เมื่อวันที่ 25 กันยายน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาทบทวนความเหมาะสมปรับปรุงแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
นายสุรศักดิ์ ทวีศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญระบบรถไฟฟ้า กล่าวถึงผลการศึกษาว่า โครงการดังกล่าวมีระยะทาง 34.5 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท เป็นรถไฟฟ้ามวลเบา (โมโนเรล) ค่าก่อสร้างจะถูกกว่ารถไฟฟ้าปกติที่ให้บริการในปัจจุบันประมาณ 100 ล้านบาทต่อกิโลเมตร คือ มีค่าก่อสร้างประมาณ 1,400-1,500 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ในช่วง 10 ปีแรกจะรองรับผู้ใช้บริการได้ประมาณ 2 หมื่นคนต่อชั่วโมงต่อเส้นทาง ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาจะส่งรายงานให้ รฟม.พิจารณาในสิ้นเดือนกันยายนนี้ เพื่อจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้นเดือนตุลาคม และคาดว่าจะประกวดราคาได้ต้นปี 2556 เริ่มลงนามในสัญญาก่อสร้างได้ปี 2557 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 2560
นายสุรศักดิ์ ทวีศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญระบบรถไฟฟ้า กล่าวถึงผลการศึกษาว่า โครงการดังกล่าวมีระยะทาง 34.5 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท เป็นรถไฟฟ้ามวลเบา (โมโนเรล) ค่าก่อสร้างจะถูกกว่ารถไฟฟ้าปกติที่ให้บริการในปัจจุบันประมาณ 100 ล้านบาทต่อกิโลเมตร คือ มีค่าก่อสร้างประมาณ 1,400-1,500 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ในช่วง 10 ปีแรกจะรองรับผู้ใช้บริการได้ประมาณ 2 หมื่นคนต่อชั่วโมงต่อเส้นทาง ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาจะส่งรายงานให้ รฟม.พิจารณาในสิ้นเดือนกันยายนนี้ เพื่อจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้นเดือนตุลาคม และคาดว่าจะประกวดราคาได้ต้นปี 2556 เริ่มลงนามในสัญญาก่อสร้างได้ปี 2557 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 2560
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว จะสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจได้ 18% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ปกติที่กำหนดไว้ที่ 12% หากในอนาคตรัฐบาลจะเก็บค่าบริการ 20 บาทตลอดสาย ต้องมีการจ่ายชดเชย เพื่อให้มีรายได้สอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า รถไฟฟ้าสายสีชมพู และรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.พร้อมกัน คือประมาณเดือนตุลาคมนี้ หลังจากนั้นจะเปิดประกวดราคาประมาณเดือนมีนาคม 2556 โดยสายสีชมพู ได้มีการปรับเพิ่มวงเงินงบประมาณจากเดิม 3.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากราคาเดิมได้ศึกษามานานประมาณ 5 ปีแล้ว ราคาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ จึงสูงขึ้น ส่วนสายสีเขียว คาดว่าจะมีการปรับเพิ่มวงเงินเช่นเดียวกัน แต่ต้องรอผลการศึกษาออกมาก่อน
ทั้งนี้ รฟม.ยังมีแนวคิดที่จะจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้ามาให้บริการเอง แทนการให้บริษัทเอกชนเข้ามาจัดซื้อ เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลง เบื้องต้นจะจัดซื้อพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับรถไฟฟ้าทั้ง 10 สาย โดยในปี 2558-2562 จะต้องใช้รถไฟฟ้าประมาณ 800 คัน และในระยะเวลา 30 ปี จะต้องใช้รถไฟฟ้าถึง 2,400 คัน นอกจากนี้ ยังเตรียมนำผลการศึกษาการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ภูเก็ต เชียงใหม่ และพัทยา มาพิจารณาศึกษาด้วย
ที่มา: มติชนออนไลน์
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า รถไฟฟ้าสายสีชมพู และรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.พร้อมกัน คือประมาณเดือนตุลาคมนี้ หลังจากนั้นจะเปิดประกวดราคาประมาณเดือนมีนาคม 2556 โดยสายสีชมพู ได้มีการปรับเพิ่มวงเงินงบประมาณจากเดิม 3.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากราคาเดิมได้ศึกษามานานประมาณ 5 ปีแล้ว ราคาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ จึงสูงขึ้น ส่วนสายสีเขียว คาดว่าจะมีการปรับเพิ่มวงเงินเช่นเดียวกัน แต่ต้องรอผลการศึกษาออกมาก่อน
ทั้งนี้ รฟม.ยังมีแนวคิดที่จะจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้ามาให้บริการเอง แทนการให้บริษัทเอกชนเข้ามาจัดซื้อ เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลง เบื้องต้นจะจัดซื้อพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับรถไฟฟ้าทั้ง 10 สาย โดยในปี 2558-2562 จะต้องใช้รถไฟฟ้าประมาณ 800 คัน และในระยะเวลา 30 ปี จะต้องใช้รถไฟฟ้าถึง 2,400 คัน นอกจากนี้ ยังเตรียมนำผลการศึกษาการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ภูเก็ต เชียงใหม่ และพัทยา มาพิจารณาศึกษาด้วย
ที่มา: มติชนออนไลน์