ประเมินครึ่งปีหลังคอนโดฯสร้างเสร็จพร้อมโอนทะลัก 6.3 หมื่นยูนิต มูลค่ารวม 1.36 แสนล้าน แบงก์ใหญ่ แข่งแคมเปญสินเชื่อ "ไทยพาณิชย์" หั่นดอกเบี้ย ดึงมาร์เก็ตแชร์ 30% "กสิกรไทย" ส่งแพ็กเกจแรง "กรุงเทพ" เพิ่มทีมขายตรง ธปท.มั่นใจไม่สร้างปัญหาฟองสบู่แน่นอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะสินเชื่อโครงการคอนโดมิเนียมมีแนวโน้มคึกคัก เนื่องจากสถาบันการเงินประเมินว่าจะมีห้องชุดสร้างเสร็จพร้อมโอนรวมกันถึง 6.3 หมื่นยูนิต คิดเป็นมูลค่ารวม 1.36 แสนล้านบาท ในขณะที่คุณภาพสินเชื่อค่อนข้างดี ทำให้สถาบันการเงินเตรียมจัดแพ็กเกจสินเชื่อเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดให้มากที่สุด
ไทยพาณิชย์ขอแชร์ 30%
นางพิกุล ศรีมหันต์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า การแข่งขันปล่อยสินเชื่อในตลาดคอนโดมิเนียมครึ่งปีหลังมองว่าน่าจะมีความรุนแรงขึ้นกว่าครึ่งปีแรก โดยเฉพาะ ในทำเลแนวรถไฟฟ้า โดยคอนโดฯที่สร้างเสร็จพร้อมโอนในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่า จะอยู่ที่ 6.3 หมื่นยูนิต คิดเป็นมูลค่า 1.36 แสนล้านบาท จากมูลค่าตลาดรวมของอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ที่คาดว่าจะมี ยอดขายประมาณ 5.7 แสนล้านบาท
ธนาคารตั้งเป้ามีส่วนแบ่งตลาดในการปล่อยสินเชื่อคอนโดฯไม่น้อยกว่า 30% ใช้กลยุทธ์ให้บริการรวดเร็ว เข้าถึง และแข่งขันอัตราดอกเบี้ยอย่างเต็มที่ ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของไทยพาณิชย์ สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) คงที่ 3 ปี 4.25-4.50% ต่อปี หากแข่งขันรุนแรงก็พร้อมลดดอกเบี้ยให้อีก 0.25%
อย่างไรก็ดี การปล่อยสินเชื่อคอนโดฯถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ เพราะส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มมีรายได้สูงและมีรายได้ประจำ ซื้อในราคาเฉลี่ยยูนิตละ 2-3 ล้านบาท ทำให้หนี้เสียไม่สูงมากนัก โดยหนี้ที่ไม่ก่อ ให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) สินเชื่อ คอนโดฯของธนาคารอยู่ที่ 0.8% ขณะที่ เอ็นพีแอลสินเชื่อที่อยู่อาศัยรวมมี 2%
นางพิกุลกล่าวอีกว่า ปีนี้ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย 100,000 ล้านบาท ครึ่งปีแรกทำได้แล้ว 50,000 ล้านบาท มียอดสินเชื่อเติบโตสุทธิ 20,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 ล้านบาท จาก สิ้นปี 2556 อยู่ที่ 480,000 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีนี้พอร์ตจะเพิ่มขึ้นเป็น 520,000 ล้านบาท
เคแบงก์อุบไต๋ทำแคมเปญแรง
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การแข่งขันปล่อยสินเชื่อนั้นเชื่อว่าจะรุนแรงขึ้น แต่คงไม่ถึงขั้นแข่งขันลดดอกเบี้ย หรือลดราคาทรัพย์โดยตรง แต่น่าจะอยู่ในรูปของการจัด โปรโมชั่นลด แลก แจก แถม อาทิ แถมเครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น เนื่องจากการลดดอกเบี้ยคงทำได้ลำบาก เพราะต้องยอมรับว่ามาร์จิ้นสินเชื่อที่อยู่อาศัยค่อนข้างต่ำมาก แต่ที่ยังเห็นการแข่งขันทำตลาดเป็นเพราะสามารถขายพ่วงผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น ๆ ได้ อาทิ ประกันภัย ประกันชีวิต บัตรเครดิต เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งรายได้จากค่าธรรมเนียม
"โดยปลายเดือน ส.ค.นี้ เคแบงก์เตรียมออกแคมเปญใหญ่เพื่อกระตุ้นตลาดในช่วงปลายปี" นายชาติชายกล่าว
กรุงเทพเสริมทีมขายตรง
ด้านนางพจนี คงคาลัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ธนาคารมีพอร์ตสินเชื่อที่อยู่อาศัย 184,000 ล้านบาท แบ่งเป็นบ้านเดี่ยว 40% ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์ 20-30% และคอนโดฯ 20-30% ระยะหลังสินเชื่อคอนโดฯมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคนิยมซื้อคอนโดฯเพื่อเป็นบ้านหลังที่ 2 ทำเลในเมืองเพราะต้องการเลี่ยงปัญหารถติด รวมถึงซื้อเพื่อเก็งกำไร
ทั้งนี้ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ธนาคารปรับกลยุทธ์บุกตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยเพิ่มทีมงานขายตรง (Direct Sale) ดูแลตลาดในเขตกรุงเทพฯโดยเฉพาะ ผลตอบรับ พบว่าในช่วง 1-2 ปีให้หลัง ยอดปล่อย สินเชื่อที่อยู่อาศัยทำได้ดีขึ้น จึงตั้งเป้า เพิ่มทีมขายตรงเป็น 300 คนภายในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันมีประมาณ 200 คน
แบงก์ชาติมั่นใจไร้ฟองสบู่
ด้านนายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากที่ภาคอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาพรวมการปล่อยสินเชื่อ อสังหาฯเพิ่มสูงขึ้น เชื่อว่าเป็นการฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากช่วงต้นปีแรก อสังหาริมทรัพย์มีการชะลอ ดังนั้นการ กลับมาฟื้นตัวในรอบนี้จึงเป็นการเติบโตจากช่วงต้นปีที่ชะลอตัว
"เชื่อว่าภาวะฟื้นตัวทั้งการเติบโตของภาคอสังหาฯ และการปล่อยสินเชื่อที่เติบโตต่อเนื่อง เป็นการฟื้นตัวหลังจากอั้นมาเพราะภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นระยะข้างหน้าการเติบโตก็เชื่อว่าจะไม่ร้อนแรงจนเป็นปัญหาต่อด้านเสถียรภาพต่าง ๆ ซึ่งยังไม่ถึงขั้นต้องปรับเกณฑ์ Loan to Value (LTV) หรืออัตราส่วนการให้สินเชื่อต่อมูลค่า หลักประกัน ซึ่งมีผลในทางปฏิบัติให้การปล่อยสินเชื่อคอนโดฯในปัจจุบันปล่อยได้ 90% โดยผู้กู้จะต้องมีการวางเงินดาวน์ 10%" นายไพบูลย์กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
ไทยพาณิชย์ขอแชร์ 30%
นางพิกุล ศรีมหันต์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า การแข่งขันปล่อยสินเชื่อในตลาดคอนโดมิเนียมครึ่งปีหลังมองว่าน่าจะมีความรุนแรงขึ้นกว่าครึ่งปีแรก โดยเฉพาะ ในทำเลแนวรถไฟฟ้า โดยคอนโดฯที่สร้างเสร็จพร้อมโอนในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่า จะอยู่ที่ 6.3 หมื่นยูนิต คิดเป็นมูลค่า 1.36 แสนล้านบาท จากมูลค่าตลาดรวมของอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ที่คาดว่าจะมี ยอดขายประมาณ 5.7 แสนล้านบาท
ธนาคารตั้งเป้ามีส่วนแบ่งตลาดในการปล่อยสินเชื่อคอนโดฯไม่น้อยกว่า 30% ใช้กลยุทธ์ให้บริการรวดเร็ว เข้าถึง และแข่งขันอัตราดอกเบี้ยอย่างเต็มที่ ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของไทยพาณิชย์ สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) คงที่ 3 ปี 4.25-4.50% ต่อปี หากแข่งขันรุนแรงก็พร้อมลดดอกเบี้ยให้อีก 0.25%
อย่างไรก็ดี การปล่อยสินเชื่อคอนโดฯถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ เพราะส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มมีรายได้สูงและมีรายได้ประจำ ซื้อในราคาเฉลี่ยยูนิตละ 2-3 ล้านบาท ทำให้หนี้เสียไม่สูงมากนัก โดยหนี้ที่ไม่ก่อ ให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) สินเชื่อ คอนโดฯของธนาคารอยู่ที่ 0.8% ขณะที่ เอ็นพีแอลสินเชื่อที่อยู่อาศัยรวมมี 2%
นางพิกุลกล่าวอีกว่า ปีนี้ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย 100,000 ล้านบาท ครึ่งปีแรกทำได้แล้ว 50,000 ล้านบาท มียอดสินเชื่อเติบโตสุทธิ 20,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 ล้านบาท จาก สิ้นปี 2556 อยู่ที่ 480,000 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีนี้พอร์ตจะเพิ่มขึ้นเป็น 520,000 ล้านบาท
เคแบงก์อุบไต๋ทำแคมเปญแรง
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การแข่งขันปล่อยสินเชื่อนั้นเชื่อว่าจะรุนแรงขึ้น แต่คงไม่ถึงขั้นแข่งขันลดดอกเบี้ย หรือลดราคาทรัพย์โดยตรง แต่น่าจะอยู่ในรูปของการจัด โปรโมชั่นลด แลก แจก แถม อาทิ แถมเครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น เนื่องจากการลดดอกเบี้ยคงทำได้ลำบาก เพราะต้องยอมรับว่ามาร์จิ้นสินเชื่อที่อยู่อาศัยค่อนข้างต่ำมาก แต่ที่ยังเห็นการแข่งขันทำตลาดเป็นเพราะสามารถขายพ่วงผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น ๆ ได้ อาทิ ประกันภัย ประกันชีวิต บัตรเครดิต เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งรายได้จากค่าธรรมเนียม
"โดยปลายเดือน ส.ค.นี้ เคแบงก์เตรียมออกแคมเปญใหญ่เพื่อกระตุ้นตลาดในช่วงปลายปี" นายชาติชายกล่าว
กรุงเทพเสริมทีมขายตรง
ด้านนางพจนี คงคาลัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ธนาคารมีพอร์ตสินเชื่อที่อยู่อาศัย 184,000 ล้านบาท แบ่งเป็นบ้านเดี่ยว 40% ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์ 20-30% และคอนโดฯ 20-30% ระยะหลังสินเชื่อคอนโดฯมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคนิยมซื้อคอนโดฯเพื่อเป็นบ้านหลังที่ 2 ทำเลในเมืองเพราะต้องการเลี่ยงปัญหารถติด รวมถึงซื้อเพื่อเก็งกำไร
ทั้งนี้ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ธนาคารปรับกลยุทธ์บุกตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยเพิ่มทีมงานขายตรง (Direct Sale) ดูแลตลาดในเขตกรุงเทพฯโดยเฉพาะ ผลตอบรับ พบว่าในช่วง 1-2 ปีให้หลัง ยอดปล่อย สินเชื่อที่อยู่อาศัยทำได้ดีขึ้น จึงตั้งเป้า เพิ่มทีมขายตรงเป็น 300 คนภายในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันมีประมาณ 200 คน
แบงก์ชาติมั่นใจไร้ฟองสบู่
ด้านนายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากที่ภาคอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาพรวมการปล่อยสินเชื่อ อสังหาฯเพิ่มสูงขึ้น เชื่อว่าเป็นการฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากช่วงต้นปีแรก อสังหาริมทรัพย์มีการชะลอ ดังนั้นการ กลับมาฟื้นตัวในรอบนี้จึงเป็นการเติบโตจากช่วงต้นปีที่ชะลอตัว
"เชื่อว่าภาวะฟื้นตัวทั้งการเติบโตของภาคอสังหาฯ และการปล่อยสินเชื่อที่เติบโตต่อเนื่อง เป็นการฟื้นตัวหลังจากอั้นมาเพราะภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นระยะข้างหน้าการเติบโตก็เชื่อว่าจะไม่ร้อนแรงจนเป็นปัญหาต่อด้านเสถียรภาพต่าง ๆ ซึ่งยังไม่ถึงขั้นต้องปรับเกณฑ์ Loan to Value (LTV) หรืออัตราส่วนการให้สินเชื่อต่อมูลค่า หลักประกัน ซึ่งมีผลในทางปฏิบัติให้การปล่อยสินเชื่อคอนโดฯในปัจจุบันปล่อยได้ 90% โดยผู้กู้จะต้องมีการวางเงินดาวน์ 10%" นายไพบูลย์กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