ดีเวลอปเปอร์เชียงใหม่-ลำพูน จี้ผู้ประกอบการท้องถิ่นเร่งเตรียมรับเออีซี ยันเป็นทั้งโอกาสและวิกฤติ เผยเป็นช่วงก้าวกระโดดของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในภาคเหนือ ทั้งการลงทุนในพื้นที่และเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน แต่หากเตรียมตัวไม่ดีที่จะถูกกลืนโดยทุนจากส่วนกลางและต่างชาติ ที่มีความพร้อมด้านเงินทุน เทคโนโลยี และบุคลากร
นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง ประธานกรรมการ บริษัท ภราดรบ้านและที่ดิน จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ในปี 2558 ทำให้ทุกภาคธุรกิจในประเทศไทยจำต้องเตรียมรับ โดยเฉพาะภาคธุรกิจในส่วนภูมิภาคที่ยังไม่ค่อยตื่นตัวกับเรื่องนี้เท่าที่ควร เมื่อโฟกัสที่ไปธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในภาคเหนือ จากเดิมที่มีคู่แข่งที่เป็นกลุ่มทุนจากส่วนกลาง เช่น กลุ่มแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ศุภาลัย ที่เข้ามาลงทุนแล้ว ต่อไปยังจะมีกลุ่มทุนจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันเพิ่ม โดยเฉพาะกลุ่มทุนจากประเทศสิงคโปร์ ที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งมีความพร้อมในเรื่องของเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ ดังนั้นจากผู้ประกอบการในท้องถิ่นไม่มีการเตรียมตัว ก็จะถูกรุกจากทุนส่วนกลางและต่างประเทศ
"ถ้าดีเวลอปเปอร์ในเชียงใหม่หรือภาคเหนือ มีการเตรียมตัวในการรองรับ จากหนักก็จะกลายเป็นเบา แม้กฎหมายในขณะนี้อาจจะยังไม่อนุญาตให้ทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในสัดส่วนเกินร้อยละ 49 แต่ในสัดส่วน 51 เราก็ไม่สามารถจะรู้ได้ว่ามีนอมินีแฝงอยู่หรือไม่ ดังนั้นเราไม่ควรประมาท"
นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง ประธานกรรมการ บริษัท ภราดรบ้านและที่ดิน จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ในปี 2558 ทำให้ทุกภาคธุรกิจในประเทศไทยจำต้องเตรียมรับ โดยเฉพาะภาคธุรกิจในส่วนภูมิภาคที่ยังไม่ค่อยตื่นตัวกับเรื่องนี้เท่าที่ควร เมื่อโฟกัสที่ไปธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในภาคเหนือ จากเดิมที่มีคู่แข่งที่เป็นกลุ่มทุนจากส่วนกลาง เช่น กลุ่มแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ศุภาลัย ที่เข้ามาลงทุนแล้ว ต่อไปยังจะมีกลุ่มทุนจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันเพิ่ม โดยเฉพาะกลุ่มทุนจากประเทศสิงคโปร์ ที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งมีความพร้อมในเรื่องของเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ ดังนั้นจากผู้ประกอบการในท้องถิ่นไม่มีการเตรียมตัว ก็จะถูกรุกจากทุนส่วนกลางและต่างประเทศ
"ถ้าดีเวลอปเปอร์ในเชียงใหม่หรือภาคเหนือ มีการเตรียมตัวในการรองรับ จากหนักก็จะกลายเป็นเบา แม้กฎหมายในขณะนี้อาจจะยังไม่อนุญาตให้ทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในสัดส่วนเกินร้อยละ 49 แต่ในสัดส่วน 51 เราก็ไม่สามารถจะรู้ได้ว่ามีนอมินีแฝงอยู่หรือไม่ ดังนั้นเราไม่ควรประมาท"
