที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย) โดยเป็นผลมาจากการนำเข้าที่เร่งตัวสูงกว่าการส่งออก
n สินค้าส่งออกดาวรุ่ง ... รถยนต์ เกษตรและอาหาร ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี
กลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะเป็นตัวนำการส่งออกในปีนี้ อันดับแรก ได้แก่ ยานยนต์และส่วนประกอบ ซึ่งค่ายรถยนต์ที่มีฐานการผลิตในประเทศไทยต่างมีเป้าหมายเพิ่มการผลิต รวมทั้งบางโรงงานที่มีการขยายการลงทุนจะเริ่มต้นผลิตได้ในปีนี้ ซึ่งจะทำให้การส่งออกรถยนต์ของไทยยังขยายตัวสูง ดังที่เห็นได้จากเดือนมกราคมที่ผ่านมา สินค้าหมวดรถยนต์และส่วนประกอบเปิดยอดต้นปีด้วยการแซงหน้านำหมวดคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบขึ้นเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของไทย และเป็นที่น่าจับตามองว่ายอดส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบทั้งปีนี้จะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ได้หรือไม่ จากที่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบครองอันดับนี้มายาวนานเกือบ 15 ปี สำหรับสินค้าเกษตรและอาหาร หลายกลุ่มน่าจะได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้นท่ามกลางผลผลิตในตลาดโลกที่ตึงตัว จึงน่าจะเป็นความหวังสำคัญที่จะช่วยผลักดันการส่งออกในปีนี้ ส่วนกลุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี คาดว่าจะมีกำลังการผลิตใหม่เริ่มเข้าสู่ระบบและหนุนการส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้เช่นกัน
n หวั่นต้นทุนกระทบ Margin ผู้ส่งออก
ในปี 2553 ที่ผ่านมา ราคาส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ในรูปดอลลาร์ฯ แต่ลดลง 2.0 ในรูปบาท โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้าย ราคาส่งออกในรูปบาทลดลงกว่าร้อยละ 5
แต่ขณะเดียวกัน ต้นทุนปัจจัยการผลิตสะท้อนจากดัชนีราคาผู้ผลิตเฉลี่ยในปี 2553 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.4 และเพิ่มกว่าร้อยละ 6 ในไตรมาสสุดท้ายของปี ภาวะที่ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ราคาสินค้าในรูปบาท ซึ่งสะท้อนรายได้ที่ผู้ส่งออกไทยได้รับจริงกลับหดตัวลงนี้ แสดงถึงแรงบีบคั้นที่กลับมาที่รายได้และกำไรของผู้ประกอบการ
สำหรับในปี 2554 ต้นทุนการดำเนินธุรกิจหลายด้านขยับขึ้น โดยเฉพาะด้านวัตถุดิบและพลังงาน ขณะที่ค่าจ้างแรงงานและอัตราดอกเบี้ยก็มีการปรับเพิ่มขึ้น และแนวโน้มต้นทุนต่างๆ ที่ยังอาจปรับสูงขึ้นไปอีกอาจส่งผลกระทบต่ออัตรากำไร หรือมาร์จิน ของผู้ส่งออกไทย เนื่องจากผู้ผลิตมีอำนาจต่อรองในการปรับขึ้นราคาไม่มากนัก ขณะที่คู่แข่งสำคัญคือเวียดนามมีการลดค่าเงินด่องลงอีกร้อยละ 8.5 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อันจะยิ่งทำให้ผู้ส่งออกไทยเผชิญแรงกดดันการแข่งขันด้านราคามากขึ้น
n จับตาผลของมาตรการคุมเข้มทางการเงินในประเทศแถบเอเชีย
แม้ว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของไทยยังเติบโตได้ดี แต่ความพยายามในการควบคุมเงินเฟ้อที่สูงเกินระดับเป้าหมายของทางการ ทำให้ธนาคารกลางหลายชาติในเอเชียแปซิฟิคทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไม่ว่าจีน อินเดีย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมทั้งไทยด้วยเช่นกัน นอกจากกลไกดอกเบี้ยแล้ว ยังมีการใช้มาตรการ เช่น การเพิ่มสัดส่วนสำรองของธนาคารพาณิชย์ และการออกเกณฑ์ควบคุมการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
