
นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายความเสี่ยง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เริ่มมองเห็นแนวโน้มความต้องการซื้อและขายในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่เห็นความผิดปติ ซึ่ง ธปท.ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและดูแลตรวจสอบเรื่องการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินอย่างเข้มงวด หากมีความผิดปกติ ทาง ธปท.ก็จะนำเครื่องมือที่มีอยู่ออกมาใช้
นายสมบูรณ์กล่าวว่า นอกจากนี้ ข้อมูลจากรายงานผลการสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อ ของ ธปท. (รอบการสำรวจ เดือนมิถุนายน 2555) โดยได้รับแบบสอบถามตอบกลับจากสถาบันการเงิน 21 แห่ง และผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) อีก 18 แห่ง โดยครอบคลุมสินเชื่อ 76.2% ของทั้งระบบ พบว่าความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของภาคครัวเรือนมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับรายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือนมิถุนายน
นายสมบูรณ์กล่าวว่า นอกจากนี้ ข้อมูลจากรายงานผลการสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อ ของ ธปท. (รอบการสำรวจ เดือนมิถุนายน 2555) โดยได้รับแบบสอบถามตอบกลับจากสถาบันการเงิน 21 แห่ง และผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) อีก 18 แห่ง โดยครอบคลุมสินเชื่อ 76.2% ของทั้งระบบ พบว่าความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของภาคครัวเรือนมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับรายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือนมิถุนายน
ทั้งนี้ พบว่าจำนวนที่อยู่อาศัยใหม่ที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล (ที่ปรับฤดูกาล) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2.5% และจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ที่ปรับฤดูกาล) ปรับเพิ่มขึ้น 23.6% จากเดือนก่อน โดยเฉพาะในส่วนของอาคารชุด
นายสมบูรณ์กล่าวว่า การที่ภาคครัวเรือนมีเงินออมมากขึ้น ส่งผลดีต่อการปล่อยสินเชื่อ เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยรวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น โดยตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยในไตรมาสนี้ มีการแข่งขันสูงขึ้นทั้งการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ และการแข่งขันกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นผลให้มาตรฐานและเงื่อนไขการให้สินเชื่อผ่อนคลายเพิ่มขึ้น
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
นายสมบูรณ์กล่าวว่า การที่ภาคครัวเรือนมีเงินออมมากขึ้น ส่งผลดีต่อการปล่อยสินเชื่อ เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยรวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น โดยตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยในไตรมาสนี้ มีการแข่งขันสูงขึ้นทั้งการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ และการแข่งขันกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นผลให้มาตรฐานและเงื่อนไขการให้สินเชื่อผ่อนคลายเพิ่มขึ้น
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน