
นับตั้งแต่ต้นปีถึงเดือน ต.ค. 2555 มีคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑลมากกว่า 130 โครงการ รวมประมาณ 5.2 หมื่นหน่วยคาดว่ายอดรวมทั้งปีน่าจะใกล้เคียงกับปี2553 ที่มีจำนวนหน่วยเปิดขายใหม่ทั้งปีประมาณ 6.4 หมื่นหน่วยแต่สูงกว่าปีที่แล้วซึ่งเป็นปีน้ำท่วมใหญ่และมีจำนวนหน่วยคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่เพียงประมาณ 4.2 หมื่นหน่วย
น่าสนใจอย่างยิ่งว่า จากจำนวนหน่วยคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ทั้งหมดในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลในปีนี้ มีหน่วยที่มีขนาดเล็กกว่า 30 ตารางเมตร อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้เขียนจะเรียกคอนโดมิเนียมขนาดเล็กมากเหล่านี้ว่า Micro Condo (ไมโครคอนโด) ตามศัพท์ที่เรียกคอนโดมิเนียมขนาดเล็กในสหรัฐและแคนาดา (หรือในบางกรณีอาจเรียกว่าCompact Condo)
เมื่อหลายปีที่แล้วเมื่อเราพูดถึงคอนโดมิเนียมขนาดเล็ก เรามักหมายถึงคอนโดมิเนียมแบบสตูดิโอ หรือแบบหนึ่งห้องนอน ซึ่งมีพื้นที่ห้องประมาณ30-32 ตารางเมตร มาในช่วง 2-3 ปีหลัง คอนโดมิเนียมขนาดเล็กดังกล่าวเริ่มมีขนาดที่หดเล็กลงเรื่อยๆจาก 30 ตารางเมตร เล็กน้อยหรือต่ำกว่านั้น เป็น 28 ตารางเมตร 26 ตารางเมตร ไล่ลงจนในที่สุดเหลือ 22.5 ตารางเมตรและ 21 ตารางเมตร
น่าสนใจอย่างยิ่งว่า จากจำนวนหน่วยคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ทั้งหมดในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลในปีนี้ มีหน่วยที่มีขนาดเล็กกว่า 30 ตารางเมตร อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้เขียนจะเรียกคอนโดมิเนียมขนาดเล็กมากเหล่านี้ว่า Micro Condo (ไมโครคอนโด) ตามศัพท์ที่เรียกคอนโดมิเนียมขนาดเล็กในสหรัฐและแคนาดา (หรือในบางกรณีอาจเรียกว่าCompact Condo)
เมื่อหลายปีที่แล้วเมื่อเราพูดถึงคอนโดมิเนียมขนาดเล็ก เรามักหมายถึงคอนโดมิเนียมแบบสตูดิโอ หรือแบบหนึ่งห้องนอน ซึ่งมีพื้นที่ห้องประมาณ30-32 ตารางเมตร มาในช่วง 2-3 ปีหลัง คอนโดมิเนียมขนาดเล็กดังกล่าวเริ่มมีขนาดที่หดเล็กลงเรื่อยๆจาก 30 ตารางเมตร เล็กน้อยหรือต่ำกว่านั้น เป็น 28 ตารางเมตร 26 ตารางเมตร ไล่ลงจนในที่สุดเหลือ 22.5 ตารางเมตรและ 21 ตารางเมตร
ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นตามความเจริญของเมืองและต้นทุนการก่อสร้างที่สูงขึ้น ทำให้ราคาขายห้องคอนโดมิเนียมต่อตารางเมตรเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยโดยราคาถูกที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเริ่มหาต่ำกว่า 5 หมื่นบาทได้ยากขึ้น และราคาทั่วไปอาจวิ่งขึ้นไปถึง6-9 หมื่นบาทหรือแตะแสนกว่าบาทต่อตารางเมตร ผู้ประกอบการซึ่งต้องการผลิตสินค้าราคาตามใจตลาดระดับกลางล่าง โดยให้มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่า2 ล้านบาท จึงต้องหดพื้นที่ของคอนโดมิเนียมขนาดเล็กอยู่แล้วให้เล็กลงกว่าเดิม
จากสถิติการเปิดหน่วยคอนโดมิเนียมใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในรอบ3 ไตรมาสแรกของปี 2555 พบว่ามีคอนโดมิเนียมขนาดพื้นที่ไม่เกิน 30 ตารางเมตร เปิดขายใหม่มากถึงประมาณ2 ใน 3 ของหน่วยคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ทั้งหมด ในจำนวนนี้สัดส่วน
คอนโดมิเนียมที่มีขนาดต่ำกว่า 26 ตารางเมตร มีมากขึ้นเรื่อยๆโดยมีมากถึงเกือบ 2 หมื่นหน่วยโดยเฉพาะในเขตรอยต่อกับพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในซึ่งราคาซื้อขายที่ดินแพงขึ้นมาก
ในเมืองใหญ่ทั่วโลกที่มีประชากรหนาแน่นและราคาที่ดินแพงมากๆ ในต่างประเทศก็มีปรากฏการณ์การเกิดขึ้นของไมโครคอนโดมากขึ้นเช่นเดียวกันโดยเฉพาะเมืองใหญ่ของสหรัฐและแคนาดาที่ตั้งอยู่ติดชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกหรือมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้ไม่สามารถขยายพื้นที่ออกไปได้อีกเนื่องจากฟากหนึ่งติดทะเลและอีกฟากหนึ่งก็ติดภูเขาหรือเมืองใหญ่อื่นเช่นนิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก แวนคูเวอร์ฯลฯ พื้นที่เมืองเหล่านี้จะมีราคาที่ดินแพงมากขึ้นเรื่อยๆขนาดของที่อยู่อาศัยก็จะเล็กลงเรื่อยๆเช่นเดียวกัน
ในเมืองเหล่านี้ ปัจจุบันจะมีการเกิดของคอนโดมิเนียมขนาดเล็กกว่า 500 ตารางฟุต หรือ 46 ตารางเมตร มากขึ้นซึ่งถือเป็นไมโครคอนโดสำหรับฝรั่งได้แล้ว เพราะปกติฝรั่งจะมีรูปร่างสูงใหญ่กว่าคนไทย
เมื่อไม่นานมานี้ก็มีคอนโดมิเนียมโครงการหนึ่งในซานฟรานซิสโก เปิดขายด้วยขนาดห้องเริ่มต้นเพียง 250 ตารางฟุต หรือประมาณ 23.2 ตารางเมตรเท่านั้น แต่มีราคาขายเริ่มต้นที่ประมาณ 2 แสนเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6 ล้านบาทต่อหน่วย หรือตารางเมตรละประมาณ 2.6 แสนบาท
สถาบัน Urban Land Institute ในวอชิงตัน ดี.ซี. ได้ทำการสำรวจพบว่าคนอเมริกันรุ่นใหม่บางส่วนเริ่มมองว่าทำเลที่ตั้ง หรือ Location เป็นปัจจัยที่สำคัญกว่าเรื่องขนาดของบ้านโดยคิดว่าบ้านเป็นสถานที่สำหรับ "Live out of" หรือเป็นฐานในการดีดตัวเองออกไปใช้ชีวิตภายนอก แทนที่จะเป็นสถานที่สำหรับ "Live in" หรือใช้อยู่อาศัย และจะยอมแลกความอึดอัดของขนาดห้องคอนโดมิเนียมที่เล็กลง กับความสะดวกสบายในการเดินทางด้วยขนส่งมวลชนภายในเมือง
คนรุ่นใหม่เหล่านี้มีแบบแผนการใช้ชีวิต หรือ Lifestyle สมัยใหม่แตกต่างจากคนรุ่นเดิมด้วย บางคนยังมองว่าการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมใจกลางเมืองเป็นการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยเพราะไม่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัยมากเหมือนการอยู่ในบ้านขนาดใหญ่โตซึ่งใช้พื้นที่มาก
คอนโดมิเนียมขนาดเล็ก หรือไมโครคอนโด จึงเป็นปรากฏการณ์ปัจจุบันและอนาคตของเมืองใหญ่ ซึ่งที่ดินมีราคาแพงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยผู้ซื้อที่เน้นทำเลที่ตั้งของโครงการมากกว่าความสะดวกสบายภายในห้อง และใช้เวลาในห้องน้อยลงเมื่อเทียบเวลาที่ใช้อยู่นอกห้อง
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
จากสถิติการเปิดหน่วยคอนโดมิเนียมใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในรอบ3 ไตรมาสแรกของปี 2555 พบว่ามีคอนโดมิเนียมขนาดพื้นที่ไม่เกิน 30 ตารางเมตร เปิดขายใหม่มากถึงประมาณ2 ใน 3 ของหน่วยคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ทั้งหมด ในจำนวนนี้สัดส่วน
คอนโดมิเนียมที่มีขนาดต่ำกว่า 26 ตารางเมตร มีมากขึ้นเรื่อยๆโดยมีมากถึงเกือบ 2 หมื่นหน่วยโดยเฉพาะในเขตรอยต่อกับพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในซึ่งราคาซื้อขายที่ดินแพงขึ้นมาก
ในเมืองใหญ่ทั่วโลกที่มีประชากรหนาแน่นและราคาที่ดินแพงมากๆ ในต่างประเทศก็มีปรากฏการณ์การเกิดขึ้นของไมโครคอนโดมากขึ้นเช่นเดียวกันโดยเฉพาะเมืองใหญ่ของสหรัฐและแคนาดาที่ตั้งอยู่ติดชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกหรือมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้ไม่สามารถขยายพื้นที่ออกไปได้อีกเนื่องจากฟากหนึ่งติดทะเลและอีกฟากหนึ่งก็ติดภูเขาหรือเมืองใหญ่อื่นเช่นนิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก แวนคูเวอร์ฯลฯ พื้นที่เมืองเหล่านี้จะมีราคาที่ดินแพงมากขึ้นเรื่อยๆขนาดของที่อยู่อาศัยก็จะเล็กลงเรื่อยๆเช่นเดียวกัน
ในเมืองเหล่านี้ ปัจจุบันจะมีการเกิดของคอนโดมิเนียมขนาดเล็กกว่า 500 ตารางฟุต หรือ 46 ตารางเมตร มากขึ้นซึ่งถือเป็นไมโครคอนโดสำหรับฝรั่งได้แล้ว เพราะปกติฝรั่งจะมีรูปร่างสูงใหญ่กว่าคนไทย
เมื่อไม่นานมานี้ก็มีคอนโดมิเนียมโครงการหนึ่งในซานฟรานซิสโก เปิดขายด้วยขนาดห้องเริ่มต้นเพียง 250 ตารางฟุต หรือประมาณ 23.2 ตารางเมตรเท่านั้น แต่มีราคาขายเริ่มต้นที่ประมาณ 2 แสนเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6 ล้านบาทต่อหน่วย หรือตารางเมตรละประมาณ 2.6 แสนบาท
สถาบัน Urban Land Institute ในวอชิงตัน ดี.ซี. ได้ทำการสำรวจพบว่าคนอเมริกันรุ่นใหม่บางส่วนเริ่มมองว่าทำเลที่ตั้ง หรือ Location เป็นปัจจัยที่สำคัญกว่าเรื่องขนาดของบ้านโดยคิดว่าบ้านเป็นสถานที่สำหรับ "Live out of" หรือเป็นฐานในการดีดตัวเองออกไปใช้ชีวิตภายนอก แทนที่จะเป็นสถานที่สำหรับ "Live in" หรือใช้อยู่อาศัย และจะยอมแลกความอึดอัดของขนาดห้องคอนโดมิเนียมที่เล็กลง กับความสะดวกสบายในการเดินทางด้วยขนส่งมวลชนภายในเมือง
คนรุ่นใหม่เหล่านี้มีแบบแผนการใช้ชีวิต หรือ Lifestyle สมัยใหม่แตกต่างจากคนรุ่นเดิมด้วย บางคนยังมองว่าการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมใจกลางเมืองเป็นการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยเพราะไม่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัยมากเหมือนการอยู่ในบ้านขนาดใหญ่โตซึ่งใช้พื้นที่มาก
คอนโดมิเนียมขนาดเล็ก หรือไมโครคอนโด จึงเป็นปรากฏการณ์ปัจจุบันและอนาคตของเมืองใหญ่ ซึ่งที่ดินมีราคาแพงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยผู้ซื้อที่เน้นทำเลที่ตั้งของโครงการมากกว่าความสะดวกสบายภายในห้อง และใช้เวลาในห้องน้อยลงเมื่อเทียบเวลาที่ใช้อยู่นอกห้อง
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์