ปีนี้อาจกล่าวได้ว่าวงการรับเหมาก่อสร้างโครงการเอกชนก้าวขึ้นแท่นยุคทอง จากหลายปัจจัยทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็นโครงการคอนโดมิเนียมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วทำให้ความต้องการผู้รับเหมาเพิ่มขึ้นเช่นกัน
แต่ด้วยปัญหาขาดแคลนแรงงาน ราคาวัสดุก่อสร้างผันผวน ส่งผลให้ผู้ประกอบการแต่ละรายจำเป็นต้องควบคุมความเสี่ยงด้วยการเลือกแต่ผู้รับเหมาชั้นดี เพื่อมั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดภาวะทิ้งงานในอนาคต จนกลายเป็นศึกชิงตัวผู้รับเหมามือดีในทุกรูปแบบ
สถานการณ์ดังกล่าวส่งสัญญาณตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากปี2553 ที่มีการเปิดตัวคอนโดมิเนียมสูงเป็นประวัติศาสตร์เกือบทุกโครงการที่เปิดตัวต้องเริ่มก่อสร้างในปีที่แล้ว ในขณะที่ผู้รับเหมาแต่ละรายต่างมีขีดความสามารถในการรับงานจำกัด ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายต้องเปิดศึกสู้ราคา ยอมจ่ายรับเหมาในราคาที่แพงขึ้น เพื่อให้งานก่อสร้างเดินได้ตามเป้าหมาย
แต่ด้วยปัญหาขาดแคลนแรงงาน ราคาวัสดุก่อสร้างผันผวน ส่งผลให้ผู้ประกอบการแต่ละรายจำเป็นต้องควบคุมความเสี่ยงด้วยการเลือกแต่ผู้รับเหมาชั้นดี เพื่อมั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดภาวะทิ้งงานในอนาคต จนกลายเป็นศึกชิงตัวผู้รับเหมามือดีในทุกรูปแบบ
สถานการณ์ดังกล่าวส่งสัญญาณตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากปี2553 ที่มีการเปิดตัวคอนโดมิเนียมสูงเป็นประวัติศาสตร์เกือบทุกโครงการที่เปิดตัวต้องเริ่มก่อสร้างในปีที่แล้ว ในขณะที่ผู้รับเหมาแต่ละรายต่างมีขีดความสามารถในการรับงานจำกัด ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายต้องเปิดศึกสู้ราคา ยอมจ่ายรับเหมาในราคาที่แพงขึ้น เพื่อให้งานก่อสร้างเดินได้ตามเป้าหมาย
"ถ้างานก่อสร้างเป็นไปตามเป้าหมาย นั่นหมายถึงเราจะรับรู้ได้ตามเป้าหมายเช่นกันซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้บริษัทฯ มีรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายมาก เพราะไม่สามารถส่งมอบบ้านให้ลูกค้าได้ตามกำหนด จากการที่เกิดวิกฤตผู้รับเหมา วิกฤตแรงงาน" กิตติพล ปราโมช ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัทสัมมากร กล่าว
ขณะที่แนวโน้มนับจากนี้ ผู้รับเหมายังคงขาดแคลนต่อเนื่องเพราะบางรายรับงานจนล้นมือแล้ว โดย ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิตกรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัทพฤกษา เรียลเอสเตท กล่าวว่า ผู้รับเหมาหลายรายเวลานี้ ไม่สามารถรับงานเพิ่มได้แล้ว และการที่ต้นทุนวัสดุก่อสร้าง แรงงานผันผวนมาก
ดังนั้น พฤกษาฯ จึงต้องปรับวิธีการหาผู้รับเหมาใหม่ โดยโครงการใหม่ๆ ที่จะเปิดตัวจะต้องได้ผู้รับเหมาแล้ว และมีการเสนอราคามาก่อนแล้ว เพื่อนำมากำหนดราคาขายได้ถูกต้อง ซึ่งแตกต่างจากในอดีต ที่ผู้ประกอบการเคาะราคาขายก่อน แล้วเรียกผู้รับเหมามาประมูล ใครให้ราคาที่ดีที่สุดก็ได้งานนั้นไป แต่สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว โดยประเด็นนี้ทำให้พฤกษาฯ หยุดขายบางโครงการที่ยังหาผู้รับเหมาไม่ได้ ส่วนโครงการใหม่ๆ ต้องได้ผู้รับเหมาก่อนจึงจะเปิดขายได้
