แม้ปัจจุบันบริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่จากส่วนกลางตลอดจนค้าปลีกขนาดใหญ่จะตบเท้าขยับไปปักธงตามหัวเมืองใหญ่กันมากพอสมควร แต่แนวโน้มปี 2556 เป็นต้นไป ประเมินว่าจะยิ่งร้อนแรงมากขึ้น โดยนายชาติชาย
พยุหนาวีชัย รองกรรมการ ผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย ฟันธงว่า สมรภูมิการแข่งขันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปี 2556 จะขยายฐานออกไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายผลักดันโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ เช่นรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง โครงการทางพิเศษเชื่อมระหว่างเมือง ทางพิเศษเชื่อมเมืองชายแดนโครงการทางพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)สายต่างๆ ส่งผลให้เกิดทำเลใหม่ เมื่อเทียบกับกทม.ที่มีอัตราเติบโตคงที่ อย่างไรก็ดีจากการสำรวจพบว่าการขยายตัวบ้านแนวราบในต่างจังหวัดสูงกว่ากทม.ประมาณสองเท่าตัว ขณะที่แนวสูงโตกว่ากทม.หนึ่งเท่าตัว นอกจากนี้ ยังคงมีเรื่องของธุรกิจเกี่ยวเนื่องเช่นค้าปลีก พาณิชยกรรมรูปแบบใหม่
พยุหนาวีชัย รองกรรมการ ผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย ฟันธงว่า สมรภูมิการแข่งขันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปี 2556 จะขยายฐานออกไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายผลักดันโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ เช่นรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง โครงการทางพิเศษเชื่อมระหว่างเมือง ทางพิเศษเชื่อมเมืองชายแดนโครงการทางพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)สายต่างๆ ส่งผลให้เกิดทำเลใหม่ เมื่อเทียบกับกทม.ที่มีอัตราเติบโตคงที่ อย่างไรก็ดีจากการสำรวจพบว่าการขยายตัวบ้านแนวราบในต่างจังหวัดสูงกว่ากทม.ประมาณสองเท่าตัว ขณะที่แนวสูงโตกว่ากทม.หนึ่งเท่าตัว นอกจากนี้ ยังคงมีเรื่องของธุรกิจเกี่ยวเนื่องเช่นค้าปลีก พาณิชยกรรมรูปแบบใหม่
ปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุนด้านที่อยู่อาศัยต่างจังหวัด นอกจากโครงการขนาดใหญ่ของรัฐแล้ว ยังต้องพิจารณาด้านรายได้ต่อหัวของประชากร ที่ผู้ประกอบการต้องเลือกเข้าไปลงทุนเพื่อความได้เปรียบโดยเฉพาะเมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่องเที่ยว เช่น ระยองรายได้ต่อหัวสูงสุดของประเทศ 1.2 ล้านบาทต่อคนต่อปี รองลงมาชลบุรี 5.4 แสนบาทต่อคนต่อปี สมุทรปราการ กว่า 5 แสนบาทต่อคนต่อปี สมุทรสาคร 5.2 แสนบาทต่อคนต่อปี พระนครศรีอยุธยา 4.6 แสนบาทต่อคนต่อปี ภูเก็ต 3.2 แสนบาทต่อคนต่อปี ประจวบคีรีขันธ์ 1.3 แสนบาทต่อคนต่อปี สงขลา 1.3 แสนบาท ต่อคนต่อปี เชียงใหม่รายได้ 92,000 บาทต่อคนต่อปี นครราชสีมา 6.6 หมื่นบาทต่อคนต่อปี นอกจากนี้ยังมี สระบุรี เขาใหญ่ ที่ขณะนี้เป็นทำเลทองฮอตฮิตของอสังหาริมทรัพย์ทั้งคอนโดมิเนียมและบ้านแนวราบ
ปัจจัยต่อมา คือ เมืองการค้าชายแดน ที่ติดกับไทย พบว่ามีธุรกรรมปีละ 7.5 แสนล้านบาท ส่งออก 4.6 แสนล้านบาทต่อปี ที่เป็นทำเลทองด้านพัฒนาที่ดินเช่น หนองคาย มุกดาหาร อุบลราชธานี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา ขณะที่จังหวัดที่มีผลพวงเกี่ยวกับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน หรือเออีซี อย่างไรก็ดี ทุกภาคจะมีโครงการของรัฐ เช่น ภาคเหนือ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (ไทย-ลาว) ที่เชียงของเชียงราย ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าที่เชียงของ รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ภาคอีสาน รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย รถไฟทางคู่กรุงเทพฯ-ขอนแก่น โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าที่อุบลราชธานี และนครราชสีมา โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช โครงการมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรีเชื่อมทวาย ฯลฯ
สำหรับภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ ปี 2555 ช่วง 11 เดือน เมื่อเทียบกับปี 2554 อัตราการเติบโตใกล้เคียงกันแต่หากตัวเลขการปล่อยสินเชื่อ ปี 2555 ดูจะสูงกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่า อสังหาฯ ในปีนี้จะเติบโตกว่าปีที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้เกิดจากปัจจัยของน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ส่งผลให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ปล่อยซอฟต์โลน หรือวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 3 แสนล้านบาทให้กับผู้ประสบภัยในช่วงเดือนเมษายน 2555 แยกเป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย 50% เอสเอ็มอี 50% โดยกระจายให้กับธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ ในอัตราดอกเบี้ย 3% คงที่ 5 ปีโดยกสิกรไทยได้รับจัดสรร 1.4 หมื่นล้านบาท แยกเป็นสินเชื่อบ้านใหม่ 8,000 ล้านบาท และอีกส่วนจะเป็นการรีไฟแนนช์ นอกจากนี้ยังมีวงเงินพิเศษ หรือเอ็กซ์ตรา 5 หมื่นล้านบาทซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการขอสินเชื่อมากขึ้น
เมื่อย้อนดูตัวเลข 6 เดือนแรกของปี 2555พบว่ามียอดปล่อยสินเชื่อรวมสูงถึง 2.2 แสนล้านบาทในจำนวนนี้เป็นซอฟต์โลนสูงถึง 1แสนกว่าล้านบาทหากเทียบกับปี 2554 ทั้งปีมีเพียง 1.5 แสนล้านบาทส่งผลให้ 6 เดือนแรกของปี 2555 มีอัตราเติบโตทั้งระบบสูงถึง 5.4% หากครึ่งปีหลังโตเท่ากับปีที่ผ่านมาประเมินว่าปีนี้จะมีอัตราเติบโตของสินเชื่อที่อยู่อาศัย 9.5% ส่วนปี 2554 เติบโต 7% แต่ย้ำว่าภาพรวมทั้งประเทศจะโตใกล้เคียงกับปี2554 ขณะที่การเติบโตของอสังหาฯจะเกาะติดกับจีดีพี ซึ่งปี 2555 จีดีพีโต 5% ปี2556 โตเพียง 4.6% ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ฟันธงว่า ภาคส่งออก ปี2556 น่าจะดีกว่าปี2555 ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องจักรตัวใหญ่ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ
นายชาติชายวิเคราะห์ถึงปัจจัยบวก จะเป็นเรื่องของดอกเบี้ยแนวโน้มปี 2556 จะทรงและลง นอกจากนี้ยังมีเรื่องค่าแรง 300บาท มาตรการบ้านหลังแรกส่วนเงินเฟ้อที่แบงก์ชาติกังวลไม่น่าตกใจที่สำคัญผลกระทบน้ำท่วมฟื้นตัวเร็วและผู้บริโภคยังติดถิ่นที่อยู่ ส่วนผู้ที่วางเงินดาวน์แล้วส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางทำให้การทิ้งดาวน์และมองหาทำเลใหม่จึงน้อยมาก
"ทิศทาง แนวโน้มปี 56 จะเท่ากับหรือดีกว่าปี2555 เหตุผลสำคัญคือ ผู้บริโภคไม่เปลี่ยนทำเลเนื่องจากนิสัยคนไทยติดถิ่น ดอกเบี้ยจะทรง-ลง หากชั่งน้ำหนักแล้ว 60% ดอกเบี้ยจะลง ส่วน 40% จะก้ำกึ่ง"
ส่วนแอลทีวีมาตรการป้องปรามฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์กรณีการบังคับให้ผู้บริโภควางเงินดาวน์ 5% หรือแบงก์ปล่อยกู้แนวราบไม่เกิน 95% ที่เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2556ประเมินว่าไม่กระทบกับกำลังซื้อเนื่องจากที่ผ่านมาทั้งคอนโดมิเนียมและบ้านจัดสรรได้เรียกเก็บเงินดาวน์ 5-10% จากลูกค้าอยู่แล้ว ส่วนปัจจัยลบ จะเป็นเรื่องของต้นทุนค่าก่อสร้าง แรงงานที่จะกระทบเป็นลูกโซ่ ฉุดให้ราคาบ้านสูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่วิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯกับยุโรป ไม่กระทบเหมือนอุตสาหกรรมอื่นเพราะมักเกี่ยวกับปัจจัยภายในประเทศมากกว่าหากการเมืองดี น้ำไม่ท่วมก็ไร้ปัญหา
ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,793 วันที่ 18-21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ปัจจัยต่อมา คือ เมืองการค้าชายแดน ที่ติดกับไทย พบว่ามีธุรกรรมปีละ 7.5 แสนล้านบาท ส่งออก 4.6 แสนล้านบาทต่อปี ที่เป็นทำเลทองด้านพัฒนาที่ดินเช่น หนองคาย มุกดาหาร อุบลราชธานี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา ขณะที่จังหวัดที่มีผลพวงเกี่ยวกับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน หรือเออีซี อย่างไรก็ดี ทุกภาคจะมีโครงการของรัฐ เช่น ภาคเหนือ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (ไทย-ลาว) ที่เชียงของเชียงราย ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าที่เชียงของ รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ภาคอีสาน รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย รถไฟทางคู่กรุงเทพฯ-ขอนแก่น โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าที่อุบลราชธานี และนครราชสีมา โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช โครงการมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรีเชื่อมทวาย ฯลฯ
สำหรับภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ ปี 2555 ช่วง 11 เดือน เมื่อเทียบกับปี 2554 อัตราการเติบโตใกล้เคียงกันแต่หากตัวเลขการปล่อยสินเชื่อ ปี 2555 ดูจะสูงกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่า อสังหาฯ ในปีนี้จะเติบโตกว่าปีที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้เกิดจากปัจจัยของน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ส่งผลให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ปล่อยซอฟต์โลน หรือวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 3 แสนล้านบาทให้กับผู้ประสบภัยในช่วงเดือนเมษายน 2555 แยกเป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย 50% เอสเอ็มอี 50% โดยกระจายให้กับธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ ในอัตราดอกเบี้ย 3% คงที่ 5 ปีโดยกสิกรไทยได้รับจัดสรร 1.4 หมื่นล้านบาท แยกเป็นสินเชื่อบ้านใหม่ 8,000 ล้านบาท และอีกส่วนจะเป็นการรีไฟแนนช์ นอกจากนี้ยังมีวงเงินพิเศษ หรือเอ็กซ์ตรา 5 หมื่นล้านบาทซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการขอสินเชื่อมากขึ้น
เมื่อย้อนดูตัวเลข 6 เดือนแรกของปี 2555พบว่ามียอดปล่อยสินเชื่อรวมสูงถึง 2.2 แสนล้านบาทในจำนวนนี้เป็นซอฟต์โลนสูงถึง 1แสนกว่าล้านบาทหากเทียบกับปี 2554 ทั้งปีมีเพียง 1.5 แสนล้านบาทส่งผลให้ 6 เดือนแรกของปี 2555 มีอัตราเติบโตทั้งระบบสูงถึง 5.4% หากครึ่งปีหลังโตเท่ากับปีที่ผ่านมาประเมินว่าปีนี้จะมีอัตราเติบโตของสินเชื่อที่อยู่อาศัย 9.5% ส่วนปี 2554 เติบโต 7% แต่ย้ำว่าภาพรวมทั้งประเทศจะโตใกล้เคียงกับปี2554 ขณะที่การเติบโตของอสังหาฯจะเกาะติดกับจีดีพี ซึ่งปี 2555 จีดีพีโต 5% ปี2556 โตเพียง 4.6% ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ฟันธงว่า ภาคส่งออก ปี2556 น่าจะดีกว่าปี2555 ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องจักรตัวใหญ่ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ
นายชาติชายวิเคราะห์ถึงปัจจัยบวก จะเป็นเรื่องของดอกเบี้ยแนวโน้มปี 2556 จะทรงและลง นอกจากนี้ยังมีเรื่องค่าแรง 300บาท มาตรการบ้านหลังแรกส่วนเงินเฟ้อที่แบงก์ชาติกังวลไม่น่าตกใจที่สำคัญผลกระทบน้ำท่วมฟื้นตัวเร็วและผู้บริโภคยังติดถิ่นที่อยู่ ส่วนผู้ที่วางเงินดาวน์แล้วส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางทำให้การทิ้งดาวน์และมองหาทำเลใหม่จึงน้อยมาก
"ทิศทาง แนวโน้มปี 56 จะเท่ากับหรือดีกว่าปี2555 เหตุผลสำคัญคือ ผู้บริโภคไม่เปลี่ยนทำเลเนื่องจากนิสัยคนไทยติดถิ่น ดอกเบี้ยจะทรง-ลง หากชั่งน้ำหนักแล้ว 60% ดอกเบี้ยจะลง ส่วน 40% จะก้ำกึ่ง"
ส่วนแอลทีวีมาตรการป้องปรามฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์กรณีการบังคับให้ผู้บริโภควางเงินดาวน์ 5% หรือแบงก์ปล่อยกู้แนวราบไม่เกิน 95% ที่เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2556ประเมินว่าไม่กระทบกับกำลังซื้อเนื่องจากที่ผ่านมาทั้งคอนโดมิเนียมและบ้านจัดสรรได้เรียกเก็บเงินดาวน์ 5-10% จากลูกค้าอยู่แล้ว ส่วนปัจจัยลบ จะเป็นเรื่องของต้นทุนค่าก่อสร้าง แรงงานที่จะกระทบเป็นลูกโซ่ ฉุดให้ราคาบ้านสูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่วิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯกับยุโรป ไม่กระทบเหมือนอุตสาหกรรมอื่นเพราะมักเกี่ยวกับปัจจัยภายในประเทศมากกว่าหากการเมืองดี น้ำไม่ท่วมก็ไร้ปัญหา
ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,793 วันที่ 18-21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555