ปัจจุบันกระแสอาคารเขียวกำลังได้รับความสนใจมากขึ้นในประเทศไทย ส่งผลให้มีโครงการก่อสร้างอาคารเขียวและสถาปัตยกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น การก่อสร้างอาคารเขียวส่งผลในแง่บวกให้แก่เจ้าของอาคารและอสังหาริมทรัพย์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม
อาคารเขียวมีจุดกำเนิดมาจากแนวคิดในช่วงวิกฤติพลังงานระหว่างปี พ.ศ.2513 ทำให้หลายองค์กรในอเมริกาพากันระดมความคิดว่าควรจะมีข้อกำหนดเพื่อประเมินความเป็น "สีเขียว" ของอาคาร หลังจากนั้นบรรดาสถาปนิกในอเมริกาจึงจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้และค้นหาวิธีการออกแบบอาคารที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีองค์กรทยอยเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก
ในส่วนของบ้านเรานั้น สถานการณ์อาคารเขียวเริ่มตื่นตัวและได้รับการกล่าวถึงมาประมาณ 5 ปีแล้ว มีการก่อตั้งหน่วยงานและนักวิชาการที่มารับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ปัจจุบันมีการก่อตั้งสถาบันอาคารเขียวไทยเพื่อให้ความร่วมมือของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และสมาคมสถาปนิกสยาม หากเทียบสถานการณ์ของอาคารเขียวในประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศดูค่อนข้างจะล้าหลังพอสมควรในแง่ของจำนวนอาคารเขียวที่เกิดขึ้น แต่ก็ยังถือเป็นกลุ่มนำในอาเซียนเป็นรองก็เฉพาะสิงคโปร์ที่ให้ความใส่ใจในการก่อสร้างอาคารเขียวอย่างเป็นระบบมาก่อนแล้ว
แม้จะยังไม่มีกฎหมายบังคับแต่ไทยก็มีอาคารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารเขียวแล้วหลายแห่ง อาทิ อาคารปูนซิเมนต์ไทย สำนักงานปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีอาคารที่ได้รับการรับรองเรื่องคุณภาพของสภาพแวดล้อมภายในอาคารโดย บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รถไฟฟ้ามหานคร ศูนย์การค้ามาบุญครอง โรงแรมโอเรียนเต็ล ฯลฯ
สำหรับแนวทางในการสนับสนุนเพื่อให้เกิดความตื่นตัวของการก่อสร้างอาคารเขียวนั้น ทางกระทรวงพลังงานเริ่มหาแนวทางออกกฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ในการออกแบบอาคารเขียว นอกจากนี้ยังมีการกระตุ้นในด้านอื่นๆ ด้วยเพื่อช่วยลดต้นทุน ลดค่าวัสดุก่อสร้างลงตามโครงการต่างๆ โดยได้ออกประกาศใช้มาแล้วเป็นระยะ และในอนาคตจะมีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการก่อสร้างอาคารเขียวให้เพิ่มมากขึ้น
นายชัชวาลย์ คุณค้ำชู วิศวกรเชี่ยวชาญ กรมโยธาธิการและผังเมือง ผู้ดูแลการก่อสร้างอาคารเขียว กล่าวว่า "อาคารเขียวจะเป็นแนวโน้มโลกเราในปัจจุบัน มุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม อนาคตที่จะเกิดขึ้นคือ การมีทรัพยากรน้อยลง การเติบโตของประชากรมากขึ้น จะส่งผลให้มีการก่อสร้างอาคารเขียวมากขึ้น การพัฒนาเป็นอาคารเขียวก็คือ การใช้วัสดุที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า กรมโยธาและผังเมืองให้ความสำคัญกับอาคารเขียวเป็นอย่างมาก พร้อมพัฒนาให้เข้าใจในเรื่องอาคารเขียวอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การใช้วัสดุต่างๆ อย่างคุ้มค่า และเพื่อให้ประเทศไทยลดการนำเข้าพลังงาน"
หากอาคารในบ้านเราที่มีให้เห็นอยู่ดาษดื่น ทั้งที่ก่อสร้างเสร็จแล้วและที่กำลัวจะก่อสร้าง ทุกอาคารหันมาใส่ใจ หรือรัฐบาลกำหนดขึ้นมาเป็นมาตรฐาน หรือตั้งเป็นกฎเกณฑ์ที่ทุกอาคารต้องปฏิบัติ คงเกิดประโยชน์อย่างมากมาย มหาศาลเพราะอาคารสีเขียวใช้พลังงานน้อยกว่าอาคารปกติร้อยละ 40-50 และใช้น้ำน้อยกว่าร้อยละ 20-30 โดยแม้จะทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-8 แต่ค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้จะคืนทุนส่วนนี้ ภายใน 3-5 ปี
นายจักรพันธ์ ภวังคะรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ แมนเนจเม้นท์ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการหลายรายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มหันมาศึกษาและลงทุนพัฒนาอาคารสีเขียวมากขึ้นตามเทรนด์โลกที่ให้ความสำคัญต่อเรื่องอนุรักษ์และใส่ใจสีแวดล้อม เชื่อว่าในปีหน้าจะเห็นโครงการอาคารเขียวเปิดตัวเพิ่มขึ้น สอรับเทรนด์การตลาดสีเขียว
ในปัจจุบันองค์ธุรกิจจำนวนมากหันมาให้ความสำคัญกับผู้บริโภคเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีผ่านกลยุทธ์การตลาดสีเขียว ซึ่งหากภาคอสังหาริมทรัพย์หันมาพัฒนาอาคารสีเขียวมากขึ้น จะกระตุ้นตลาดวัสดุก่อสร้างประเภทผลิตภัณฑ์สีเขียวขยายตัวตามด้วยเช่นกัน มีโอกาสทำตลาดทั้งในและต่างประเทศ
"ต้นทุนการก่อสร้างอาคารเขียวสูงกว่าอาคารปกติไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ยกตัวอย่างต้นทุนก่อสร้างคอนโด 1 ห้องเฉลี่ย 2.5 หมื่นต่อตารางเมตร เพิ่มขึ้นอีก 2,500 บาทเท่านั้น เมื่อคิดเป็นราคาขาย เท่ากับต้นทุนเพิ่มราว 2.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในต่างประเทศมีผลการวิจัยออกมาแล้วว่าการก่อสร้างเป็นอาคารเขียวจะช่วยเพิ่มมูลค่าราคาขายให้กับอาคารอย่างน้อย 3-5 เปอร์เซ็นต์ การทำอาคารเขียวจึงเป็นสิ่งที่คุ้มค่าสร้างมูลค่าเพิ่มให้อาคาร" นายจักรพันธ์ กล่าว
สำหรับแนวทางพิจารณาอาคารเขียวโดยสถาบันอาคารเขียวโดยสถาบันอาคารเขียวไทยมี 5 เกณฑ์หลัก ประกอบด้วย มีพื้นที่สีเขียวโดยรอบอาคาร ประหยัดน้ำ 50 เปอร์เซ็นต์ ของอาคารทั่วไปประหยัดพลังงานอย่างน้อย 15 เปอร์เซ็นต์ของอาคารทั่วไปใช้วัสดุก่อสร้างและตกแต่งอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาจนำวัสดุรีไซเคิ่ลมาใช้ หรือเป็นวัสดุที่นำไปรีไซเคิ่ลได้ และต้องเป็นอาคารที่ไม่ใช้วัสดุที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ใช้อาคารและมีระบบปรับอากาศที่ดี
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ในส่วนของบ้านเรานั้น สถานการณ์อาคารเขียวเริ่มตื่นตัวและได้รับการกล่าวถึงมาประมาณ 5 ปีแล้ว มีการก่อตั้งหน่วยงานและนักวิชาการที่มารับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ปัจจุบันมีการก่อตั้งสถาบันอาคารเขียวไทยเพื่อให้ความร่วมมือของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และสมาคมสถาปนิกสยาม หากเทียบสถานการณ์ของอาคารเขียวในประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศดูค่อนข้างจะล้าหลังพอสมควรในแง่ของจำนวนอาคารเขียวที่เกิดขึ้น แต่ก็ยังถือเป็นกลุ่มนำในอาเซียนเป็นรองก็เฉพาะสิงคโปร์ที่ให้ความใส่ใจในการก่อสร้างอาคารเขียวอย่างเป็นระบบมาก่อนแล้ว
แม้จะยังไม่มีกฎหมายบังคับแต่ไทยก็มีอาคารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารเขียวแล้วหลายแห่ง อาทิ อาคารปูนซิเมนต์ไทย สำนักงานปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีอาคารที่ได้รับการรับรองเรื่องคุณภาพของสภาพแวดล้อมภายในอาคารโดย บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รถไฟฟ้ามหานคร ศูนย์การค้ามาบุญครอง โรงแรมโอเรียนเต็ล ฯลฯ
สำหรับแนวทางในการสนับสนุนเพื่อให้เกิดความตื่นตัวของการก่อสร้างอาคารเขียวนั้น ทางกระทรวงพลังงานเริ่มหาแนวทางออกกฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ในการออกแบบอาคารเขียว นอกจากนี้ยังมีการกระตุ้นในด้านอื่นๆ ด้วยเพื่อช่วยลดต้นทุน ลดค่าวัสดุก่อสร้างลงตามโครงการต่างๆ โดยได้ออกประกาศใช้มาแล้วเป็นระยะ และในอนาคตจะมีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการก่อสร้างอาคารเขียวให้เพิ่มมากขึ้น
นายชัชวาลย์ คุณค้ำชู วิศวกรเชี่ยวชาญ กรมโยธาธิการและผังเมือง ผู้ดูแลการก่อสร้างอาคารเขียว กล่าวว่า "อาคารเขียวจะเป็นแนวโน้มโลกเราในปัจจุบัน มุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม อนาคตที่จะเกิดขึ้นคือ การมีทรัพยากรน้อยลง การเติบโตของประชากรมากขึ้น จะส่งผลให้มีการก่อสร้างอาคารเขียวมากขึ้น การพัฒนาเป็นอาคารเขียวก็คือ การใช้วัสดุที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า กรมโยธาและผังเมืองให้ความสำคัญกับอาคารเขียวเป็นอย่างมาก พร้อมพัฒนาให้เข้าใจในเรื่องอาคารเขียวอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การใช้วัสดุต่างๆ อย่างคุ้มค่า และเพื่อให้ประเทศไทยลดการนำเข้าพลังงาน"
หากอาคารในบ้านเราที่มีให้เห็นอยู่ดาษดื่น ทั้งที่ก่อสร้างเสร็จแล้วและที่กำลัวจะก่อสร้าง ทุกอาคารหันมาใส่ใจ หรือรัฐบาลกำหนดขึ้นมาเป็นมาตรฐาน หรือตั้งเป็นกฎเกณฑ์ที่ทุกอาคารต้องปฏิบัติ คงเกิดประโยชน์อย่างมากมาย มหาศาลเพราะอาคารสีเขียวใช้พลังงานน้อยกว่าอาคารปกติร้อยละ 40-50 และใช้น้ำน้อยกว่าร้อยละ 20-30 โดยแม้จะทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-8 แต่ค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้จะคืนทุนส่วนนี้ ภายใน 3-5 ปี
นายจักรพันธ์ ภวังคะรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ แมนเนจเม้นท์ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการหลายรายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มหันมาศึกษาและลงทุนพัฒนาอาคารสีเขียวมากขึ้นตามเทรนด์โลกที่ให้ความสำคัญต่อเรื่องอนุรักษ์และใส่ใจสีแวดล้อม เชื่อว่าในปีหน้าจะเห็นโครงการอาคารเขียวเปิดตัวเพิ่มขึ้น สอรับเทรนด์การตลาดสีเขียว
ในปัจจุบันองค์ธุรกิจจำนวนมากหันมาให้ความสำคัญกับผู้บริโภคเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีผ่านกลยุทธ์การตลาดสีเขียว ซึ่งหากภาคอสังหาริมทรัพย์หันมาพัฒนาอาคารสีเขียวมากขึ้น จะกระตุ้นตลาดวัสดุก่อสร้างประเภทผลิตภัณฑ์สีเขียวขยายตัวตามด้วยเช่นกัน มีโอกาสทำตลาดทั้งในและต่างประเทศ
"ต้นทุนการก่อสร้างอาคารเขียวสูงกว่าอาคารปกติไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ยกตัวอย่างต้นทุนก่อสร้างคอนโด 1 ห้องเฉลี่ย 2.5 หมื่นต่อตารางเมตร เพิ่มขึ้นอีก 2,500 บาทเท่านั้น เมื่อคิดเป็นราคาขาย เท่ากับต้นทุนเพิ่มราว 2.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในต่างประเทศมีผลการวิจัยออกมาแล้วว่าการก่อสร้างเป็นอาคารเขียวจะช่วยเพิ่มมูลค่าราคาขายให้กับอาคารอย่างน้อย 3-5 เปอร์เซ็นต์ การทำอาคารเขียวจึงเป็นสิ่งที่คุ้มค่าสร้างมูลค่าเพิ่มให้อาคาร" นายจักรพันธ์ กล่าว
สำหรับแนวทางพิจารณาอาคารเขียวโดยสถาบันอาคารเขียวโดยสถาบันอาคารเขียวไทยมี 5 เกณฑ์หลัก ประกอบด้วย มีพื้นที่สีเขียวโดยรอบอาคาร ประหยัดน้ำ 50 เปอร์เซ็นต์ ของอาคารทั่วไปประหยัดพลังงานอย่างน้อย 15 เปอร์เซ็นต์ของอาคารทั่วไปใช้วัสดุก่อสร้างและตกแต่งอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาจนำวัสดุรีไซเคิ่ลมาใช้ หรือเป็นวัสดุที่นำไปรีไซเคิ่ลได้ และต้องเป็นอาคารที่ไม่ใช้วัสดุที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ใช้อาคารและมีระบบปรับอากาศที่ดี
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