สศค.เผยสถาบันการเงินเฉพาะกิจทำกำไร ปี 2557 กว่า 3.6 หมื่นล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 20.5% เหตุรายจ่ายเพิ่ม รายได้ดอกเบี้ยลด แถมเอ็นพีแอลยังเพิ่มขึ้นกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท หลักๆมาจากสินเชื่อภาคธุรกิจ แต่ภาพรวมฐานะการเงินยังมีเสถียรภาพ เงินกองทุนเพียงพอดำเนินกิจการ
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือ แบงก์รัฐ ในปี 2557
ว่า ภาพรวมสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีเสถียรภาพและผลการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดย สินเชื่อยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และ มีเงินกองทุนอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการดำเนินงานในระยะต่อไป
โดยแบงก์รัฐมีกำไรสุทธิ 3.62 หมื่นล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าที่มีกำไร 4.56 หมื่นล้านบาท ถึง 9.3 พันล้านบาท หรือลดลง 20.5% เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ รายจ่ายจากการดำเนินงาน และมีอัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (NIM) ลดลงที่ 2.5% เทียบจากสิ้นปี 2556 อยู่ที่ 2.6%
ส่วนอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง และภาระผูกพัน หรือ (BIS ) เพิ่มขึ้น 11.4% เทียบจากสิ้นปี 2556 อยู่ที่ 10.3% ซึ่งอยู่ในระดับที่เพียงพอ ต่อการดำเนินงานในระยะต่อไป ขณะที่สินเชื่อของระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปี 2557 อยู่ที่ 3.94 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น6.4% จากปีก่อนหน้าที่มีสินเชื่ออยู่ที่ 3.7 ล้านล้านบาท หากเทียบจากไตรมาสก่อนหน้า
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสินเชื่อรายประเภท พบว่า สินเชื่ออุปโภคบริโภคชะลอตัวลง 4.7% เทียบจากสิ้นปี2556 ที่ขยายตัว 7.2% ซึ่งลดลงในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลอยู่ที่ 0.9% เทียบจากสิ้นปีก่อนที่ขยายตัว 5.6% ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ ขยายตัว 5.5% เทียบจากสิ้นปีก่อนที่ขยายตัว 4.7% โดยเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกภาคธุรกิจยกเว้น สินเชื่อภาคบริการ อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
สำหรับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีภาระค้ำประกัน เพิ่มขึ้นเทียบจากสิ้นปีก่อน 10.6% จากการดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) ระยะที่ 5 อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2556
เขากล่าวว่า ในส่วนเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจสิ้นปี 2557 อยู่ที่ 3.86 ล้านล้านบาท ขยายตัว 4.4% ชะลอตัวลงเทียบจากสิ้นปีก่อน ที่มีอยู่ที่ 3.7 ล้านล้านบาท แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 1.1% ส่งผลให้สัดส่วน สินเชื่อต่อเงินรับฝาก (L/D Ratio) เพิ่มขึ้นจาก 101.4% ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2557 เป็น 102.1% ณ สิ้นปี 2557
ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มียอดคงค้างรวม 2.17 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.72 หมื่นล้านบาทจากปีก่อนหน้า ส่งผลให้สัดส่วน เอ็นพีแอล ต่อสินเชื่อรวม ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นปี 2557 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 5.5% เทียบจากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 5.3% โดยเป็นผลมาจาก เอ็นพีแอล ที่เพิ่มขึ้นของสินเชื่อธุรกิจเป็นหลัก สำหรับสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ณ สิ้นปี 2557 มียอดคงค้าง 1.21 แสนล้านบาท โดยสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษต่อสินเชื่อรวม อยู่ที่ 3.1% เทียบจากสิ้นปี 2556 ที่อยู่ที่ 2.3% ซึ่งเพิ่มขึ้นในส่วนของสินเชื่อ อุปโภคบริโภคและสินเชื่อธุรกิจ ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้มีการกันสำรองอยู่ในระดับที่สูงเพียงพอต่อการรองรับ ความเสี่ยงดังกล่าว โดยมีสัดส่วนการกันสำรองต่อเอ็นพีแอลอยู่ที่ 159.2%
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ว่า ภาพรวมสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีเสถียรภาพและผลการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดย สินเชื่อยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และ มีเงินกองทุนอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการดำเนินงานในระยะต่อไป
โดยแบงก์รัฐมีกำไรสุทธิ 3.62 หมื่นล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าที่มีกำไร 4.56 หมื่นล้านบาท ถึง 9.3 พันล้านบาท หรือลดลง 20.5% เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ รายจ่ายจากการดำเนินงาน และมีอัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (NIM) ลดลงที่ 2.5% เทียบจากสิ้นปี 2556 อยู่ที่ 2.6%
ส่วนอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง และภาระผูกพัน หรือ (BIS ) เพิ่มขึ้น 11.4% เทียบจากสิ้นปี 2556 อยู่ที่ 10.3% ซึ่งอยู่ในระดับที่เพียงพอ ต่อการดำเนินงานในระยะต่อไป ขณะที่สินเชื่อของระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปี 2557 อยู่ที่ 3.94 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น6.4% จากปีก่อนหน้าที่มีสินเชื่ออยู่ที่ 3.7 ล้านล้านบาท หากเทียบจากไตรมาสก่อนหน้า
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสินเชื่อรายประเภท พบว่า สินเชื่ออุปโภคบริโภคชะลอตัวลง 4.7% เทียบจากสิ้นปี2556 ที่ขยายตัว 7.2% ซึ่งลดลงในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลอยู่ที่ 0.9% เทียบจากสิ้นปีก่อนที่ขยายตัว 5.6% ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ ขยายตัว 5.5% เทียบจากสิ้นปีก่อนที่ขยายตัว 4.7% โดยเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกภาคธุรกิจยกเว้น สินเชื่อภาคบริการ อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
สำหรับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีภาระค้ำประกัน เพิ่มขึ้นเทียบจากสิ้นปีก่อน 10.6% จากการดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) ระยะที่ 5 อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2556
เขากล่าวว่า ในส่วนเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจสิ้นปี 2557 อยู่ที่ 3.86 ล้านล้านบาท ขยายตัว 4.4% ชะลอตัวลงเทียบจากสิ้นปีก่อน ที่มีอยู่ที่ 3.7 ล้านล้านบาท แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 1.1% ส่งผลให้สัดส่วน สินเชื่อต่อเงินรับฝาก (L/D Ratio) เพิ่มขึ้นจาก 101.4% ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2557 เป็น 102.1% ณ สิ้นปี 2557
ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มียอดคงค้างรวม 2.17 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.72 หมื่นล้านบาทจากปีก่อนหน้า ส่งผลให้สัดส่วน เอ็นพีแอล ต่อสินเชื่อรวม ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นปี 2557 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 5.5% เทียบจากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 5.3% โดยเป็นผลมาจาก เอ็นพีแอล ที่เพิ่มขึ้นของสินเชื่อธุรกิจเป็นหลัก สำหรับสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ณ สิ้นปี 2557 มียอดคงค้าง 1.21 แสนล้านบาท โดยสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษต่อสินเชื่อรวม อยู่ที่ 3.1% เทียบจากสิ้นปี 2556 ที่อยู่ที่ 2.3% ซึ่งเพิ่มขึ้นในส่วนของสินเชื่อ อุปโภคบริโภคและสินเชื่อธุรกิจ ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้มีการกันสำรองอยู่ในระดับที่สูงเพียงพอต่อการรองรับ ความเสี่ยงดังกล่าว โดยมีสัดส่วนการกันสำรองต่อเอ็นพีแอลอยู่ที่ 159.2%
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