นายฮิม ศิริธันยาภรณ์ รองวิศวกรใหญ่ด้านพัฒนา ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท. จะดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 6.5 กม. รวมทั้งปรับปรุงศูนย์ซ่อมบำรุงธนบุรี วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยจะออกแบบรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคาแล้วเสร็จเดือน ต.ค. นี้ และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนครั้งที่ 2 จากนั้นคาดว่าจะได้ผู้รับเหมาและเริ่มก่อสร้างได้ต้นปี 56 แล้วเสร็จปี 58
อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวจะเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ปัญหาการจราจรโดยรอบโรงพยาบาลศิริราช และเชื่อมโยงโครงข่ายการจราจรด้านทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งเชื่อมโยงศูนย์การศึกษาด้านการแพทย์ทั้ง 3 แห่งของ ม.มหิดล คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ ม.มหิดล ศาลายา ไปพร้อมกับการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย
อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวจะเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ปัญหาการจราจรโดยรอบโรงพยาบาลศิริราช และเชื่อมโยงโครงข่ายการจราจรด้านทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งเชื่อมโยงศูนย์การศึกษาด้านการแพทย์ทั้ง 3 แห่งของ ม.มหิดล คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ ม.มหิดล ศาลายา ไปพร้อมกับการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย
สำหรับแนวเส้นทางจะก่อสร้างตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม จากบริเวณตลาดน้ำตลิ่งชัน-โรงพยาบาลศิริราช ระยะทางรวม 6.5 กม. พร้อมทั้งปรับปรุงสถานีรถไฟ 3 สถานี ประกอบด้วย สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน สถานีจรัญสนิทวงศ์และสถานีธนบุรี-ศิริราช ให้ทันสมัย และเชื่อมโครงข่ายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน
ส่วนปัญหาของแนวเส้นทางส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อตลิ่งชัน จะมีจุดตัดทางรถไฟระดับดิน 2 จุด คือ จุดตัดถนนฉิมพลี ซึ่งจะแก้ไขโดยก่อสร้างเป็นสะพานกลับรถรูปเกือกม้าบนถนนเลียบทางรถไฟให้เชื่อมกับถนนฉิมพลี และจุดตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ จะแก้ไขโดยก่อสร้างเป็นสะพานรถไฟยกระดับข้ามจุดตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ เพื่อให้รถยนต์สามารถสัญจรได้ตามปกติ
นายสาธิต มาลัยธรรม ผู้เชี่ยวชาญระบบรถไฟ กล่าวว่า ปัญหาที่พบเบื้องต้น ในการศึกษาแนวเส้นทางก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช มี 2 เรื่อง คือ 1. พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงธนบุรี ซึ่งต่อไปจะเป็นที่จอดรถไฟฟ้าด้วยนั้น คับแคบเกินไป 2. มีประชาชนบุกรุกพื้นแนวเขตทางรถไฟ ซึ่งจะมีการเจรจากับชุมชนที่ได้รับผลกระทบเร็ว ๆ นี้
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ส่วนปัญหาของแนวเส้นทางส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อตลิ่งชัน จะมีจุดตัดทางรถไฟระดับดิน 2 จุด คือ จุดตัดถนนฉิมพลี ซึ่งจะแก้ไขโดยก่อสร้างเป็นสะพานกลับรถรูปเกือกม้าบนถนนเลียบทางรถไฟให้เชื่อมกับถนนฉิมพลี และจุดตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ จะแก้ไขโดยก่อสร้างเป็นสะพานรถไฟยกระดับข้ามจุดตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ เพื่อให้รถยนต์สามารถสัญจรได้ตามปกติ
นายสาธิต มาลัยธรรม ผู้เชี่ยวชาญระบบรถไฟ กล่าวว่า ปัญหาที่พบเบื้องต้น ในการศึกษาแนวเส้นทางก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช มี 2 เรื่อง คือ 1. พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงธนบุรี ซึ่งต่อไปจะเป็นที่จอดรถไฟฟ้าด้วยนั้น คับแคบเกินไป 2. มีประชาชนบุกรุกพื้นแนวเขตทางรถไฟ ซึ่งจะมีการเจรจากับชุมชนที่ได้รับผลกระทบเร็ว ๆ นี้
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์