ค้าปลีกฝั่งธน แข่งเดือด "เดอะ มอลล์" พร้อมรับมือน้องใหม่ "ซีคอน" เปิดศึกชิงลูกค้าย่านบางแค เผยปรับกลยุทธ์/กิจกรรมดักนักช็อปเจนฯ X เต็มสูบ ขณะที่ "ซีคอน บางแค" ทุ่ม 200 ล้านอัดอีเวนต์กว่า 100 กิจกรรมชิงกำลังซื้อเศรษฐีแบ่งเค้กลูกค้า 9 แสนราย มั่นใจโกยรายได้ 700 ล้านบาทในปีหน้าและคุ้มทุนใน 7 ปี
นายชำนาญ เมธปรีชากุล ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสการตลาด บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เดอะ มอลล์ กรุ๊ป พร้อมปรับโพสิชันนิ่งของเดอะ มอลล์ สาขาบางแคใหม่ให้เป็นโมเดิร์น แฟมิลี่ รองรับกลุ่มลูกค้าเจเนอเรชันใหม่ ที่กำลังเติบโตและเป็นการรองรับการแข่งขันที่กำลังจะเกิดขึ้น หลังจากที่มีศูนย์การค้าใหม่เข้ามาเปิดให้บริการ โดยกลุ่มเป้าหมายหลัก ยังเป็นกลุ่มผู้บริโภคในระดับซีบวกขึ้นไป ทั้งกลุ่มเจ้าของกิจการ ลูกหลานที่สืบทอด ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นคนรุ่นใหม่ ทันสมัยมากขึ้น
นายชำนาญ เมธปรีชากุล ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสการตลาด บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เดอะ มอลล์ กรุ๊ป พร้อมปรับโพสิชันนิ่งของเดอะ มอลล์ สาขาบางแคใหม่ให้เป็นโมเดิร์น แฟมิลี่ รองรับกลุ่มลูกค้าเจเนอเรชันใหม่ ที่กำลังเติบโตและเป็นการรองรับการแข่งขันที่กำลังจะเกิดขึ้น หลังจากที่มีศูนย์การค้าใหม่เข้ามาเปิดให้บริการ โดยกลุ่มเป้าหมายหลัก ยังเป็นกลุ่มผู้บริโภคในระดับซีบวกขึ้นไป ทั้งกลุ่มเจ้าของกิจการ ลูกหลานที่สืบทอด ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นคนรุ่นใหม่ ทันสมัยมากขึ้น
ขณะนี้จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงทำให้บริษัทต้องปรับกลยุทธ์การทำตลาด โดยเน้นให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น โดยก่อนหน้านี้บริษัทได้ปรับปรุงพื้นที่ภายในห้างเดอะ มอลล์ บางแคให้มีความทันสมัย และล่าสุดได้ปรับปรุงพื้นที่สวนน้ำ ให้มีสีสันและมีกิจกรรมมากขึ้นโดยดึงพันธมิตรใหม่ๆ เข้ามาเสริม เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ามากขึ้นด้วย
"การทำตลาดของเดอะ มอลล์ บางแค จะกลับมาตอกย้ำความเป็นผู้นำค้าปลีกของกลุ่มครอบครัว ซึ่งเดอะ มอลล์เองสร้างให้เป็นจุดขายมานานนับสิบปี การนำเสนอสินค้าของรีเทลจะกลับมาที่กลุ่มครอบครัวเป็นหลัก ไม่ใช่เน้นที่แฟชั่นเหมือนช่วงที่ผ่านมา แต่ต้องเป็นการผสมผสานหลายๆส่วนทั้งอาหาร เครื่องดื่มให้ลงตัว ซึ่งคาดว่าจะสมบูรณ์แบบได้ในกลางปี 2556" นายชำนาญกล่าวและว่า
กลุ่มลูกค้าของเดอะ มอลล์ บางแค 60% เป็นกลุ่มเจเนอเรชัน X มีอายุ 31-45 ปี ซึ่งมีความจงรักภักดีสูง เริ่มเป็นผู้ใหญ่ และมีครอบครัวขนาดเล็ก สินค้าหรือบริการต่างๆ ก็ต้องตรงกับความต้องการ
