นายสมิง ยิ้มศิริ ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการลงทุนในจังหวัดขอนแก่นจำนวนมาก ทั้งนักลงทุนท้องถิ่นและนักลงทุนต่างชาติ อาทิ จีน เปรู เวียดนาม อันเนื่องมาจากขอนแก่นถือเป็นศูนย์กลางหรือประตูสู่อาเซียน และเป็นจุดที่รถไฟความเร็วสูงสายแพนเอเชีย คุนหมิง-สิงคโปร์ วิ่งผ่าน มีโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย โครงการสร้างรถไฟรางคู่อีกหลายสาย ทำให้ที่ดินถูกจับจองจนแทบจะไม่เหลือพื้นที่ว่าง ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องดีที่เศรษฐกิจจะกระจายสู่ภูมิภาค ไม่กระจุกตัวอยู่แค่ในกรุงเทพฯ อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัดยังคงจัดสรรผังเมืองให้สอดคล้องและรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมเอาไว้ เช่น การสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของแบรนด์ท้องถิ่น ด้วยการสร้าง "ขอนแก่นแบรนด์"
ให้ผู้ประกอบการในจังหวัดที่ได้รับคัดเลือกนำไปใช้ในการเจาะตลาดไทยและเทศสู้กับธุรกิจโลก
ขณะที่แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ทุนจากประเทศจีนกำลังไหลบ่าเข้าจังหวัดขอนแก่นอย่างมหาศาล โดยได้มีการจัดสร้างนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ กรีนซิตี้ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นฐานการผลิตของกลุ่มทุนจีน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ที่จะเข้ามาลงทุนในขอนแก่นจำนวนมาก นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังได้มีการเจรจาขอซื้อที่ดินโดยใช้เงินลงทุนเบื้องต้น 200 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งสถานกงสุล ซึ่งทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีไปแล้ว ถ้าได้รับการอนุมัติเมื่อไหร่ก็จะจัดซื้อทันที ซึ่งการจัดตั้งสถานกงสุลจีนที่จังหวัดขอนแก่นนี้ ถือเป็นสถานกงสุลใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ซึ่งสถานกงสุลจีนในเมืองไทยมีอยู่ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา และล่าสุดคือ จังหวัดขอนแก่น
"การก่อตั้งสถานกงสุลวัตถุประสงค์ก็เพื่อการดูแลประชากรในพื้นที่ เมื่อจีนตั้งสถานกงสุลขนาดใหญ่ในจังหวัดขอนแก่นก็แสดงว่าเขาเตรียมอพยพคนจีนเข้าไปตั้งรกรากในขอนแก่นจำนวนมาก ซึ่งเขามองแล้วว่าเป็นทำเลแห่งอนาคต" แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า นอกจากการลงทุนซื้อที่ดินจำนวน 200 ล้านบาทแล้ว รัฐบาลจีนยังเจรจาขอซื้อพื้นที่ในคอนโดมิเนียม ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานกงสุลอีกอย่างน้อย 3 ชั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่กงสุลและครอบครัวมาอยู่ ซึ่งเป็นไปได้ว่าในอนาคตจะขยับขยายพื้นที่ออกไปอีกเพื่อรองรับกลุ่มชาวจีนรุ่นใหม่ ที่จะอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น
แหล่งข่าวยังกล่าวปิดท้ายอีกว่า ปัจจุบันนอกจากนักธุรกิจจีนที่เข้าไปทำมาหากินในจังหวัดขอนแก่นแล้ว ยังมีพ่อค้าจีนในเวียงจันทน์ขนสินค้าจากด่านชายแดนลาวเข้าไปขายในขอนแก่นทุกเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเป็นสินค้าราคาถูกที่ส่งตรงมาจากจีน จากเดิมคนไทยต้องเดินทางข้ามด่านไปซื้อ แต่ปัจจุบันไม่ต้องแล้ว เพราะมีบริการถึงในเมืองไทย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่าทุนจีนพยายามขยายพื้นที่ ตั้งชุมชนไปตามต่างจังหวัด เช่น จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เงินอย่างต่ำ 5 หมื่นล้านบาท ซื้อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งอาหาร สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ หวังใช้เป็นฐานแรงงานและฐานการผลิตส่งสินค้าจีนขายทั่วโลก ภายใต้สัญลักษณ์ "เมดอินไทยแลนด์" แหล่งข่าวยืนยันว่าโครงการดังกล่าวเป็นโมเดลเดียวกับ ไชน่า ซิตี้ ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนมีความพยายามจะสร้างเมืองพาณิชย์หรือโครงการไชน่า ซิตี้ มูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์หรือ 4.5 หมื่นล้านบาทในไทย บริเวณถนนบางนา-ตราด ใช้เป็นศูนย์นำเข้าสินค้าเพื่อส่งออก (รี-เอ็กซ์ปอร์ต) ซึ่งจะมีผู้ค้าชาวจีนมากกว่า 70,000 ราย เข้ามาดำเนินกิจการในศูนย์แห่งนี้
