นักผังเมืองกทม. รับลูกกรรมาธิการฯ ชูแนวคิด เมืองแนวตั้ง ลดการขยายรอบนอก แก้ปัญหาน้ำท่วม แต่ยอมรับคุมยากและไม่มีผลบังคับย้อนหลัง ด้านเอกชนมองต่างมุม กลุ่มจัดสรรค้านชี้ราคาที่พักในเมืองไม่เอื้อคนรายได้น้อย ส่วนกลุ่มคอนโดหนุน ชี้ควรเดินแนวเดียวกับมหานครใหญ่ทั่วโลก ด้านนักวิชาการชี้ที่ผ่านมาพังเพราะการเมือง
ผลประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการตั้งฐานและการผังเมืองวุฒิสภา ที่มี ศ.เกียรติคุณตรึงใจ บูรณสมภพ เป็นประธานเมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมมีข้อสรุปว่าเห็นควรให้ผังเมืองกำหนดทิศทางการขยายตัวของเมืองกรุงเทพฯ ในแนวตั้ง โดยเน้นที่การก่อสร้างเพิ่มเติมบนพื้นที่ชั้นในของ กทม. แทนที่จะปล่อยให้เมืองขยายออกไปในแนวกว้างในพื้นที่รอบนอก ซึ่งควรจัดให้เป็นพื้นที่รองรับน้ำ มีความเห็นและการวิเคราะห์แนวทางความเป็นไปได้ของบุคคลที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป
นายขุนพล พรหมแพทย์ รองผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การขยายตัวของเมือง กทม. ในลักษณะออกด้านข้าง ทั้งด้านตะวันตกและตะวันออก ซึ่งกระทบกับการระบายน้ำโดยตรง และบางส่วน ก็พัฒนาในเขตพื้นที่รับน้ำหลาก หรือฟลัดเวย์ โดยเฉพาะในฝั่งตะวันออกจำนวนมาก แม้ว่าผังการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2549 จะกำหนดฟลัดเวย์ในฝั่ง กทม. โดยกำหนดให้เป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบ และเส้นทแยงสีเขียว) เพื่อใช้ระบายน้ำออกลงทะเลสมุทรปราการไว้แล้ว
ทั้งนี้แม้สมุทรปราการ จะมีสนามบินสุวรรณภูมิขวางอยู่ แต่ก็มีระบบระบายน้ำอ้อมสนามบินไปลงทะเลได้ ขณะที่ฝั่งตะวันตกของ กทม. ไม่มีพื้นที่ฟลัดเวย์ แต่ได้กำหนดเป็นพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ มีอาคารได้บางส่วนเท่านั้น โดยพื้นที่เหล่านี้สามารถระบายน้ำลงทะเลได้ หากเกิดน้ำท่วมอาคาร ก็จะมีประชาชนไม่มากนัก ที่ได้รับผลกระทบ
นายขุนพล กล่าวว่า ผังเมืองที่อยู่ระหว่างการปรับแก้ จะเน้นการเติบโตของเมืองที่เรียกว่า คอมเพล็กซ์ ซิตี้ เน้นพัฒนาเมืองของพื้นที่ชั้นแนวคันกั้นน้ำ ที่มีระบบขนส่งมวลชนพัฒนาออกไป เพื่อให้เมืองโตในลักษณะแนวสูง หลังจากพบว่าช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมามีความหนาแน่นของอาคาร คอนโดมิเนียมหนาแน่นในเขตเมืองตามแนวของรถไฟฟ้าด้านใน ส่วนพื้นที่รอบนอกแนวคันกั้นน้ำ จะเน้นให้เป็นฟลัดเวย์ตามธรรมชาติ โดยแนวการพัฒนาจะหยุดที่พื้นที่คลองรับน้ำ จากสุดเขตด้านทิศเหนือของ กทม.บริเวณ คลองหกวาด้านเหนือ และลงไปยังคลองชายทะเล จ.สมุทรปราการ
อย่างไรก็ตาม ผังเมืองคงไม่สามารถบังคับใช้ย้อนหลังกับอาคารเก่าที่อยู่ในพื้นที่ฟลัดเวย์ได้ เช่น นิคมอุตสาหกรรมบางโคล่ บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ แต่จะกำหนดเรื่องห้ามการขยาย หรือพัฒนาเพิ่มเติม
