"แบงก์ชาติ" ยืนยันความเสี่ยง "อุปทาน" อสังหาริมทรัพย์ล้นตลาดไม่น่าห่วง มั่นใจธนาคารพาณิชย์รับมือได้ เผยการปล่อยสินเชื่อระวังมากขึ้น ทั้งมีกลยุทธ์ติดตามดูแลเป็นอย่างดี ชี้ส่วนใหญ่ปล่อยกู้ให้เฉพาะโครงการที่ยอดจองสูงขณะที่ผลประกอบการกลุ่มอสังหาฯ ยังมีกำไร
นายรณดล นุ่มนนท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยในเขตกรุงเทพและปริมณฑล แม้จะมีความเสี่ยงภาวะอุปทานล้นตลาดที่มากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มอาคารชุด(คอนโดมิเนียม) แต่ในส่วนของ ธปท. เองไม่ได้กังวลมากนัก เพราะถ้าติดตามดูการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ให้กับผู้ประกอบการกลุ่มเหล่านี้ พบว่ามีความระมัดระวังค่อนข้างมาก
"แบงก์มีวิธีการให้สินเชื่อที่ดี มีการคำนึงถึงความเป็นไปได้ของโครงการที่มากกว่าในอดีต คือ จะมีการกำหนดยอดจองซื้อของลูกค้าขั้นต่ำไว้เลยว่า แต่ละโครงการอย่างน้อยต้องมีเท่าไร ซึ่งทางแบงก์จะมีวิธีการดูว่า ทำอย่างไรสินเชื่อที่ปล่อยไปถึงจะมีความปลอดภัยมากที่สุด"นายรณดลกล่าว นอกจากนี้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ให้กับผู้ประกอบการแต่ละราย ก็จะดูถึงฐานะการเงินด้วย โดยดูว่ามีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน(ดี/อี) เท่าไร ขณะเดียวกันยังดูถึงโครงการที่จะเปิดใหม่ด้วยว่าอยู่ในพื้นที่ลักษณะใด มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน สะท้อนถึงความระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อที่มีมากขึ้น นายรณดล กล่าวด้วยว่า ถ้าพูดถึงโครงการอสังหาริมทรัพย์ ไม่ใช่ว่าทุกโครงการจะมี ความเสี่ยงทั้งหมด เพราะถ้าดูโครงการตามแนวรถไฟฟ้าจะเห็นว่าความต้องการซื้อยังคงมีอยู่
และเท่าที่ติดตามดูก็พบว่า หากโครงการใดเปิดตัวแล้วมียอดจองซื้อเข้ามาต่ำ ผู้ประกอบการก็จะตัดสินใจยกเลิกโครงการดังกล่าวไป ขณะที่ การซื้อเพื่อเก็งกำไรในปัจจุบันก็ลดลงไปมากเมื่อเทียบกับช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งอาจเพราะสถานการณ์เศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยด้วย
ส่วนที่อยู่อาศัยแนวราบนั้น สถานการณ์ ในปัจจุบันก็แตกต่างจากช่วงปี 2540-2541 ค่อนข้างมาก เพราะปัจจุบันใช้วิธีทำเป็นเฟสๆ คือ ทำเฟสแรกเสร็จเปิดขายแล้วค่อยมาขอ สินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์เพิ่ม ไม่ได้ใช้วิธีเปิดแบบปูพรมเหมือนในอดีต
"ไม่ใช่ว่าแบงก์จะไม่ปล่อยสินเชื่อเลย ถ้าเขาเห็นว่าโครงการไหนไปได้ ยังไงเขาก็ ปล่อย เพราะการปล่อยสินเชื่อถือเป็นรายได้ของเขา อีกทั้งแบงก์พาณิชย์ถือเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย ดังนั้นหากไปเข้มงวดทุกอย่างก็คงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ดูแล เพราะทางเราก็ยังติดตามดูอย่างใกล้ชิด"นายรณดลกล่าว
รายงานนโยบายการเงิน เดือนมี.ค.2558 ระบุว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอุปทาน ล้นตลาด โดยเฉพาะอาคารชุดเนื่องจากกำลังซื้อฟื้นตัวช้ากว่าที่ผู้ประกอบการคาด จึงต้องติดตามการฟื้นตัวของกำลังซื้อในระยะถัดไป
ด้านนายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่ได้ห่วงความเสี่ยงในเรื่องอุปทานล้นตลาดมากนัก เพราะระยะหลังจะเห็นว่าผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์มีการปรับตัวค่อนข้างดี โดยชะลอเปิดตัวโครงการใหม่ๆ ลง
ส่วนยอดคงค้างอุปทาน แม้ปัจจุบันจะมีจำนวนที่สูงกว่าตอนปี 2540 แต่ถ้าดูเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) แล้ว ถือว่ามีสัดส่วนที่น้อยลงมาก
