การค้าเอเชีย 15 ปี โต 120%
ไซมอน คอนสแตนทิไนส์ ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายการค้าระดับโลกและบริหารบัญชีลูกหนี้การค้า ธนาคารเอชเอสบีซี ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ยกเว้นฮ่องกงและมาเก๊า)เปิดเผยผลสำรวจการคาดการณ์ปริมาณการค้าภายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ว่าในอีก 15 ปีข้างหน้า การค้าในเอเชีย จะขยายตัวขึ้นร้อยละ 120และการค้าโลกเพิ่มขึ้นร้เอยละ 86 เพราะธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกหลายธุรกิจกำลังขยายเครือข่ายธุรกิจไปทั่วเอเชีย-แปซิฟิกเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตเข้าสู่กระบวนการผลิตมากขึ้น
การส่งออกของเอเชีย-แปซิฟิก จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตัวของการค้าโลกภายใน 5 ปี ข้างหน้า การค้าของจีนซึ่งจะเติบโตร้อยละ 6.61 และการค้าของเอเชีย ร้อยละ 6.50 จะโตแซงหน้าการค้าโลก ซึ่งเติบโตเพียงร้อยละ 3.78
ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะกลายเป้นปัจจัยสำคัญในการขยายตัวของการค้าโลกภายใน 5 ปีข้างหน้า ในบรรดา 10 อันดับประเทศผู้นำเข้าและส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเอเชีย-แปซิฟิก พบว่า 8 รายอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ประกอบด้วย จีน ฮ่องกง อินโดนีเชีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย สะท้อนถึงความสำคัญของการค้าภายในภูมิภาค
ไซมอน คอนสแตนทิไนส์ ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายการค้าระดับโลกและบริหารบัญชีลูกหนี้การค้า ธนาคารเอชเอสบีซี ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ยกเว้นฮ่องกงและมาเก๊า)เปิดเผยผลสำรวจการคาดการณ์ปริมาณการค้าภายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ว่าในอีก 15 ปีข้างหน้า การค้าในเอเชีย จะขยายตัวขึ้นร้อยละ 120และการค้าโลกเพิ่มขึ้นร้เอยละ 86 เพราะธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกหลายธุรกิจกำลังขยายเครือข่ายธุรกิจไปทั่วเอเชีย-แปซิฟิกเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตเข้าสู่กระบวนการผลิตมากขึ้น
การส่งออกของเอเชีย-แปซิฟิก จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตัวของการค้าโลกภายใน 5 ปี ข้างหน้า การค้าของจีนซึ่งจะเติบโตร้อยละ 6.61 และการค้าของเอเชีย ร้อยละ 6.50 จะโตแซงหน้าการค้าโลก ซึ่งเติบโตเพียงร้อยละ 3.78
ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะกลายเป้นปัจจัยสำคัญในการขยายตัวของการค้าโลกภายใน 5 ปีข้างหน้า ในบรรดา 10 อันดับประเทศผู้นำเข้าและส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเอเชีย-แปซิฟิก พบว่า 8 รายอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ประกอบด้วย จีน ฮ่องกง อินโดนีเชีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย สะท้อนถึงความสำคัญของการค้าภายในภูมิภาค
สินเชื่อที่อยู่อาศัยทะลุ 2 ล้านล้าน
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ตลอดทั้งปี 2554 สาบันการเงินมีการปล่อยสินเชื่อใหม่สำหรับที่อยู่อาศัยมากถึง ประมาณ 375,500 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าที่คาดหมายไว้เดิมแต่ต่ำกว่ายอดปล่อยรวมในปี 2553 ซึ่งมีประมาณ 377,200 ล้านบาท โดยยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 2553 เป็นยอดสูงสุดเท่าที่เคยมีมา ส่งผลให้ในสิ้นปี 2554 ยอดคะงสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีจำนวน 2,036,800 ล้านบาท นับเป็นครั้งแรกที่ยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยทะลุหลัก 2 ล้านล้านบาท
ในไตรมาสแรกมียอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยรวม 82,300 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 มีประมาณ 99,300 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 3 มีอีกประมาณ 111,333 ล้านบาท และลดลงเหลือประมาณ 82,700ล้านบาทในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว
การที่ยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ยังคงสูงในปี 2554 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงมีการแข่งขันรุนแรง โดยเฉพาะในไตรมาส 3 พบว่าธนาคารพาณิชย์บางรายมีอัตราการเติบโตของสินเชื่อสูงมาก
ที่มา: การเงินธนาคาร ฉบับที่ 359
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ตลอดทั้งปี 2554 สาบันการเงินมีการปล่อยสินเชื่อใหม่สำหรับที่อยู่อาศัยมากถึง ประมาณ 375,500 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าที่คาดหมายไว้เดิมแต่ต่ำกว่ายอดปล่อยรวมในปี 2553 ซึ่งมีประมาณ 377,200 ล้านบาท โดยยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 2553 เป็นยอดสูงสุดเท่าที่เคยมีมา ส่งผลให้ในสิ้นปี 2554 ยอดคะงสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีจำนวน 2,036,800 ล้านบาท นับเป็นครั้งแรกที่ยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยทะลุหลัก 2 ล้านล้านบาท
ในไตรมาสแรกมียอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยรวม 82,300 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 มีประมาณ 99,300 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 3 มีอีกประมาณ 111,333 ล้านบาท และลดลงเหลือประมาณ 82,700ล้านบาทในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว
การที่ยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ยังคงสูงในปี 2554 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงมีการแข่งขันรุนแรง โดยเฉพาะในไตรมาส 3 พบว่าธนาคารพาณิชย์บางรายมีอัตราการเติบโตของสินเชื่อสูงมาก
ที่มา: การเงินธนาคาร ฉบับที่ 359