คลังเมินข้อเสนอเอกชน ยันไม่ลดภาษีโอนช่วยอสังหาฯ ชี้มาตรการบ้านหลังแรกช่วยกระตุ้นพอแล้ว แถมรถคันแรกมีขอมาแล้วพันกว่าคัน เผยน้ำท่วมทำคนอยากหาเงินซ่อมบ้านมากกว่าซื้อใหม่ พร้อมหนุนแบงก์รัฐปรับโครงสร้างหนี้เอ็นพีแอลที่วงเงินเกิน 5 แสน
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงข้อเสนอของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักและได้เรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณามาตรการภาษีที่เกี่ยวเนื่องกับการซื้อที่อยู่อาศัยทั้งหมด เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน การจดจำนอง ภาษีธุรกิจเฉพาะว่า กระทรวงการคลังพร้อมรับข้อเสนอไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและพร้อมสนับสนุน แต่คงต้องดูความเหมาะสมก่อน เพราะที่ผ่านมาสถาบันการเงินของรัฐได้ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแล้วในระดับหนึ่ง ทั้งการผ่อนผันภาระหนี้สินและการให้กู้เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย แต่หลังจากน้ำลดแล้วคงต้องมาประเมินอีกครั้งว่าต้องมีมาตรการเพิ่มเติมหรือไม่
"รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ไปก่อนหน้านั้นแล้ว ในโครงการคืนภาษีบ้านหลังแรกจึงน่าจะเพียงพอแล้วและยังเดินหน้าต่อไป ส่วนบ้านที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม น่าจะเน้นไปที่การซ่อมแซมมากกว่าจะซื้อใหม่ การช่วยเหลือเรื่องเงินสินเชื่อจึงน่าจะเหมาะสมกว่า" นายบุญทรงกล่าว
นายบุญทรงกล่าวถึงผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีจากเหตุอุทกภัยว่า แม้ภาคธุรกิจจะเสียหายและมีผลต่อรายได้นิติบุคคลบ้าง แต่หลังจากนี้ เมื่อรัฐมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายและอัดฉีดเงินเข้าระบบน่าจะทำให้ได้เม็ดเงินภาษีกลับคืนมา และไม่กระทบเป้าหมายการจัดเก็บในปี 2555 ที่ตั้งไว้ 1.98 ล้านล้านบาท ขณะที่โครงการรถยนต์คันแรกนั้นยังยืนยันเดินหน้าต่อและไม่ขยายระยะเวลาโครงการออกไป ซึ่งล่าสุดสิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีผู้ขอคืนภาษีเข้ามาแล้ว 1 พันกว่าคัน
สำหรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย นายบุญทรงกล่าวว่า นอกเหนือจากการพักหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาทต่อรายของ 6 สถาบันการเงินของรัฐที่มีประมาณ 7.7 แสนรายแล้ว ยังมอบหมายให้สถาบันการเงินแต่ละแห่งดูแลลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ส่วนที่เกิน 5 แสนบาทด้วย แต่ต้องเป็นหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่ได้เกิดจากหนี้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงิน โดยให้เป็นอำนาจการพิจารณาของธนาคารแต่ละแห่งเองที่จะพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้ ไม่ใช่การพักหนี้ เช่น อาจจะลดภาระดอกเบี้ยหรือยืดเวลาการชำระหนี้ออกไปตามความเหมาะสม โดยที่รัฐบาลไม่ได้มีภาระในการจ่ายเงินชดเชยเพิ่มเติมจากที่ต้องจ่ายให้ส่วนของมูลหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท เป็นเงินกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท
ที่มา: มติชนออนไลน์
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงข้อเสนอของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักและได้เรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณามาตรการภาษีที่เกี่ยวเนื่องกับการซื้อที่อยู่อาศัยทั้งหมด เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน การจดจำนอง ภาษีธุรกิจเฉพาะว่า กระทรวงการคลังพร้อมรับข้อเสนอไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและพร้อมสนับสนุน แต่คงต้องดูความเหมาะสมก่อน เพราะที่ผ่านมาสถาบันการเงินของรัฐได้ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแล้วในระดับหนึ่ง ทั้งการผ่อนผันภาระหนี้สินและการให้กู้เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย แต่หลังจากน้ำลดแล้วคงต้องมาประเมินอีกครั้งว่าต้องมีมาตรการเพิ่มเติมหรือไม่
"รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ไปก่อนหน้านั้นแล้ว ในโครงการคืนภาษีบ้านหลังแรกจึงน่าจะเพียงพอแล้วและยังเดินหน้าต่อไป ส่วนบ้านที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม น่าจะเน้นไปที่การซ่อมแซมมากกว่าจะซื้อใหม่ การช่วยเหลือเรื่องเงินสินเชื่อจึงน่าจะเหมาะสมกว่า" นายบุญทรงกล่าว
นายบุญทรงกล่าวถึงผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีจากเหตุอุทกภัยว่า แม้ภาคธุรกิจจะเสียหายและมีผลต่อรายได้นิติบุคคลบ้าง แต่หลังจากนี้ เมื่อรัฐมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายและอัดฉีดเงินเข้าระบบน่าจะทำให้ได้เม็ดเงินภาษีกลับคืนมา และไม่กระทบเป้าหมายการจัดเก็บในปี 2555 ที่ตั้งไว้ 1.98 ล้านล้านบาท ขณะที่โครงการรถยนต์คันแรกนั้นยังยืนยันเดินหน้าต่อและไม่ขยายระยะเวลาโครงการออกไป ซึ่งล่าสุดสิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีผู้ขอคืนภาษีเข้ามาแล้ว 1 พันกว่าคัน
สำหรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย นายบุญทรงกล่าวว่า นอกเหนือจากการพักหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาทต่อรายของ 6 สถาบันการเงินของรัฐที่มีประมาณ 7.7 แสนรายแล้ว ยังมอบหมายให้สถาบันการเงินแต่ละแห่งดูแลลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ส่วนที่เกิน 5 แสนบาทด้วย แต่ต้องเป็นหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่ได้เกิดจากหนี้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงิน โดยให้เป็นอำนาจการพิจารณาของธนาคารแต่ละแห่งเองที่จะพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้ ไม่ใช่การพักหนี้ เช่น อาจจะลดภาระดอกเบี้ยหรือยืดเวลาการชำระหนี้ออกไปตามความเหมาะสม โดยที่รัฐบาลไม่ได้มีภาระในการจ่ายเงินชดเชยเพิ่มเติมจากที่ต้องจ่ายให้ส่วนของมูลหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท เป็นเงินกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท
ที่มา: มติชนออนไลน์