
ที่ดินแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจรัญสนิทวงศ์ ราคาพุ่ง 150,000-200,000 บาทต่อตารางวา หลัง กทม. เล็งปลดล็อกบีบแนวแคบลง ไม่ออกข้อบัญญัติ คุม ฝั่งธน เหมือนประกาศมท.เดิม ระบุ ที่ดินค่ายพฤกษา ไม่รอด เหตุ อยู่ในรัศมีใกล้ตัวอาคาร ห้ามสร้างเกิน 15เมตร ผ่าทางตัน ผุดคอนโดฯสูงแค่ 5 ชั้น ด้านพฤกษาไม่รอ กทม. ยันเดินหน้าลงทุนคอนโดฯแน่
สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร เร่งรัดออกข้อบัญญัติกทม.ควบคุมอาคารสูงโดยรอบ อาคารรัฐสภาแห่งใหม่บริเวณเกียกกาย เพื่อ ถือปฏิบัติในระยะยาวหลังจาก ประกาศกระทรวงมหาดไทยบังคับใช้ครบ 1 ปี และ หมดอายุลง เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2555
ต่อเรื่องนี้ ม.ร.ว. เปรมสิริ เกษมสันต์ ผู้อำนวยการ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ สำนักผังเมือง อยู่ระหว่างตั้งคณะกรรมการพิจารณา ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ห้ามดัดแปลงก่อสร้างอาคารบางชนิดบางประเภท บริเวณ สถานที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภา บริเวณเกียกกายเขตดุสิต อย่างไรก็ดี ข้อบัญญัติฯที่จะออกมาบังคับใช้ จะพิจารณาตามความเหมาะสม โดยจะกำหนดรัศมีแต่ละบริเวณให้แคบลง
โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณ ฝั่งธน ถนนจรัญสนิทวงศ์ แนวรถไฟฟ้า อาจจะถูกปล่อยให้ พัฒนาตามศักยภาพของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร โดยจะไม่ควบคุมความสูง เหมือนประกาศกระทรวงมหาดไทย ของกรมโยธาธิการ ที่หมดอายุลง ขณะที่ที่ดินฝั่งพระนคร บริเวณ เขตดุสิต ก็จะบีบแคบลงเช่นกัน แต่จะอยู่บริเวณไหนบ้าง ขึ้นอยู่กับ คณะกรรมการจะพิจารณา ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติ
ต่อข้อถามที่ว่าที่ดิน ของ บริษัทพฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ที่ต้องชะลอสร้างโครงการคอนโดมิเนียม สูง 34 ชั้น เพราะ ติดปัญหา กฎระเบียบความสูง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ของกรมโยธาธิการ จะ ปลดล็อกให้หรือไม่ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กทม.กล่าวว่า ที่ดินของ บริษัทพฤกษาฯ อยู่ในรัศมี ที่ใกล้ อาคารรัฐสภา ที่ห้ามสร้างอาคารสูง เกิน 15 เมตร หรือ 5 ชั้น แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้น จะต้องดูความเหมาะสมต่อไป อย่างไรก็ดี ขณะนี้ เกิดสุญญากาศ ประกาศฯได้หมดอายุลง กทม.ได้แนะนำ เอกชนว่าให้ยื่นขออนุญาต ก่อสร้างอาคาร ได้ ตาม ข้อกำหนดผังเมืองรวมกทม. ที่บริเวณดังกล่าว สามารถ สร้างอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ และอาคารขนาดใหญ่พิเศษได้ เพราะ ข้อบัญญัติกทม.กว่าจะมีผลบังคับใช้ต้องใช้เวลานานเป็นปี
แหล่งข่าวจาก กองควบคุมทางผังเมืองกล่าวเพิ่มเติมว่า รัศมีห้ามก่อสร้าง อาคารบริเวณรอบรัฐสภาเกียกกาย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยของกรมโยธาธิการและผังเมือง ค่อนข้างกว้างมาก ถึง 800 เมตรโดยรวม และข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไม่จด ถนนจรัญสนิทวงศ์ อย่างไรก็ดี มองว่า การออกข้อบัญญัติกทม.ใหม่ขึ้นมารองรับ ประกาศกระทรวง ที่หมดอายุลง แต่กทม.ไม่จำเป็นต้องยึดรัศมีตาม ประกาศดังกล่าว ซึ่งอาจทบทวนให้เล็กลงตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกับที่ดินอื่นๆ โดยรอบ
อย่างไรก็ดี ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิตและเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554 ที่หมดอายุลง มีสาระสำคัญคือ กำหนดระยะควบคุมการก่อสร้างไว้ 2 ระยะ ระยะแรก จากรั้วอาคารรัฐสภาใหม่โดยรอบ 300 เมตร ห้ามก่อสร้างอาคารสูงเกิน 15 เมตรหรือ ประมาณ 5 ชั้น ส่วนระยะที่ 2 ซึ่งเป็นบริเวณถัดจากระยะแรกออกไปอีก 500 เมตร ห้ามก่อสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 23 เมตร หรือ 8 ชั้น