โดยศูนย์การพาณิชย์แห่งนี้ มีลักษณะคล้ายกับตลาดค้าส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก เหมือนกับศูนย์จำหน่ายสินค้าในเมืองอี้อูทางตะวันออกของจีน แต่ภายหลังดำเนินการก่อสร้างไประยะหนึ่งก็ติดปัญหากฎหมายผังเมืองจนต้องชะงักไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวไม่ได้ล้มหายตายจากไปแต่อย่างใด หากยังพยายามจะดำเนินการก่อสร้างต่อไป แต่เปลี่ยนรูปแบบไม่ให้ขัดกับกฎหมายไทย
ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
ขณะที่แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ทุนจากประเทศจีนกำลังไหลบ่าเข้าจังหวัดขอนแก่นอย่างมหาศาล โดยได้มีการจัดสร้างนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ กรีนซิตี้ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นฐานการผลิตของกลุ่มทุนจีน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ที่จะเข้ามาลงทุนในขอนแก่นจำนวนมาก นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังได้มีการเจรจาขอซื้อที่ดินโดยใช้เงินลงทุนเบื้องต้น 200 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งสถานกงสุล ซึ่งทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีไปแล้ว ถ้าได้รับการอนุมัติเมื่อไหร่ก็จะจัดซื้อทันที ซึ่งการจัดตั้งสถานกงสุลจีนที่จังหวัดขอนแก่นนี้ ถือเป็นสถานกงสุลใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ซึ่งสถานกงสุลจีนในเมืองไทยมีอยู่ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา และล่าสุดคือ จังหวัดขอนแก่น
"การก่อตั้งสถานกงสุลวัตถุประสงค์ก็เพื่อการดูแลประชากรในพื้นที่ เมื่อจีนตั้งสถานกงสุลขนาดใหญ่ในจังหวัดขอนแก่นก็แสดงว่าเขาเตรียมอพยพคนจีนเข้าไปตั้งรกรากในขอนแก่นจำนวนมาก ซึ่งเขามองแล้วว่าเป็นทำเลแห่งอนาคต" แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า นอกจากการลงทุนซื้อที่ดินจำนวน 200 ล้านบาทแล้ว รัฐบาลจีนยังเจรจาขอซื้อพื้นที่ในคอนโดมิเนียม ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานกงสุลอีกอย่างน้อย 3 ชั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่กงสุลและครอบครัวมาอยู่ ซึ่งเป็นไปได้ว่าในอนาคตจะขยับขยายพื้นที่ออกไปอีกเพื่อรองรับกลุ่มชาวจีนรุ่นใหม่ ที่จะอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น
แหล่งข่าวยังกล่าวปิดท้ายอีกว่า ปัจจุบันนอกจากนักธุรกิจจีนที่เข้าไปทำมาหากินในจังหวัดขอนแก่นแล้ว ยังมีพ่อค้าจีนในเวียงจันทน์ขนสินค้าจากด่านชายแดนลาวเข้าไปขายในขอนแก่นทุกเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเป็นสินค้าราคาถูกที่ส่งตรงมาจากจีน จากเดิมคนไทยต้องเดินทางข้ามด่านไปซื้อ แต่ปัจจุบันไม่ต้องแล้ว เพราะมีบริการถึงในเมืองไทย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่าทุนจีนพยายามขยายพื้นที่ ตั้งชุมชนไปตามต่างจังหวัด เช่น จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เงินอย่างต่ำ 5 หมื่นล้านบาท ซื้อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งอาหาร สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ หวังใช้เป็นฐานแรงงานและฐานการผลิตส่งสินค้าจีนขายทั่วโลก ภายใต้สัญลักษณ์ "เมดอินไทยแลนด์" แหล่งข่าวยืนยันว่าโครงการดังกล่าวเป็นโมเดลเดียวกับ ไชน่า ซิตี้ ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนมีความพยายามจะสร้างเมืองพาณิชย์หรือโครงการไชน่า ซิตี้ มูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์หรือ 4.5 หมื่นล้านบาทในไทย บริเวณถนนบางนา-ตราด ใช้เป็นศูนย์นำเข้าสินค้าเพื่อส่งออก (รี-เอ็กซ์ปอร์ต) ซึ่งจะมีผู้ค้าชาวจีนมากกว่า 70,000 ราย เข้ามาดำเนินกิจการในศูนย์แห่งนี้
โดยศูนย์การพาณิชย์แห่งนี้ มีลักษณะคล้ายกับตลาดค้าส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก เหมือนกับศูนย์จำหน่ายสินค้าในเมืองอี้อูทางตะวันออกของจีน แต่ภายหลังดำเนินการก่อสร้างไประยะหนึ่งก็ติดปัญหากฎหมายผังเมืองจนต้องชะงักไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวไม่ได้ล้มหายตายจากไปแต่อย่างใด หากยังพยายามจะดำเนินการก่อสร้างต่อไป แต่เปลี่ยนรูปแบบไม่ให้ขัดกับกฎหมายไทย
ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง