บอร์ดการท่าเรือฯมอบนโยบายผู้อำนวยการคนใหม่ จัดระเบียบเตรียมความพร้อมรับมือการขนส่งสินค้าจากทวาย และสปป.ลาว-จีนผ่านสะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 (เชียงของ) ให้เชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบัง ด้านท่าเรือเชียงแสน 2 ลูกค้ายังไม่คึกคัก
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า กทท. วางแผนจะให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูออกสู่ทะเล โดยจะเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากท่าเรือสำคัญๆ กับประเทศเพื่อนบ้านของไทย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าจากท่าเรือน้ำลึกทวาย พม่า และท่าเรือเชียงแสน 2 อำเภอเชียงแสน หรือสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายที่เชื่อมโยงสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และจีนได้ตามที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อแผนการพัฒนา
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า กทท. วางแผนจะให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูออกสู่ทะเล โดยจะเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากท่าเรือสำคัญๆ กับประเทศเพื่อนบ้านของไทย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าจากท่าเรือน้ำลึกทวาย พม่า และท่าเรือเชียงแสน 2 อำเภอเชียงแสน หรือสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายที่เชื่อมโยงสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และจีนได้ตามที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อแผนการพัฒนา
"ขณะนี้ได้ร.ต.วิโรจน์ จงชานสิทโธ ลูกหม้อของการท่าเรือฯมาเป็นผู้อำนวยการน่าจะเข้าใจระบบการทำงานและขับเคลื่อนกิจการการท่าเรือของประเทศไทยต่อไปได้ดี รวดเร็ว จึงให้เร่งเดินหน้าทั้งการก่อสร้างระบบรถไฟทางคู่เข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบัง การพัฒนาท่าเรือA ท่าเรือชายฝั่งที่แหลมฉบังและจุดอื่นๆ ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ท่าเรือกรุงเทพเพื่อสร้างรายได้เพิ่มชดเชยช่วงปลายปี 2554 ที่หดหายจากกรณีประสบอุทกภัย"
ด้านร.ต.วิโรจน์ จงชานสิทโธ ผู้อำนวยการการท่าเรือฯ กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ท่าเรือเชียงแสน 2 ได้เปิดให้บริการไปแล้วแต่ลูกค้ายังมีจำนวนไม่มาก โดยเชื่อว่าหากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการลูกค้าจะเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งรัดให้พร้อมเปิดบริการตามแผนในวันที่ 12 ธันวาคม ปี 2555 นี้เช่นกัน
"ต้องให้เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำให้สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศให้ได้โดยร่วมกับหลายฝ่ายทั้งภาครัฐ เอกชนโดยรองรับสินค้าทางรถไฟมาสู่ทางน้ำเพิ่มมากขึ้นที่ราคาถูกที่สุดในโหมดการขนส่งสินค้าในขณะนี้ การประสานกรมศุลกากรเรื่องบูรณาการกฎระเบียบการนำเข้า ส่งออกให้เป็นมาตรฐานสากลเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นี้ โดยเฉพาะท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ขณะนี้รอเพียงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเท่านั้น พร้อมกับเร่งสร้างความเข้าใจชุมชนโดยรอบให้มองเห็นถึงผลประโยชน์ของชาติมากขึ้น ซึ่งท่าเรือแต่ละแห่งต้องใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4-5 ปีซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) ดังนั้นจึงเร่งชี้แจงสร้างความเข้าใจให้ประชาชนเห็นประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม"
สำหรับท่าเรือเชียงแสน 2 และสะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 นั้นถือได้ว่าเป็นประตูทางการค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย ส่วนอุตสาหกรรมที่ท่าเรือน้ำลึกทวายต้องมองว่าจะเป็นอุตสาหกรรมประเภทไหน คาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปีถึงจะเปิดให้บริการได้ ส่วนสะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 หรือสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ก่อสร้างด้วยงบประมาณ 1,600 ล้านบาท โดยฝ่ายไทยและจีนร่วมกันสนับสนุนฝ่ายละครึ่ง สามารถเชื่อมต่อเส้นทางทางบกถนน R3A ต่อไปถึงสิบสองปันนา คุณหมิงของจีนและทิเบต โดยฝั่งไทยอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ส่วนฝั่งสปป.ลาวอยู่ที่บ้านห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว
"ได้เร่งแก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้าจากช่วงที่ผ่านมาพบว่าปริมาณน้ำโขงที่แห้งเร็วทุกปีในฤดูแล้ง ทำให้เรือสินค้าจากจีนไม่สามารถขนส่งสินค้าได้ในร่องน้ำตื้น การขนส่งทางบกผ่านเส้นทาง R3A จึงสะดวกและรวดเร็วกว่า ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าหากการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 แล้วเสร็จจะช่วยลดระยะเวลาเดินทางจากคุนหมิงถึงกรุงเทพฯลดลงจาก 42 ชั่วโมง เหลือเพียง 20 ชั่วโมง ขณะที่ในพื้นที่ชายแดนของสปป.ลาว ทางจีนได้ก่อสร้างรถไฟจากนครคุนหมิงถึงเมืองบ่อเต็น จะแล้วเสร็จในอีก 5 ปี ยิ่งทำให้การเดินทางจากไทยสู่จีนตอนใต้ในสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เส้นทางการค้าสายใหม่ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น"
ผอ.การท่าเรือฯกล่าวอีกว่าในเร็ว ๆ นี้สามารถเชื่อมโยงการเดินทางเริ่มที่กรุงเทพฯ ไปพิษณุโลก เชียงราย เชียงของ ข้ามแม่น้ำโขงที่สะพานเชียงของ-ห้วยทราย เข้าสู่สปป.ลาวที่ห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ไปหลวงน้ำทา ผ่านบ่อเต็น แล้วเข้าสู่ประเทศจีนที่บ่อหานในแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน เฉียดเชียงรุ่ง ไปยังซือเหมา และสิ้นสุดที่คุนหมิง เมืองหลวงของแคว้นยูนนาน ขณะนี้ยังเหลือเพียงงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงจากเชียงของไปยังบ้านห้วยทราย แขวงบ่อแก้วเท่านั้น จุดนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญเพราะเป็นจุดเชื่อมต่อมายังฝั่งไทยรองรับถนน R3A ทำให้เส้นทางการขนส่งจากกรุงเทพฯ-คุนหมิง สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,752 28-30 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ด้านร.ต.วิโรจน์ จงชานสิทโธ ผู้อำนวยการการท่าเรือฯ กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ท่าเรือเชียงแสน 2 ได้เปิดให้บริการไปแล้วแต่ลูกค้ายังมีจำนวนไม่มาก โดยเชื่อว่าหากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการลูกค้าจะเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งรัดให้พร้อมเปิดบริการตามแผนในวันที่ 12 ธันวาคม ปี 2555 นี้เช่นกัน
"ต้องให้เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำให้สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศให้ได้โดยร่วมกับหลายฝ่ายทั้งภาครัฐ เอกชนโดยรองรับสินค้าทางรถไฟมาสู่ทางน้ำเพิ่มมากขึ้นที่ราคาถูกที่สุดในโหมดการขนส่งสินค้าในขณะนี้ การประสานกรมศุลกากรเรื่องบูรณาการกฎระเบียบการนำเข้า ส่งออกให้เป็นมาตรฐานสากลเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นี้ โดยเฉพาะท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ขณะนี้รอเพียงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเท่านั้น พร้อมกับเร่งสร้างความเข้าใจชุมชนโดยรอบให้มองเห็นถึงผลประโยชน์ของชาติมากขึ้น ซึ่งท่าเรือแต่ละแห่งต้องใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4-5 ปีซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) ดังนั้นจึงเร่งชี้แจงสร้างความเข้าใจให้ประชาชนเห็นประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม"
สำหรับท่าเรือเชียงแสน 2 และสะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 นั้นถือได้ว่าเป็นประตูทางการค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย ส่วนอุตสาหกรรมที่ท่าเรือน้ำลึกทวายต้องมองว่าจะเป็นอุตสาหกรรมประเภทไหน คาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปีถึงจะเปิดให้บริการได้ ส่วนสะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 หรือสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ก่อสร้างด้วยงบประมาณ 1,600 ล้านบาท โดยฝ่ายไทยและจีนร่วมกันสนับสนุนฝ่ายละครึ่ง สามารถเชื่อมต่อเส้นทางทางบกถนน R3A ต่อไปถึงสิบสองปันนา คุณหมิงของจีนและทิเบต โดยฝั่งไทยอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ส่วนฝั่งสปป.ลาวอยู่ที่บ้านห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว
"ได้เร่งแก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้าจากช่วงที่ผ่านมาพบว่าปริมาณน้ำโขงที่แห้งเร็วทุกปีในฤดูแล้ง ทำให้เรือสินค้าจากจีนไม่สามารถขนส่งสินค้าได้ในร่องน้ำตื้น การขนส่งทางบกผ่านเส้นทาง R3A จึงสะดวกและรวดเร็วกว่า ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าหากการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 แล้วเสร็จจะช่วยลดระยะเวลาเดินทางจากคุนหมิงถึงกรุงเทพฯลดลงจาก 42 ชั่วโมง เหลือเพียง 20 ชั่วโมง ขณะที่ในพื้นที่ชายแดนของสปป.ลาว ทางจีนได้ก่อสร้างรถไฟจากนครคุนหมิงถึงเมืองบ่อเต็น จะแล้วเสร็จในอีก 5 ปี ยิ่งทำให้การเดินทางจากไทยสู่จีนตอนใต้ในสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เส้นทางการค้าสายใหม่ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น"
ผอ.การท่าเรือฯกล่าวอีกว่าในเร็ว ๆ นี้สามารถเชื่อมโยงการเดินทางเริ่มที่กรุงเทพฯ ไปพิษณุโลก เชียงราย เชียงของ ข้ามแม่น้ำโขงที่สะพานเชียงของ-ห้วยทราย เข้าสู่สปป.ลาวที่ห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ไปหลวงน้ำทา ผ่านบ่อเต็น แล้วเข้าสู่ประเทศจีนที่บ่อหานในแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน เฉียดเชียงรุ่ง ไปยังซือเหมา และสิ้นสุดที่คุนหมิง เมืองหลวงของแคว้นยูนนาน ขณะนี้ยังเหลือเพียงงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงจากเชียงของไปยังบ้านห้วยทราย แขวงบ่อแก้วเท่านั้น จุดนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญเพราะเป็นจุดเชื่อมต่อมายังฝั่งไทยรองรับถนน R3A ทำให้เส้นทางการขนส่งจากกรุงเทพฯ-คุนหมิง สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,752 28-30 มิถุนายน พ.ศ. 2555