ระยะต่อจากนี้ เป็นที่คาดหมายว่าธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ยังจำเป็นต้องดำเนินมาตรการควบคุมเงินเฟ้อที่เข้มข้นขึ้นต่อไป ซึ่งผลของมาตรการดังกล่าวน่าจะปรากฏชัดขึ้นในระยะไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเงินเฟ้อพุ่งแรงกว่าที่คาด อาจทำให้ธนาคารกลางในประเทศเอเชียต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในจำนวนครั้งและขนาดที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน เงินเฟ้อในกลุ่มยูโรโซนที่สูงเกินเป้าหมายที่ร้อยละ 2 ทำให้ตลาดมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดการณ์เดิม ส่วนธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED ที่แม้ยังคงยืนยันท่าทีดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE2 (Quantitative Easing) ตามกรอบเวลาเดิมคือถึงเดือนมิถุนายน 2554 แต่ก็มีเสียงสะท้อนถึงความกังวลต่อเงินเฟ้อที่ก่อตัวขึ้น ทั้งนี้ โดยปัจจัยด้านภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูงเองก็มีผลต่ออำนาจซื้อของผู้บริโภคโดยตรงอยู่แล้ว แต่ผลในทางอ้อมที่จะกดดันให้อัตราดอกเบี้ยต้องปรับขึ้น จะส่งผลโดยอ้อมไปสู่สภาพคล่องและอำนาจซื้อของภาคครัวเรือนอีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ หากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว ก็ย่อมส่งผลต่อเนื่องมาถึงการส่งออกของไทยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักและการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาทระยะนี้ น่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้การส่งออกของไทยในไตรมาสที่ 1/2554 ขยายตัวค่อนข้างสูงที่ประมาณร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของการส่งออกรายเดือนอาจแกว่งตัวสูง โดยมีบางเดือนที่การส่งออกในรูปดอลลาร์ฯ อาจขยับลงมาเติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียว ขณะที่การส่งออกในรูปบาทอาจเป็นตัวเลขติดลบ แต่ภาพรวมทั้งปีน่าจะยังคงขยายตัวเป็นบวก โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงคาดการณ์อัตราการเติบโตของการส่งออกในปี 2554 ไว้เช่นเดิมที่ร้อยละ 8.0-12.0 แต่ปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวของการนำเข้าเป็นร้อยละ 12.0-17.0 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ สินค้าส่งออกที่คาดว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการส่งออกในปีนี้ ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ สินค้าเกษตร อาหาร อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี สำหรับดุลการค้า แม้ขาดดุลในเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่คาดว่าทั้งปีจะยังคงเกินดุล แต่เป็นระดับที่ลดลงมาอยู่ที่ 4,700-8,200 ล้านดอลลาร์ฯ จาก 12,905 ล้านดอลลาร์ฯ ในปีก่อน (ตามฐานศุลกากร)
ปัจจัยที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด คือ ภาวะราคาสินค้าที่พุ่งสูง ซึ่งราคาวัตถุดิบและราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะความกังวลต่ออุปทานน้ำมันที่อาจได้รับผลกระทบจากปัญหาเสถียรภาพทางเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งล่าสุดได้ส่งผลให้การผลิตน้ำมันในลิเบีย ได้รับผลกระทบ ซึ่งลิเบียเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 2 ของทวีปแอฟริกาเหนือ และอันดับ 9 ในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ OPEC มีการผลิตน้ำมันประมาณ 1.69 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมกราคม 2554 ซึ่งสถานการณ์ที่อยู่เหนือความคาดหมายดังกล่าว เมื่อประกอบกับการปรับขึ้นค่าจ้างและอัตราดอกเบี้ยที่ขยับขึ้น ล้วนแต่มีผลต่อต้นทุนของผู้ส่งออก ในขณะที่ผู้ส่งออกไทยมีอำนาจในการเจรจาต่อรองปรับราคาได้ค่อนข้างจำกัด ทำให้อัตรากำไร หรือมาร์จินอาจลดลง นอกจากนี้ แนวโน้มแรงกดดันเงินเฟ้อที่มีเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงจะกระทบโดยตรงต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค แต่ยังมีผลต่อทิศทางนโยบายการเงินของชาติต่างๆ ที่อาจเป็นไปในลักษณะที่คุมเข้มกว่าที่คาดได้หากเงินเฟ้อพุ่งแรงเกินไป ซึ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะมีผลต่อความสามารถในการกู้ของภาคครัวเรือน และมีผลไปถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้ชะลอตัว ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในท้ายที่สุดได้
