แบงก์ประเมินแนวโน้ม"เอ็นพีแอล" สินเชื่อบ้านปี 2557 ปรับเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจชะลอตัว และภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น พร้อมใจคุมความเสี่ยงปรับระบบสกอริ่ง ดึงข้อมูลจากเครดิตบูโรมากขึ้น ส่วนสินเชื่อทรงตัว หรือลดลง คาดตลาดอสังหาฯ ขยายตัว 9% ขณะที่ตลาดต่างจังหวัดชะลอเล็กน้อย ขยายตัวเฉพาะหัวเมืองใหญ่ แนะจับตาลูกค้าทิ้งคอนโด 10-20% เพิ่มขึ้นจากปกติ 5-10% แต่ไม่กระทบสภาพคล่อง ผู้ประกอบการ ยันไม่ใช้ 0% และเพิ่มเงินดาวน์บ้านหลังที่ 3
นายเวทย์ นุชเจริญ รองกรรมการ ผู้จัดการ ใหญ่อาวุโส ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2557 ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ ตามความต้องการที่อยู่อาศัย โดยธนาคารตั้งเป้าขยายสินเชื่อบ้าน 10-15% จากปี 2556 ที่ขยายตัวได้ 12% และทำให้พอร์ต สินเชื่อสิ้นปี 2556 อยู่ที่ 2.7 แสนล้านบาท
กลยุทธ์ปีนี้จะเน้นตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น และตามแนวชายแดนที่ยังมีความต้องการอยู่มาก โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพ เช่น จังหวัดนครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี ขอนแก่น รวมถึงที่อำเภอหาดใหญ่ และ จังหวัดภูเก็ต ส่วนในกรุงเทพฯ เฉพาะผู้ประกอบการ รายใหญ่ในตลาด
ขณะเดียวกัน การปรับกระบวนการอนุมัติสินเชื่อภายในธนาคาร รวมถึงระบบการประเมินราคาใหม่ จะช่วยให้ธนาคารอนุมัติสินเชื่อได้เร็วมากขึ้น รวมทั้งการรีไฟแนนซ์จากธนาคารแห่งอื่น และยังจะเจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นพนักงานของบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีเงินเดือนผ่านธนาคาร มากขึ้น จากเดิมที่ลูกค้าหลักของธนาคารเป็นลูกค้ากลุ่มข้าราชการมากกว่า 50% ทั้งนี้เพื่อให้พอร์ตสินเชื่อบ้านของธนาคารห่างจากเบอร์หนึ่งน้อยลง
ธนาคารจะปล่อยสินเชื่อด้วยความรอบคอบระมัดระวังมากขึน แม้สัดส่วนเอ็นพีแอลจะไม่สูงมากนัก แต่เริ่มเห็นแนวโน้มเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นจาก1.7-1.8% ในช่วงต้นปีมาอยู่ที่ 2.04% โดยช่วงที่ผ่านมา ลูกหนี้ที่มีวงเงินสินเชื่อตั้งแต่ 1-5 ล้านบาท มีสัดส่วนของการเป็นเอ็นพีแอลมากขึ้น หรือกว่า 70-80% ของเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าข้าราชการ ที่เป็นฐานลูกค้าหลักของธนาคาร
ดังนั้น ปีนี้ธนาคารจะปรับระบบสกอริ่งโดยใช้ข้อมูลทางสถิติที่เครดิตบูโรนำมาให้บริการมากขึ้น ซึ่งจะมีข้อมูลพฤติกรรมของลูกสค้าย้อนหลังได้ จากเดิมที่ธนาคารจะเข้าไปดูข้อมูลลูกค้าเพียงครั้งเดียว
"เดิมเราดูครั้งเดียว ว่า เขียว เหลือง หรือ แดง เมื่อตอนที่สมัครเข้ามา ไม่เคยรู้ว่าในอดีตเป็นสี อะไร แต่ขณะนี้เครดิตบูโรกำลังพัฒนาระบบใหม่ สามารถเห็นได้หมดว่าลูกค้าในอดีตเคย เขียว เหลือง แดง มากี่ครั้ง ซึ่งแจะแสดงให้เห็นหมด ละเอียดมากขึ้น เราสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ได้มากขึ้น เพื่อคุมเอ็นพีแอลปีหน้าให้ต่ำกว่า 2%"
