เมื่อวันที่ 3 เม.ย. ที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ถนนเพชรเกษม กลุ่มบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์แมเนจเม้นท์ จำกัด ที่ปรึกษาฯ และ สำนักการโยธา (สนย.) จัดประชุมสัมมนาครั้งที่ 4 สรุปผลโครงการก่อสร้างถนนตามแนวผังเมือง ง.3 มีแนวเส้นทาง 2 ส่วนคือ เริ่มจากถนนเพชรเกษมบริเวณปลายถนนพุทธมณฑลสาย 1 โค้งลงด้านใต้ขนานกับถนนวงแหวนรอบนอก ตัดผ่านถนนกัลปพฤกษ์ ถนน เอกชัย ถนนพระรามที่ 2 ถนนพุทธบูชา ถนนประชาอุทิศ เชื่อมกับถนนวงแหวนอุตสาหกรรมบริเวณพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 15 กม.
และแนวถนนเชื่อมต่อสาย ค.6 ตัดใหม่จากจุดเชื่อมกับถนน ง.3 ใกล้กับสวนธนบุรีรมย์ลงทางทิศใต้เชื่อมวงแหวนรอบนอกด้านใต้ใกล้กับหมู่บ้านเจริญสุข พื้นที่เขตทุ่งครุ ระยะทาง 6 กม. รวมทั้งโครงการระยะทาง 21 กม. โดยที่ปรึกษาได้ลดแนวเขตทางเดิมจากถนนขนาด 6 ช่อง เหลือ 4 ช่อง และบริเวณจุดตัดถนนสายหลักจะทำสะพานข้ามแยก 4 ช่องที่สามารถขยายได้ 6 ช่องในอนาคต ซึ่งได้ศึกษาออกแบบตั้งแต่ปลายปี 51 และหยุดชะงักไป 2 ปีจากการคัดค้านของประชาชนบางช่วงของแนวเส้นทาง โดยตลอดแนวจะมีบ้านเรือนที่ถูกเวนคืนประมาณ 3,000 ครัวเรือน ประมาณการค่าเวนคืน 13,000 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 12,000 ล้านบาท ซึ่งภายหลังชี้แจงโครงการ มีประชาชนที่ถูกเวนคืนช่วงซอยประชาอุทิศ 30-31, หมู่บ้านมังกรทอง, ซอยเอกชัย 30, 32 ไม่พอใจโดยไม่ต้องการให้เวนคืนตัดผ่านพื้นที่บ้านตนเอง ได้ยื่นหนังสือคัดค้านโครงการ ในขณะที่อีกประมาณ 400-500 คน ได้นำโฉนดมาสอบถามรายละเอียด ขั้นตอนการจ่ายค่าเวนคืน
ด้าน นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้อำนวยการ สนย. กล่าวว่า แนวเส้นทางนี้เหมาะสมที่สุดทั้งด้านวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และปรับลดการเวนคืนแล้ว ปัจจุบันถนนฝั่งธนฯ มีโครงข่ายน้อยและปริมาณรถเต็มความจุ ทุกเส้น ถนนที่สร้างล่าสุดคือถนนกัลปพฤกษ์ก็เริ่มหนาแน่น โดยในพื้นที่ที่ตัดถนนใหม่ดังกล่าวเป็นบล็อกขนาดใหญ่ 110 ตร.กม. มีผู้อยู่อาศัยกว่า 300,000 ครัวเรือน ประชาชน 1.5 ล้านคน จำนวนรถยนต์เฉพาะในพื้นที่ 400,000 คัน ไม่รวมที่เดินทางผ่าน ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมไปออกย่านอุตสาหกรรมสมุทรปราการ เป็นการแก้ไขปัญหาการเดินทาง ในภาพรวม ซึ่ง กทม.ก็จะสรุป ผลศึกษาเสนอผู้บริหารตัดสินใจต่อไป ทั้งนี้ หากได้รับความเห็นชอบก็จะนำไปสู่การออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนและของบประมาณก่อสร้าง จะใช้เวลาอีกประมาณ 3-6 ปี จึงก่อสร้างได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ด้าน นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้อำนวยการ สนย. กล่าวว่า แนวเส้นทางนี้เหมาะสมที่สุดทั้งด้านวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และปรับลดการเวนคืนแล้ว ปัจจุบันถนนฝั่งธนฯ มีโครงข่ายน้อยและปริมาณรถเต็มความจุ ทุกเส้น ถนนที่สร้างล่าสุดคือถนนกัลปพฤกษ์ก็เริ่มหนาแน่น โดยในพื้นที่ที่ตัดถนนใหม่ดังกล่าวเป็นบล็อกขนาดใหญ่ 110 ตร.กม. มีผู้อยู่อาศัยกว่า 300,000 ครัวเรือน ประชาชน 1.5 ล้านคน จำนวนรถยนต์เฉพาะในพื้นที่ 400,000 คัน ไม่รวมที่เดินทางผ่าน ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมไปออกย่านอุตสาหกรรมสมุทรปราการ เป็นการแก้ไขปัญหาการเดินทาง ในภาพรวม ซึ่ง กทม.ก็จะสรุป ผลศึกษาเสนอผู้บริหารตัดสินใจต่อไป ทั้งนี้ หากได้รับความเห็นชอบก็จะนำไปสู่การออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนและของบประมาณก่อสร้าง จะใช้เวลาอีกประมาณ 3-6 ปี จึงก่อสร้างได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์