เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจจัดงานสัมมนาโอกาสครบรอบ 38 ปี หัวข้อ "สร้างโอกาสลงทุน ขับเคลื่อนไทยสู่อนาคต" ที่โรงแรมไฮแอท เอราวัณ โดยนายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "ทางเลือก ทางรอด เศรษฐกิจไทยปี 57" ว่า ขณะนี้เศรษฐกิจซึมลงด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปัจจัยในต่างประเทศที่ยังไม่มีการฟื้นตัวอย่างแท้จริง แต่ที่หนักกว่าคือปัจจัยการเมืองในประเทศ ที่ทำให้เศรษฐกิจซึมแล้วพัง ตามปกติแล้วเรื่องทางเศรษฐกิจพอรู้ว่าปัญหามาจากอะไรจะแก้ไขได้ แต่เมื่อสาเหตุของเศรษฐกิจซึมลงเป็นเพราะการเมืองที่มีปัญหาเรื่องความแตกแยกของประชาชน มีปัญหาของการปฏิเสธระบอบประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นจึงไม่ทราบว่าจะแก้ไขได้อย่างไร ยกเว้นว่ามีปาฏิหาริย์
"ปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบันยังเป็นทางตันที่ไม่สามารถจบลงได้ง่าย ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทยต้องอยู่ในภาวะซึมลงอย่างต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปี ส่วนโอกาสที่จะกลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งนั้น เชื่อว่าคงเป็นไปได้ยาก เพราะจากนี้ยังไม่เห็นสัญญาณอะไรที่จะเข้ามาช่วยทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น มีแต่ตรงกันข้ามยกเว้นอย่างเดียวคือมีปาฏิหาริย์" นายวีรพงษ์กล่าว
นายวีรพงษ์กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจพัง เนื่องจากการลงทุนภาครัฐไม่สามารถทำได้ ขณะที่การลงทุนเอกชนทำไม่ได้เช่นกัน รวมทั้งการวางแผนเพื่อรองรับการเติบโตในภูมิภาค ได้แก่ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคม 2 ล้านล้านบาท และโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เดินหน้าไม่ได้ ทั้งๆ ที่ประเทศเราสะสมเงินออมมาตลอด 17 ปี จึงต้องการนำเงินออมที่ไปลงทุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง เพราะว่าเรามีเงินออมสูงกว่าเงินลงทุนมาตลอด เมื่อไม่เดินหน้าก็เท่ากับแข่งขันไม่ได้ ขณะนี้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศไทยในไตรมาส 1 ติดลบแล้วและเชื่อว่าไตรมาส 2 ติดลบอีก หากเป็นอย่างนี้ต่อไปในสภาพที่สภาผู้แทนราษฎรไม่มี มีวุฒิสภาไม่ได้ประธาน หากมีปฏิวัติก็ไปกันใหญ่ นายกรัฐมนตรีจากช่องว่างยังไม่รู้จะเป็นอย่างไรหากเป็นเช่นนี้จนสิ้นปี ก็ไม่น่าจะมีอะไรมาทำให้เศรษฐกิจหยุดซึมลง
นายวีรพงษ์กล่าวว่า หลายคนถามว่าปัญหาเศรษฐกิจครั้งนี้จะเหมือนตอนวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ในปี 2540หรือไม่ คิดว่าไม่เป็นแบบนั้น เพราะครั้งนี้เป็นลักษณะของการซึมลงเรื่อยๆ ทั้งจากบรรยากาศระหว่างประเทศ ทั้งการฟื้นตัวของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ส่วนจีนแม้จะเป็นเสาหลักของโลก ระดับการพัฒนาสูงขึ้นมาจนรายได้ต่อหัวของประชากรสูงกว่าไทยแล้ว จึงพยายามชะลอการขยายตัวเศรษฐกิจเพื่อไม่ให้เกิดเงินเฟ้อ
