นักธุรกิจ-นักวิชาการ ระบุ วิกฤติแรงงานทั้งปัญหาขาดแคลน-ขึ้นค่าแรงกระทบหนักอสังหาฯ ปีหน้า หวังปัจจัยบวกกำลังซื้อขยับ ดอกเบี้ยลด หนุนตัดสินใจซื้อดันธุรกิจเติบโตตามจีดีพี
ชี้ "ทาวน์โฮม" ดาวรุ่งเทียบเคียงคอนโด เหตุราคาใกล้เคียงพื้นที่ใช้สอยมากกว่า ขณะที่คอนโดเกาะแนวรถไฟฟ้าส่อล้นตลาด
สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ จัดสัมมนาเรื่อง "ถอดรหัสอสังหาฯ ปี 56 ทิศทางแนวโน้มของการตลาดอสังหาฯ" วานนี้ (22 พ.ย.) โดยมีผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักการตลาด นักวิชาการ ร่วมสะท้อนสถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2556 มีแนวโน้มเติบโต แต่ต้องเผชิญวิกฤติด้านแรงงานขาดแคลน อาจส่งผลให้ธุรกิจ "สะดุด" ได้เช่นกัน
นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ธุรกิจอสังหาฯ ใน ปีหน้า จะต้องเผชิญปัญหาใหญ่ คือ การขาดแคลนแรงงานในภาคการก่อสร้าง สะท้อนจาก ภาวการณ์ในปัจจุบันจะเห็นภาพรถปูนซีเมนต์ที่มีอยู่กว่า 2,000 คัน พบว่าจอดทิ้งไว้ที่ แพลนท์ปูนกว่า 50% หรือ ประมาณ 1,000 คัน เนื่องจากไม่มีคนขับนำปูนซิเมนต์ไปยังไซต์ งานต่างๆ โดยไม่สามารถใช้แรงงานต่างด้าวได้ เนื่องจากไม่มีใบขับขี่ ซึ่งปัญหานี้เป็น "ตัวแปร" สำคัญของธุรกิจ
นอกจากนี้ยังมีประเด็นปัญหาการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ แม้จะเป็นผลดีต่อประชาชน แต่เป็นผลกระทบในด้านต้นทุนของผู้ประกอบการ ขณะที่ราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง ค่อนข้างทรงตัวและขยับขึ้นไม่มากนักในปีหน้า
"อสังหาฯ ปีหน้ายังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะยังมีปัจจัยบวกในเรื่องของดอกเบี้ย ลดลง 1% ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยในระดับ 7-8% ถือว่าต่ำพอควรเทียบอดีตสูงถึง 16% ทำให้อัตราการผ่อนลดน้อยลงมาก การซื้อที่อยู่อาศัยจึงขยายตัวมากขึ้น"นายอิสระกล่าวและว่า
สำหรับที่อยู่อาศัยประเภทอาคารสูง ยังคงเติบโตเป็นผู้นำตลาดเช่นเดิม เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ยอมรับการอยู่อาศัยในอาคารสูงมากขึ้น ส่วนสินค้าดาวรุ่งมาแรง ได้แก่ "ทาวน์โฮม" เนื่องจากระดับราคาเทียบเคียงอาคารชุดแล้วคุ้มค่ากว่า ยกตัวอย่าง ทาวน์โฮมในระดับราคา 4-5 ล้านบาท ได้พื้นที่ 100-200 ตร.ม. ขณะที่อาคารชุดในเมืองมีพื้นที่ 50 ตร.ม.
ทั้งนี้ ราคาที่อยู่อาศัยขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามราคาที่ดินปรับขึ้นมาก เช่น โซนแบริ่ง ราคาขายคอนโด เฉลี่ย 3 หมื่นบาทต่อตร.ม. ใน 2-3 ปีก่อน ปัจจุบันปรับขึ้นเท่าตัว เป็น 7 หมื่นบาทต่อตร.ม.
ต้นทุนก่อสร้างขยับไม่ต่ำกว่า 5%
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย/ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธุรกิจอสังหาฯ ในปีหน้าคาดการณ์เติบโตตามตัวเลขจีดีพี ในอัตรา 4.5-5.5% แต่มีปัจจัยลบจำนวนมากทั้งในเรื่องของภาวะส่งออกซึ่งถือเป็นรายได้หลักของไทยอยู่ในสภาพ "ชะลอตัว" รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป พบว่าเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวมากนัก โดยปัญหาใหญ่ คือ การขาดแคลนแรงงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการก่อสร้างไม่ต่ำ กว่า 5%
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเกื้อหนุนในเรื่องอัตราดอกเบี้ย ที่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะทำให้การ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ขยายตัว นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อ ในปี 2556 คาดว่าจะไม่สูงมาก ส่วนอัตราการปล่อยสินเชื่อต่อราคาอสังหาริมทรัพย์หรือแอลทีวี 95% นั้น ผู้ประกอบการปรับตัวมาค่อนข้างมากแล้ว คาดว่าจะไม่กระทบต่อการเติบโตของตลาดเช่นกัน
ทางด้านนายกฤษณ์ เสสะเวช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) กล่าวว่า ปัจจัยภายนอกคาดว่าจะกระทบตลาดไม่มากนัก เพราะ 2-3 ไตรมาสที่ผ่านจีดีพีประเทศยังคงเติบโต ขณะที่ภาคส่งออกแม้จะเติบโตไม่ถึงสองหลัก แต่ก็เติบโต ซึ่งจะช่วยเรื่องการบริโภคในประเทศไทย
"ประเด็นที่ต้องระวังคือปัญหาค่าเงินบาท ที่อาจกระทบต่อการส่งออก ส่วนการเกิดภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาฯ ไม่น่าห่วงมาก วัดได้จากการขายที่ดินเปล่าของบสก. ยังสามารถขายที่ดินเปล่าได้มากถึง 70% แสดงว่าคนมีเงินเก็บ นำเงินมาลงทุนในอสังหาฯ"
คอนโดล้นตลาดบางทำเล
ดร.อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ อุปนายกและเลขาธิการ สมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ในปีหน้ามีปัจจัยบวกในตลาดหลายด้าน ทั้งการเติบโตของจีดีพี อัตราดอกเบี้ยทรงตัว ไม่เปลี่ยนแปลงมาก อัตราเงินเฟ้อ 3.5% การส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง การลงทุนของภาครัฐมีสูงถึง 16% การลงทุน ของเอกชน 20% อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ขณะที่คอนโดฯ เป็นสินค้า อสังหาฯ ที่ซื้อง่ายขายคล่องจากเงินทุนไหลเข้าทำให้ผู้บริโภคหันมาลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ มากขึ้น
สำหรับการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ มีทั้งปัจจัยลบทำให้ต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น 40% ส่งผลให้ราคาวัสดุก่อสร้างขยับสูงขึ้น ทำให้ราคาคอนโดฯ ปรับขึ้นเฉลี่ย 12% ขณะเดียวกันการขึ้นค่าแรงเป็นปัจจัยบวกทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้โครงการขยาย
การลงทุนระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ทั้งรถไฟฟ้าความเร็วสูงสู่ภูมิภาคเป็นการกระจายความเจริญ ทำให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
"การใช้ง่ายงบลงทุนต่างๆ ของรัฐ ทำให้มีโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้น ทำให้การกระจายรายได้ออกสู่พื้นที่ได้มากขึ้น แต่รัฐบาลจะต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้เร็ว เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ รองรับปัญหาส่งออกที่เติบโตลดลง" ดร.อาภากล่าว
ส่วนทำเลเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในปีหน้า น่าจะเป็นย่านบางกะปิ ลาดพร้าว บางนา เนื่องจากได้แรงหนุนจากเส้นทางรถไฟฟ้าขยายเข้าสู่พื้นที่มากขึ้น ประกอบกับมีแหล่งช้อปปิ้ง และแหล่งงานในพื้นที่เพิ่มขึ้น โดยแคมเปญที่ตรงใจลูกค้า อันดับแรก คือ แถมเฟอร์นิเจอร์ครบชุด ตามด้วยอยู่ฟรี 1-2 ปี , ดอกเบี้ย, ฟรีเงินจอง และให้ส่วนลด ตามลำดับ
ขณะที่ บางทำเล จะมีปัญหาคอนโดฯ ล้นตลาดบ้าง โดยเฉพาะในทำเลรถไฟฟ้าบีทีเอส เส้นทางเดิม และแหล่งงานชานเมือง เช่น ศูนย์ราชการ มีคอนโดฯ สร้างใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก
นายไพโรจน์ สุขจั่น นายกสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า การแข่งขันในปีหน้าผู้ประกอบการต้องเน้นการพัฒนาสินค้า โปรโมชั่น ที่มีความแปลกใหม่ ทำเลที่มีโอกาส หรือเจาะตลาดบลูโอเชี่ยน ซึ่งการแข่งขันไม่สูงมาก เน้นระบบก่อสร้างให้รวดเร็วผ่านระบบสำเร็จรูป เป็นต้น
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ จัดสัมมนาเรื่อง "ถอดรหัสอสังหาฯ ปี 56 ทิศทางแนวโน้มของการตลาดอสังหาฯ" วานนี้ (22 พ.ย.) โดยมีผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักการตลาด นักวิชาการ ร่วมสะท้อนสถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2556 มีแนวโน้มเติบโต แต่ต้องเผชิญวิกฤติด้านแรงงานขาดแคลน อาจส่งผลให้ธุรกิจ "สะดุด" ได้เช่นกัน
นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ธุรกิจอสังหาฯ ใน ปีหน้า จะต้องเผชิญปัญหาใหญ่ คือ การขาดแคลนแรงงานในภาคการก่อสร้าง สะท้อนจาก ภาวการณ์ในปัจจุบันจะเห็นภาพรถปูนซีเมนต์ที่มีอยู่กว่า 2,000 คัน พบว่าจอดทิ้งไว้ที่ แพลนท์ปูนกว่า 50% หรือ ประมาณ 1,000 คัน เนื่องจากไม่มีคนขับนำปูนซิเมนต์ไปยังไซต์ งานต่างๆ โดยไม่สามารถใช้แรงงานต่างด้าวได้ เนื่องจากไม่มีใบขับขี่ ซึ่งปัญหานี้เป็น "ตัวแปร" สำคัญของธุรกิจ
นอกจากนี้ยังมีประเด็นปัญหาการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ แม้จะเป็นผลดีต่อประชาชน แต่เป็นผลกระทบในด้านต้นทุนของผู้ประกอบการ ขณะที่ราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง ค่อนข้างทรงตัวและขยับขึ้นไม่มากนักในปีหน้า
"อสังหาฯ ปีหน้ายังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะยังมีปัจจัยบวกในเรื่องของดอกเบี้ย ลดลง 1% ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยในระดับ 7-8% ถือว่าต่ำพอควรเทียบอดีตสูงถึง 16% ทำให้อัตราการผ่อนลดน้อยลงมาก การซื้อที่อยู่อาศัยจึงขยายตัวมากขึ้น"นายอิสระกล่าวและว่า
สำหรับที่อยู่อาศัยประเภทอาคารสูง ยังคงเติบโตเป็นผู้นำตลาดเช่นเดิม เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ยอมรับการอยู่อาศัยในอาคารสูงมากขึ้น ส่วนสินค้าดาวรุ่งมาแรง ได้แก่ "ทาวน์โฮม" เนื่องจากระดับราคาเทียบเคียงอาคารชุดแล้วคุ้มค่ากว่า ยกตัวอย่าง ทาวน์โฮมในระดับราคา 4-5 ล้านบาท ได้พื้นที่ 100-200 ตร.ม. ขณะที่อาคารชุดในเมืองมีพื้นที่ 50 ตร.ม.
ทั้งนี้ ราคาที่อยู่อาศัยขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามราคาที่ดินปรับขึ้นมาก เช่น โซนแบริ่ง ราคาขายคอนโด เฉลี่ย 3 หมื่นบาทต่อตร.ม. ใน 2-3 ปีก่อน ปัจจุบันปรับขึ้นเท่าตัว เป็น 7 หมื่นบาทต่อตร.ม.
ต้นทุนก่อสร้างขยับไม่ต่ำกว่า 5%
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย/ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธุรกิจอสังหาฯ ในปีหน้าคาดการณ์เติบโตตามตัวเลขจีดีพี ในอัตรา 4.5-5.5% แต่มีปัจจัยลบจำนวนมากทั้งในเรื่องของภาวะส่งออกซึ่งถือเป็นรายได้หลักของไทยอยู่ในสภาพ "ชะลอตัว" รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป พบว่าเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวมากนัก โดยปัญหาใหญ่ คือ การขาดแคลนแรงงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการก่อสร้างไม่ต่ำ กว่า 5%
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเกื้อหนุนในเรื่องอัตราดอกเบี้ย ที่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะทำให้การ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ขยายตัว นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อ ในปี 2556 คาดว่าจะไม่สูงมาก ส่วนอัตราการปล่อยสินเชื่อต่อราคาอสังหาริมทรัพย์หรือแอลทีวี 95% นั้น ผู้ประกอบการปรับตัวมาค่อนข้างมากแล้ว คาดว่าจะไม่กระทบต่อการเติบโตของตลาดเช่นกัน
ทางด้านนายกฤษณ์ เสสะเวช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) กล่าวว่า ปัจจัยภายนอกคาดว่าจะกระทบตลาดไม่มากนัก เพราะ 2-3 ไตรมาสที่ผ่านจีดีพีประเทศยังคงเติบโต ขณะที่ภาคส่งออกแม้จะเติบโตไม่ถึงสองหลัก แต่ก็เติบโต ซึ่งจะช่วยเรื่องการบริโภคในประเทศไทย
"ประเด็นที่ต้องระวังคือปัญหาค่าเงินบาท ที่อาจกระทบต่อการส่งออก ส่วนการเกิดภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาฯ ไม่น่าห่วงมาก วัดได้จากการขายที่ดินเปล่าของบสก. ยังสามารถขายที่ดินเปล่าได้มากถึง 70% แสดงว่าคนมีเงินเก็บ นำเงินมาลงทุนในอสังหาฯ"
คอนโดล้นตลาดบางทำเล
ดร.อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ อุปนายกและเลขาธิการ สมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ในปีหน้ามีปัจจัยบวกในตลาดหลายด้าน ทั้งการเติบโตของจีดีพี อัตราดอกเบี้ยทรงตัว ไม่เปลี่ยนแปลงมาก อัตราเงินเฟ้อ 3.5% การส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง การลงทุนของภาครัฐมีสูงถึง 16% การลงทุน ของเอกชน 20% อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ขณะที่คอนโดฯ เป็นสินค้า อสังหาฯ ที่ซื้อง่ายขายคล่องจากเงินทุนไหลเข้าทำให้ผู้บริโภคหันมาลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ มากขึ้น
สำหรับการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ มีทั้งปัจจัยลบทำให้ต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น 40% ส่งผลให้ราคาวัสดุก่อสร้างขยับสูงขึ้น ทำให้ราคาคอนโดฯ ปรับขึ้นเฉลี่ย 12% ขณะเดียวกันการขึ้นค่าแรงเป็นปัจจัยบวกทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้โครงการขยาย
การลงทุนระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ทั้งรถไฟฟ้าความเร็วสูงสู่ภูมิภาคเป็นการกระจายความเจริญ ทำให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
"การใช้ง่ายงบลงทุนต่างๆ ของรัฐ ทำให้มีโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้น ทำให้การกระจายรายได้ออกสู่พื้นที่ได้มากขึ้น แต่รัฐบาลจะต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้เร็ว เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ รองรับปัญหาส่งออกที่เติบโตลดลง" ดร.อาภากล่าว
ส่วนทำเลเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในปีหน้า น่าจะเป็นย่านบางกะปิ ลาดพร้าว บางนา เนื่องจากได้แรงหนุนจากเส้นทางรถไฟฟ้าขยายเข้าสู่พื้นที่มากขึ้น ประกอบกับมีแหล่งช้อปปิ้ง และแหล่งงานในพื้นที่เพิ่มขึ้น โดยแคมเปญที่ตรงใจลูกค้า อันดับแรก คือ แถมเฟอร์นิเจอร์ครบชุด ตามด้วยอยู่ฟรี 1-2 ปี , ดอกเบี้ย, ฟรีเงินจอง และให้ส่วนลด ตามลำดับ
ขณะที่ บางทำเล จะมีปัญหาคอนโดฯ ล้นตลาดบ้าง โดยเฉพาะในทำเลรถไฟฟ้าบีทีเอส เส้นทางเดิม และแหล่งงานชานเมือง เช่น ศูนย์ราชการ มีคอนโดฯ สร้างใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก
นายไพโรจน์ สุขจั่น นายกสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า การแข่งขันในปีหน้าผู้ประกอบการต้องเน้นการพัฒนาสินค้า โปรโมชั่น ที่มีความแปลกใหม่ ทำเลที่มีโอกาส หรือเจาะตลาดบลูโอเชี่ยน ซึ่งการแข่งขันไม่สูงมาก เน้นระบบก่อสร้างให้รวดเร็วผ่านระบบสำเร็จรูป เป็นต้น
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