
รฟม. เปิดเวทีรับฟังความเห็น เล็งก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ระยะทาง 35.4 กม. เชื่อมกรุงเทพฯฝั่งตะวันออกและตะวันตก คาดเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2557 และเปิดบริการในปี 2562
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยในงานการประชุมปฐมนิเทศโครงการงานศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โครง การรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชันมีนบุรีว่า รฟม. ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาโครง การดังกล่าวใหม่โดยใช้ระยะเวลา 10 เดือน
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยในงานการประชุมปฐมนิเทศโครงการงานศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โครง การรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชันมีนบุรีว่า รฟม. ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาโครง การดังกล่าวใหม่โดยใช้ระยะเวลา 10 เดือน
โดยเบื้องต้นบริษัทที่ปรึกษาได้เสนอแนวเส้นทางโดยเริ่มต้นที่สถานีบางขุนนนท์ จากนั้นจะวิ่งไปตามแนวเขตรถไฟสายบางกอกน้อยผ่านโรงพยาบาลศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าผ่านใต้ถนนราชดำเนิน แล้วเบี่ยงใช้แนวถนนหลานหลวงผ่านยมราช แล้วเข้าสู่แนวถนนเพชรบุรี เลี้ยวเข้าถนนราชปรารภ ถึงดินแดง แล้วเลี้ยวไปตามถนนวิภาวดีรังสิตผ่านศาลาว่าการกรุง เทพมหานคร 2 (ดินแดง) เลี้ยวขวาไปเชื่อมกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แล้วเบี่ยงเข้าถนนพระราม 9 ตัดผ่านถนนประดิษฐ์มนูธรรม แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลีแล้วตัดผ่านถนนกาญจนาภิเษก สิ้นสุดที่จุดตัดกับถนนสุวินทวงศ์บริเวณมีนบุรี ระยะทางรวม 35.4 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างใต้ดิน 26.2 กิโลเมตร และโครงสร้างยกระดับ 9.2 กิโลเมตร มีสถานีทั้งสิ้น 29 สถานี (สถานีใต้ดิน 22 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) วงเงินก่อสร้างประมาณ 150,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากเส้นทางมีระยะทางยาวจึงอาจมีการแบ่งการก่อ สร้างเป็น 2 ช่วง โดยจะดำเนินการในส่วนของใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯถึงมีนบุรีก่อน
สำหรับรูปแบบการเดินรถจะเป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งขนาดหนัก สามารถขนส่งผู้โดยสารอย่างน้อย 55,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง โดยโครงการนี้มีความคุ้ม ค่าต่อการลงทุนมีอัตราผลตอบ แทนทางเศรษฐกิจร้อยละ 19.4 ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2557 และสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2562
ที่มา: หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
สำหรับรูปแบบการเดินรถจะเป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งขนาดหนัก สามารถขนส่งผู้โดยสารอย่างน้อย 55,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง โดยโครงการนี้มีความคุ้ม ค่าต่อการลงทุนมีอัตราผลตอบ แทนทางเศรษฐกิจร้อยละ 19.4 ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2557 และสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2562
ที่มา: หนังสือพิมพ์โลกวันนี้