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ขณะเดียวกัน ในด้านอุปสงค์อาจต้องจับตาผลที่จะตามมาจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ซึ่งยิ่งแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มสูงมากขึ้น ก็จะยิ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้วัฏจักรขาขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยของประเทศเหล่านี้มีขนาดและระยะเวลาที่ยืดออกไป รวมทั้งจะทำให้การเริ่มต้นของวัฏจักรการปรับขึ้นดอกเบี้ยในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ยูโรโซนและสหรัฐฯ เกิดเร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้
n การส่งออกในไตรมาสแรกมีแนวโน้มเติบโตประมาณ 17%
ในเดือนมกราคม 2553 การส่งออกของไทยยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่า 16,747 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวร้อยละ 22.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) เร่งสูงขึ้นจากร้อยละ 18.8 ในเดือนก่อนหน้า ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 16,078 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวร้อยละ 33.3 เร่งตัวจากร้อยละ 11.5 ในเดือนก่อน การนำเข้าที่พุ่งทะยานสูงขึ้นทำให้ดุลการค้าในเดือนมกราคมขาดดุล 856.8 ล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นการกลับมาขาดดุลครั้งแรกในรอบ 6 เดือน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ทิศทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักที่ยังคงมีการฟื้นตัวได้ดี ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงกว่าช่วงปลายปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้การส่งออกของไทยในไตรมาสแรกขยายตัวค่อนข้างสูงประมาณร้อยละ 17 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของการส่งออกรายเดือนอาจจะเห็นตัวเลขที่แกว่งตัวค่อนข้างมาก เนื่องจากฐานเปรียบเทียบแต่ละเดือนในปีที่ผ่านมาตัวเลขมีการผันผวนสูง เช่น ในเดือนมีนาคม 2554 อาจเห็นอัตราการขยายตัวของการส่งออกเติบโตต่ำกว่าร้อยละ 10 เป็นครั้งแรกในรอบ 17 เดือน รวมทั้งเดือนมิถุนายน ซึ่งในปี 2553 เป็นเดือนที่การส่งออกของไทยพุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งมูลค่าและอัตราการขยายตัว(ที่มูลค่า 18,038 ล้านดอลลาร์ฯ และอัตราการขยายตัวร้อยละ 46.3) ซึ่งคงทำให้ตัวเลขในเดือนมิถุนายน 2554 ขยายตัวค่อนข้างต่ำในรูปดอลลาร์ฯ และอาจเห็นการส่งออกในรูปบาทเป็นตัวเลขติดลบได้
โดยรวมทั้งปี 2554 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงคาดการณ์อัตราการเติบโตของการส่งออกเท่าเดิมคือร้อยละ 8.0-12.0 แต่ปรับเพิ่มการเติบโตของการนำเข้าเป็นร้อยละ 12.0-17.0 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ จากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ โดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบอาจมีค่าเฉลี่ยประมาณ 92.0-100.0 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล ดุลการค้าทั้งปี คาดว่าจะยังคงเกินดุล แต่เป็นระดับที่ลดลงมาอยู่ที่ 4,700-8,200 ล้านดอลลาร์ฯ จากที่เกินดุลสูง 12,905 ล้านดอลลาร์ฯ ในปีก่อน (ตามฐานศุลกากร ซึ่งแตกต่างกับฐานดุลการชำระเงินที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย) โดยเป็นผลมาจากการนำเข้าที่เร่งตัวสูงกว่าการส่งออก
n สินค้าส่งออกดาวรุ่ง ... รถยนต์ เกษตรและอาหาร ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี
กลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะเป็นตัวนำการส่งออกในปีนี้ อันดับแรก ได้แก่ ยานยนต์และส่วนประกอบ ซึ่งค่ายรถยนต์ที่มีฐานการผลิตในประเทศไทยต่างมีเป้าหมายเพิ่มการผลิต รวมทั้งบางโรงงานที่มีการขยายการลงทุนจะเริ่มต้นผลิตได้ในปีนี้ ซึ่งจะทำให้การส่งออกรถยนต์ของไทยยังขยายตัวสูง ดังที่เห็นได้จากเดือนมกราคมที่ผ่านมา สินค้าหมวดรถยนต์และส่วนประกอบเปิดยอดต้นปีด้วยการแซงหน้านำหมวดคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบขึ้นเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของไทย และเป็นที่น่าจับตามองว่ายอดส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบทั้งปีนี้จะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ได้หรือไม่ จากที่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบครองอันดับนี้มายาวนานเกือบ 15 ปี สำหรับสินค้าเกษตรและอาหาร หลายกลุ่มน่าจะได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้นท่ามกลางผลผลิตในตลาดโลกที่ตึงตัว จึงน่าจะเป็นความหวังสำคัญที่จะช่วยผลักดันการส่งออกในปีนี้ ส่วนกลุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี คาดว่าจะมีกำลังการผลิตใหม่เริ่มเข้าสู่ระบบและหนุนการส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้เช่นกัน
n หวั่นต้นทุนกระทบ Margin ผู้ส่งออก
ในปี 2553 ที่ผ่านมา ราคาส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ในรูปดอลลาร์ฯ แต่ลดลง 2.0 ในรูปบาท โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้าย ราคาส่งออกในรูปบาทลดลงกว่าร้อยละ 5
แต่ขณะเดียวกัน ต้นทุนปัจจัยการผลิตสะท้อนจากดัชนีราคาผู้ผลิตเฉลี่ยในปี 2553 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.4 และเพิ่มกว่าร้อยละ 6 ในไตรมาสสุดท้ายของปี ภาวะที่ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ราคาสินค้าในรูปบาท ซึ่งสะท้อนรายได้ที่ผู้ส่งออกไทยได้รับจริงกลับหดตัวลงนี้ แสดงถึงแรงบีบคั้นที่กลับมาที่รายได้และกำไรของผู้ประกอบการ
สำหรับในปี 2554 ต้นทุนการดำเนินธุรกิจหลายด้านขยับขึ้น โดยเฉพาะด้านวัตถุดิบและพลังงาน ขณะที่ค่าจ้างแรงงานและอัตราดอกเบี้ยก็มีการปรับเพิ่มขึ้น และแนวโน้มต้นทุนต่างๆ ที่ยังอาจปรับสูงขึ้นไปอีกอาจส่งผลกระทบต่ออัตรากำไร หรือมาร์จิน ของผู้ส่งออกไทย เนื่องจากผู้ผลิตมีอำนาจต่อรองในการปรับขึ้นราคาไม่มากนัก ขณะที่คู่แข่งสำคัญคือเวียดนามมีการลดค่าเงินด่องลงอีกร้อยละ 8.5 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อันจะยิ่งทำให้ผู้ส่งออกไทยเผชิญแรงกดดันการแข่งขันด้านราคามากขึ้น
n จับตาผลของมาตรการคุมเข้มทางการเงินในประเทศแถบเอเชีย
แม้ว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของไทยยังเติบโตได้ดี แต่ความพยายามในการควบคุมเงินเฟ้อที่สูงเกินระดับเป้าหมายของทางการ ทำให้ธนาคารกลางหลายชาติในเอเชียแปซิฟิคทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไม่ว่าจีน อินเดีย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมทั้งไทยด้วยเช่นกัน นอกจากกลไกดอกเบี้ยแล้ว ยังมีการใช้มาตรการ เช่น การเพิ่มสัดส่วนสำรองของธนาคารพาณิชย์ และการออกเกณฑ์ควบคุมการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
ระยะต่อจากนี้ เป็นที่คาดหมายว่าธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ยังจำเป็นต้องดำเนินมาตรการควบคุมเงินเฟ้อที่เข้มข้นขึ้นต่อไป ซึ่งผลของมาตรการดังกล่าวน่าจะปรากฏชัดขึ้นในระยะไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเงินเฟ้อพุ่งแรงกว่าที่คาด อาจทำให้ธนาคารกลางในประเทศเอเชียต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในจำนวนครั้งและขนาดที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน เงินเฟ้อในกลุ่มยูโรโซนที่สูงเกินเป้าหมายที่ร้อยละ 2 ทำให้ตลาดมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดการณ์เดิม ส่วนธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED ที่แม้ยังคงยืนยันท่าทีดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE2 (Quantitative Easing) ตามกรอบเวลาเดิมคือถึงเดือนมิถุนายน 2554 แต่ก็มีเสียงสะท้อนถึงความกังวลต่อเงินเฟ้อที่ก่อตัวขึ้น ทั้งนี้ โดยปัจจัยด้านภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูงเองก็มีผลต่ออำนาจซื้อของผู้บริโภคโดยตรงอยู่แล้ว แต่ผลในทางอ้อมที่จะกดดันให้อัตราดอกเบี้ยต้องปรับขึ้น จะส่งผลโดยอ้อมไปสู่สภาพคล่องและอำนาจซื้อของภาคครัวเรือนอีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ หากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว ก็ย่อมส่งผลต่อเนื่องมาถึงการส่งออกของไทยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักและการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาทระยะนี้ น่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้การส่งออกของไทยในไตรมาสที่ 1/2554 ขยายตัวค่อนข้างสูงที่ประมาณร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของการส่งออกรายเดือนอาจแกว่งตัวสูง โดยมีบางเดือนที่การส่งออกในรูปดอลลาร์ฯ อาจขยับลงมาเติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียว ขณะที่การส่งออกในรูปบาทอาจเป็นตัวเลขติดลบ แต่ภาพรวมทั้งปีน่าจะยังคงขยายตัวเป็นบวก โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงคาดการณ์อัตราการเติบโตของการส่งออกในปี 2554 ไว้เช่นเดิมที่ร้อยละ 8.0-12.0 แต่ปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวของการนำเข้าเป็นร้อยละ 12.0-17.0 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ สินค้าส่งออกที่คาดว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการส่งออกในปีนี้ ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ สินค้าเกษตร อาหาร อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี สำหรับดุลการค้า แม้ขาดดุลในเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่คาดว่าทั้งปีจะยังคงเกินดุล แต่เป็นระดับที่ลดลงมาอยู่ที่ 4,700-8,200 ล้านดอลลาร์ฯ จาก 12,905 ล้านดอลลาร์ฯ ในปีก่อน (ตามฐานศุลกากร)
ปัจจัยที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด คือ ภาวะราคาสินค้าที่พุ่งสูง ซึ่งราคาวัตถุดิบและราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะความกังวลต่ออุปทานน้ำมันที่อาจได้รับผลกระทบจากปัญหาเสถียรภาพทางเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งล่าสุดได้ส่งผลให้การผลิตน้ำมันในลิเบีย ได้รับผลกระทบ ซึ่งลิเบียเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 2 ของทวีปแอฟริกาเหนือ และอันดับ 9 ในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ OPEC มีการผลิตน้ำมันประมาณ 1.69 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมกราคม 2554 ซึ่งสถานการณ์ที่อยู่เหนือความคาดหมายดังกล่าว เมื่อประกอบกับการปรับขึ้นค่าจ้างและอัตราดอกเบี้ยที่ขยับขึ้น ล้วนแต่มีผลต่อต้นทุนของผู้ส่งออก ในขณะที่ผู้ส่งออกไทยมีอำนาจในการเจรจาต่อรองปรับราคาได้ค่อนข้างจำกัด ทำให้อัตรากำไร หรือมาร์จินอาจลดลง นอกจากนี้ แนวโน้มแรงกดดันเงินเฟ้อที่มีเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงจะกระทบโดยตรงต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค แต่ยังมีผลต่อทิศทางนโยบายการเงินของชาติต่างๆ ที่อาจเป็นไปในลักษณะที่คุมเข้มกว่าที่คาดได้หากเงินเฟ้อพุ่งแรงเกินไป ซึ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะมีผลต่อความสามารถในการกู้ของภาคครัวเรือน และมีผลไปถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้ชะลอตัว ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในท้ายที่สุดได้
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย