
กูรูอสังหาฯ ถอดรหัสปี 56 ชี้แนวโน้มตลาดสดใส “ชาติชาย” จากกสิกรไทยเผยปัจจัยหนุน ทั้งส่งออก ดอกเบี้ยต่ำ รถไฟฟ้าเปิดการลงทุนนอกกรุง และหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดมากขึ้น
ด้านนายกบ้านจัดสรร ระบุบ้านแนวราบจะมีสัดส่วนเติบโตเพิ่มขึ้นจากการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า แต่ติดปัญหาเรื่องแรงงานขาดแคลน เตือนหัวเมืองใหญ่ตจว.ปั่นราคาที่ดินสูงเกินจริงมีผลกระทบต่อการพัฒนาที่ดิน
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวในงานสัมมนา “ถอดรหัสอสังหาฯ ปี 56” ซึ่งจัดโดย สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ และบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์การ จำกัด (บสก.) ว่า แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะโตตามอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งคาดการณ์จีดีพีจะอยู่ที่ 4.5-5.5% ซึ่งถือว่ายังมีการเติบโตที่ดี โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนคือในเรื่องของการส่งออกน่าจะเติบโต 14-15% เงินเฟ้ออยู่ในระดับ 2.5-3.8% รวมถึงดอกเบี้ยต่ำน่าจะหนุนด้านการลงทุน ขณะที่รัฐบาลก็มีมาตรการออกมากระตุ้น รวมถึงโครงการขยายรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ จะทำให้เกิดการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ออกสู่นอกเมืองมากขึ้น
นอกจากนี้ การลงทุนภาคอสังหาฯจะขยายการลงทุนจะมุ่งสู่ต่างจังหวัด ซึ่งเป็นการลงทุนต่อเนื่องหลังจากน้ำท่วมใหญ่ในปีที่ผ่านมา ทำให้หัวเมืองใหญ่โดยเฉพาะภาคอีสานอย่าง อุดรฯ ขอนแก่น นครราชสีมา มีการลงทุนเยอะมาก ขณะที่ ภาคตะวันออกพื้นที่อุตสาหกรรมมีการ ขยายการลงทุนสูงเช่นกัน โดยเฉพาะชลบุรีมีการลงทุนสูงมากที่สุดรองจากกทม.
ด้านปัจจัยลบนายชาติชายกล่าวว่า ต้องระวังภาวะเศรษฐกิจโลกในปีหน้าเช่นกัน แต่ก็ไม่น่ากังวลมากนักเพราะอสังหาฯ เป็นสินค้าบริโภคภายในประเทศ แต่สิ่งที่อาจมีผลกระทบบางโครงการของภาครัฐอาจติดขัดไม่เป็นไปตามแผนซึ่งจะมีผล ต่อด้านการขายได้, ความหนาแน่นการลงทุนในบางทำเล ผู้ประกอบการอาจ ต้องลดความเสี่ยงด้วยการย้ายหาทำเลใหม่ๆ รวมถึงต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจากค่าแรงและค่าขนส่งก็เป็นอีกปัจจัย หนึ่ง ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี ส่วนการเมืองไม่น่าจะมีผลมากนักเพราะนักธุรกิจไทยค่อนข้างเคยชิน
นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวถึงทิศทางที่อยู่อาศัยในปี 2556 ว่า โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบจะมีการเปิดตัวโครงการขยับเพิ่ม ขึ้นมาใกล้เคียงกับคอนโดมิเนียมเนื่องจาก ประชาชนเริ่มหมดความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเรื่องน้ำท่วม ขณะที่โครงการของรัฐก็เริ่มเป็นรูปธรรมขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจและกลับมาซื้อแนวราบเพิ่มขึ้น
