ร.ฟ.ท. เปิดเวทีรับฟังความเห็นรูปแบบโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.8 กิโลเมตร วงเงินกว่า 9,000 ล้าน เร่งชง ครม. อนุมัติ
นายนริศ ตั้งระดมสิน วิศวกรอำนวยการ ศูนย์บริหารโครงการพิเศษ 2 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยในการสัมมนาครั้งที่ 2 งานสำรวจออกแบบรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ว่าการสัมมนาครั้งนี้เพื่อนำเสนอผลสรุปโครงการ ประกอบด้วย การออก แบบรายละเอียดสถานี รูปแบบการเดินรถ ตลอดจนผลการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์และความคุ้มค่าในการลงทุน ทั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษาได้เสนอ รูปแบบ 3 สถานี และแนวเส้นทางโครงการ ซึ่งยึดตามแนวเส้นทางรถไฟในปัจจุบัน ได้แก่ 1.สถานีธนบุรี-ศิริราช, 2.สถานีจรัญสนิทวงศ์ และ 3.สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน รวมระยะทาง 5.8 กิโลเมตร
นายนริศ ตั้งระดมสิน วิศวกรอำนวยการ ศูนย์บริหารโครงการพิเศษ 2 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยในการสัมมนาครั้งที่ 2 งานสำรวจออกแบบรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ว่าการสัมมนาครั้งนี้เพื่อนำเสนอผลสรุปโครงการ ประกอบด้วย การออก แบบรายละเอียดสถานี รูปแบบการเดินรถ ตลอดจนผลการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์และความคุ้มค่าในการลงทุน ทั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษาได้เสนอ รูปแบบ 3 สถานี และแนวเส้นทางโครงการ ซึ่งยึดตามแนวเส้นทางรถไฟในปัจจุบัน ได้แก่ 1.สถานีธนบุรี-ศิริราช, 2.สถานีจรัญสนิทวงศ์ และ 3.สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน รวมระยะทาง 5.8 กิโลเมตร
สำหรับผลการวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์มีค่าชี้วัดอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) สูงถึง 17.14% (มาตรฐานอยู่ที่ 12%) ส่วนอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้น ทุนสูง 1.49% (มาตรฐานอยู่ที่ 1%) จึงมีความคุ้มค่าในการลงทุนทั้งด้านเศรษฐศาสตร์และต้นทุน โดยโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช มีวงเงิน กว่า 9,000 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้างประมาณ 5,562 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นค่าตัวรถ ใช้ระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ (ATO) ติดตั้งระบบ Automatic Train Protection (ATP) บนหัวรถจักรดีเซล เพื่อให้รถไฟทั้ง 2 ระบบใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ส่งผลกระทบต่อชุมชนในบริเวณโดยรอบทางรถไฟน้อยลง และมีการคาดการณ์ผู้โดย สารที่จะมาใช้บริการรถไฟทั้ง 3 สถานี ในปี 2564 อยู่ที่ประมาณ 29,400 คน/เที่ยว/วัน ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรที่แออัดบริเวณโดยรอบโรงพยาบาลศิริราชได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน อย่างไรก็ดี หลังจากรับความคิดเห็นครั้งนี้แล้วทาง ร.ฟ.ท. นำมาประกอบการพิจารณาก่อนนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติตามขั้นตอนต่อไป โดยคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี
ทั้งนี้ โครงการระบบรถไฟชาน เมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชันศิริราช จะสามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับโครงการรถไฟฟ้ามหานครสาย สีน้ำเงินและสายสีส้ม ที่สถานีจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งจะช่วยเติมเต็มโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้สมบูรณ์
ที่มา: หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
ทั้งนี้ โครงการระบบรถไฟชาน เมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชันศิริราช จะสามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับโครงการรถไฟฟ้ามหานครสาย สีน้ำเงินและสายสีส้ม ที่สถานีจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งจะช่วยเติมเต็มโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้สมบูรณ์
ที่มา: หนังสือพิมพ์โลกวันนี้