นายขุนพล ยังเห็นด้วยกับการใช้กฎหมายจัดรูปที่ดิน โดยเสนอว่ารัฐบาลควรนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยกำหนดให้เกิดฟลัดเวย์ หรืออาจจะเรียกว่าซูเปอร์ฟลัดเวย์ ที่เป็นคลองขึ้นในแถบฝั่งตะวันออก เพราะข้อดีคือ ไม่ต้องเวนคืนที่ดินกับประชาชน โดยเจ้าของที่ดินอาจเสียสละที่ดินส่วนหนึ่ง แต่ยังได้ใช้ประโยชน์อยู่ และรัฐจะเข้าไปจัดระเบียบ เช่นทำระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้น
จัดสรร ชี้รื้อผังเมืองฯ ไม่ตอบโจทย์
นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า หากจะแก้ผังเมืองในลักษณะดังกล่าวจริง ต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าผู้มีรายได้น้อยจะไปอยู่ที่ไหน เพราะราคาบ้าน 1-3 ล้านบาท ล้วนแต่อยู่ในพื้นที่ชานเมือง ส่วนคอนโดมิเนียมในเมืองราคาเฉลี่ยอยู่ระดับ 7 หมื่นบาท/ตร.ม. ถือว่าสูงเกินไป และขนาดพื้นที่ไม่รองรับการอยู่อาศัยแบบครอบครัว
นายอิสระกล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ประสบความล้มเหลวมาตลอด ทุกวันนี้ มีการกำหนดผังสีการใช้ประโยชน์ที่ดินชัดเจน แต่ไม่มีการเอาผิดกับผู้ที่ละเมิด โดยเขาเห็นว่าหากมีฝ่าฝืนข้อกำหนดผังเมือง ภาครัฐก็ควรเข้าไปจัดการไม่ใช่มาแก้ที่ตัวกฎหมาย
ผังเมืองที่เกิดขึ้นมาตลอด เป็นการผลักคนออกไปอยู่ชานเมืองอยู่แล้ว ในกรุงเทพฯ ตอนกลางวันอาจมีคน 10 ล้านคน แต่ตอนกลางคืนอาจมี 6-7 ล้านคน เพราะมีบ้านอยู่ ปทุมธานี นนทบุรี ผมอยากให้เราร่วมกันทำผังเมืองภาคมหานคร บูรณาการผังเมืองระหว่างกรุงเทพฯและปริมณฑลไปเลย เพื่อความชัดเจน เพราะต่อให้เขียนหรือแก้ผังเมืองกันดีแค่ไหน ถ้าไม่มีระบบป้องกันสุดท้ายน้ำก็ท่วมอยู่ดี นายอิสระ กล่าว
คอนโดหนุนสอดคล้องเมืองใหญ่ทั่วโลก
ด้านนายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า การให้เมืองขยายในแนวสูงถือว่าเดินมาถูกทาง เพราะร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 3 เป็นการวางผังเมืองแบบหลวมๆ ในพื้นที่ชานเมือง ส่งผลให้ที่อยู่อาศัยขยายตัวออกนอกเมือง ทั้งที่ กทม.เองก็ไม่ต้องการให้ที่อยู่อาศัยขยายออกไป
การขยายเมืองออกไปยังพื้นที่ชานเมือง สุดท้ายก็จะเกิดปัญหา เพราะสาธารณูปโภคตามไม่ทัน ทุกวันนี้ ต่างประเทศที่เขาเจริญแล้วก็สร้างตึกในเขตเมืองสูงกว่าบ้านเรากันทั้งนั้น ต่อไปพื้นที่รอบนอก เราควรปล่อยให้เป็นพื้นที่รับน้ำ พื้นที่เกษตรกรรม นายธำรงกล่าว
นายธำรงกล่าวว่า นอกจากนี้ควรผ่อนปรนเรื่องการจำกัดให้สร้างอาคารสูงที่มีพื้นที่รวมเกิน 1 หมื่นตารางเมตรได้เฉพาะบนพื้นที่ที่มีถนนกว้าง 12 เมตรหรือ 16 เมตร เพราะจะยิ่งทำให้พื้นที่ที่สร้างอาคารสูงมีน้อย อาจส่งผลให้ราคาที่ดินสูง และราคาคอนโดมิเนียมแพงยิ่งขึ้น เป็นการผลักคนออกไปอยู่นอกเมือง นอกจากนี้ ควรปรับสัดส่วนการก่อสร้างอาคารต่อพื้นที่ดิน (เอฟเออาร์) ในแต่ละพื้นที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว
จากนั้นก็ทำพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น ทำอัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคาร หรือโอเอสอาร์ให้ชัดเจน เช่น ให้อาคารมีพื้นที่ว่างโดยรอบ 6 เมตร นายธำรง กล่าว
นักวิชาการชี้ผังเมืองพังเพราะการเมือง
รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ถ้ามีการแก้ไขผังเมืองไปในลักษณะเมืองแนวตั้ง ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะเรื่องการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ควรเป็นเรื่องที่ต้องทำให้ชัดเจน ไม่มีการผ่อนปรน เช่นที่ จีน เกาหลี ไม่มีการให้สร้างบ้านเดี่ยวในเขตเมืองเลย พื้นที่ใดที่เป็นพื้นที่รับน้ำ ทั้งพื้นที่สีเขียว และพื้นที่สีเขียวลายขาว ไม่ควรให้สร้างทั้งบ้านและโรงงานอุตสาหกรรม ควรปล่อยไว้รับน้ำ ไว้ทำการเกษตรจริงๆ เวลาน้ำมาจะได้ไม่เกิดความเสียหายมาก
ที่ผังเมืองมีปัญหาทุกวันนี้ เพราะเรื่องการเมือง แม้ว่า กทม.จะเป็นคนชงเรื่องผังเมืองรวม แต่สุดท้ายผังเมืองไปจบที่กระทรวงมหาดไทย ขั้นตอนนี้แหละ ทั้งนักการเมือง ผู้ประกอบการต่างก็วิ่งเต้นกันไปขอเปลี่ยนผังสีบ้าง ไปขอยกเว้นข้อกำหนดในพื้นที่ของตัวเองบ้าง จึงมีบ้านที่ขวางทางน้ำเกิดขึ้นเต็มไปหมด ขอให้จับตาดูการแก้ผังเมืองรวมหลังจากนี้เอาไว้ รศ.มานพกล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ผลประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการตั้งฐานและการผังเมืองวุฒิสภา ที่มี ศ.เกียรติคุณตรึงใจ บูรณสมภพ เป็นประธานเมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมมีข้อสรุปว่าเห็นควรให้ผังเมืองกำหนดทิศทางการขยายตัวของเมืองกรุงเทพฯ ในแนวตั้ง โดยเน้นที่การก่อสร้างเพิ่มเติมบนพื้นที่ชั้นในของ กทม. แทนที่จะปล่อยให้เมืองขยายออกไปในแนวกว้างในพื้นที่รอบนอก ซึ่งควรจัดให้เป็นพื้นที่รองรับน้ำ มีความเห็นและการวิเคราะห์แนวทางความเป็นไปได้ของบุคคลที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป
นายขุนพล พรหมแพทย์ รองผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การขยายตัวของเมือง กทม. ในลักษณะออกด้านข้าง ทั้งด้านตะวันตกและตะวันออก ซึ่งกระทบกับการระบายน้ำโดยตรง และบางส่วน ก็พัฒนาในเขตพื้นที่รับน้ำหลาก หรือฟลัดเวย์ โดยเฉพาะในฝั่งตะวันออกจำนวนมาก แม้ว่าผังการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2549 จะกำหนดฟลัดเวย์ในฝั่ง กทม. โดยกำหนดให้เป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบ และเส้นทแยงสีเขียว) เพื่อใช้ระบายน้ำออกลงทะเลสมุทรปราการไว้แล้ว
ทั้งนี้แม้สมุทรปราการ จะมีสนามบินสุวรรณภูมิขวางอยู่ แต่ก็มีระบบระบายน้ำอ้อมสนามบินไปลงทะเลได้ ขณะที่ฝั่งตะวันตกของ กทม. ไม่มีพื้นที่ฟลัดเวย์ แต่ได้กำหนดเป็นพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ มีอาคารได้บางส่วนเท่านั้น โดยพื้นที่เหล่านี้สามารถระบายน้ำลงทะเลได้ หากเกิดน้ำท่วมอาคาร ก็จะมีประชาชนไม่มากนัก ที่ได้รับผลกระทบ
นายขุนพล กล่าวว่า ผังเมืองที่อยู่ระหว่างการปรับแก้ จะเน้นการเติบโตของเมืองที่เรียกว่า คอมเพล็กซ์ ซิตี้ เน้นพัฒนาเมืองของพื้นที่ชั้นแนวคันกั้นน้ำ ที่มีระบบขนส่งมวลชนพัฒนาออกไป เพื่อให้เมืองโตในลักษณะแนวสูง หลังจากพบว่าช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมามีความหนาแน่นของอาคาร คอนโดมิเนียมหนาแน่นในเขตเมืองตามแนวของรถไฟฟ้าด้านใน ส่วนพื้นที่รอบนอกแนวคันกั้นน้ำ จะเน้นให้เป็นฟลัดเวย์ตามธรรมชาติ โดยแนวการพัฒนาจะหยุดที่พื้นที่คลองรับน้ำ จากสุดเขตด้านทิศเหนือของ กทม.บริเวณ คลองหกวาด้านเหนือ และลงไปยังคลองชายทะเล จ.สมุทรปราการ
อย่างไรก็ตาม ผังเมืองคงไม่สามารถบังคับใช้ย้อนหลังกับอาคารเก่าที่อยู่ในพื้นที่ฟลัดเวย์ได้ เช่น นิคมอุตสาหกรรมบางโคล่ บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ แต่จะกำหนดเรื่องห้ามการขยาย หรือพัฒนาเพิ่มเติม
นายขุนพล ยังเห็นด้วยกับการใช้กฎหมายจัดรูปที่ดิน โดยเสนอว่ารัฐบาลควรนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยกำหนดให้เกิดฟลัดเวย์ หรืออาจจะเรียกว่าซูเปอร์ฟลัดเวย์ ที่เป็นคลองขึ้นในแถบฝั่งตะวันออก เพราะข้อดีคือ ไม่ต้องเวนคืนที่ดินกับประชาชน โดยเจ้าของที่ดินอาจเสียสละที่ดินส่วนหนึ่ง แต่ยังได้ใช้ประโยชน์อยู่ และรัฐจะเข้าไปจัดระเบียบ เช่นทำระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้น
จัดสรร ชี้รื้อผังเมืองฯ ไม่ตอบโจทย์
นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า หากจะแก้ผังเมืองในลักษณะดังกล่าวจริง ต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าผู้มีรายได้น้อยจะไปอยู่ที่ไหน เพราะราคาบ้าน 1-3 ล้านบาท ล้วนแต่อยู่ในพื้นที่ชานเมือง ส่วนคอนโดมิเนียมในเมืองราคาเฉลี่ยอยู่ระดับ 7 หมื่นบาท/ตร.ม. ถือว่าสูงเกินไป และขนาดพื้นที่ไม่รองรับการอยู่อาศัยแบบครอบครัว
นายอิสระกล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ประสบความล้มเหลวมาตลอด ทุกวันนี้ มีการกำหนดผังสีการใช้ประโยชน์ที่ดินชัดเจน แต่ไม่มีการเอาผิดกับผู้ที่ละเมิด โดยเขาเห็นว่าหากมีฝ่าฝืนข้อกำหนดผังเมือง ภาครัฐก็ควรเข้าไปจัดการไม่ใช่มาแก้ที่ตัวกฎหมาย
ผังเมืองที่เกิดขึ้นมาตลอด เป็นการผลักคนออกไปอยู่ชานเมืองอยู่แล้ว ในกรุงเทพฯ ตอนกลางวันอาจมีคน 10 ล้านคน แต่ตอนกลางคืนอาจมี 6-7 ล้านคน เพราะมีบ้านอยู่ ปทุมธานี นนทบุรี ผมอยากให้เราร่วมกันทำผังเมืองภาคมหานคร บูรณาการผังเมืองระหว่างกรุงเทพฯและปริมณฑลไปเลย เพื่อความชัดเจน เพราะต่อให้เขียนหรือแก้ผังเมืองกันดีแค่ไหน ถ้าไม่มีระบบป้องกันสุดท้ายน้ำก็ท่วมอยู่ดี นายอิสระ กล่าว
คอนโดหนุนสอดคล้องเมืองใหญ่ทั่วโลก
ด้านนายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า การให้เมืองขยายในแนวสูงถือว่าเดินมาถูกทาง เพราะร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 3 เป็นการวางผังเมืองแบบหลวมๆ ในพื้นที่ชานเมือง ส่งผลให้ที่อยู่อาศัยขยายตัวออกนอกเมือง ทั้งที่ กทม.เองก็ไม่ต้องการให้ที่อยู่อาศัยขยายออกไป
การขยายเมืองออกไปยังพื้นที่ชานเมือง สุดท้ายก็จะเกิดปัญหา เพราะสาธารณูปโภคตามไม่ทัน ทุกวันนี้ ต่างประเทศที่เขาเจริญแล้วก็สร้างตึกในเขตเมืองสูงกว่าบ้านเรากันทั้งนั้น ต่อไปพื้นที่รอบนอก เราควรปล่อยให้เป็นพื้นที่รับน้ำ พื้นที่เกษตรกรรม นายธำรงกล่าว
นายธำรงกล่าวว่า นอกจากนี้ควรผ่อนปรนเรื่องการจำกัดให้สร้างอาคารสูงที่มีพื้นที่รวมเกิน 1 หมื่นตารางเมตรได้เฉพาะบนพื้นที่ที่มีถนนกว้าง 12 เมตรหรือ 16 เมตร เพราะจะยิ่งทำให้พื้นที่ที่สร้างอาคารสูงมีน้อย อาจส่งผลให้ราคาที่ดินสูง และราคาคอนโดมิเนียมแพงยิ่งขึ้น เป็นการผลักคนออกไปอยู่นอกเมือง นอกจากนี้ ควรปรับสัดส่วนการก่อสร้างอาคารต่อพื้นที่ดิน (เอฟเออาร์) ในแต่ละพื้นที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว
จากนั้นก็ทำพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น ทำอัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคาร หรือโอเอสอาร์ให้ชัดเจน เช่น ให้อาคารมีพื้นที่ว่างโดยรอบ 6 เมตร นายธำรง กล่าว
นักวิชาการชี้ผังเมืองพังเพราะการเมือง
รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ถ้ามีการแก้ไขผังเมืองไปในลักษณะเมืองแนวตั้ง ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะเรื่องการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ควรเป็นเรื่องที่ต้องทำให้ชัดเจน ไม่มีการผ่อนปรน เช่นที่ จีน เกาหลี ไม่มีการให้สร้างบ้านเดี่ยวในเขตเมืองเลย พื้นที่ใดที่เป็นพื้นที่รับน้ำ ทั้งพื้นที่สีเขียว และพื้นที่สีเขียวลายขาว ไม่ควรให้สร้างทั้งบ้านและโรงงานอุตสาหกรรม ควรปล่อยไว้รับน้ำ ไว้ทำการเกษตรจริงๆ เวลาน้ำมาจะได้ไม่เกิดความเสียหายมาก
ที่ผังเมืองมีปัญหาทุกวันนี้ เพราะเรื่องการเมือง แม้ว่า กทม.จะเป็นคนชงเรื่องผังเมืองรวม แต่สุดท้ายผังเมืองไปจบที่กระทรวงมหาดไทย ขั้นตอนนี้แหละ ทั้งนักการเมือง ผู้ประกอบการต่างก็วิ่งเต้นกันไปขอเปลี่ยนผังสีบ้าง ไปขอยกเว้นข้อกำหนดในพื้นที่ของตัวเองบ้าง จึงมีบ้านที่ขวางทางน้ำเกิดขึ้นเต็มไปหมด ขอให้จับตาดูการแก้ผังเมืองรวมหลังจากนี้เอาไว้ รศ.มานพกล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