อย่างไรก็ดี การแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้นในย่านฝั่งธนบุรี เดอะ มอลล์ บางแค เองมีการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมรับมือมาได้ระยะหนึ่ง โดยเริ่มปรับกลยุทธ์ กำหนดรูปแบบกิจกรรมตั้งแต่ปี 2554 โดยเน้นกิจกรรมที่มีคุณภาพ ไม่ใช่เน้นปริมาณ ขณะเดียวกันก็ไม่ได้เน้นการลดราคา แต่เน้นการตลาดที่คุ้มค่า ทำให้เชื่อว่าจะสามารถรับมือการแข่งขันหรือการเข้ามาของคู่แข่งได้
ด้านนายตะติยะ ซอโสตถิกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีคอน บางแค จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าซีคอน บางแค กล่าวว่า การแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกย่านฝั่งธนบุรีถือว่ายังต่ำเมื่อเทียบกับย่านอื่น รวมทั้งย่านศรีนครินทร์ที่บริษัทมีศูนย์การค้าอยู่ แต่ศักยภาพและกำลังซื้อของผู้บริโภคในย่านฝั่งธนกลับสูงมาก โดยประชากรในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบซีคอน บางแค มีจำนวนมากกว่า 9 แสนคนสูงกว่าย่านศรีนครินทร์ที่มีประมาณ 6 แสนคนเท่านั้น ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคก็มีการช็อปปิ้งกระจายกันไป โดยเชื่อว่าจะไม่ยึดติดกับแบรนด์ของศูนย์การค้าบางคนอาจเดินช็อปปิ้งได้ทั้ง 2 ห้างภายในวันเดียวกัน ที่สำคัญห้างค้าปลีกในย่านฝั่งธนยังมีน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดประชากรและจำนวนหมู่บ้านที่มีราว 441 โครงการ สถาบันการศึกษา 220 แห่ง เป็นต้น
ซีคอน บางแค ยังเป็นศูนย์การค้าใหม่ในรอบกว่า 10 ปีที่เข้ามาเจาะกำลังซื้อผู้บริโภคย่านฝั่งธนด้วย ซึ่งบริษัทมั่นใจว่าจะจูงใจกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง เพราะบริษัทเองก็มีจุดแข็งในด้านการดึงคู่ค้าสำคัญ อาทิ โรบินสัน ท็อปส์ มาร์เก็ต ซีซันมอลล์ ซึ่งมีความเป็นหนึ่ง(ยูนีค) โยโย่แลนด์ ร้านค้าไอทีต่างๆ ร้านอาหารในศูนย์การค้ามากสุด เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคและดึงลูกค้าเข้ามาใช้บริการในวันธรรมดาคาดอยู่ที่ 8 หมื่นคนต่อวัน และวันเสาร์-อาทิตย์จะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1 แสนคนต่อวัน และปัจจัยสำคัญที่จะเอื้อให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการภายในศูนย์มากขึ้นจะเป็นเรื่องของระบบขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวเข้มที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน และรถไฟฟ้าใต้ดิน(เอ็มอาร์ที)สายสีน้ำเงินจะแล้วเสร็จในปี 2559 เพราะมีสถานีอยู่ที่หน้าศูนย์การค้าซีคอน บางแคพอดี
"กลุ่มเป้าหมายหลักในย่านฝั่งธนนั้นจะเป็นระดับบน และบริษัทประเมินว่าการใช้จ่ายต่อบิลของผู้บริโภคในย่านฝั่งธนบุรีนั้นจะใกล้เคียงกับศรีนครินทร์เฉลี่ยประมาณ 800 บาทต่อคนต่อครั้ง แต่จำนวนประชากรที่หนาแน่นกว่าถึง 50% ก็เป็นโอกาสที่จะเพิ่มยอดการใช้จ่าย โดยจากการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคพบว่าประมาณ 30% นิยมเข้ามาใช้บริการในศูนย์เพื่อรับประทานอาหาร อีก 30% มาเดินช็อปปิ้ง ที่เหลือก็จะเป็นการนัดพบปะกัน โดยภาพรวมการแข่งขันค้าปลีกย่านฝั่งธนนั้นไม่รุนแรงมากนักและมีเค้กใหญ่พอที่ผู้ประกอบการจะเข้ามาแบ่งกันได้เหลือเฟือ" นายตะติยะ กล่าวและว่า
ทั้งนี้ บริษัทได้เปิดให้บริการศูนย์การค้าซีคอน บางแคอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 กันยายน โดยขณะนี้มีร้านค้าพร้อมเปิดให้บริการแล้ว 75% จากขายพื้นที่เช่าแล้ว 96% และคาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือนตุลาคมนี้ และบริษัทได้ทุ่มงบประมาณ 90 ล้านบาท เพื่อเปิดตัวศูนย์และจัดกิจกรรมทางการตลาดตลอดจนประชาสัมพันธ์ศูนย์เต็มที่ และปี 2556 จะทุ่มงบประมาณ 200 ล้านบาท จัดกิจกรรมตลอดทั้งปีกว่า 100 อีเวนต์ โดยในปีแรกคาดว่าจะสร้างรายได้ 200 ล้านบาท ภายในสิ้นปี 2555 และเพิ่มเป็น 700 ล้านบาทในปี 2556 ผลักดันให้สามารถคืนทุนได้ภายใน 7 ปี หลังจากลงทุนไปกว่า 3 พันล้านบาท
ที่มา :หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,775 16-19 กันยายน พ.ศ. 2555
"การทำตลาดของเดอะ มอลล์ บางแค จะกลับมาตอกย้ำความเป็นผู้นำค้าปลีกของกลุ่มครอบครัว ซึ่งเดอะ มอลล์เองสร้างให้เป็นจุดขายมานานนับสิบปี การนำเสนอสินค้าของรีเทลจะกลับมาที่กลุ่มครอบครัวเป็นหลัก ไม่ใช่เน้นที่แฟชั่นเหมือนช่วงที่ผ่านมา แต่ต้องเป็นการผสมผสานหลายๆส่วนทั้งอาหาร เครื่องดื่มให้ลงตัว ซึ่งคาดว่าจะสมบูรณ์แบบได้ในกลางปี 2556" นายชำนาญกล่าวและว่า
กลุ่มลูกค้าของเดอะ มอลล์ บางแค 60% เป็นกลุ่มเจเนอเรชัน X มีอายุ 31-45 ปี ซึ่งมีความจงรักภักดีสูง เริ่มเป็นผู้ใหญ่ และมีครอบครัวขนาดเล็ก สินค้าหรือบริการต่างๆ ก็ต้องตรงกับความต้องการ
อย่างไรก็ดี การแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้นในย่านฝั่งธนบุรี เดอะ มอลล์ บางแค เองมีการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมรับมือมาได้ระยะหนึ่ง โดยเริ่มปรับกลยุทธ์ กำหนดรูปแบบกิจกรรมตั้งแต่ปี 2554 โดยเน้นกิจกรรมที่มีคุณภาพ ไม่ใช่เน้นปริมาณ ขณะเดียวกันก็ไม่ได้เน้นการลดราคา แต่เน้นการตลาดที่คุ้มค่า ทำให้เชื่อว่าจะสามารถรับมือการแข่งขันหรือการเข้ามาของคู่แข่งได้
ด้านนายตะติยะ ซอโสตถิกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีคอน บางแค จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าซีคอน บางแค กล่าวว่า การแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกย่านฝั่งธนบุรีถือว่ายังต่ำเมื่อเทียบกับย่านอื่น รวมทั้งย่านศรีนครินทร์ที่บริษัทมีศูนย์การค้าอยู่ แต่ศักยภาพและกำลังซื้อของผู้บริโภคในย่านฝั่งธนกลับสูงมาก โดยประชากรในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบซีคอน บางแค มีจำนวนมากกว่า 9 แสนคนสูงกว่าย่านศรีนครินทร์ที่มีประมาณ 6 แสนคนเท่านั้น ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคก็มีการช็อปปิ้งกระจายกันไป โดยเชื่อว่าจะไม่ยึดติดกับแบรนด์ของศูนย์การค้าบางคนอาจเดินช็อปปิ้งได้ทั้ง 2 ห้างภายในวันเดียวกัน ที่สำคัญห้างค้าปลีกในย่านฝั่งธนยังมีน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดประชากรและจำนวนหมู่บ้านที่มีราว 441 โครงการ สถาบันการศึกษา 220 แห่ง เป็นต้น
