นายอิสระ บุญยัง ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพ เพอร์ตี้ จำกัด กล่าวภายหลังงานสัมมนาวิชาการและแสดงนิทรรศการ "2014 Thai Green Building Expo and Conference"ว่า ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะโครงการแนวราบเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่เท่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งจากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์พบว่าบ้านแนวราบยังสามารถเติบโตได้ดี เนื่องจากกลุ่มผู้ซื้อบ้านแนวราบเกือบทั้งหมดซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง
ขณะที่ตลาดคอนโดมิเนียมอัตราการเติบโตติดลบประมาณ 30% เนื่องจากในช่วงปลายปี 2556 ถึงไตรมาสแรกปี 2557 เกิดความไม่สงบทางการเมืองส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค อย่างไรก็ตามในปัจจุบันจำนวนยูนิตคงเหลือมีอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าแผนการเปิดตัวโครงการจะชะลอออกไปทำให้ในช่วงครึ่งปีแรกมีอัตราการเปิดตัวลดลงไป 30-40%
ทั้งนี้คาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งปีหลังภาพรวมอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มฟื้นตัวมากยิ่งขึ้นหากไม่มีปัจจัยลบเข้ามากระทบ แต่จะไม่เติบโตเท่ากับปีที่ผ่านมา เชื่อว่าผู้ประกอบการจะเริ่มหันกลับมาลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังมากยิ่งขึ้น แต่ควรลงทุนอย่างระมัดระวัง แม้ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มฟื้นตัว แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าเป็นการฟื้นตัวในทุกตลาด ดังนั้นจึงไม่ควรเปิดโครงการมากเท่ากับปีที่ผ่านมา หากโครงการใดเปิดไม่ทันหรือไม่มั่นใจก็ควรเลื่อนไปเปิดในปีหน้าแทน
สำหรับกรณีที่ 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์ได้ยื่นเสนอต่อ นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในประเด็นขอให้กระจายการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นรายจังหวัด หรือเป็นรายภูมิภาคเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการอนุมัติโครงการ แทนการให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นผู้รับพิจารณาทั้งประเทศ ทำให้เกิดปัญหาการกระจุกตัวของโครงการที่เข้ามายื่นรายงาน EIA จำนวนมาก และทำให้การพิจารณาล่าช้า
นอกจากนี้ยังได้เสนอให้ข้อบังคับอาคารไม่เกิน 10,000 ตร.ม. ไม่ต้องยื่นรายงาน EIA จากเดิมกำหนดให้ไม่เกิน 4,000 ตร.ม. โดยอาคารดังกล่าวจะต้องทำการก่อสร้างให้ได้ตามข้อกำหนดของ EIA กำหนดไว้ ซึ่งอาจทำเป็นรูปแบบของข้อกำหนดเป็นรายการ และให้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบการก่อสร้างว่าทำตามที่กำหนดหรือไม่
"ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ยังไม่มีรัฐมนตรีประจำ ทำให้เรื่องการลดขั้นตอนการพิจารณาโครงการประเภทที่อยู่อาศัยพื้นที่ใช้สอยน้อยกว่า 1 หมื่น ตร.ม. สามารถขอการยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานอีไอเอต้องล่าช้าออกไป ซึ่งการลดขั้นตอนดังกล่าวจะทำให้ลดระยะเวลาการขออนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งปกติต้องใช้เวลา 6 เดือนขึ้นไป ทำให้ผู้ประกอบการทำงานได้เร็วขึ้น" นายอิสระ กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
ทั้งนี้คาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งปีหลังภาพรวมอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มฟื้นตัวมากยิ่งขึ้นหากไม่มีปัจจัยลบเข้ามากระทบ แต่จะไม่เติบโตเท่ากับปีที่ผ่านมา เชื่อว่าผู้ประกอบการจะเริ่มหันกลับมาลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังมากยิ่งขึ้น แต่ควรลงทุนอย่างระมัดระวัง แม้ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มฟื้นตัว แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าเป็นการฟื้นตัวในทุกตลาด ดังนั้นจึงไม่ควรเปิดโครงการมากเท่ากับปีที่ผ่านมา หากโครงการใดเปิดไม่ทันหรือไม่มั่นใจก็ควรเลื่อนไปเปิดในปีหน้าแทน
สำหรับกรณีที่ 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์ได้ยื่นเสนอต่อ นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในประเด็นขอให้กระจายการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นรายจังหวัด หรือเป็นรายภูมิภาคเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการอนุมัติโครงการ แทนการให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นผู้รับพิจารณาทั้งประเทศ ทำให้เกิดปัญหาการกระจุกตัวของโครงการที่เข้ามายื่นรายงาน EIA จำนวนมาก และทำให้การพิจารณาล่าช้า
นอกจากนี้ยังได้เสนอให้ข้อบังคับอาคารไม่เกิน 10,000 ตร.ม. ไม่ต้องยื่นรายงาน EIA จากเดิมกำหนดให้ไม่เกิน 4,000 ตร.ม. โดยอาคารดังกล่าวจะต้องทำการก่อสร้างให้ได้ตามข้อกำหนดของ EIA กำหนดไว้ ซึ่งอาจทำเป็นรูปแบบของข้อกำหนดเป็นรายการ และให้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบการก่อสร้างว่าทำตามที่กำหนดหรือไม่
"ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ยังไม่มีรัฐมนตรีประจำ ทำให้เรื่องการลดขั้นตอนการพิจารณาโครงการประเภทที่อยู่อาศัยพื้นที่ใช้สอยน้อยกว่า 1 หมื่น ตร.ม. สามารถขอการยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานอีไอเอต้องล่าช้าออกไป ซึ่งการลดขั้นตอนดังกล่าวจะทำให้ลดระยะเวลาการขออนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งปกติต้องใช้เวลา 6 เดือนขึ้นไป ทำให้ผู้ประกอบการทำงานได้เร็วขึ้น" นายอิสระ กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง