นายวิโรจน์ จิรัฐิติกาลโชติ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ หอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การที่พิษณุโลกถูกวางตำแหน่งยุทธศาสตร์ให้เป็นสี่แยกอินโดจีนและศูนย์กลางโลจิสติกส์ภาคเหนือตอนล่างเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนส่งผลให้ราคาที่ดินในจังหวัดปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3 เท่า
สำหรับราคาที่ดินใน ต.บึงพระ อ.เมืองพิษณุโลก ที่เคยมีข่าวว่าจะเป็นที่ตั้งสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงปรับเพิ่มจาก 2-3 ล้านบาท/ไร่ เป็น 8-10 ล้านบาท ส่วนที่ดินบริเวณมหาวิทยาลัยนเรศวรไปทางจ.นครสวรรค์ ราคาไร่ละ 4 ล้านบาท ที่ดินจากมหาวิทยาลัยนเรศวรเข้าเมืองพิษณุโลกไร่ละกว่า 8-12 ล้านบาท บริเวณสี่แยกอินโดจีนเข้ามาในตัวเมืองไร่ละกว่า 12-15 ล้านบาท และบริเวณสี่แยกอินโดจีนไปทางอ.วังทอง ราคาไร่ละ 6-8 ล้านบาท
สำหรับราคาที่ดินใน ต.บึงพระ อ.เมืองพิษณุโลก ที่เคยมีข่าวว่าจะเป็นที่ตั้งสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงปรับเพิ่มจาก 2-3 ล้านบาท/ไร่ เป็น 8-10 ล้านบาท ส่วนที่ดินบริเวณมหาวิทยาลัยนเรศวรไปทางจ.นครสวรรค์ ราคาไร่ละ 4 ล้านบาท ที่ดินจากมหาวิทยาลัยนเรศวรเข้าเมืองพิษณุโลกไร่ละกว่า 8-12 ล้านบาท บริเวณสี่แยกอินโดจีนเข้ามาในตัวเมืองไร่ละกว่า 12-15 ล้านบาท และบริเวณสี่แยกอินโดจีนไปทางอ.วังทอง ราคาไร่ละ 6-8 ล้านบาท
ขณะที่ราคาที่ดินบริเวณถนนวงแหวนรอบนอกที่ยังไม่ได้พัฒนาและต้องถมที่อีกกว่า 2 เมตร ราคาตลาดซื้อขายกันอยู่ที่ไร่ละ 2.5 ล้านบาท ซึ่งถือว่าราคาที่ดินพิษณุโลกสูงเกินความจริงมาก
อย่างไรก็ตาม แม้โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่หยุดชะงักอาจกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์บ้างแต่คงไม่มากนัก โดยโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมของนักลงทุนท้องถิ่น มีหลายโครงการที่สร้างใหม่และประสบผลสำเร็จ อีกทั้งมีนักลงทุนรายใหญ่จากส่วนกลางเข้ามาลงทุน เช่น เอพี ซีพีแลนด์ และแสนสิริ ที่เปิดโครงการคอนโดมิเนียม
ทั้งนี้ ความต้องการที่อยู่อาศัยในจ.พิษณุโลก ยังมีอยู่ต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นข้าราชการระดับสูง พนักงานเอกชน แพทย์ และพยาบาล ขณะที่ต้นทุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทจะไม่สูงเท่ากับทุนส่วนกลางเพราะมีที่ดินอยู่แล้ว
"ตอนนี้โครงการอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ๆ ในพิษณุโลกมีมากกว่า 30 โครงการมูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาทส่งผลให้ในอนาคตเมืองพิษณุโลกจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด พร้อมเป็นศูนย์กลางเมืองบริการสี่แยกอินโดจีนและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"นายวิโรจน์ กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
อย่างไรก็ตาม แม้โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่หยุดชะงักอาจกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์บ้างแต่คงไม่มากนัก โดยโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมของนักลงทุนท้องถิ่น มีหลายโครงการที่สร้างใหม่และประสบผลสำเร็จ อีกทั้งมีนักลงทุนรายใหญ่จากส่วนกลางเข้ามาลงทุน เช่น เอพี ซีพีแลนด์ และแสนสิริ ที่เปิดโครงการคอนโดมิเนียม
ทั้งนี้ ความต้องการที่อยู่อาศัยในจ.พิษณุโลก ยังมีอยู่ต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นข้าราชการระดับสูง พนักงานเอกชน แพทย์ และพยาบาล ขณะที่ต้นทุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทจะไม่สูงเท่ากับทุนส่วนกลางเพราะมีที่ดินอยู่แล้ว
"ตอนนี้โครงการอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ๆ ในพิษณุโลกมีมากกว่า 30 โครงการมูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาทส่งผลให้ในอนาคตเมืองพิษณุโลกจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด พร้อมเป็นศูนย์กลางเมืองบริการสี่แยกอินโดจีนและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"นายวิโรจน์ กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์