"ใครจะแพ้หรือชนะในปีนี้ ไม่ได้ดูที่ยอดขายแล้ว แต่ต้องดูว่าใครก่อสร้างได้-ไม่ได้เพราะมันหมายถึงรับรู้รายได้ได้หรือไม่ได้"ประเสริฐกล่าว
ด้าน เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการบริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า บริษัทฯปรับมาใช้วิธีเจรจากับบริษัท พรพระนคร ซึ่งเป็นผู้รับเหมาที่ก่อสร้างให้กับเสนาฯ มาหลายโครงการ เพื่อจ้างก่อสร้างระยะยาวโดยได้เสนอว่า ในแต่ละปีบริษัทฯ จะมีพื้นที่ก่อสร้างให้ประมาณ 8 หมื่นตร.ม. เพื่อให้บริษัทรับเหมาประเมินได้ว่าจะมีรายได้แต่ละปีอยู่ที่เท่าไร ต้องหาลูกค้าโครงการอื่นๆเพิ่มหรือไม่ซึ่งเป็นวิธีที่กลุ่มเสนาฯ ใช้แก้ปัญหาขาดแคลนผู้รับเหมาและวิกฤตแรงงาน
โอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ กล่าวว่าเทคโนโลยีการผลิตบ้านแบบใหม่เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องพัฒนาให้ดีขึ้น เพื่อลดการใช้แรงงานคนลงให้ได้มากที่สุด เน้นแรงงานฝีมือในขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งหากจำเป็นก็ต้องหาแรงงานต่างด้าวเสริม โดยปัจจุบัน แอล.พี.เอ็น.ฯมีทีมในการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพื่อแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน
ชัยรัตน์ โกวิทจินดาชัย ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักกรรมการผู้จัดการ บริษัท ปริญสิริ กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ต้องใช้ผู้รับเหมารายย่อยในการก่อสร้าง 50-60 รายซึ่งแต่ละรายมีลูกน้องอยู่ในมือ เฉลี่ย 20-60 คน แต่ปัจจุบันมีผู้รับเหมาเหลืออยู่เพียง 1 ใน3 หรือประมาณ 15-20 ราย จึงทำให้ไม่สามารถก่อสร้างบ้านได้ทัน จึงต้องหันมาเจรจากับผู้รับเหมารายย่อยเดิม พร้อมกับต้องให้อินเซ็นทีฟ หรือเงินจูงใจเพิ่มเพื่อให้กลับมารับงานก่อสร้างกับบริษัทฯ มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้รับเหมารายย่อยเหล่านี้ก็ไม่มีความชำนาญในระบบก่อสร้างสำเร็จรูปหรือพรีคาสต์ ทำให้ต้องจูงใจให้กลับมาก่อสร้างระบบก่ออิฐฉาบปูนเหมือนเดิม พร้อมกับต้องให้ค่าจ้างที่จูงใจมากขึ้น ซึ่งการก่อสร้างในระบบเก่ากับระบบใหม่ต้นทุนไม่แตกต่างกันมากนัก เนื่องจากบริษัทฯยังไม่ได้เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ต้องใช้ระบบก่อสร้างสำเร็จรูปจำนวนมาก และยังไม่มีแผนร่วมทุนเพื่อก่อตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนบ้านสำเร็จรูป
ท้ายสุดแล้ว การขาดแคลนผู้รับเหมาค่าจ้างแรงงานปรับขึ้น รวมไปถึงต้นทุนวัสดุก่อสร้างปรับสูงขึ้น ยิ่งเป็นตัวกดดันให้ราคาบ้านปรับสูงขึ้นอีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
ขณะที่แนวโน้มนับจากนี้ ผู้รับเหมายังคงขาดแคลนต่อเนื่องเพราะบางรายรับงานจนล้นมือแล้ว โดย ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิตกรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัทพฤกษา เรียลเอสเตท กล่าวว่า ผู้รับเหมาหลายรายเวลานี้ ไม่สามารถรับงานเพิ่มได้แล้ว และการที่ต้นทุนวัสดุก่อสร้าง แรงงานผันผวนมาก
ดังนั้น พฤกษาฯ จึงต้องปรับวิธีการหาผู้รับเหมาใหม่ โดยโครงการใหม่ๆ ที่จะเปิดตัวจะต้องได้ผู้รับเหมาแล้ว และมีการเสนอราคามาก่อนแล้ว เพื่อนำมากำหนดราคาขายได้ถูกต้อง ซึ่งแตกต่างจากในอดีต ที่ผู้ประกอบการเคาะราคาขายก่อน แล้วเรียกผู้รับเหมามาประมูล ใครให้ราคาที่ดีที่สุดก็ได้งานนั้นไป แต่สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว โดยประเด็นนี้ทำให้พฤกษาฯ หยุดขายบางโครงการที่ยังหาผู้รับเหมาไม่ได้ ส่วนโครงการใหม่ๆ ต้องได้ผู้รับเหมาก่อนจึงจะเปิดขายได้
"ใครจะแพ้หรือชนะในปีนี้ ไม่ได้ดูที่ยอดขายแล้ว แต่ต้องดูว่าใครก่อสร้างได้-ไม่ได้เพราะมันหมายถึงรับรู้รายได้ได้หรือไม่ได้"ประเสริฐกล่าว
ด้าน เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการบริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า บริษัทฯปรับมาใช้วิธีเจรจากับบริษัท พรพระนคร ซึ่งเป็นผู้รับเหมาที่ก่อสร้างให้กับเสนาฯ มาหลายโครงการ เพื่อจ้างก่อสร้างระยะยาวโดยได้เสนอว่า ในแต่ละปีบริษัทฯ จะมีพื้นที่ก่อสร้างให้ประมาณ 8 หมื่นตร.ม. เพื่อให้บริษัทรับเหมาประเมินได้ว่าจะมีรายได้แต่ละปีอยู่ที่เท่าไร ต้องหาลูกค้าโครงการอื่นๆเพิ่มหรือไม่ซึ่งเป็นวิธีที่กลุ่มเสนาฯ ใช้แก้ปัญหาขาดแคลนผู้รับเหมาและวิกฤตแรงงาน
โอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ กล่าวว่าเทคโนโลยีการผลิตบ้านแบบใหม่เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องพัฒนาให้ดีขึ้น เพื่อลดการใช้แรงงานคนลงให้ได้มากที่สุด เน้นแรงงานฝีมือในขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งหากจำเป็นก็ต้องหาแรงงานต่างด้าวเสริม โดยปัจจุบัน แอล.พี.เอ็น.ฯมีทีมในการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพื่อแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน
ชัยรัตน์ โกวิทจินดาชัย ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักกรรมการผู้จัดการ บริษัท ปริญสิริ กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ต้องใช้ผู้รับเหมารายย่อยในการก่อสร้าง 50-60 รายซึ่งแต่ละรายมีลูกน้องอยู่ในมือ เฉลี่ย 20-60 คน แต่ปัจจุบันมีผู้รับเหมาเหลืออยู่เพียง 1 ใน3 หรือประมาณ 15-20 ราย จึงทำให้ไม่สามารถก่อสร้างบ้านได้ทัน จึงต้องหันมาเจรจากับผู้รับเหมารายย่อยเดิม พร้อมกับต้องให้อินเซ็นทีฟ หรือเงินจูงใจเพิ่มเพื่อให้กลับมารับงานก่อสร้างกับบริษัทฯ มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้รับเหมารายย่อยเหล่านี้ก็ไม่มีความชำนาญในระบบก่อสร้างสำเร็จรูปหรือพรีคาสต์ ทำให้ต้องจูงใจให้กลับมาก่อสร้างระบบก่ออิฐฉาบปูนเหมือนเดิม พร้อมกับต้องให้ค่าจ้างที่จูงใจมากขึ้น ซึ่งการก่อสร้างในระบบเก่ากับระบบใหม่ต้นทุนไม่แตกต่างกันมากนัก เนื่องจากบริษัทฯยังไม่ได้เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ต้องใช้ระบบก่อสร้างสำเร็จรูปจำนวนมาก และยังไม่มีแผนร่วมทุนเพื่อก่อตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนบ้านสำเร็จรูป
ท้ายสุดแล้ว การขาดแคลนผู้รับเหมาค่าจ้างแรงงานปรับขึ้น รวมไปถึงต้นทุนวัสดุก่อสร้างปรับสูงขึ้น ยิ่งเป็นตัวกดดันให้ราคาบ้านปรับสูงขึ้นอีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์