ด้านนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ บริษัท คงไม่รอ ข้อบัญญัติของกทม. ที่จะออกมา ว่า ที่ดินของบริษัท จะ รอดจาก กฎระเบียบหรือไม่ อย่างไรก็ดี บริษัทมั่นใจว่าที่ดิน ที่ซื้อมา ประมาณ 7-10 ไร่ ซึ่งเดิมจะสร้างโครงการ เดอะทรีเกียกกาย สูง 34 ชั้น บริเวณ ถนนประชาราษฎร์สาย1 อยู่ในรัศมี ใกล้กับอาคารรัฐสภามาก และอยู่ในบริเวณที่ 1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยเดิม คือสร้างได้ไม่เกิน 5 ชั้นหรือ 15 เมตร แม้ ปัจจุบัน ประกาศกระทรวงจะหมดอายุลง เกิดสุญญากาศ และมีผู้แนะนำให้รีบขออนุญาตก่อสร้าง แต่บริษัทก็ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะเกรงว่าจะติดปัญหา เรื่องสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ของ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ. ) ที่ ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างเพราะบดบังทัศนียภาพ
ทางออก บริษัท อยู่ระหว่าง ปรับแบบ และ สร้างคอนโดมิเนียม สูงไม่เกิน 5 ชั้น ประมาณ 9 อาคาร อาคารละไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,751 24-27 มิถุนายน พ.ศ. 2555
แหล่งข่าวจาก กองควบคุมทางผังเมืองกล่าวเพิ่มเติมว่า รัศมีห้ามก่อสร้าง อาคารบริเวณรอบรัฐสภาเกียกกาย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยของกรมโยธาธิการและผังเมือง ค่อนข้างกว้างมาก ถึง 800 เมตรโดยรวม และข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไม่จด ถนนจรัญสนิทวงศ์ อย่างไรก็ดี มองว่า การออกข้อบัญญัติกทม.ใหม่ขึ้นมารองรับ ประกาศกระทรวง ที่หมดอายุลง แต่กทม.ไม่จำเป็นต้องยึดรัศมีตาม ประกาศดังกล่าว ซึ่งอาจทบทวนให้เล็กลงตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกับที่ดินอื่นๆ โดยรอบ
อย่างไรก็ดี ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิตและเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554 ที่หมดอายุลง มีสาระสำคัญคือ กำหนดระยะควบคุมการก่อสร้างไว้ 2 ระยะ ระยะแรก จากรั้วอาคารรัฐสภาใหม่โดยรอบ 300 เมตร ห้ามก่อสร้างอาคารสูงเกิน 15 เมตรหรือ ประมาณ 5 ชั้น ส่วนระยะที่ 2 ซึ่งเป็นบริเวณถัดจากระยะแรกออกไปอีก 500 เมตร ห้ามก่อสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 23 เมตร หรือ 8 ชั้น
ด้านนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ บริษัท คงไม่รอ ข้อบัญญัติของกทม. ที่จะออกมา ว่า ที่ดินของบริษัท จะ รอดจาก กฎระเบียบหรือไม่ อย่างไรก็ดี บริษัทมั่นใจว่าที่ดิน ที่ซื้อมา ประมาณ 7-10 ไร่ ซึ่งเดิมจะสร้างโครงการ เดอะทรีเกียกกาย สูง 34 ชั้น บริเวณ ถนนประชาราษฎร์สาย1 อยู่ในรัศมี ใกล้กับอาคารรัฐสภามาก และอยู่ในบริเวณที่ 1 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยเดิม คือสร้างได้ไม่เกิน 5 ชั้นหรือ 15 เมตร แม้ ปัจจุบัน ประกาศกระทรวงจะหมดอายุลง เกิดสุญญากาศ และมีผู้แนะนำให้รีบขออนุญาตก่อสร้าง แต่บริษัทก็ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะเกรงว่าจะติดปัญหา เรื่องสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ของ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ. ) ที่ ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างเพราะบดบังทัศนียภาพ
ทางออก บริษัท อยู่ระหว่าง ปรับแบบ และ สร้างคอนโดมิเนียม สูงไม่เกิน 5 ชั้น ประมาณ 9 อาคาร อาคารละไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,751 24-27 มิถุนายน พ.ศ. 2555