3 สมาคมบ้านเฮ กทม.ถอย ยอมให้ผุดคอนโดฯในซอยตามผังเมืองปี 49 เหตุหวั่นทำผังขาดอายุเดือนกรกฎาคม ปี 2556 หลังอนุกรรมการผังเมืองกรมโยธาฯมีมติ ผังใหม่เข้มเกินไป ห้ามพัฒนา เน้นอุ้มผู้บริโภค-ผู้ประกอบการ
โยนบอร์ดใหญ่ชี้ขาดหลังสงกรานต์
ม.ร.ว. เปรมศิริ เกษมสันต์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ" ถึงร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 3) พ.ศ. ... กรณีการพัฒนาคอนโดมิเนียมในซอย คณะอนุกรรมการผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมืองมีความเห็นต่างกับกทม. โดยให้นำข้อบังคับผังเมืองรวมกทม. ปี 2549 มาใช้ ซึ่งบอร์ดอนุกรรมการฯอ้างว่า มีความเข้มงวดมากอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี กทม.มองว่า หากยึด ผังเมืองกทม.ปี 2549 มา บังคับใช้ เฉพาะกรณีดังกล่าวก็ยอมรับได้ เพราะ ความเข้มของข้อกำหนดยังควบคุมอยู่ โดยผังเมืองฉบับเก่าที่หมดอายุ กำหนด ความกว้างของขนาดถนน ตั้งแต่ 10 เมตร 12 เมตร 16 เมตร 30 เมตร สามารถขึ้นอาคารสูงอาคารใหญ่ได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน หากเป็นพื้นที่ที่สร้างอาคารสูงอาคารใหญ่ได้ ก็สามารถพัฒนาได้เลย โดยไม่ต้องพิจารณาขนาดถนน เช่น ทำเลใจกลางเมือง อย่างสุขุมวิทฯลฯ
โยนบอร์ดใหญ่ชี้ขาดหลังสงกรานต์
ม.ร.ว. เปรมศิริ เกษมสันต์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ" ถึงร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 3) พ.ศ. ... กรณีการพัฒนาคอนโดมิเนียมในซอย คณะอนุกรรมการผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมืองมีความเห็นต่างกับกทม. โดยให้นำข้อบังคับผังเมืองรวมกทม. ปี 2549 มาใช้ ซึ่งบอร์ดอนุกรรมการฯอ้างว่า มีความเข้มงวดมากอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี กทม.มองว่า หากยึด ผังเมืองกทม.ปี 2549 มา บังคับใช้ เฉพาะกรณีดังกล่าวก็ยอมรับได้ เพราะ ความเข้มของข้อกำหนดยังควบคุมอยู่ โดยผังเมืองฉบับเก่าที่หมดอายุ กำหนด ความกว้างของขนาดถนน ตั้งแต่ 10 เมตร 12 เมตร 16 เมตร 30 เมตร สามารถขึ้นอาคารสูงอาคารใหญ่ได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน หากเป็นพื้นที่ที่สร้างอาคารสูงอาคารใหญ่ได้ ก็สามารถพัฒนาได้เลย โดยไม่ต้องพิจารณาขนาดถนน เช่น ทำเลใจกลางเมือง อย่างสุขุมวิทฯลฯ
"แม้ประชาชนจำนวนมากมีกระแสไม่ชอบอาคารสูงในเมืองก็ตาม แต่ขึ้นกับบอร์ดใหญ่ผังเมืองจะพิจารณา ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร ที่สำคัญ กทม. กลัวว่า ผังจะถูกปล่อยให้ขาดอายุ ซึ่งจะต้องประกาศผังใหม่ ภายในเดือนกรกฎาคม 2556 ไม่เช่นนั้น จะมีปัญหา อสังหาฯ อุตสาหกรรมเป็นพิษสามารถเกิดขึ้นได้ตามใจชอบใน พื้นที่หวงห้ามในเขตเมืองหลวง ซึ่งเป็น เขตเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ และอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมา เพราะปัจจุบัน จังหวัดใหญ่ๆ อย่างเชียงใหม่ สมุทรปราการ นนทบุรี ฯลฯ ล้วนแต่ ผังขาดอายุจนเกิดการลักไก่ในพื้นที่ห้ามสร้างซึ่งจะเป็นปัญหาตามมาในอนาคต"
ด้านแหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า คณะอนุกรรมการผังเมือง มีมติให้ ที่ดินประเภท รหัส ย.1-ย.10 หรือ ที่ดินประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นน้อยถึงหนาแน่นมาก (เหลือง ส้ม น้ำตาล ) และ ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม พื้นที่สีแดง พ.1-พ.5 ให้ ปฏิบัติตาม ผังเมืองรวมกทม.ปี 2549 ที่หมดอายุลง ซึ่งสามารถพัฒนาคอนโดมิเนียมในซอยได้ โดยจะนำเสนอบอร์ดใหญ่อีกครั้งในเดือนเมษายนนี้
นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณคณะอนุกรรมการผังเมือง ที่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ 3 สมาคมด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเรียกร้องให้ใช้หลักเกณฑ์เดิม แทนที่จะกำหนดความกว้างของถนน 16 เมตร จึงจะก่อสร้างอาคารสูงได้
เนื่องจากเห็นว่าหลักเกณฑ์เดิมจะส่งผลดีต่อธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ทำให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง มีโอกาสซื้อคอนโดมิเนียมในเมืองใกล้ที่ทำงานระดับราคาเฉลี่ย 1 ล้านบาทได้ และจะส่งผลดีต่อการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในอนาคตด้วย
นอกจากนี้หาก ผังเมืองใหม่ยึดข้อกำหนดปี 2549 หรือ ผังเมืองเก่า สามารถพัฒนาคอนโดมิเนียม อาคารอยู่อาศัยอื่นๆ ขนาดถนนซอยตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไป สามารถสร้างสูงได้ไม่เกิน 23 เมตรหรือ 8 ชั้นตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินตามข้อบังคับผังเมือง ก็สามารถ ช่วยให้ ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยในเมืองใกล้แหล่งงาน ส่วนผลกระทบจาก ไฟไหม้ รถติด ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะมีระบบขนส่งมวลชน อย่างรถไฟฟ้า รวมถึง ทุกอาคารมีระบบป้องกันไฟไหม้
สอดคล้องกับ นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ประเด็นที่ 3 สมาคมได้ทำหนังสือให้คณะอนุกรรมการทบทวนมีเพียงเรื่องเดียว คือ ขนาดของถนน ที่เห็นว่าตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 นั้นออกมาควบคุมการก่อสร้างอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว ซึ่งหากบังคับใช้ขนาดถนน 16 เมตรเป็นเกณฑ์ในการก่อสร้างอาคารสูง ก็จะก่อให้เกิดข้อจำกัดด้านการก่อสร้าง ทำให้พื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ทางหลักเศรษฐศาสตร์ ขณะเดียวกันก็จะทำให้คนที่มีรายได้น้อยและปานกลาง ต้องถูกผลักให้ออกไปอยู่ในเขตพื้นที่ชานเมืองหรือนอกเมืองแทน ส่วนประเด็นอื่นๆ ของผังเมืองฉบับใหม่นั้น ทาง 3 สมาคมก็เห็นด้วย
นายเลิศมงคล วราเวณุชย์ เลขาธิการสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยกล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่มีการผ่อนปรนเพราะที่ผ่านมา ผู้ประกอบการกว้านซื้อที่ดินไว้หมดแล้วและเร่งขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อ พัฒนาก่อนที่ผังใหม่ประกาศ ซึ่ง ไม่มีปัญหาอะไรแต่ ระยะยาว หากห้าม สร้างคอนโดมิเนียมในซอย จะทำให้ผู้มีรายได้น้อย ไม่มีที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งแน่นอนว่า หาก คณะกรรมการผังเมืองหรือ บอร์ดใหญ่ ออกมา ห้ามพัฒนาในซอย 3 สมาคมจะทำทุกวิถีทางไม่ให้ผังเมืองรวมกทม.ใหม่ประกาศใช้
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,729 8-11 เมษายน พ.ศ. 2555
ด้านแหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า คณะอนุกรรมการผังเมือง มีมติให้ ที่ดินประเภท รหัส ย.1-ย.10 หรือ ที่ดินประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นน้อยถึงหนาแน่นมาก (เหลือง ส้ม น้ำตาล ) และ ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม พื้นที่สีแดง พ.1-พ.5 ให้ ปฏิบัติตาม ผังเมืองรวมกทม.ปี 2549 ที่หมดอายุลง ซึ่งสามารถพัฒนาคอนโดมิเนียมในซอยได้ โดยจะนำเสนอบอร์ดใหญ่อีกครั้งในเดือนเมษายนนี้
นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณคณะอนุกรรมการผังเมือง ที่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ 3 สมาคมด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเรียกร้องให้ใช้หลักเกณฑ์เดิม แทนที่จะกำหนดความกว้างของถนน 16 เมตร จึงจะก่อสร้างอาคารสูงได้
เนื่องจากเห็นว่าหลักเกณฑ์เดิมจะส่งผลดีต่อธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ทำให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง มีโอกาสซื้อคอนโดมิเนียมในเมืองใกล้ที่ทำงานระดับราคาเฉลี่ย 1 ล้านบาทได้ และจะส่งผลดีต่อการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในอนาคตด้วย
นอกจากนี้หาก ผังเมืองใหม่ยึดข้อกำหนดปี 2549 หรือ ผังเมืองเก่า สามารถพัฒนาคอนโดมิเนียม อาคารอยู่อาศัยอื่นๆ ขนาดถนนซอยตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไป สามารถสร้างสูงได้ไม่เกิน 23 เมตรหรือ 8 ชั้นตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินตามข้อบังคับผังเมือง ก็สามารถ ช่วยให้ ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยในเมืองใกล้แหล่งงาน ส่วนผลกระทบจาก ไฟไหม้ รถติด ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะมีระบบขนส่งมวลชน อย่างรถไฟฟ้า รวมถึง ทุกอาคารมีระบบป้องกันไฟไหม้
สอดคล้องกับ นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ประเด็นที่ 3 สมาคมได้ทำหนังสือให้คณะอนุกรรมการทบทวนมีเพียงเรื่องเดียว คือ ขนาดของถนน ที่เห็นว่าตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 นั้นออกมาควบคุมการก่อสร้างอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว ซึ่งหากบังคับใช้ขนาดถนน 16 เมตรเป็นเกณฑ์ในการก่อสร้างอาคารสูง ก็จะก่อให้เกิดข้อจำกัดด้านการก่อสร้าง ทำให้พื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ทางหลักเศรษฐศาสตร์ ขณะเดียวกันก็จะทำให้คนที่มีรายได้น้อยและปานกลาง ต้องถูกผลักให้ออกไปอยู่ในเขตพื้นที่ชานเมืองหรือนอกเมืองแทน ส่วนประเด็นอื่นๆ ของผังเมืองฉบับใหม่นั้น ทาง 3 สมาคมก็เห็นด้วย
นายเลิศมงคล วราเวณุชย์ เลขาธิการสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยกล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่มีการผ่อนปรนเพราะที่ผ่านมา ผู้ประกอบการกว้านซื้อที่ดินไว้หมดแล้วและเร่งขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อ พัฒนาก่อนที่ผังใหม่ประกาศ ซึ่ง ไม่มีปัญหาอะไรแต่ ระยะยาว หากห้าม สร้างคอนโดมิเนียมในซอย จะทำให้ผู้มีรายได้น้อย ไม่มีที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งแน่นอนว่า หาก คณะกรรมการผังเมืองหรือ บอร์ดใหญ่ ออกมา ห้ามพัฒนาในซอย 3 สมาคมจะทำทุกวิถีทางไม่ให้ผังเมืองรวมกทม.ใหม่ประกาศใช้
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,729 8-11 เมษายน พ.ศ. 2555