ชำแหละร่างผังเมือง กทม.ฉบับปรับปรุง นักวิชาการชี้พื้นที่อยู่อาศัยชานเมือง ย.3 หมดสิทธิผุดคอนโดมิเนียม-หอพัก
นายอัศวิน พิชญโยธิน ที่ปรึกษาสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า แม้ว่าร่างผังเมืองกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผังเมือง โดยมีการแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับการสร้างอาคารที่พักอาศัยในซอยไปแล้ว แต่ภาพรวมแล้วถือว่าร่างผังเมืองที่กำลังแก้ไขมีความเข้มงวดกว่าผังเมืองรวม กทม. ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รองรับผู้มีรายน้อย-ปานกลางในย่านชานเมือง
ทั้งนี้ ในร่างผังเมือง กทม. ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผังเมืองในพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยประเภท ย.3 ให้สร้างอาคารที่พักอาศัยรวมขนาดตั้งแต่1,000-10,000 ตร.ม.ได้ แต่ต้องอยู่บนถนนความกว้าง 30 ม.ขึ้นไป จากร่างเดิมพื้นที่ดังกล่าวให้สร้างอาคารอยู่อาศัยรวมได้ไม่เกิน 1,000 ตร.ม.ถ้าเกิน 1,000 ตร.ม. แต่ไม่เกิน2,000 ตร.ม. ให้สร้างบนถนนกว้างไม่ต่ำกว่า 16 ม.
นายอัศวิน พิชญโยธิน ที่ปรึกษาสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า แม้ว่าร่างผังเมืองกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผังเมือง โดยมีการแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับการสร้างอาคารที่พักอาศัยในซอยไปแล้ว แต่ภาพรวมแล้วถือว่าร่างผังเมืองที่กำลังแก้ไขมีความเข้มงวดกว่าผังเมืองรวม กทม. ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รองรับผู้มีรายน้อย-ปานกลางในย่านชานเมือง
ทั้งนี้ ในร่างผังเมือง กทม. ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผังเมืองในพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยประเภท ย.3 ให้สร้างอาคารที่พักอาศัยรวมขนาดตั้งแต่1,000-10,000 ตร.ม.ได้ แต่ต้องอยู่บนถนนความกว้าง 30 ม.ขึ้นไป จากร่างเดิมพื้นที่ดังกล่าวให้สร้างอาคารอยู่อาศัยรวมได้ไม่เกิน 1,000 ตร.ม.ถ้าเกิน 1,000 ตร.ม. แต่ไม่เกิน2,000 ตร.ม. ให้สร้างบนถนนกว้างไม่ต่ำกว่า 16 ม.
ขณะที่ผังเมืองปัจจุบันกำหนดให้อาคารอยู่อาศัยรวมสามารถสร้างบนถนนความกว้างไม่ต่ำกว่า10 ม.ได้ ส่วนที่อยู่อาศัยประเภทอาคารขนาดใหญ่ให้สร้างบนถนนกว้างไม่ต่ำกว่า 30 ม. ขณะที่ที่อยู่อาศัยประเภทอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษห้ามสร้างซึ่งการปรับเปลี่ยนข้อกำหนดในพื้นที่ ย.3 ดังกล่าว จะทำให้ไม่สามารถสร้างที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมขนาดเล็กในพื้นที่ดังกล่าวได้ เพราะซอยต่างๆ ที่แยกจากถนนใหญ่ไม่มีขนาดที่กว้างตามที่กำหนดเลย
“ผู้มีรายได้น้อยจะไม่มีโอกาสซื้อคอนโดมิเนียมราคาถูกที่อยู่ชานเมือง กทม.ได้ โดยจะต้องเข้ามาหาซื้อที่อยู่อาศัยในเมือง หรือใกล้สถานีรถไฟฟ้าที่มีราคาขายสูงกว่า2-3 เท่าตัว เพราะราคาคอนโดมิเนียมย่านชานเมืองปัจจุบันขายอยู่ที่ ตร.ม.ละ 3-4 หมื่นบาทขณะที่คอนโดมิเนียมในเมือง หรือใกล้สถานีรถไฟฟ้าขายอยู่ที่ ตร.ม.ละ 6 หมื่น-1แสนบาท” นายอัศวินกล่าว
สำหรับพื้นที่อื่นๆส่วนใหญ่ได้มีการปรับแก้ไขจากร่างเดิม โดยให้ไปใช้ตามข้อกำหนดของผังเมืองปัจจุบัน เช่น โดยพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ย.5-7 อาคารอยู่อาศัยรวมขนาดเกิน 1 หมื่นตร.ม.ให้สร้างบนถนนกว้าง 30 ม.ขึ้นไปบริเวณที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ย.8-10 อาคารอยู่อาศัยรวมเกิน 1 หมื่นตร.ม. ให้สร้างบนถนน 10 ม. ขึ้นไป จากร่างเดิมกำหนดไว้ที่ 16 ม.
พื้นที่พาณิชยกรรม พ.2-3 อาคารพักอาศัยรวมขนาดตั้งแต่5,000 ตร.ม. ไม่เกิน 9,999 ตร.ม.ให้สร้างบนถนนขนาด 16 ม. อาคารพักอาศัยรวมที่เกิน 1 หมื่นตร.ม. ให้สร้างบนถนนกว้าง 30 ม. ส่วนพื้นที่พาณิชยกรรม พ.1 ไม่สามารถสร้างอาคารพักอาศัยรวมพื้นที่ตั้งแต่5,000-9,999 ตร.ม. และเกิน 1 หมื่นตร.ม.ได้ ซึ่งเป็นไปตามร่างเดิมที่กทม.เสนอ
ที่มา : โพสต์ทูเดย์ 22 พฤษภาคม 2555
“ผู้มีรายได้น้อยจะไม่มีโอกาสซื้อคอนโดมิเนียมราคาถูกที่อยู่ชานเมือง กทม.ได้ โดยจะต้องเข้ามาหาซื้อที่อยู่อาศัยในเมือง หรือใกล้สถานีรถไฟฟ้าที่มีราคาขายสูงกว่า2-3 เท่าตัว เพราะราคาคอนโดมิเนียมย่านชานเมืองปัจจุบันขายอยู่ที่ ตร.ม.ละ 3-4 หมื่นบาทขณะที่คอนโดมิเนียมในเมือง หรือใกล้สถานีรถไฟฟ้าขายอยู่ที่ ตร.ม.ละ 6 หมื่น-1แสนบาท” นายอัศวินกล่าว
สำหรับพื้นที่อื่นๆส่วนใหญ่ได้มีการปรับแก้ไขจากร่างเดิม โดยให้ไปใช้ตามข้อกำหนดของผังเมืองปัจจุบัน เช่น โดยพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ย.5-7 อาคารอยู่อาศัยรวมขนาดเกิน 1 หมื่นตร.ม.ให้สร้างบนถนนกว้าง 30 ม.ขึ้นไปบริเวณที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ย.8-10 อาคารอยู่อาศัยรวมเกิน 1 หมื่นตร.ม. ให้สร้างบนถนน 10 ม. ขึ้นไป จากร่างเดิมกำหนดไว้ที่ 16 ม.
พื้นที่พาณิชยกรรม พ.2-3 อาคารพักอาศัยรวมขนาดตั้งแต่5,000 ตร.ม. ไม่เกิน 9,999 ตร.ม.ให้สร้างบนถนนขนาด 16 ม. อาคารพักอาศัยรวมที่เกิน 1 หมื่นตร.ม. ให้สร้างบนถนนกว้าง 30 ม. ส่วนพื้นที่พาณิชยกรรม พ.1 ไม่สามารถสร้างอาคารพักอาศัยรวมพื้นที่ตั้งแต่5,000-9,999 ตร.ม. และเกิน 1 หมื่นตร.ม.ได้ ซึ่งเป็นไปตามร่างเดิมที่กทม.เสนอ
ที่มา : โพสต์ทูเดย์ 22 พฤษภาคม 2555