"เทียบกับจีดีพีแล้วไม่ได้มาก ไม่ได้น่ากลัวเท่าตอนปี 2540 ที่ต้องติดตามดู คือ ดีมานด์ในปีนี้จะเป็นอย่างไร เพราะหลังจากปัญหาการเมืองคลี่คลายลง อาจทำให้กำลังซื้อกลับมาบ้าง แม้ว่าช่วงต้นปีจะชะลอลงไปบ้างก็ตาม"
นอกจากนี้ถ้าดูผลประกอบการของบริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า ยังมีผลประกอบการที่ค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แบงก์มีวิธีการให้สินเชื่อที่ดี มีการคำนึงถึงความเป็นไปได้ของโครงการที่มากกว่าในอดีต คือ จะมีการกำหนดยอดจองซื้อของลูกค้าขั้นต่ำไว้เลยว่า แต่ละโครงการอย่างน้อยต้องมีเท่าไร ซึ่งทางแบงก์จะมีวิธีการดูว่า ทำอย่างไรสินเชื่อที่ปล่อยไปถึงจะมีความปลอดภัยมากที่สุด"นายรณดลกล่าว นอกจากนี้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ให้กับผู้ประกอบการแต่ละราย ก็จะดูถึงฐานะการเงินด้วย โดยดูว่ามีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน(ดี/อี) เท่าไร ขณะเดียวกันยังดูถึงโครงการที่จะเปิดใหม่ด้วยว่าอยู่ในพื้นที่ลักษณะใด มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน สะท้อนถึงความระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อที่มีมากขึ้น นายรณดล กล่าวด้วยว่า ถ้าพูดถึงโครงการอสังหาริมทรัพย์ ไม่ใช่ว่าทุกโครงการจะมี ความเสี่ยงทั้งหมด เพราะถ้าดูโครงการตามแนวรถไฟฟ้าจะเห็นว่าความต้องการซื้อยังคงมีอยู่
และเท่าที่ติดตามดูก็พบว่า หากโครงการใดเปิดตัวแล้วมียอดจองซื้อเข้ามาต่ำ ผู้ประกอบการก็จะตัดสินใจยกเลิกโครงการดังกล่าวไป ขณะที่ การซื้อเพื่อเก็งกำไรในปัจจุบันก็ลดลงไปมากเมื่อเทียบกับช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งอาจเพราะสถานการณ์เศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยด้วย
ส่วนที่อยู่อาศัยแนวราบนั้น สถานการณ์ ในปัจจุบันก็แตกต่างจากช่วงปี 2540-2541 ค่อนข้างมาก เพราะปัจจุบันใช้วิธีทำเป็นเฟสๆ คือ ทำเฟสแรกเสร็จเปิดขายแล้วค่อยมาขอ สินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์เพิ่ม ไม่ได้ใช้วิธีเปิดแบบปูพรมเหมือนในอดีต
"ไม่ใช่ว่าแบงก์จะไม่ปล่อยสินเชื่อเลย ถ้าเขาเห็นว่าโครงการไหนไปได้ ยังไงเขาก็ ปล่อย เพราะการปล่อยสินเชื่อถือเป็นรายได้ของเขา อีกทั้งแบงก์พาณิชย์ถือเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย ดังนั้นหากไปเข้มงวดทุกอย่างก็คงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ดูแล เพราะทางเราก็ยังติดตามดูอย่างใกล้ชิด"นายรณดลกล่าว
รายงานนโยบายการเงิน เดือนมี.ค.2558 ระบุว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอุปทาน ล้นตลาด โดยเฉพาะอาคารชุดเนื่องจากกำลังซื้อฟื้นตัวช้ากว่าที่ผู้ประกอบการคาด จึงต้องติดตามการฟื้นตัวของกำลังซื้อในระยะถัดไป
ด้านนายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่ได้ห่วงความเสี่ยงในเรื่องอุปทานล้นตลาดมากนัก เพราะระยะหลังจะเห็นว่าผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์มีการปรับตัวค่อนข้างดี โดยชะลอเปิดตัวโครงการใหม่ๆ ลง
ส่วนยอดคงค้างอุปทาน แม้ปัจจุบันจะมีจำนวนที่สูงกว่าตอนปี 2540 แต่ถ้าดูเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) แล้ว ถือว่ามีสัดส่วนที่น้อยลงมาก
"เทียบกับจีดีพีแล้วไม่ได้มาก ไม่ได้น่ากลัวเท่าตอนปี 2540 ที่ต้องติดตามดู คือ ดีมานด์ในปีนี้จะเป็นอย่างไร เพราะหลังจากปัญหาการเมืองคลี่คลายลง อาจทำให้กำลังซื้อกลับมาบ้าง แม้ว่าช่วงต้นปีจะชะลอลงไปบ้างก็ตาม"
นอกจากนี้ถ้าดูผลประกอบการของบริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า ยังมีผลประกอบการที่ค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