“คอนโดฯ จะมีปัญหาเรื่องต้นทุนที่ดินมาก เพราะมีการปรับราคาสูงขึ้นจากโครงข่ายรถไฟฟ้า และข้อจำกัดการใช้ที่ดินจากกฎหมายผังเมืองกทม. ฉะนั้นในปีหน้า คอนโดฯ ระดับ 1.5 ล้าน บาท จะหายากหากจะหาขนาด 50-60 ตร.ม. 2 ห้องนอนก็จะสูง 3-4 ล้านบาท แต่เมื่อโครงข่ายคมนาคมหรือรถไฟฟ้าขยายออกไป ทาวน์เฮาส์หรือทาวน์โฮม ในระดับราคาเดียวกันก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง”
นายอิสระกล่าวว่า การลงทุนในต่างจังหวัดมีการเปลี่ยนแปลงไปมากจากปัญหาอุทกภัยเป็นตัวเร่ง โดยเฉพาะจังหวัดชายแดน จังหวัดท่องเที่ยวใหญ่ๆ จังหวัดที่เป็นอุตสาหกรรม หรือจังหวัดที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้ราคาที่ดินปรับเพิ่มสูงขึ้นเร็วมาก เร็วกว่าปริมณฑลอีก ก็ขอให้ระมัดระวังในการลงทุน เพราะจะเป็นข้อจำกัดในการพัฒนา เช่นกัน
ส่วนการปรับขึ้นค่าแรงถ้ามองในแง่ดีก็จะทำให้แรงงานมีกำลังซื้อเพิ่มสูงขึ้น ความสามารถในการจับจ่ายเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและการซื้อที่อยู่อาศัย แต่ก็มีผลกระทบต่อการผลิตบ้าน สินค้า รวมถึงวัสดุก่อสร้างต่างๆ ขณะเดียวกันค่าบริหารจัดการบริหารงานก็เพิ่ม สูงขึ้น ก็เป็นปัจจัยทำให้ต้นทุนเริ่มสูงขึ้น นายกฤษณ์ เสสะเวช กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) กล่าวว่า ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งจีดีพีของประเทศและการส่งออกมีอัตราการเติบโต เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเรื่องการบริโภคในประเทศไทย แต่ประเด็นที่ต้องระวังคือปัญหาค่าเงินบาท ที่อาจกระทบต่อการส่งออก ส่วนการเกิดภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาฯ ไม่น่าห่วงมาก วัดได้จากการขาย ที่ดินเปล่าของบสก. ยังสามารถขายที่ดินเปล่าได้มากถึง 70% แสดงว่าคนมีเงินเก็บ นำเงินมาลงทุนในอสังหาฯ
ดร.อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ อุปนายกและเลขาธิการ สมาคมอาคารชุดไทย ให้ความเห็นทำนองเดียวกันว่า ในปีหน้ามีปัจจัยบวกในตลาดหลายด้าน ทั้งการเติบโตของจีดีพี อัตราดอกเบี้ยทรงตัว ไม่เปลี่ยนแปลงมาก อัตราเงินเฟ้อ 3.5% การส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง การลงทุนของภาครัฐมีสูงถึง 16% การลงทุนของเอกชน 20% อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ขณะที่คอนโดฯ เป็นสินค้าอสังหาฯ ที่ซื้อง่ายขายคล่องจากเงินทุนไหลเข้าทำให้ผู้บริโภคหันมาลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ มากขึ้น
ส่วนทำเลเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในปีหน้า น่าจะเป็นย่านบางกะปิ ลาดพร้าว บางนา เนื่องจากได้แรงหนุนจากเส้นทางรถไฟฟ้าขยายเข้าสู่พื้นที่มากขึ้น ประกอบกับมีแหล่งช็อปปิ้ง และแหล่ง งานในพื้นที่เพิ่มขึ้น ขณะที่บางทำเลจะมีปัญหาคอนโดฯ ล้นตลาดบ้าง โดยเฉพาะในทำเลรถไฟฟ้าบีทีเอส เส้นทางเดิม และ แหล่งงานชานเมือง เช่น ศูนย์ราชการ มีคอนโดฯ สร้างใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก
นายไพโรจน์ สุขจั่น นายกสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า การแข่งขันในปีหน้าผู้ประกอบการต้องเน้นการพัฒนาสินค้า โปรโมชั่น ที่มีความแปลกใหม่ ทำเลที่มีโอกาส หรือเจาะตลาดบลูโอเชี่ยน ซึ่งการแข่งขันไม่สูงมาก และผู้ประกอบการจะเน้นระบบก่อสร้างให้รวดเร็วผ่านระบบสำเร็จรูปมาก ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจฉบับวันที่ 1 - 4 ธ.ค. 2555
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวในงานสัมมนา “ถอดรหัสอสังหาฯ ปี 56” ซึ่งจัดโดย สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ และบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์การ จำกัด (บสก.) ว่า แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะโตตามอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งคาดการณ์จีดีพีจะอยู่ที่ 4.5-5.5% ซึ่งถือว่ายังมีการเติบโตที่ดี โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนคือในเรื่องของการส่งออกน่าจะเติบโต 14-15% เงินเฟ้ออยู่ในระดับ 2.5-3.8% รวมถึงดอกเบี้ยต่ำน่าจะหนุนด้านการลงทุน ขณะที่รัฐบาลก็มีมาตรการออกมากระตุ้น รวมถึงโครงการขยายรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ จะทำให้เกิดการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ออกสู่นอกเมืองมากขึ้น
นอกจากนี้ การลงทุนภาคอสังหาฯจะขยายการลงทุนจะมุ่งสู่ต่างจังหวัด ซึ่งเป็นการลงทุนต่อเนื่องหลังจากน้ำท่วมใหญ่ในปีที่ผ่านมา ทำให้หัวเมืองใหญ่โดยเฉพาะภาคอีสานอย่าง อุดรฯ ขอนแก่น นครราชสีมา มีการลงทุนเยอะมาก ขณะที่ ภาคตะวันออกพื้นที่อุตสาหกรรมมีการ ขยายการลงทุนสูงเช่นกัน โดยเฉพาะชลบุรีมีการลงทุนสูงมากที่สุดรองจากกทม.
ด้านปัจจัยลบนายชาติชายกล่าวว่า ต้องระวังภาวะเศรษฐกิจโลกในปีหน้าเช่นกัน แต่ก็ไม่น่ากังวลมากนักเพราะอสังหาฯ เป็นสินค้าบริโภคภายในประเทศ แต่สิ่งที่อาจมีผลกระทบบางโครงการของภาครัฐอาจติดขัดไม่เป็นไปตามแผนซึ่งจะมีผล ต่อด้านการขายได้, ความหนาแน่นการลงทุนในบางทำเล ผู้ประกอบการอาจ ต้องลดความเสี่ยงด้วยการย้ายหาทำเลใหม่ๆ รวมถึงต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจากค่าแรงและค่าขนส่งก็เป็นอีกปัจจัย หนึ่ง ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี ส่วนการเมืองไม่น่าจะมีผลมากนักเพราะนักธุรกิจไทยค่อนข้างเคยชิน
นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวถึงทิศทางที่อยู่อาศัยในปี 2556 ว่า โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบจะมีการเปิดตัวโครงการขยับเพิ่ม ขึ้นมาใกล้เคียงกับคอนโดมิเนียมเนื่องจาก ประชาชนเริ่มหมดความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเรื่องน้ำท่วม ขณะที่โครงการของรัฐก็เริ่มเป็นรูปธรรมขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจและกลับมาซื้อแนวราบเพิ่มขึ้น
“คอนโดฯ จะมีปัญหาเรื่องต้นทุนที่ดินมาก เพราะมีการปรับราคาสูงขึ้นจากโครงข่ายรถไฟฟ้า และข้อจำกัดการใช้ที่ดินจากกฎหมายผังเมืองกทม. ฉะนั้นในปีหน้า คอนโดฯ ระดับ 1.5 ล้าน บาท จะหายากหากจะหาขนาด 50-60 ตร.ม. 2 ห้องนอนก็จะสูง 3-4 ล้านบาท แต่เมื่อโครงข่ายคมนาคมหรือรถไฟฟ้าขยายออกไป ทาวน์เฮาส์หรือทาวน์โฮม ในระดับราคาเดียวกันก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง”
นายอิสระกล่าวว่า การลงทุนในต่างจังหวัดมีการเปลี่ยนแปลงไปมากจากปัญหาอุทกภัยเป็นตัวเร่ง โดยเฉพาะจังหวัดชายแดน จังหวัดท่องเที่ยวใหญ่ๆ จังหวัดที่เป็นอุตสาหกรรม หรือจังหวัดที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้ราคาที่ดินปรับเพิ่มสูงขึ้นเร็วมาก เร็วกว่าปริมณฑลอีก ก็ขอให้ระมัดระวังในการลงทุน เพราะจะเป็นข้อจำกัดในการพัฒนา เช่นกัน
ส่วนการปรับขึ้นค่าแรงถ้ามองในแง่ดีก็จะทำให้แรงงานมีกำลังซื้อเพิ่มสูงขึ้น ความสามารถในการจับจ่ายเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและการซื้อที่อยู่อาศัย แต่ก็มีผลกระทบต่อการผลิตบ้าน สินค้า รวมถึงวัสดุก่อสร้างต่างๆ ขณะเดียวกันค่าบริหารจัดการบริหารงานก็เพิ่ม สูงขึ้น ก็เป็นปัจจัยทำให้ต้นทุนเริ่มสูงขึ้น นายกฤษณ์ เสสะเวช กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) กล่าวว่า ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งจีดีพีของประเทศและการส่งออกมีอัตราการเติบโต เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเรื่องการบริโภคในประเทศไทย แต่ประเด็นที่ต้องระวังคือปัญหาค่าเงินบาท ที่อาจกระทบต่อการส่งออก ส่วนการเกิดภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาฯ ไม่น่าห่วงมาก วัดได้จากการขาย ที่ดินเปล่าของบสก. ยังสามารถขายที่ดินเปล่าได้มากถึง 70% แสดงว่าคนมีเงินเก็บ นำเงินมาลงทุนในอสังหาฯ
ดร.อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ อุปนายกและเลขาธิการ สมาคมอาคารชุดไทย ให้ความเห็นทำนองเดียวกันว่า ในปีหน้ามีปัจจัยบวกในตลาดหลายด้าน ทั้งการเติบโตของจีดีพี อัตราดอกเบี้ยทรงตัว ไม่เปลี่ยนแปลงมาก อัตราเงินเฟ้อ 3.5% การส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง การลงทุนของภาครัฐมีสูงถึง 16% การลงทุนของเอกชน 20% อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ขณะที่คอนโดฯ เป็นสินค้าอสังหาฯ ที่ซื้อง่ายขายคล่องจากเงินทุนไหลเข้าทำให้ผู้บริโภคหันมาลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ มากขึ้น
ส่วนทำเลเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในปีหน้า น่าจะเป็นย่านบางกะปิ ลาดพร้าว บางนา เนื่องจากได้แรงหนุนจากเส้นทางรถไฟฟ้าขยายเข้าสู่พื้นที่มากขึ้น ประกอบกับมีแหล่งช็อปปิ้ง และแหล่ง งานในพื้นที่เพิ่มขึ้น ขณะที่บางทำเลจะมีปัญหาคอนโดฯ ล้นตลาดบ้าง โดยเฉพาะในทำเลรถไฟฟ้าบีทีเอส เส้นทางเดิม และ แหล่งงานชานเมือง เช่น ศูนย์ราชการ มีคอนโดฯ สร้างใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก
นายไพโรจน์ สุขจั่น นายกสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า การแข่งขันในปีหน้าผู้ประกอบการต้องเน้นการพัฒนาสินค้า โปรโมชั่น ที่มีความแปลกใหม่ ทำเลที่มีโอกาส หรือเจาะตลาดบลูโอเชี่ยน ซึ่งการแข่งขันไม่สูงมาก และผู้ประกอบการจะเน้นระบบก่อสร้างให้รวดเร็วผ่านระบบสำเร็จรูปมาก ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจฉบับวันที่ 1 - 4 ธ.ค. 2555