ด้าน นางพิกุล ศรีมหันต์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปีนี้คาดว่าสินเชื่อบ้านชะลอตัว ตามภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวเพียง 9% ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ต่างจังหวัดขยายตัวได้ 20% โดยช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่รุกตลาดต่างจังหวัด ทำให้ดึงความต้องการในช่วง 2 ปีข้างหน้ามาใช้ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ทำให้ตลาดคอนโดในต่างจังหวัดปีหน้าจะโต ลดลง แต่แนวราบในต่างจังหวัดยังไปได้
นางพิกุล กล่าวว่า แม้ตลาดคอนโดมิเนียมในต่างจังหวัด จะเริ่มชะลอตัว แต่สินเชื่อบ้านในต่างจังหวัด ยังขยายตัวได้ 20% จากการจองซื้อที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ส่วนตลาดกรุงเทพฯ จะทรงตัว ขณะที่สินเชื่อบ้านคงค้างทั้งระบบปีนี้ คาดจะขยายตัวได้ 6% ลดลงจากปี 2556 ที่ขยายตัว 11% ในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์ คาดปีนี้จะขยายตัวได้ 10% หรือ 4-5 หมื่นล้านบาท สูงกว่าระบบเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดอันดับ 1 หรือ 30% ของตลาดรวม ซึ่งจะทำให้สินเชื่อ คงค้างในสิ้นปีนี้แตะ 5 แสนล้านบาท จากปี 2556 จะอยู่ที่ 4.5-4.6 แสนล้านบาท
ยอดปล่อยกู้ใหม่ลดลง
"ปี 2556 ธนาคารปล่อยสินเชื่อใหม่ขยายตัว 15% แต่ปีนี้ธนาคารจะไม่เน้นอัตราการขยายตัวของสินเชื่อมากนัก และมีแนวโน้มสินเชื่อใหม่ จะโตลดลงจาก 1.3 แสนล้านบาทในปี 2556 เป็น 1-1.1 แสนล้านบาทในปีนี้ แต่ยอดสินเชื่อคงค้างจะไม่ลดลงมาก เพราะเศรษฐกิจไม่ดี ลูกค้าจะไม่จ่ายเกินยอดผ่อนแล้ว เพื่อรักษาสภาพคล่อง ทำให้พอร์ตสินเชื่อคงไม่ลดลงเร็วเหมือนช่วงเศรษฐกิจดี"
ปีนี้ยังต้องจับตาดูว่า หากเศรษฐกิจชะลอตัว ลูกค้าจะมีการยื้อโอนคอนโด ทิ้งจองหรือขายคอนโดที่ซื้อไว้เพื่อลดภาระหนี้ โดยคาดว่าจะมีการชะลอโอนคอนโด 10-20% จากปกติยื้อโอน 5-10% แต่จะไม่ร้ายแรงเหมือนช่วงปี 2540 ที่ฟองสบู่แตก เพราะผู้ประกอบการ หากมียอดโอนได้ 80% ถือว่ากำไรแล้ว และขณะนี้ภาค อสังหาฯ ของไทยมีสัดส่วนหนี้ในระดับต่ำ
ขณะที่ ปี 2540 ปริมาณคอนโดสร้างใหม่ในระบบค่อนข้างมากและกระจัดกระจาย แต่คอนโด ออกใหม่ขณะนี้ เกาะอยู่ตามแนวรถไฟฟ้าและถนนใหญ่ ดังนั้น การขายออกไปไม่ยาก ขณะที่โครงการใหม่ยังไม่เกิดมากนัก หลังจากตลาดเริ่มปรับเข้าสู่สมดุลมากขึ้น จึงเชื่อว่าจะไม่จะกระทบสภาพคล่องของผู้ประกอบการ
ปีนี้งดชูแคมเปญ 0%