ต่อไปการแข่งขันไม่ใช่แค่ทุนอย่างเดียว ยังมีเรื่องเทคโนโลยีการจัดการ บุคลากร ถ้าเราไม่มีการพัฒนาและไม่กระตือรือร้น ผลกระทบก็จะหนัก ซึ่งการเตรียมตัวเป็นการรับมือในเชิงรับ เราต้องมองเชิงรุกด้วย มองการลงทุนในต่างประเทศ เช่น พม่า เวียดนาม สปป.ลาว เมื่อดูตัวเลขการลงทุนในพม่า เราลงทุนเป็นอันดับ 2 รองจากจีน ธุรกิจที่ลงทุนอันดับ 1 และ 2 คือ ท่องเที่ยวกับโรงแรม อันนี้เป็นทุนใหญ่ไปก็เริ่มพอแข่งได้ อยากให้ทางเชียงใหม่หรือนักธุรกิจมองตรงนี้ด้วย แต่หากบอกว่าทุนอาจจะไม่พอ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปลงทุนเพียงอย่างเดียว อาจจะเข้าไปบริหารโครงการ หรือเริ่มต้นด้วยการเป็นสื่อกลางหรือเป็นโบรกเกอร์ก็ได้ แต่ถ้าเป็นการลงทุนก็เริ่มจากโครงการเล็กๆ
"ปัจจุบันผู้ประกอบการในเชียงใหม่-ลำพูน ที่ตอนนี้รายใหญ่ๆไม่ค่อยมี ถ้านับได้ก็มีกลุ่มวีกรุ๊ป ของวัชระ ตันตรานนท์ รองลงมาก็จะเป็นนิยมพานิช นอกนั้นก็จะเป็นรายเล็กๆลงไป กลุ่มทุนจากส่วนกลาง ก็มีแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ศุภาลัย ควอลิตี้เฮ้าส์ ส่วนกลุ่มทุนต่างประเทศ มีสิงคโปร์ มาเลเซีย และไต้หวัน ซึ่งมาแล้ว แต่พวกเรายังไม่รู้ว่ามา ยกตัวอย่างเช่น โรงแรมฟูราม่า เชียงใหม่ เจ้าของเป็นชาวสิงคโปร์ หรือโรงแรมเซ็นทารา ดวงตะวัน เชียงใหม่ เป็นการร่วมทุนระหว่างสิงคโปร์กับไต้หวัน"นายวิเชียร กล่าวและว่า
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กับAEC ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึงกันมาก อาจจะเป็นเพราะเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่เงินลงทุนมาก แต่จริงๆแล้วถ้าเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ตนมองว่าจะต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน โดยที่จะต้องหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ดีไซน์ใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาใช้ เช่น ในต่างประเทศ มีนวัตกรรมทางโปรดักต์ Water Home บ้านในน้ำ ของนักธุรกิจในมาเลเซีย ส่วนเรื่องทุน อาจจะปฏิเสธการร่วมทุนไม่ได้ คนที่มีศักยภาพตัดสินใจร่วมทุนเลย และก็มองโอกาสทางการตลาด หาโปรดักต์ ตลาดเฉพาะ เหมือนกับโรงแรมก็เป็นแบบบูติกโฮเต็ล บ้านแบบที่มีเทคโนโลยี เช่นบ้านประหยัดพลังงาน กรีนคอนโดมิเนียม บ้านกรีนวิลเลจ เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองน่าอยู่ นครแห่งความมั่งคั่ง เพราะฉะนั้นในเรื่องของการสร้างอสังหาริมทรัพย์เป็นจุดแข็งของเชียงใหม่ จะหลีกเลี่ยงอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้ และสุดท้ายบุคลากรก็เป็นเรื่องที่สำคัญเราจะต้องสร้างบุคลากรที่เก่งทางด้านการตลาด
นายวิเชียร กล่าวอีกว่า ช่วงเกิดเออีซีจะเป็นช่วงก้าวกระโดดของเชียงใหม่ เพียงแต่ว่าถ้าก้าวกระโดดแล้วจะเป็นโอกาสของใคร เชียงใหม่ขยายแน่ในช่วง 3-4 ปีนี้ โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของทุกธุรกิจ ถ้าผู้ประกอบการของเชียงใหม่-ลำพูนไม่เตรียมตัว ทุนใหญ่เข้ามาแล้ว ทุนเชียงใหม่ก็น้อยลงอีก ทุนจากกรุงเทพฯมาแทน และเมื่อเออีซีเข้ามา เชียงใหม่จะเป็นสนามของทุนในประเทศระดับประเทศ สู้กับทุนต่างประเทศ ซึ่งถามว่าแล้วเชียงใหม่-ลำพูนอยู่ตรงไหน ตนก็ไม่แน่ใจว่าจะอยู่ตรงไหน
ดังนั้นบริษัท ภราดรบ้านและที่ดิน จำกัด ร่วมกับหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และสมาคมอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่-ลำพูน และ ERA Franchise ( Thailand) จะจัดเสวนาพิเศษ " AEC 2015( ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) โอกาสหรือวิกฤตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภาคเหนือ ในวันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2555 ระหว่างเวลา 13.00-17.00 น. ณ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง เพื่อให้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นได้รับรู้ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,751 24-27 มิถุนายน พ.ศ. 2555
