แบงก์ชาติพบคอนโดชานเมืองสุดบูม ผู้ประกอบการรุกขยายใกล้สถานศึกษา แนวโน้มโตต่อเนื่องขณะที่บ้านแนวราบหดตัวเป็นสำคัญส่งผลให้ภาคอสังหาริมทรัพย์โดยรวมทรงตัวจากเดือนก่อน เผยแรงงานภาคเกษตรเริ่มไหลเข้าสู่ภาคก่อสร้างมากขึ้น
รายงานข่าวจากธปท.แจ้งว่า ธปท.ได้รายงานภาวะอสังหาริมทรัพย์ล่าสุดในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา พบว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลค่อนข้างทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า แต่ในส่วนของอาคารชุดยังคงปรับตัวสูงขึ้นทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะการเงินที่เอื้อต่อการกู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งผู้ประกอบการอสังหาฯมีแนวโน้มเปิดขายโครงการอาคารชุดที่มีราคาไม่สูงมากนัก เน้นเปิด ขายในเขตกรุงเทพฯชั้นใน ชั้นกลาง และตามแนวส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า แต่ปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมา คือเริ่มมีการเปิดขายในบริเวณพื้นที่รอบนอกที่เป็นที่ต้องของสถาบันการศึกษาด้วย
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากข้อมูลที่ปรับฤดูกาลเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือน พบว่า จำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์มีทั้งสิ้น 4,244 หน่วย ทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการลดลงของจำนวนที่อยู่อาศัยในแนวราบเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับอนุมัติสินเชื่อ 1,840 หน่วย หลังจากที่ได้เร่งตัวขึ้นมากในช่วงปลายปี 55 ขณะที่จำนวนอาคารชุดที่ได้รับอนุมัติสินเชื่ออยู่ที่ 2,404 หน่วยปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
ด้านผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ พบว่าเริ่มชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ สะท้อนจากจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่โดยรวมในเดือนก.พ.ที่ผ่านมามีทั้งสิ้น 7,839 หน่วย ถือเป็นการลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากการเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบลดลงจากเดือนก่อนอยู่ที่ 2,288 หน่วย ขณะที่อาคารชุดยังมีการเปิดขายใหม่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอยู่ที่ 5,551 หน่วย สอดคล้องกับอุปสงค์ของอาคารชุดที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ปกติภาคก่อสร้างก็ขยายตัวดีอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันแรงงานภาคก่อสร้างเพิ่มขึ้นไหลมาจากภาคเกษตรกรรม เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ทำให้ผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรมหดตัว 0.4% ข้อมูลล่าสุดในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ขณะที่เครื่องชี้การลงทุนยังพบว่า พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างหดตัวตามการก่อสร้างพาณิชยกรรมในส่วนภูมิภาค
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากข้อมูลที่ปรับฤดูกาลเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือน พบว่า จำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์มีทั้งสิ้น 4,244 หน่วย ทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการลดลงของจำนวนที่อยู่อาศัยในแนวราบเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับอนุมัติสินเชื่อ 1,840 หน่วย หลังจากที่ได้เร่งตัวขึ้นมากในช่วงปลายปี 55 ขณะที่จำนวนอาคารชุดที่ได้รับอนุมัติสินเชื่ออยู่ที่ 2,404 หน่วยปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
ด้านผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ พบว่าเริ่มชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ สะท้อนจากจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่โดยรวมในเดือนก.พ.ที่ผ่านมามีทั้งสิ้น 7,839 หน่วย ถือเป็นการลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากการเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบลดลงจากเดือนก่อนอยู่ที่ 2,288 หน่วย ขณะที่อาคารชุดยังมีการเปิดขายใหม่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอยู่ที่ 5,551 หน่วย สอดคล้องกับอุปสงค์ของอาคารชุดที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ปกติภาคก่อสร้างก็ขยายตัวดีอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันแรงงานภาคก่อสร้างเพิ่มขึ้นไหลมาจากภาคเกษตรกรรม เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ทำให้ผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรมหดตัว 0.4% ข้อมูลล่าสุดในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ขณะที่เครื่องชี้การลงทุนยังพบว่า พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างหดตัวตามการก่อสร้างพาณิชยกรรมในส่วนภูมิภาค
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน