เมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) จัดงานมุมเศรษฐกิจกับซีพี "วิกฤตการณ์ยูโรโซน : ปัญหา ผลกระทบและทางออก" โดยนายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า วิกฤตยูโรโซนคาดว่าจะยืดเยื้อเกิน 4-5 ปี สำหรับประเทศไทยหากยุโรปมีปัญหาก็จะกระทบกับการค้าที่มีมูลค่าเทียบเท่ากับ 6.9% ของจีดีพี อย่างไรก็ตาม ไทยมีจุดแข็งที่การว่างงานต่ำ ทุนสำรองสูง พื้นฐานเศรษฐกิจแข็งแกร่ง
"ไทยมีจุดอ่อนตรงการบริหารจัดการที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านหลายด้าน ทั้งเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทที่มีผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ ภาระผูกพันทางการเงินจากนโยบายประชานิยม นอกจากนี้ ที่ต้องระวังคือ ความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งจะก่อให้เกิดสุญญากาศในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ"
"ไทยมีจุดอ่อนตรงการบริหารจัดการที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านหลายด้าน ทั้งเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทที่มีผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ ภาระผูกพันทางการเงินจากนโยบายประชานิยม นอกจากนี้ ที่ต้องระวังคือ ความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งจะก่อให้เกิดสุญญากาศในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ"
นายสมภพกล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่ต้องระวังและภาครัฐต้องคอยดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด คือสัญญาณการเกิดวิกฤตฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์รอบใหม่ สังเกตได้จากโครงการอาคารชุดใหม่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในบางย่าน เช่น สุขุมวิท เป็นการซื้อเพื่อเก็งกำไร ปล่อยเช่ามากกว่าอยู่อาศัยจริง อีกทั้งความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างอาคารชุดนั้นเกิดจากภาวะน้ำท่วม รวมทั้งการลดวงเงินค้ำประกันเงินฝาก ผลักให้คนหาแหล่งลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น ซึ่งหลายปัจจัยเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าโครงการอาคารชุดใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นไม่สอดคล้องกับอำนาจการซื้อ
"ขณะนี้ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์เริ่มก่อตัวแล้ว ดูได้จากขณะนี้มีโครงการที่เกิดขึ้นย่านซอยทองหล่อถึงเอกมัยถึง 35 โครงการ มากกว่า 1 หมื่นยูนิต และย่านนี้คนที่ซื้อเพื่อปล่อยเช่าให้กับต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ มีการย้ายจากคอนโดเก่าอายุเกิน 10 ปี มาอยู่คอนโดใหม่ เกิดการแข่งเรื่องค่าเช่าระหว่างของเก่าและใหม่ ซึ่งภาครัฐควรให้ความสำคัญ ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ทั้งในแง่การปล่อยกู้ของภาคสถาบันการเงินให้กับบริษัทที่พัฒนาโครงการ และการซื้อที่ดินในราคาแพงเกินจริง รวมถึงพฤติกรรมการซื้อว่า เป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงหรือเก็งกำไร"
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า โครงการคอนโดมิเนียมราคาแพงจะมีศูนย์กลางตั้งแต่ย่านอโศก เอกมัยและทองหล่อ ซึ่งหากดูจำนวนยูนิตที่เปิด ถือว่าไม่มาก เพราะมีตั้งแต่ 70-300 ยูนิตต่อโครงการและแต่ละโครงการก็เป็นโครงการเล็กๆ และการที่มองว่ามากนั้นอาจจะเป็นการเอาของเก่ามารวมด้วย แต่บริเวณดังกล่าวเป็นกลุ่มกำลังซื้อสูงทั้งคนไทยและต่างชาติ เป็นแหล่งที่เดินทางสะดวกทั้งการเข้าเมืองและออกนอกเมือง และมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นเข้ามารองรับทั้งเรื่องห้างสรรพสินค้าและรถไฟฟ้า
ที่มา : มติชนออนไลน์
"ขณะนี้ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์เริ่มก่อตัวแล้ว ดูได้จากขณะนี้มีโครงการที่เกิดขึ้นย่านซอยทองหล่อถึงเอกมัยถึง 35 โครงการ มากกว่า 1 หมื่นยูนิต และย่านนี้คนที่ซื้อเพื่อปล่อยเช่าให้กับต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ มีการย้ายจากคอนโดเก่าอายุเกิน 10 ปี มาอยู่คอนโดใหม่ เกิดการแข่งเรื่องค่าเช่าระหว่างของเก่าและใหม่ ซึ่งภาครัฐควรให้ความสำคัญ ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ทั้งในแง่การปล่อยกู้ของภาคสถาบันการเงินให้กับบริษัทที่พัฒนาโครงการ และการซื้อที่ดินในราคาแพงเกินจริง รวมถึงพฤติกรรมการซื้อว่า เป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงหรือเก็งกำไร"
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า โครงการคอนโดมิเนียมราคาแพงจะมีศูนย์กลางตั้งแต่ย่านอโศก เอกมัยและทองหล่อ ซึ่งหากดูจำนวนยูนิตที่เปิด ถือว่าไม่มาก เพราะมีตั้งแต่ 70-300 ยูนิตต่อโครงการและแต่ละโครงการก็เป็นโครงการเล็กๆ และการที่มองว่ามากนั้นอาจจะเป็นการเอาของเก่ามารวมด้วย แต่บริเวณดังกล่าวเป็นกลุ่มกำลังซื้อสูงทั้งคนไทยและต่างชาติ เป็นแหล่งที่เดินทางสะดวกทั้งการเข้าเมืองและออกนอกเมือง และมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นเข้ามารองรับทั้งเรื่องห้างสรรพสินค้าและรถไฟฟ้า
ที่มา : มติชนออนไลน์