"ปัจจุบันผู้ประกอบการในเชียงใหม่-ลำพูน ที่ตอนนี้รายใหญ่ๆไม่ค่อยมี ถ้านับได้ก็มีกลุ่มวีกรุ๊ป ของวัชระ ตันตรานนท์ รองลงมาก็จะเป็นนิยมพานิช นอกนั้นก็จะเป็นรายเล็กๆลงไป กลุ่มทุนจากส่วนกลาง ก็มีแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ศุภาลัย ควอลิตี้เฮ้าส์ ส่วนกลุ่มทุนต่างประเทศ มีสิงคโปร์ มาเลเซีย และไต้หวัน ซึ่งมาแล้ว แต่พวกเรายังไม่รู้ว่ามา ยกตัวอย่างเช่น โรงแรมฟูราม่า เชียงใหม่ เจ้าของเป็นชาวสิงคโปร์ หรือโรงแรมเซ็นทารา ดวงตะวัน เชียงใหม่ เป็นการร่วมทุนระหว่างสิงคโปร์กับไต้หวัน"นายวิเชียร กล่าวและว่า
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กับAEC ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึงกันมาก อาจจะเป็นเพราะเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่เงินลงทุนมาก แต่จริงๆแล้วถ้าเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ตนมองว่าจะต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน โดยที่จะต้องหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ดีไซน์ใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาใช้ เช่น ในต่างประเทศ มีนวัตกรรมทางโปรดักต์ Water Home บ้านในน้ำ ของนักธุรกิจในมาเลเซีย ส่วนเรื่องทุน อาจจะปฏิเสธการร่วมทุนไม่ได้ คนที่มีศักยภาพตัดสินใจร่วมทุนเลย และก็มองโอกาสทางการตลาด หาโปรดักต์ ตลาดเฉพาะ เหมือนกับโรงแรมก็เป็นแบบบูติกโฮเต็ล บ้านแบบที่มีเทคโนโลยี เช่นบ้านประหยัดพลังงาน กรีนคอนโดมิเนียม บ้านกรีนวิลเลจ เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองน่าอยู่ นครแห่งความมั่งคั่ง เพราะฉะนั้นในเรื่องของการสร้างอสังหาริมทรัพย์เป็นจุดแข็งของเชียงใหม่ จะหลีกเลี่ยงอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้ และสุดท้ายบุคลากรก็เป็นเรื่องที่สำคัญเราจะต้องสร้างบุคลากรที่เก่งทางด้านการตลาด
นายวิเชียร กล่าวอีกว่า ช่วงเกิดเออีซีจะเป็นช่วงก้าวกระโดดของเชียงใหม่ เพียงแต่ว่าถ้าก้าวกระโดดแล้วจะเป็นโอกาสของใคร เชียงใหม่ขยายแน่ในช่วง 3-4 ปีนี้ โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของทุกธุรกิจ ถ้าผู้ประกอบการของเชียงใหม่-ลำพูนไม่เตรียมตัว ทุนใหญ่เข้ามาแล้ว ทุนเชียงใหม่ก็น้อยลงอีก ทุนจากกรุงเทพฯมาแทน และเมื่อเออีซีเข้ามา เชียงใหม่จะเป็นสนามของทุนในประเทศระดับประเทศ สู้กับทุนต่างประเทศ ซึ่งถามว่าแล้วเชียงใหม่-ลำพูนอยู่ตรงไหน ตนก็ไม่แน่ใจว่าจะอยู่ตรงไหน
ดังนั้นบริษัท ภราดรบ้านและที่ดิน จำกัด ร่วมกับหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และสมาคมอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่-ลำพูน และ ERA Franchise ( Thailand) จะจัดเสวนาพิเศษ " AEC 2015( ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) โอกาสหรือวิกฤตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภาคเหนือ ในวันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2555 ระหว่างเวลา 13.00-17.00 น. ณ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง เพื่อให้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นได้รับรู้ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,751 24-27 มิถุนายน พ.ศ. 2555