ซีคอน บางแค ยังเป็นศูนย์การค้าใหม่ในรอบกว่า 10 ปีที่เข้ามาเจาะกำลังซื้อผู้บริโภคย่านฝั่งธนด้วย ซึ่งบริษัทมั่นใจว่าจะจูงใจกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง เพราะบริษัทเองก็มีจุดแข็งในด้านการดึงคู่ค้าสำคัญ อาทิ โรบินสัน ท็อปส์ มาร์เก็ต ซีซันมอลล์ ซึ่งมีความเป็นหนึ่ง(ยูนีค) โยโย่แลนด์ ร้านค้าไอทีต่างๆ ร้านอาหารในศูนย์การค้ามากสุด เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคและดึงลูกค้าเข้ามาใช้บริการในวันธรรมดาคาดอยู่ที่ 8 หมื่นคนต่อวัน และวันเสาร์-อาทิตย์จะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1 แสนคนต่อวัน และปัจจัยสำคัญที่จะเอื้อให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการภายในศูนย์มากขึ้นจะเป็นเรื่องของระบบขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวเข้มที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน และรถไฟฟ้าใต้ดิน(เอ็มอาร์ที)สายสีน้ำเงินจะแล้วเสร็จในปี 2559 เพราะมีสถานีอยู่ที่หน้าศูนย์การค้าซีคอน บางแคพอดี
"กลุ่มเป้าหมายหลักในย่านฝั่งธนนั้นจะเป็นระดับบน และบริษัทประเมินว่าการใช้จ่ายต่อบิลของผู้บริโภคในย่านฝั่งธนบุรีนั้นจะใกล้เคียงกับศรีนครินทร์เฉลี่ยประมาณ 800 บาทต่อคนต่อครั้ง แต่จำนวนประชากรที่หนาแน่นกว่าถึง 50% ก็เป็นโอกาสที่จะเพิ่มยอดการใช้จ่าย โดยจากการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคพบว่าประมาณ 30% นิยมเข้ามาใช้บริการในศูนย์เพื่อรับประทานอาหาร อีก 30% มาเดินช็อปปิ้ง ที่เหลือก็จะเป็นการนัดพบปะกัน โดยภาพรวมการแข่งขันค้าปลีกย่านฝั่งธนนั้นไม่รุนแรงมากนักและมีเค้กใหญ่พอที่ผู้ประกอบการจะเข้ามาแบ่งกันได้เหลือเฟือ" นายตะติยะ กล่าวและว่า
ทั้งนี้ บริษัทได้เปิดให้บริการศูนย์การค้าซีคอน บางแคอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 กันยายน โดยขณะนี้มีร้านค้าพร้อมเปิดให้บริการแล้ว 75% จากขายพื้นที่เช่าแล้ว 96% และคาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือนตุลาคมนี้ และบริษัทได้ทุ่มงบประมาณ 90 ล้านบาท เพื่อเปิดตัวศูนย์และจัดกิจกรรมทางการตลาดตลอดจนประชาสัมพันธ์ศูนย์เต็มที่ และปี 2556 จะทุ่มงบประมาณ 200 ล้านบาท จัดกิจกรรมตลอดทั้งปีกว่า 100 อีเวนต์ โดยในปีแรกคาดว่าจะสร้างรายได้ 200 ล้านบาท ภายในสิ้นปี 2555 และเพิ่มเป็น 700 ล้านบาทในปี 2556 ผลักดันให้สามารถคืนทุนได้ภายใน 7 ปี หลังจากลงทุนไปกว่า 3 พันล้านบาท
ที่มา :หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,775 16-19 กันยายน พ.ศ. 2555