นายวีรพงษ์กล่าวว่า ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้น ถือเป็นความแตกแยกระหว่างคนไทยด้วยกัน โดยในช่วงสัปดาห์ก่อนคิดว่า ประเทศไทยคงอยู่ในภาวะสุญญากาศแน่นอน แต่เมื่อคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญออกมาแล้ว ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่คาด ขณะเดียวกันยังได้พยายามสอบถามหลายคนว่าจะมีการปฏิวัติรัฐประหารหรือไม่ ได้ความว่าจะไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้มีการเผชิญหน้า มีสถานการณ์ความรุนแรงจนทำให้เกิดการเสียชีวิตขึ้น และเชื่อว่ามวลชนทั้งสองฝ่ายคงหลีกเลี่ยงการปะทะ เพื่อไม่สร้างเงื่อนไขให้เกิดการปฏิวัติ แต่หากเกิดขึ้นจริงคงไม่ส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากประชาคมโลก ทั้งองค์การสหประชาชาติ สหรัฐ ยุโรป และอาเซียน ต่างส่งสัญญาณว่าต้องการให้ประเทศไทยมีการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยเกิดขึ้น การมีช่องว่างก็ดีหรือมีการปฏิวัติ ปฏิกิริยาของประชาคมโลกคงไปในทางลบและไม่เป็นผลดีต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อสองอย่างนี้ไม่เกิดและหวังว่าอย่าเกิด เหลือปัจจัยการเมืองในประเทศว่าจะเดินไปอย่างไร แต่เท่าที่ดูคงไม่จบง่ายๆ เป็นเหมือนกับภาวะท้องอืด
"โอกาสจะเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจะเป็นไปได้ยาก เพราะเหตุผลทางตันทางการเมืองคงไม่หมดไปง่ายๆ ไปทำให้เกิดช่องว่างเกิดนายกรัฐมนตรีคนกลางก็ยุ่ง เกิดการปฏิวัติรัฐประหารก็ยุ่ง และปล่อยให้ท้องอืดอยู่อย่างนี้เศรษฐกิจก็ซึมลงเรื่อยๆ ยกเว้นจะมีปาฏิหาริย์มาช่วย นอกจากนั้นสิ่งที่เห็นขณะนี้การลงโฆษณาในทีวีและหนังสือพิมพ์น้อยลงกว่าปีก่อนและคงเป็นเช่นนี้ต่อไปหากสถานการณ์บ้านเมืองเป็นแบบนี้ ในชีวิตของผมมักจะเป็นผู้มาบอกข่าวร้ายของสังคมเสมอ ไม่อยากให้เป็นจริง แต่เป็นจริงทุกที" นายวีรพงษ์กล่าว
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) บรรยายพิเศษหัวข้อ "ดัชนีชี้การลงทุนปี 57" ในการสัมมนา "สร้างโอกาสการลงทุน ขับเคลื่อน ไทยสู่อนาคต" ว่าปี 2556 เป็นปีที่ตลาดคอนโดมิเนียมร้อนแรงมาก ในแต่ละปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าหน่วยคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่สูงที่สุดไม่เกิน65,000 หน่วย แต่ปี 2556 ปีเดียว 85,000 หน่วย ส่วนบ้านจัดสรรเฉลี่ยแต่ละปีประมาณ 35,000-42,000 หน่วย ปี2557 จึงเป็นปีที่ตลาดจะปรับฐานอยู่แล้ว เนื่องจากมีอุปทานมากทำให้อุปสงค์ห่างออกไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ปีนี้หากผู้ประกอบการไม่ได้เพิ่มโครงการมากขึ้นตลาดจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
นายสัมมากล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จังหวัดที่จะมีโอกาสพัฒนาในอนาคตในเชิงที่อยู่อาศัยนอกจากมีฐานประชากรสูงและมีกำลังซื้อแล้ว ควรเป็นเมืองที่มีเมืองบริวารหรือจังหวัดกลุ่ม เช่น พิษณุโลก อุดรธานี มหาสารคาม ขอนแก่น ที่เป็นเมืองศูนย์ราชการ และมีสถานศึกษาชั้นนำ เป็นจังหวัดชายแดน และเป็นได้รับประโยชน์จากโครงการพัฒนาของภาครัฐ ทั้ง รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง โลว์คอสต์แอร์ไลน์ และโครงข่ายอื่นๆ
นายสัมมากล่าวว่า หากเรียงจังหวัดที่มีอันดับตลาดบ้านจัดสรรที่อยู่ในระหว่างการขายมากที่สุด ได้แก่กรุงเทพมหานคร ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ เชียงใหม่ ภูเก็ต สมุทรสาคร ระยอง นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา สงขลา นครปฐม ขอนแก่น และเรียงอันดับจังหวัดที่มีตลาดอาคารชุดที่อยู่ในระหว่างการขายมากที่สุด กรุงเทพฯ ชลบุรี นนทบุรี ภูเก็ต ชะอำ (เพชรบุรี) สมุทรปราการ เชียงใหม่ ปทุมธานี หัวหิน (ประจวบคีรีขันธ์) ขอนแก่น ระยอง นครราชสีมา
นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวในหัวข้อ "สร้างโอกาสลงทุน ขับเคลื่อนไทยสู่อนาคต" ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กได้รับผลกระทบมากที่สุดและจะส่งผลถึงธุรกิจขนาดใหญ่ หรือเรียกว่าพังจากข้างล่างขึ้นข้างบนที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งที่พังจากข้างบนลงข้างล่าง ขณะนี้หนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ของเอสเอ็มอีเริ่มสูงขึ้น หากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้คิดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2557 อาจติดลบ เป็นห่วงว่าหากทำให้จบไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวจะเป็นเหมือนกับเลือดที่ไหลไปเรื่อยๆ
นายอนันต์กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากการรับฟังข้อมูลของการเมืองทั้งสองฝ่ายมองว่าปัญหาทางการเมืองจะลงเอยยาก เนื่องจากข้อเสนอทั้งสองฝ่ายมีเหตุผลแต่ไปด้วยกันไม่ได้ ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2557 คาดว่าจะติดลบเนื่องจากไม่มีรัฐบาล ประกอบกับผู้ประกอบการเดิมออกโครงการน้อยลงผลจากกำลังซื้ออ่อนลง
"บริษัทขนาดใหญ่แม้ยอดขายจะตกบ้าง แต่จะไม่ล้ม สิ่งที่เป็นห่วงคือบริษัทขนาดใหญ่ที่มีสภาพคล่องมากจะอาศัยโอกาสที่เอสเอ็มอีล้ม เข้าไปแย่งตลาดของเอสเอ็มอีทั้งหมด แต่ถึงธุรกิจจะแย่อย่างไรขอให้อย่าไล่พนักงานออก เพราะจะยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจ ควรเปลี่ยนเป็นเจรจาลดเงินเดือนแทน และใช้โอกาสดังกล่าวปรับปรุงประสิทธิภาพของบริษัท อย่างไรก็ตาม ขอให้การเมืองจบใน 6 เดือน ก่อนที่เอ็สเอ็มอีและผู้ประกอบการรายย่อยจะพัง" นายอนันต์กล่าว
นายอนันต์กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มอสังหา ริมทรัพย์มองว่าตลาดในเมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่องเที่ยวจะยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เช่น พัทยา ชลบุรี ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ต่างจังหวัดยังคงเติบโตได้ดีในบางพื้นที่ ส่วนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม มองว่าเหตุที่คำขอกู้ของรายย่อยไม่ผ่านเนื่องจากธนาคารเริ่มระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากเกินไป
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ของธนาคารคาดว่าในปี 2557 หากไม่มีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มมาบริหารงานเศรษฐกิจไทยจะโตเพียง 1-1.5% แต่หากมีรัฐบาลเศรษฐกิจจะโตที่ 2-2.2% มองว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในขณะนี้คล้ายกับวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 แต่ไม่รุนแรงเท่า แต่ที่เหมือนกันคือหากเศรษฐกิจภายนอกประเทศดีจะมาฉุดให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น แต่จากข้อมูลพบว่าเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกา และยุโรปไม่ได้ดีขึ้นกว่าปี 2556 ทั้งนี้ เชื่อว่าแม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะยังดำเนินอยู่แต่ไทยจะยังไม่ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ
"ในระยะอันใกล้ 6 เดือน ถึง 1 ปี หากไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรง คงไม่ถึงกับถูกลดเครดิตส่วนในระยะยาว ตอบไม่ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ไทยเอง แต่แบงก์ไทยมีความมั่นคงมาก คงไม่ถูกลดเรตติ้งได้ง่ายๆ" นาย บุญทักษ์กล่าว
