รายงานข่าวจากกรุงเทพมหานคร แจ้งว่า วันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. ได้เชิญผู้แทนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พร้อมด้วยบริษัท อิตาเลี่ยนไทยฯเข้าร่วมประชุมหารือโครงการพัฒนาพื้นที่บนถนนเจริญกรุง บริเวณก่อสร้างสถานีวัดมังกร โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ
ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก กทม.มีโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดและสวนสาธารณะ ในบริเวณดังกล่าว จึงได้ขอความร่วมมือ รฟม.ในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ซึ่งมีแนวเส้นทางตัดผ่าน ถนนเจริญกรุง ประสานกับบริษัทอิตาเลี่ยนไทยฯ ซึ่งรับเหมาก่อสร้างบริเวณดังกล่าวเพิ่มเติมงานก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดและสวนเข้าไปด้วย โดยให้ รฟม.ออกค่าใช้จ่ายงานส่วนที่เพิ่มเติมไปก่อน หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จ กทม.จะจ่ายเงินค่าก่อสร้างส่วนที่เพิ่มเติมคืนให้กับ รฟม. ภายหลัง เช่นเดียวกับที่เคยก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดที่แยกห้วยขวางและสุทธิสาร
ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก กทม.มีโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดและสวนสาธารณะ ในบริเวณดังกล่าว จึงได้ขอความร่วมมือ รฟม.ในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ซึ่งมีแนวเส้นทางตัดผ่าน ถนนเจริญกรุง ประสานกับบริษัทอิตาเลี่ยนไทยฯ ซึ่งรับเหมาก่อสร้างบริเวณดังกล่าวเพิ่มเติมงานก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดและสวนเข้าไปด้วย โดยให้ รฟม.ออกค่าใช้จ่ายงานส่วนที่เพิ่มเติมไปก่อน หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จ กทม.จะจ่ายเงินค่าก่อสร้างส่วนที่เพิ่มเติมคืนให้กับ รฟม. ภายหลัง เช่นเดียวกับที่เคยก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดที่แยกห้วยขวางและสุทธิสาร
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับรูปแบบอุโมงค์ทางลอดและสวนของ กทม. บนถนนเจริญกรุงนั้น ออกแบบเบื้องต้นก่อสร้างเป็นอุโมงค์ทางลอดอยู่เหนือหลังคาอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ขนาด 3 ช่องจราจร ระยะทางจากถนนมังกรถึงแยกแปลงนาม ส่วนด้านบนอุโมงค์ทางลอดก็จะปรับปรุงภูมิทัศน์เป็นสวนสาธารณะ โดยกันพื้นที่ให้รถวิ่งได้จำนวน 1 ช่องจราจร ซึ่งทาง รฟม.ยินดีให้ความร่วมมือ ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายนั้นต้องรอดูความชัดเจนเรื่องรูปแบบของอุโมงค์ทางลอด กทม. ก่อนว่าจะมีงานที่ต้องเพิ่มเติมอะไรบ้าง เพื่อคำนวณเป็นค่าใช้จ่าย รวมถึงมาตรการเยียวยาชาวบ้านที่อาจจะได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าว เนื่องจากโครงการอุโมงค์ทางลอดของ กทม. มีความเกี่ยวเนื่องมาจากโครงการรถไฟฟ้า ใต้ดิน โดยมูลนิธิจุมภฏและสำนักงานทรัพย์สิน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินต้องการที่จะพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ให้สอดรับกับโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน รฟม.เกรงว่าอาจจะทำให้ชาวบ้านต่อต้านมากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปจะต้องมีการ หารือในรายละเอียดกันอีกหลายครั้ง
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