นางพิกุล ประเมินว่า การแข่งขันสินเชื่อบ้านปีนี้ ยังรุนแรงอยู่ จากเค้กที่เล็กลง โดยธนาคารยังมุ่งเน้นผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นหลัก และหันไปดูแลคุณภาพสินเชื่อมากขึ้น โดยกลยุทธ์ของธนาคารปีนี้ คือ การปรับระบบสกอริ่ง โดยนำพฤติกรรมย้อนหลังของลูกค้ามาคำนวณความเสี่ยงสินเชื่อ ซึ่งแนวทางนี้ จะช่วยให้ธนาคารคัดกรองคุณภาพลูกหนี้ได้ดีขึ้น และมีการประมาณการโอกาสเป็นหนี้เสียจากค่าสถิติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่บ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป จะระมัดระวังเพิ่มขึ้น ส่วนหลังที่ 3 จะเริ่มให้เงินดาวน์มากขึ้น แต่ยืนยันว่าจะไม่ชูดอกเบี้ย 0% เพราะในฐานะแบงก์ใหญ่ไม่ต้องการสนับสนุนการเก็งกำไร
"ปีก่อนเริ่มเห็นลูกค้าใหม่ 15-20% ที่เข้ามาขอสินเชื่อบ้านกับแบงก์ มีพฤติกรรมการชำระหนี้ช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาที่ไม่ตรงตามกำหนด หรือชำระล่าช้าในบางเดือน ซึ่งตามค่าสถิติของแบงก์ พบว่ามีโอกาสที่จะกลายเป็นหนี้เสียได้มากในอนาคต จึงระมัดระวังลูกค้ากลุ่มสีเทาเป็นพิเศษ และจะเน้นขายเอ็นพีเอมากขึ้น เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวแนวโน้มเอ็นพีแอลจะเพิ่มขึ้น จะเห็นการตีโอนทรัพย์ชำระหนี้มากขึ้น โดยในปีที่ผ่านมาธนาคารขายเอ็นพีเอ ไป 4-5 พันล้านบาท ส่วนปีนี้คาดจะขายได้ 6-7 พันล้านบาท ช่วยให้เอ็นพีแอลลดลงอยู่ที่ระดับ 2.3% จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.1%"
กสิกร คาดสินเชื่อโต 9%
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปีนี้จะขยายตัวได้ 9% จากปีนี้ ที่เติบโต 9.5% โดยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง และกำลังซื้อที่หดตัวลงจากภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนแนวโน้มสินเชื่อบ้าน คงชะลอตัวลงตามกำลังซื้อที่ลดลง จากหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยสินเชื่อในต่างจังหวัดยังมีการเติบโตที่ดีอยู่
ส่วนปีนี้คาดสินเชื่อบ้านของธนาคาร จะขยายตัว 8-9% จากสิ้นปี 2556 ที่ยอดสินเชื่อ คงค้างธนาคารเติบโตระดับ 10% สูงกว่าเป้าที่ 8% ซึ่งยอดสินเชื่อคงค้างที่สูงกว่าเป้า 2% เพราะธนาคารมีนโยบายขายให้กับบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือ บตท. เพื่อรักษาระดับการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อบ้านให้อยู่ในระดับที่ต้องการตามแนวทางการบริหารความเสี่ยง
คุณภาพสินเชื่อบ้านมีเอ็นพีแอลปรับเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หรือ อยู่ที่ 1.63% จากต้นปี อยู่ที่ 1.61% เทียบกับตลาดที่มี 2.5% ดังนั้น ต้นปีนี้ธนาคาจะนำเครื่องมือวิเคราะห์ความเสี่ยงมาใช้ คัดกรองลูกค้ามากขึ้น ด้วยการปรับระบบการให้คะแนนลูกค้า (Credit Scoring) ให้เข้มขึ้น และเพิ่มคะแนนสำหรับการอนุมัติสินเชื่อจาก 65% เป็น 70% ส่งผลให้การเข้าถึงสินเชื่อช่วง ครึ่งปีที่ผ่านมา ยอมรับว่ามีการปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หรือ 3-5%
"เราจะให้คะแนนพฤติกรรมการชำระหนี้ของลูกค้าในแต่ละเดือน จากเดิมที่เราจะดูแค่ข้อมูลในใบสมัครลูกค้า ประวัติการชำระหนี้จากเครดิตบูโร ซึ่งหากลูกค้ามีความเสี่ยงว่า อาจเป็นเอ็นพีแอลกับสถาบันการเงินอื่น อาจจะต้องจับตาดูเป็นพิเศษ ดังนั้นลูกค้าควรรักษาวินัยทางการเงินให้ดี ในช่วงที่ผ่านมาการสกัดฟองสบู่อสังหาฯ ด้วยการเพิ่มเงินดาวน์ 15% สำหรับการขอสินเชื่อ บ้านหลังที่ 3 จากเดิมที่คอนโดมิเนียมจะได้รับวงเงิน 80-90% และบ้านเดี่ยวจะได้วงเงิน 80-95% และไม่ให้สินเชื่อตั้งแต่หลังที่ 4 ขึ้นไป"
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
กลยุทธ์ปีนี้จะเน้นตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น และตามแนวชายแดนที่ยังมีความต้องการอยู่มาก โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพ เช่น จังหวัดนครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี ขอนแก่น รวมถึงที่อำเภอหาดใหญ่ และ จังหวัดภูเก็ต ส่วนในกรุงเทพฯ เฉพาะผู้ประกอบการ รายใหญ่ในตลาด
ขณะเดียวกัน การปรับกระบวนการอนุมัติสินเชื่อภายในธนาคาร รวมถึงระบบการประเมินราคาใหม่ จะช่วยให้ธนาคารอนุมัติสินเชื่อได้เร็วมากขึ้น รวมทั้งการรีไฟแนนซ์จากธนาคารแห่งอื่น และยังจะเจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นพนักงานของบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีเงินเดือนผ่านธนาคาร มากขึ้น จากเดิมที่ลูกค้าหลักของธนาคารเป็นลูกค้ากลุ่มข้าราชการมากกว่า 50% ทั้งนี้เพื่อให้พอร์ตสินเชื่อบ้านของธนาคารห่างจากเบอร์หนึ่งน้อยลง
ธนาคารจะปล่อยสินเชื่อด้วยความรอบคอบระมัดระวังมากขึน แม้สัดส่วนเอ็นพีแอลจะไม่สูงมากนัก แต่เริ่มเห็นแนวโน้มเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นจาก1.7-1.8% ในช่วงต้นปีมาอยู่ที่ 2.04% โดยช่วงที่ผ่านมา ลูกหนี้ที่มีวงเงินสินเชื่อตั้งแต่ 1-5 ล้านบาท มีสัดส่วนของการเป็นเอ็นพีแอลมากขึ้น หรือกว่า 70-80% ของเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าข้าราชการ ที่เป็นฐานลูกค้าหลักของธนาคาร
ดังนั้น ปีนี้ธนาคารจะปรับระบบสกอริ่งโดยใช้ข้อมูลทางสถิติที่เครดิตบูโรนำมาให้บริการมากขึ้น ซึ่งจะมีข้อมูลพฤติกรรมของลูกสค้าย้อนหลังได้ จากเดิมที่ธนาคารจะเข้าไปดูข้อมูลลูกค้าเพียงครั้งเดียว
"เดิมเราดูครั้งเดียว ว่า เขียว เหลือง หรือ แดง เมื่อตอนที่สมัครเข้ามา ไม่เคยรู้ว่าในอดีตเป็นสี อะไร แต่ขณะนี้เครดิตบูโรกำลังพัฒนาระบบใหม่ สามารถเห็นได้หมดว่าลูกค้าในอดีตเคย เขียว เหลือง แดง มากี่ครั้ง ซึ่งแจะแสดงให้เห็นหมด ละเอียดมากขึ้น เราสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ได้มากขึ้น เพื่อคุมเอ็นพีแอลปีหน้าให้ต่ำกว่า 2%"
ด้าน นางพิกุล ศรีมหันต์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปีนี้คาดว่าสินเชื่อบ้านชะลอตัว ตามภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวเพียง 9% ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ต่างจังหวัดขยายตัวได้ 20% โดยช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่รุกตลาดต่างจังหวัด ทำให้ดึงความต้องการในช่วง 2 ปีข้างหน้ามาใช้ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ทำให้ตลาดคอนโดในต่างจังหวัดปีหน้าจะโต ลดลง แต่แนวราบในต่างจังหวัดยังไปได้
นางพิกุล กล่าวว่า แม้ตลาดคอนโดมิเนียมในต่างจังหวัด จะเริ่มชะลอตัว แต่สินเชื่อบ้านในต่างจังหวัด ยังขยายตัวได้ 20% จากการจองซื้อที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ส่วนตลาดกรุงเทพฯ จะทรงตัว ขณะที่สินเชื่อบ้านคงค้างทั้งระบบปีนี้ คาดจะขยายตัวได้ 6% ลดลงจากปี 2556 ที่ขยายตัว 11% ในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์ คาดปีนี้จะขยายตัวได้ 10% หรือ 4-5 หมื่นล้านบาท สูงกว่าระบบเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดอันดับ 1 หรือ 30% ของตลาดรวม ซึ่งจะทำให้สินเชื่อ คงค้างในสิ้นปีนี้แตะ 5 แสนล้านบาท จากปี 2556 จะอยู่ที่ 4.5-4.6 แสนล้านบาท
ยอดปล่อยกู้ใหม่ลดลง
"ปี 2556 ธนาคารปล่อยสินเชื่อใหม่ขยายตัว 15% แต่ปีนี้ธนาคารจะไม่เน้นอัตราการขยายตัวของสินเชื่อมากนัก และมีแนวโน้มสินเชื่อใหม่ จะโตลดลงจาก 1.3 แสนล้านบาทในปี 2556 เป็น 1-1.1 แสนล้านบาทในปีนี้ แต่ยอดสินเชื่อคงค้างจะไม่ลดลงมาก เพราะเศรษฐกิจไม่ดี ลูกค้าจะไม่จ่ายเกินยอดผ่อนแล้ว เพื่อรักษาสภาพคล่อง ทำให้พอร์ตสินเชื่อคงไม่ลดลงเร็วเหมือนช่วงเศรษฐกิจดี"
ปีนี้ยังต้องจับตาดูว่า หากเศรษฐกิจชะลอตัว ลูกค้าจะมีการยื้อโอนคอนโด ทิ้งจองหรือขายคอนโดที่ซื้อไว้เพื่อลดภาระหนี้ โดยคาดว่าจะมีการชะลอโอนคอนโด 10-20% จากปกติยื้อโอน 5-10% แต่จะไม่ร้ายแรงเหมือนช่วงปี 2540 ที่ฟองสบู่แตก เพราะผู้ประกอบการ หากมียอดโอนได้ 80% ถือว่ากำไรแล้ว และขณะนี้ภาค อสังหาฯ ของไทยมีสัดส่วนหนี้ในระดับต่ำ
ขณะที่ ปี 2540 ปริมาณคอนโดสร้างใหม่ในระบบค่อนข้างมากและกระจัดกระจาย แต่คอนโด ออกใหม่ขณะนี้ เกาะอยู่ตามแนวรถไฟฟ้าและถนนใหญ่ ดังนั้น การขายออกไปไม่ยาก ขณะที่โครงการใหม่ยังไม่เกิดมากนัก หลังจากตลาดเริ่มปรับเข้าสู่สมดุลมากขึ้น จึงเชื่อว่าจะไม่จะกระทบสภาพคล่องของผู้ประกอบการ
ปีนี้งดชูแคมเปญ 0%
นางพิกุล ประเมินว่า การแข่งขันสินเชื่อบ้านปีนี้ ยังรุนแรงอยู่ จากเค้กที่เล็กลง โดยธนาคารยังมุ่งเน้นผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นหลัก และหันไปดูแลคุณภาพสินเชื่อมากขึ้น โดยกลยุทธ์ของธนาคารปีนี้ คือ การปรับระบบสกอริ่ง โดยนำพฤติกรรมย้อนหลังของลูกค้ามาคำนวณความเสี่ยงสินเชื่อ ซึ่งแนวทางนี้ จะช่วยให้ธนาคารคัดกรองคุณภาพลูกหนี้ได้ดีขึ้น และมีการประมาณการโอกาสเป็นหนี้เสียจากค่าสถิติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่บ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป จะระมัดระวังเพิ่มขึ้น ส่วนหลังที่ 3 จะเริ่มให้เงินดาวน์มากขึ้น แต่ยืนยันว่าจะไม่ชูดอกเบี้ย 0% เพราะในฐานะแบงก์ใหญ่ไม่ต้องการสนับสนุนการเก็งกำไร
"ปีก่อนเริ่มเห็นลูกค้าใหม่ 15-20% ที่เข้ามาขอสินเชื่อบ้านกับแบงก์ มีพฤติกรรมการชำระหนี้ช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาที่ไม่ตรงตามกำหนด หรือชำระล่าช้าในบางเดือน ซึ่งตามค่าสถิติของแบงก์ พบว่ามีโอกาสที่จะกลายเป็นหนี้เสียได้มากในอนาคต จึงระมัดระวังลูกค้ากลุ่มสีเทาเป็นพิเศษ และจะเน้นขายเอ็นพีเอมากขึ้น เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวแนวโน้มเอ็นพีแอลจะเพิ่มขึ้น จะเห็นการตีโอนทรัพย์ชำระหนี้มากขึ้น โดยในปีที่ผ่านมาธนาคารขายเอ็นพีเอ ไป 4-5 พันล้านบาท ส่วนปีนี้คาดจะขายได้ 6-7 พันล้านบาท ช่วยให้เอ็นพีแอลลดลงอยู่ที่ระดับ 2.3% จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.1%"
กสิกร คาดสินเชื่อโต 9%
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปีนี้จะขยายตัวได้ 9% จากปีนี้ ที่เติบโต 9.5% โดยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง และกำลังซื้อที่หดตัวลงจากภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนแนวโน้มสินเชื่อบ้าน คงชะลอตัวลงตามกำลังซื้อที่ลดลง จากหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยสินเชื่อในต่างจังหวัดยังมีการเติบโตที่ดีอยู่
ส่วนปีนี้คาดสินเชื่อบ้านของธนาคาร จะขยายตัว 8-9% จากสิ้นปี 2556 ที่ยอดสินเชื่อ คงค้างธนาคารเติบโตระดับ 10% สูงกว่าเป้าที่ 8% ซึ่งยอดสินเชื่อคงค้างที่สูงกว่าเป้า 2% เพราะธนาคารมีนโยบายขายให้กับบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือ บตท. เพื่อรักษาระดับการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อบ้านให้อยู่ในระดับที่ต้องการตามแนวทางการบริหารความเสี่ยง
คุณภาพสินเชื่อบ้านมีเอ็นพีแอลปรับเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หรือ อยู่ที่ 1.63% จากต้นปี อยู่ที่ 1.61% เทียบกับตลาดที่มี 2.5% ดังนั้น ต้นปีนี้ธนาคาจะนำเครื่องมือวิเคราะห์ความเสี่ยงมาใช้ คัดกรองลูกค้ามากขึ้น ด้วยการปรับระบบการให้คะแนนลูกค้า (Credit Scoring) ให้เข้มขึ้น และเพิ่มคะแนนสำหรับการอนุมัติสินเชื่อจาก 65% เป็น 70% ส่งผลให้การเข้าถึงสินเชื่อช่วง ครึ่งปีที่ผ่านมา ยอมรับว่ามีการปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หรือ 3-5%
"เราจะให้คะแนนพฤติกรรมการชำระหนี้ของลูกค้าในแต่ละเดือน จากเดิมที่เราจะดูแค่ข้อมูลในใบสมัครลูกค้า ประวัติการชำระหนี้จากเครดิตบูโร ซึ่งหากลูกค้ามีความเสี่ยงว่า อาจเป็นเอ็นพีแอลกับสถาบันการเงินอื่น อาจจะต้องจับตาดูเป็นพิเศษ ดังนั้นลูกค้าควรรักษาวินัยทางการเงินให้ดี ในช่วงที่ผ่านมาการสกัดฟองสบู่อสังหาฯ ด้วยการเพิ่มเงินดาวน์ 15% สำหรับการขอสินเชื่อ บ้านหลังที่ 3 จากเดิมที่คอนโดมิเนียมจะได้รับวงเงิน 80-90% และบ้านเดี่ยวจะได้วงเงิน 80-95% และไม่ให้สินเชื่อตั้งแต่หลังที่ 4 ขึ้นไป"
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