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ประเทศไทยควรจะมีการเลือกตั้งนานแล้ว วิธีการเลือกตั้งนั้นส่วนตัวเชื่อว่าอาจไม่ได้คนดีที่สุดเข้ามาทำงานแต่สามารถลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ดีที่สุด ขณะที่แผนการลงทุนด้านคมนาคม 2 ล้านล้านบาท ต้องชะงักลง ยังมีช่องทางอื่นที่สามารถดำเนินการได้ เช่น การกลับไปใช้งบประมาณตามปกติ แต่ส่งผลให้แผนงานล่าช้าออกไปจากเดิมที่คาดว่าจะเสร็จใน 7 ปี เป็น 15 ปี ผลที่ได้รับคือ เวลาที่เสียไปที่เป็นต้นทุน และความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติ หากเปิดประชาคมอาเซียนไทยจะยิ่งเสียโอกาสเพราะนักลงทุนจะไปตั้งฐานการผลิตที่ประเทศใดก็ได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน
นายวีรพงษ์กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจพัง เนื่องจากการลงทุนภาครัฐไม่สามารถทำได้ ขณะที่การลงทุนเอกชนทำไม่ได้เช่นกัน รวมทั้งการวางแผนเพื่อรองรับการเติบโตในภูมิภาค ได้แก่ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคม 2 ล้านล้านบาท และโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เดินหน้าไม่ได้ ทั้งๆ ที่ประเทศเราสะสมเงินออมมาตลอด 17 ปี จึงต้องการนำเงินออมที่ไปลงทุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง เพราะว่าเรามีเงินออมสูงกว่าเงินลงทุนมาตลอด เมื่อไม่เดินหน้าก็เท่ากับแข่งขันไม่ได้ ขณะนี้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศไทยในไตรมาส 1 ติดลบแล้วและเชื่อว่าไตรมาส 2 ติดลบอีก หากเป็นอย่างนี้ต่อไปในสภาพที่สภาผู้แทนราษฎรไม่มี มีวุฒิสภาไม่ได้ประธาน หากมีปฏิวัติก็ไปกันใหญ่ นายกรัฐมนตรีจากช่องว่างยังไม่รู้จะเป็นอย่างไรหากเป็นเช่นนี้จนสิ้นปี ก็ไม่น่าจะมีอะไรมาทำให้เศรษฐกิจหยุดซึมลง
นายวีรพงษ์กล่าวว่า หลายคนถามว่าปัญหาเศรษฐกิจครั้งนี้จะเหมือนตอนวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ในปี 2540หรือไม่ คิดว่าไม่เป็นแบบนั้น เพราะครั้งนี้เป็นลักษณะของการซึมลงเรื่อยๆ ทั้งจากบรรยากาศระหว่างประเทศ ทั้งการฟื้นตัวของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ส่วนจีนแม้จะเป็นเสาหลักของโลก ระดับการพัฒนาสูงขึ้นมาจนรายได้ต่อหัวของประชากรสูงกว่าไทยแล้ว จึงพยายามชะลอการขยายตัวเศรษฐกิจเพื่อไม่ให้เกิดเงินเฟ้อ
นายวีรพงษ์กล่าวว่า ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้น ถือเป็นความแตกแยกระหว่างคนไทยด้วยกัน โดยในช่วงสัปดาห์ก่อนคิดว่า ประเทศไทยคงอยู่ในภาวะสุญญากาศแน่นอน แต่เมื่อคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญออกมาแล้ว ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่คาด ขณะเดียวกันยังได้พยายามสอบถามหลายคนว่าจะมีการปฏิวัติรัฐประหารหรือไม่ ได้ความว่าจะไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้มีการเผชิญหน้า มีสถานการณ์ความรุนแรงจนทำให้เกิดการเสียชีวิตขึ้น และเชื่อว่ามวลชนทั้งสองฝ่ายคงหลีกเลี่ยงการปะทะ เพื่อไม่สร้างเงื่อนไขให้เกิดการปฏิวัติ แต่หากเกิดขึ้นจริงคงไม่ส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากประชาคมโลก ทั้งองค์การสหประชาชาติ สหรัฐ ยุโรป และอาเซียน ต่างส่งสัญญาณว่าต้องการให้ประเทศไทยมีการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยเกิดขึ้น การมีช่องว่างก็ดีหรือมีการปฏิวัติ ปฏิกิริยาของประชาคมโลกคงไปในทางลบและไม่เป็นผลดีต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อสองอย่างนี้ไม่เกิดและหวังว่าอย่าเกิด เหลือปัจจัยการเมืองในประเทศว่าจะเดินไปอย่างไร แต่เท่าที่ดูคงไม่จบง่ายๆ เป็นเหมือนกับภาวะท้องอืด
"โอกาสจะเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจะเป็นไปได้ยาก เพราะเหตุผลทางตันทางการเมืองคงไม่หมดไปง่ายๆ ไปทำให้เกิดช่องว่างเกิดนายกรัฐมนตรีคนกลางก็ยุ่ง เกิดการปฏิวัติรัฐประหารก็ยุ่ง และปล่อยให้ท้องอืดอยู่อย่างนี้เศรษฐกิจก็ซึมลงเรื่อยๆ ยกเว้นจะมีปาฏิหาริย์มาช่วย นอกจากนั้นสิ่งที่เห็นขณะนี้การลงโฆษณาในทีวีและหนังสือพิมพ์น้อยลงกว่าปีก่อนและคงเป็นเช่นนี้ต่อไปหากสถานการณ์บ้านเมืองเป็นแบบนี้ ในชีวิตของผมมักจะเป็นผู้มาบอกข่าวร้ายของสังคมเสมอ ไม่อยากให้เป็นจริง แต่เป็นจริงทุกที" นายวีรพงษ์กล่าว
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) บรรยายพิเศษหัวข้อ "ดัชนีชี้การลงทุนปี 57" ในการสัมมนา "สร้างโอกาสการลงทุน ขับเคลื่อน ไทยสู่อนาคต" ว่าปี 2556 เป็นปีที่ตลาดคอนโดมิเนียมร้อนแรงมาก ในแต่ละปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าหน่วยคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่สูงที่สุดไม่เกิน65,000 หน่วย แต่ปี 2556 ปีเดียว 85,000 หน่วย ส่วนบ้านจัดสรรเฉลี่ยแต่ละปีประมาณ 35,000-42,000 หน่วย ปี2557 จึงเป็นปีที่ตลาดจะปรับฐานอยู่แล้ว เนื่องจากมีอุปทานมากทำให้อุปสงค์ห่างออกไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ปีนี้หากผู้ประกอบการไม่ได้เพิ่มโครงการมากขึ้นตลาดจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
นายสัมมากล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จังหวัดที่จะมีโอกาสพัฒนาในอนาคตในเชิงที่อยู่อาศัยนอกจากมีฐานประชากรสูงและมีกำลังซื้อแล้ว ควรเป็นเมืองที่มีเมืองบริวารหรือจังหวัดกลุ่ม เช่น พิษณุโลก อุดรธานี มหาสารคาม ขอนแก่น ที่เป็นเมืองศูนย์ราชการ และมีสถานศึกษาชั้นนำ เป็นจังหวัดชายแดน และเป็นได้รับประโยชน์จากโครงการพัฒนาของภาครัฐ ทั้ง รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง โลว์คอสต์แอร์ไลน์ และโครงข่ายอื่นๆ
นายสัมมากล่าวว่า หากเรียงจังหวัดที่มีอันดับตลาดบ้านจัดสรรที่อยู่ในระหว่างการขายมากที่สุด ได้แก่กรุงเทพมหานคร ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ เชียงใหม่ ภูเก็ต สมุทรสาคร ระยอง นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา สงขลา นครปฐม ขอนแก่น และเรียงอันดับจังหวัดที่มีตลาดอาคารชุดที่อยู่ในระหว่างการขายมากที่สุด กรุงเทพฯ ชลบุรี นนทบุรี ภูเก็ต ชะอำ (เพชรบุรี) สมุทรปราการ เชียงใหม่ ปทุมธานี หัวหิน (ประจวบคีรีขันธ์) ขอนแก่น ระยอง นครราชสีมา
นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวในหัวข้อ "สร้างโอกาสลงทุน ขับเคลื่อนไทยสู่อนาคต" ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กได้รับผลกระทบมากที่สุดและจะส่งผลถึงธุรกิจขนาดใหญ่ หรือเรียกว่าพังจากข้างล่างขึ้นข้างบนที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งที่พังจากข้างบนลงข้างล่าง ขณะนี้หนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ของเอสเอ็มอีเริ่มสูงขึ้น หากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้คิดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2557 อาจติดลบ เป็นห่วงว่าหากทำให้จบไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวจะเป็นเหมือนกับเลือดที่ไหลไปเรื่อยๆ
นายอนันต์กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากการรับฟังข้อมูลของการเมืองทั้งสองฝ่ายมองว่าปัญหาทางการเมืองจะลงเอยยาก เนื่องจากข้อเสนอทั้งสองฝ่ายมีเหตุผลแต่ไปด้วยกันไม่ได้ ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2557 คาดว่าจะติดลบเนื่องจากไม่มีรัฐบาล ประกอบกับผู้ประกอบการเดิมออกโครงการน้อยลงผลจากกำลังซื้ออ่อนลง
"บริษัทขนาดใหญ่แม้ยอดขายจะตกบ้าง แต่จะไม่ล้ม สิ่งที่เป็นห่วงคือบริษัทขนาดใหญ่ที่มีสภาพคล่องมากจะอาศัยโอกาสที่เอสเอ็มอีล้ม เข้าไปแย่งตลาดของเอสเอ็มอีทั้งหมด แต่ถึงธุรกิจจะแย่อย่างไรขอให้อย่าไล่พนักงานออก เพราะจะยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจ ควรเปลี่ยนเป็นเจรจาลดเงินเดือนแทน และใช้โอกาสดังกล่าวปรับปรุงประสิทธิภาพของบริษัท อย่างไรก็ตาม ขอให้การเมืองจบใน 6 เดือน ก่อนที่เอ็สเอ็มอีและผู้ประกอบการรายย่อยจะพัง" นายอนันต์กล่าว
นายอนันต์กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มอสังหา ริมทรัพย์มองว่าตลาดในเมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่องเที่ยวจะยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เช่น พัทยา ชลบุรี ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ต่างจังหวัดยังคงเติบโตได้ดีในบางพื้นที่ ส่วนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม มองว่าเหตุที่คำขอกู้ของรายย่อยไม่ผ่านเนื่องจากธนาคารเริ่มระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากเกินไป
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ของธนาคารคาดว่าในปี 2557 หากไม่มีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มมาบริหารงานเศรษฐกิจไทยจะโตเพียง 1-1.5% แต่หากมีรัฐบาลเศรษฐกิจจะโตที่ 2-2.2% มองว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในขณะนี้คล้ายกับวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 แต่ไม่รุนแรงเท่า แต่ที่เหมือนกันคือหากเศรษฐกิจภายนอกประเทศดีจะมาฉุดให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น แต่จากข้อมูลพบว่าเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกา และยุโรปไม่ได้ดีขึ้นกว่าปี 2556 ทั้งนี้ เชื่อว่าแม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะยังดำเนินอยู่แต่ไทยจะยังไม่ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ
"ในระยะอันใกล้ 6 เดือน ถึง 1 ปี หากไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรง คงไม่ถึงกับถูกลดเครดิตส่วนในระยะยาว ตอบไม่ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ไทยเอง แต่แบงก์ไทยมีความมั่นคงมาก คงไม่ถูกลดเรตติ้งได้ง่ายๆ" นาย บุญทักษ์กล่าว
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ประเทศไทยควรจะมีการเลือกตั้งนานแล้ว วิธีการเลือกตั้งนั้นส่วนตัวเชื่อว่าอาจไม่ได้คนดีที่สุดเข้ามาทำงานแต่สามารถลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ดีที่สุด ขณะที่แผนการลงทุนด้านคมนาคม 2 ล้านล้านบาท ต้องชะงักลง ยังมีช่องทางอื่นที่สามารถดำเนินการได้ เช่น การกลับไปใช้งบประมาณตามปกติ แต่ส่งผลให้แผนงานล่าช้าออกไปจากเดิมที่คาดว่าจะเสร็จใน 7 ปี เป็น 15 ปี ผลที่ได้รับคือ เวลาที่เสียไปที่เป็นต้นทุน และความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติ หากเปิดประชาคมอาเซียนไทยจะยิ่งเสียโอกาสเพราะนักลงทุนจะไปตั้งฐานการผลิตที่ประเทศใดก็ได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน