ผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่ใกล้ประกาศใช้ในปี 2555 หลัง ยื้อมานาน จนขาดอายุ ใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่น กฎหมายคุมอาคาร คุมเข้มแทน เผยมีกว่า 2,000 คำร้อง ขอเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ช่วงเปิดประชาพิจารณ์ ระบุความขัดแย้งในพื้นที่ระหว่างนายทุน-นักอนุรักษ์จบแล้ว
นายวิชัย ขจรปรีดานนท์ หัวหน้าโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าการปรับปรุง ร่างผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่ฉบับใหม่ว่า ขณะนี้ผ่านขั้นตอนสำคัญเกือบทั้งหมดแล้ว อาทิ ผ่านคณะกรรมการผังเมือง ผ่านคณะที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงมหาดไทย ตอนนี้ก็อยู่ระหว่างที่นำส่งสู่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจสอบ เมื่อถูกต้องเรียบร้อยแล้วก็จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับ คาดว่าอีกไม่นานก็จะออกมาใช้บังคับต่อเนื่องได้
ทั้งนี้ ผังเมืองรวมเชียงใหม่ ได้ ออกตามพระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่ง มีอยู่ 2 ผังด้วยกัน ผังแรก เป็นผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ ซึ่งผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ แบ่งโซนเป็น 12 โซน สีเขียว สีแดง สีเหลือง และสีต่างๆ มีถนนวงแหวนรอบกลาง ถนนวงแหวนรอบนอก พื้นที่ 429 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 7 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองเชียงใหม่,แม่ริม,แม่โจ้ ,สันทราย ,สารภี และหางดง
ที่ผ่านมา ผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ฉบับเดิมประกาศใช้มา 20 ปีแล้ว ก่อนหน้านั้นพอหมดอายุก็ต่อทีหนึ่ง ตอนนี้ก็มีถึงฉบับที่ปรับปรุงครั้งที่ 3 ฉบับที่ 4 ซึ่งผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่หมดอายุไปหลายปี ช่วงที่หมดอายุนี้ก็มีกฎหมายอื่นที่เข้ามาดูแล ทั้งข้อบัญญัติของท้องถิ่น เทศบัญญัติในพื้นที่บางส่วน และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ซึ่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารควบคุมความสูงต่างๆ เช่น ความสูงริมแม่น้ำปิง พื้นที่ริมแม่น้ำปิง แล้วก็ในรัศมีระยะ 100 เมตร จากศาสนสถาน วัด โบสถ์ มัสยิด
ส่วนผังฉบับที่ 2 ที่เตรียมประกาศใช้ คือ ผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่ ผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ไม่ใช่เฉพาะจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น ก่อนหน้านี้เรามีผังเมืองรวมเมือง ประมาณ 200-300 ผัง ก็จะควบคุมดูแลเฉพาะในพื้นที่ชุมชนเมือง เช่น เขตเทศบาล พื้นที่ต่อเนื่องต่างๆก็เป็นผังเมืองรวมเมือง 200 กว่าฉบับ เรามีผังเมืองที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด บางจังหวัด เช่น กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี เต็มทั้งพื้นที่ หรือว่าบางจังหวัดที่เป็นเกาะ เช่น ภูเก็ต ก็เต็มทั้งเกาะ แต่นอกจากที่กล่าวมาแล้วไม่มีผังที่ครอบคลุมทั้งจังหวัดเพิ่งจะเริ่มมีตอนนี้ ที่ผ่านมา ประกาศไปแล้ว 2 จังหวัด คือ จังหวัดสิงห์บุรี และสระบุรี แต่เดิมเมื่อเราส่งเสริมและครอบคลุมการพัฒนาในชุมชนเมืองบางทีก็มีปัญหาว่านักลงทุนก็อาจไม่สามารถลงทุนในเขตที่เราวางผังไว้ได้ก็ออกไปนอกเขตผังเมือง อาจจะทั้งโรงงานอุตสาหกรรม หรือว่าที่อยู่อาศัยหรือ พาณิชยกรรม ซึ่งเราไม่สามารถที่จะควบคุมดูแลได้ การพัฒนาก็กระจัดกระจายไป อาจจะลามไปอยู่ริมทะเล อยู่ในพื้นที่ๆไม่เหมาะสมในเขตต่างๆกระจัดกระจายไปทั้งโรงงานอุตสาหกรรม ทางรัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรียุคนั้นก็เลยมีมติว่าให้ทำผังเมืองจังหวัดให้คลุมทั้งจังหวัดทั่วประเทศไทย เมื่อทุกจังหวัดมาต่อกันแล้วก็จะมีผังเมืองควบคุมดูแลการพัฒนาทั้งประเทศต่อเนื่องกันไม่มีช่องว่างให้เข้าไปพัฒนา ที่ว่ามีรายการที่ขัดแย้งกันได้ อันนี้ก็เป็นที่มาซึ่งค่อนข้างจะหลายปีแล้ว
ปัจจุบันผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่เสร็จสิ้นแล้ว ก็เตรียมที่จะนำมาประกาศ จาก ที่ได้ประกาศ ไปแล้ว 2 จังหวัด คือที่ จังหวัดสิงห์บุรี และที่จังหวัดสระบุรี กำหนดว่าประมาณอีก 25 จังหวัดก็จะการทยอยประกาศ ออกมาเรื่อยๆก็คงจะหมดทั้งประเทศไทย เชียงใหม่อยู่ใน อันดับต้นๆ ซึ่ง 25 จังหวัดที่ว่าปัจจุบันนี้
สำหรับผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่ ครอบคลุมทั้ง 25 อำเภอ ใช้เขตการปกครองของจังหวัดเป็นเขตวางผัง แบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 โซน ด้วยกันตามอัตราหรือว่าดีกรีของการพัฒนาและการอนุรักษ์ ตัวที่พัฒนาได้กำหนดไว้ให้พัฒนาได้อย่างเหมาะสมก็คือ โซนที่ 1 พื้นที่สีชมพู คือพื้นที่ชุมชนเมือง ,โซนที่ 2 พื้นที่สีเขียว พื้นที่เกษตรกรรม ที่เป็นเกษตรกรรมชนบท พื้นที่นา สวนไร่ โซนที่ 3 พื้นที่ขาวทแยงเขียว คือพื้นที่เกษตรกรรมชนบท อนุรักษ์ชนบทคือกึ่งๆ ไม่ได้เป็นเกษตรกรรมเต็มตัว นอกจากเกษตรกรรมแล้วก็ต้องอนุรักษ์ควบคู่ไปด้วยเพราะว่าอาจจะเป็นพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อม หรือธรรมชาติ
โซนที่ 4 เป็นพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่สีเขียว เฉพาะของป่าไม้อันนี้เป็นพื้นที่ตามกฎหมายที่เป็นไปตามพะราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พันธุ์พืช ต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต้องสงวนเอาไว้ และโซนที่5 สุดท้าย เป็นพื้นที่โล่ง เพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม อาจจะเป็นพื้นที่น้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ ลำคลองต่างๆ จะเห็นได้ว่าผังเมืองรวมจังหวัดจะมีประเภทน้อยกว่าผังเมืองรวมเมือง
ที่เรียนไปข้างต้นจะเห็นว่าผังเมืองรวมจังหวัดมีแค่ 5 โซน กับผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ 12 โซน ผังเมืองรวมจังหวัดมีแค่ 5 ประเภทเป็นกรอบนโยบายควบคุมหรือพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบกว้างๆ ใน 5 ประเภทนี้ก็ยังกำหนดไว้ว่ากิจกรรมอะไรให้เกิดขึ้นได้บ้างและก็ห้ามกิจกรรมอะไรบ้างใน 5 ประเภทนี้ และในพื้นที่ๆกำหนดไว้เป็นพื้นที่ชุมชนเมืองที่กล่าวไว้ตอนแรกอันดับหนึ่งเป็นสีชมพู อันนี้ก็เป็นชุมชนเมือง ในพื้นที่ชุมชนเมืองเราก็จะมีผังเมืองรวมเมืองเข้าไปออกแบบ วางแผนในรายละเอียดทุกอย่าง อย่างเชียงใหม่ก็เป็นผังเมืองรวมเชียงใหม่เป็นสีชมพู
ในผังเมืองจังหวัด พอมาเป็นผังเมืองรวมก็จะแบ่งเป็นประเภท มีเขียว มีเหลือง มีแดง มีวงแหวนวงชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 รวมทั้งสันกำแพงด้วย รวมทั้งเวียงฝาง ต่อไปก็จะมีผังรายละเอียดขึ้นมา รวมทั้งจอมทอง หรือว่าชุมชนที่มีขนาดกลาง และขนาดลำดับ 2 ก็จะเริ่มทำก่อน เมื่อมีผังจังหวัดควบคุมดูแลการพัฒนาพื้นที่ทั้งจังหวัดแล้ว มีผังเมืองรวมลงในรายละเอียดของแต่ละเมืองแล้วก็เชื่อได้ในระดับหนึ่งว่าการพัฒนาไปสู่อนาคตที่เราพึงประสงค์ว่าเราอยากจะให้เมืองเราเป็นอย่างไร พัฒนาไปในเรื่องอะไร มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร เป็นเมืองน่าอยู่ต่อไปอันนี้ก็จะเป็นกลไกเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะดูแลให้มุ่งไปสู่อนาคตที่เราพึงประสงค์ร่วมกันต่อไปได้
นายวิชัย กล่าวอีกว่า คิดว่าการวางผังก็ต้องดูในความต้องการของทุกกลุ่มประชากร ประชาคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ต่างๆ การลงทุนของภาคธุรกิจเป็นส่วนสำคัญที่สุดอันหนึ่ง ต้องดูว่าจะมีพื้นที่ที่เพียงพอ สามารถที่จะมาลงทุนได้และก็ได้ประโยชน์กำไรกลับไปด้วย พื้นที่เหล่านี้ก็เตรียมเอาไว้ ไม่ใช่ว่ามีผังเมืองแล้ว จะไม่มีที่ที่จะให้พัฒนาแล้ว ซึ่งการคำนวณพื้นที่ตามผังเมืองทำไปล่วงหน้า 20 ปีจากอัตราการเพิ่มของกิจกรรม อัตราการเพิ่มของเศรษฐกิจ รวมทั้งประชากรต่างๆ ให้มีพื้นที่เพียงพอ แต่ไม่ได้หมายความว่าที่ตรงไหนจะพัฒนาเป็นอะไรก็ได้ ไม่ไช่ ภาคธุรกิจก็ต้องดูว่าจะพัฒนาตรงไหนได้ ประเภทอะไรได้ ก็ต้องมาตรวจสอบก่อน ก่อนที่จะตัดสินใจ ผมว่าก่อนที่จะตัดสินใจซื้อที่ดินมาแล้วก็จัดทำโครงการให้มันสอดคล้องกับผังเมือง สอดคล้องกับด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ประชากรด้วย ก็ต้องตรวจสอบ ไม่ใช่ว่าตรงไหนจะทำอะไรได้ทุกที่ แต่ว่าพื้นที่นี้ยืนยันและรับรองว่ามีเพียงพอสำหรับการขยายหรือการพัฒนาทางด้านธุรกิจ เศรษฐกิจ
ผังนี้เมื่อประกาศออกมาแล้วต้องก็ถือปฏิบัติตาม ในขณะเดียวกันก็อาจจะมีส่วน ที่สามารถแก้ไขได้ เพราะผังนี้ไม่ใช่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันคงไม่สมบูรณ์ 100% ถูกใจทุกคนได้ เมื่อมีการใช้บังคับแล้ว หากเราเห็นว่ามีรายการใด หรือว่าการกำหนดพื้นที่อะไรมันไม่เหมาะสมหรือว่ามันไม่ถูกต้อง หรือว่ามันไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เราก็สามารถที่จะเสนอขอแก้ไขได้ในบางประเด็น ในบางเรื่องโดยไม่ได้แก้ไขทั้งหมดทั้งผัง ผมคิดว่าเราจะทำควบคู่ขนานกันไปคือเมื่อประกาศใช้แล้ว มีการควบคุมแล้วเราก็ถือตรงนี้เป็นกฎกติกามารยาทที่จะต้องปฏิบัติร่วมกันของคนในสังคม
ในขณะเดียวกันเราก็เริ่มดูข้อมูล ศึกษาความต้องการรวมทั้งแนวโน้มต่างๆในอนาคตถ้าเห็นว่าผังนี้ไม่ดี หรือว่าเป็นอย่างไร จะแก้ไขตรงไหนก็ประชุมกันเลยเราก็มีคณะกรรมการด้านนี้อยู่ ซึ่งมีทั้งภาคเอกชนต่างๆ หอการค้า สภาอุตสาหกรรม ชมรมธนาคาร หรือว่ามหาวิทยาลัย ภาควิชาการ ภาคผู้นำชุมชน ท้องถิ่นต่างๆก็มาระดมความเห็นกัน ระดมว่ามันมีปัญหาหรือไม่ ประเด็นมันอยู่ตรงไหน เราจะแก้ไขตรงไหน ก็เสนอเข้าไป ซึ่งเราจะทำคู่ขนานกัน 2 อย่าง มีกฎกติกาด้วย และเริ่มศึกษาและก็แก้ไขด้วย
ในส่วนที่ประชาชนไม่เห็นด้วยกลุ่มอนุรักษ์ในบางจุด ผมคิดว่าส่วนใหญ่เห็นด้วยเพราะว่าผ่านขั้นตอนประชาคม รับฟังความคิดเห็นของประชาชน มีการประชุมแก้ไขให้เป็นไปตามความต้องการของพี่น้องประชาชน แล้วก็มีการปิดประกาศ 90 วัน รับคำร้องของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งก็มีคำร้อง 2,000 กว่าคำร้อง ทุกคำร้องก็เป็นคำร้องตามกฎหมาย ก็พิจารณาคำร้องตามเหตุผลข้อเท็จจริงความต้องการของพี่น้องประชาชนแล้วก็ถือข้อยุติ ซึ่งส่วนใหญ่แทบจะทั้งหมดก็ยอมรับในการตัดสินกับผังที่จะออกมา อันนี้เป็นผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ไปถึงข้อตอนกฤษฎีกาแล้วตอนนี้ ผมคิดว่าไม่น่ามีปัญหา ที่นี้อาจจะมีว่าเป็นบางรายที่พวกนักลงทุน หรือว่านักธุรกิจต่างๆก็จะต้องพิจารณาเป็นรายๆไป แต่ในภาพรวมส่วนใหญ่เห็นด้วยแทบทั้งหมด
"อยากจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าในระยะเวลาอันใกล้นี้ก็จะมีผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่ขึ้นมาเป็นกรอบการพัฒนาว่าจังหวัดเชียงใหม่ในอนาคต 20 ปีเราจะมุ่งให้ไปสู่อนาคตอย่างไรที่มันอยู่ด้วยกันได้ทั้งหมด ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม อัตลักษณ์ของพื้นที่เรา เรื่องของวัฒนธรรม แล้วก็ในขณะเดียวกันเราก็จะเร่งดำเนินการว่าในส่วนตรงไหนที่มันไม่ตรงกับข้อเท็จจริง หรือว่าความต้องการต่างๆของภาคส่วนต่างๆของสังคมเราก็จะเสนอให้มีการ พิจารณาทบทวนในประเด็นต่างๆเหล่านี้ จะประกาศ ก็ยังตอบไม่ได้ว่าจะประกาศเมื่อไหร่ ก็คิดว่าเร็วๆนี้ เข้าใจว่าขั้นตอนแทบจะทั้งหมดก็เกือบจะเสร็จสิ้นแล้วคาดว่าอีกไม่นานก็จะออกมาใช้บังคับ"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,723 18-21 มีนาคม พ.ศ. 2555
ทั้งนี้ ผังเมืองรวมเชียงใหม่ ได้ ออกตามพระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่ง มีอยู่ 2 ผังด้วยกัน ผังแรก เป็นผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ ซึ่งผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ แบ่งโซนเป็น 12 โซน สีเขียว สีแดง สีเหลือง และสีต่างๆ มีถนนวงแหวนรอบกลาง ถนนวงแหวนรอบนอก พื้นที่ 429 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 7 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองเชียงใหม่,แม่ริม,แม่โจ้ ,สันทราย ,สารภี และหางดง
ที่ผ่านมา ผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ฉบับเดิมประกาศใช้มา 20 ปีแล้ว ก่อนหน้านั้นพอหมดอายุก็ต่อทีหนึ่ง ตอนนี้ก็มีถึงฉบับที่ปรับปรุงครั้งที่ 3 ฉบับที่ 4 ซึ่งผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่หมดอายุไปหลายปี ช่วงที่หมดอายุนี้ก็มีกฎหมายอื่นที่เข้ามาดูแล ทั้งข้อบัญญัติของท้องถิ่น เทศบัญญัติในพื้นที่บางส่วน และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ซึ่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารควบคุมความสูงต่างๆ เช่น ความสูงริมแม่น้ำปิง พื้นที่ริมแม่น้ำปิง แล้วก็ในรัศมีระยะ 100 เมตร จากศาสนสถาน วัด โบสถ์ มัสยิด
ส่วนผังฉบับที่ 2 ที่เตรียมประกาศใช้ คือ ผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่ ผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ไม่ใช่เฉพาะจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น ก่อนหน้านี้เรามีผังเมืองรวมเมือง ประมาณ 200-300 ผัง ก็จะควบคุมดูแลเฉพาะในพื้นที่ชุมชนเมือง เช่น เขตเทศบาล พื้นที่ต่อเนื่องต่างๆก็เป็นผังเมืองรวมเมือง 200 กว่าฉบับ เรามีผังเมืองที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด บางจังหวัด เช่น กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี เต็มทั้งพื้นที่ หรือว่าบางจังหวัดที่เป็นเกาะ เช่น ภูเก็ต ก็เต็มทั้งเกาะ แต่นอกจากที่กล่าวมาแล้วไม่มีผังที่ครอบคลุมทั้งจังหวัดเพิ่งจะเริ่มมีตอนนี้ ที่ผ่านมา ประกาศไปแล้ว 2 จังหวัด คือ จังหวัดสิงห์บุรี และสระบุรี แต่เดิมเมื่อเราส่งเสริมและครอบคลุมการพัฒนาในชุมชนเมืองบางทีก็มีปัญหาว่านักลงทุนก็อาจไม่สามารถลงทุนในเขตที่เราวางผังไว้ได้ก็ออกไปนอกเขตผังเมือง อาจจะทั้งโรงงานอุตสาหกรรม หรือว่าที่อยู่อาศัยหรือ พาณิชยกรรม ซึ่งเราไม่สามารถที่จะควบคุมดูแลได้ การพัฒนาก็กระจัดกระจายไป อาจจะลามไปอยู่ริมทะเล อยู่ในพื้นที่ๆไม่เหมาะสมในเขตต่างๆกระจัดกระจายไปทั้งโรงงานอุตสาหกรรม ทางรัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรียุคนั้นก็เลยมีมติว่าให้ทำผังเมืองจังหวัดให้คลุมทั้งจังหวัดทั่วประเทศไทย เมื่อทุกจังหวัดมาต่อกันแล้วก็จะมีผังเมืองควบคุมดูแลการพัฒนาทั้งประเทศต่อเนื่องกันไม่มีช่องว่างให้เข้าไปพัฒนา ที่ว่ามีรายการที่ขัดแย้งกันได้ อันนี้ก็เป็นที่มาซึ่งค่อนข้างจะหลายปีแล้ว
ปัจจุบันผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่เสร็จสิ้นแล้ว ก็เตรียมที่จะนำมาประกาศ จาก ที่ได้ประกาศ ไปแล้ว 2 จังหวัด คือที่ จังหวัดสิงห์บุรี และที่จังหวัดสระบุรี กำหนดว่าประมาณอีก 25 จังหวัดก็จะการทยอยประกาศ ออกมาเรื่อยๆก็คงจะหมดทั้งประเทศไทย เชียงใหม่อยู่ใน อันดับต้นๆ ซึ่ง 25 จังหวัดที่ว่าปัจจุบันนี้
สำหรับผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่ ครอบคลุมทั้ง 25 อำเภอ ใช้เขตการปกครองของจังหวัดเป็นเขตวางผัง แบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 โซน ด้วยกันตามอัตราหรือว่าดีกรีของการพัฒนาและการอนุรักษ์ ตัวที่พัฒนาได้กำหนดไว้ให้พัฒนาได้อย่างเหมาะสมก็คือ โซนที่ 1 พื้นที่สีชมพู คือพื้นที่ชุมชนเมือง ,โซนที่ 2 พื้นที่สีเขียว พื้นที่เกษตรกรรม ที่เป็นเกษตรกรรมชนบท พื้นที่นา สวนไร่ โซนที่ 3 พื้นที่ขาวทแยงเขียว คือพื้นที่เกษตรกรรมชนบท อนุรักษ์ชนบทคือกึ่งๆ ไม่ได้เป็นเกษตรกรรมเต็มตัว นอกจากเกษตรกรรมแล้วก็ต้องอนุรักษ์ควบคู่ไปด้วยเพราะว่าอาจจะเป็นพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อม หรือธรรมชาติ
โซนที่ 4 เป็นพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่สีเขียว เฉพาะของป่าไม้อันนี้เป็นพื้นที่ตามกฎหมายที่เป็นไปตามพะราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พันธุ์พืช ต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต้องสงวนเอาไว้ และโซนที่5 สุดท้าย เป็นพื้นที่โล่ง เพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม อาจจะเป็นพื้นที่น้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ ลำคลองต่างๆ จะเห็นได้ว่าผังเมืองรวมจังหวัดจะมีประเภทน้อยกว่าผังเมืองรวมเมือง
ที่เรียนไปข้างต้นจะเห็นว่าผังเมืองรวมจังหวัดมีแค่ 5 โซน กับผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ 12 โซน ผังเมืองรวมจังหวัดมีแค่ 5 ประเภทเป็นกรอบนโยบายควบคุมหรือพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบกว้างๆ ใน 5 ประเภทนี้ก็ยังกำหนดไว้ว่ากิจกรรมอะไรให้เกิดขึ้นได้บ้างและก็ห้ามกิจกรรมอะไรบ้างใน 5 ประเภทนี้ และในพื้นที่ๆกำหนดไว้เป็นพื้นที่ชุมชนเมืองที่กล่าวไว้ตอนแรกอันดับหนึ่งเป็นสีชมพู อันนี้ก็เป็นชุมชนเมือง ในพื้นที่ชุมชนเมืองเราก็จะมีผังเมืองรวมเมืองเข้าไปออกแบบ วางแผนในรายละเอียดทุกอย่าง อย่างเชียงใหม่ก็เป็นผังเมืองรวมเชียงใหม่เป็นสีชมพู
ในผังเมืองจังหวัด พอมาเป็นผังเมืองรวมก็จะแบ่งเป็นประเภท มีเขียว มีเหลือง มีแดง มีวงแหวนวงชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 รวมทั้งสันกำแพงด้วย รวมทั้งเวียงฝาง ต่อไปก็จะมีผังรายละเอียดขึ้นมา รวมทั้งจอมทอง หรือว่าชุมชนที่มีขนาดกลาง และขนาดลำดับ 2 ก็จะเริ่มทำก่อน เมื่อมีผังจังหวัดควบคุมดูแลการพัฒนาพื้นที่ทั้งจังหวัดแล้ว มีผังเมืองรวมลงในรายละเอียดของแต่ละเมืองแล้วก็เชื่อได้ในระดับหนึ่งว่าการพัฒนาไปสู่อนาคตที่เราพึงประสงค์ว่าเราอยากจะให้เมืองเราเป็นอย่างไร พัฒนาไปในเรื่องอะไร มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร เป็นเมืองน่าอยู่ต่อไปอันนี้ก็จะเป็นกลไกเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะดูแลให้มุ่งไปสู่อนาคตที่เราพึงประสงค์ร่วมกันต่อไปได้
นายวิชัย กล่าวอีกว่า คิดว่าการวางผังก็ต้องดูในความต้องการของทุกกลุ่มประชากร ประชาคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ต่างๆ การลงทุนของภาคธุรกิจเป็นส่วนสำคัญที่สุดอันหนึ่ง ต้องดูว่าจะมีพื้นที่ที่เพียงพอ สามารถที่จะมาลงทุนได้และก็ได้ประโยชน์กำไรกลับไปด้วย พื้นที่เหล่านี้ก็เตรียมเอาไว้ ไม่ใช่ว่ามีผังเมืองแล้ว จะไม่มีที่ที่จะให้พัฒนาแล้ว ซึ่งการคำนวณพื้นที่ตามผังเมืองทำไปล่วงหน้า 20 ปีจากอัตราการเพิ่มของกิจกรรม อัตราการเพิ่มของเศรษฐกิจ รวมทั้งประชากรต่างๆ ให้มีพื้นที่เพียงพอ แต่ไม่ได้หมายความว่าที่ตรงไหนจะพัฒนาเป็นอะไรก็ได้ ไม่ไช่ ภาคธุรกิจก็ต้องดูว่าจะพัฒนาตรงไหนได้ ประเภทอะไรได้ ก็ต้องมาตรวจสอบก่อน ก่อนที่จะตัดสินใจ ผมว่าก่อนที่จะตัดสินใจซื้อที่ดินมาแล้วก็จัดทำโครงการให้มันสอดคล้องกับผังเมือง สอดคล้องกับด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ประชากรด้วย ก็ต้องตรวจสอบ ไม่ใช่ว่าตรงไหนจะทำอะไรได้ทุกที่ แต่ว่าพื้นที่นี้ยืนยันและรับรองว่ามีเพียงพอสำหรับการขยายหรือการพัฒนาทางด้านธุรกิจ เศรษฐกิจ
ผังนี้เมื่อประกาศออกมาแล้วต้องก็ถือปฏิบัติตาม ในขณะเดียวกันก็อาจจะมีส่วน ที่สามารถแก้ไขได้ เพราะผังนี้ไม่ใช่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันคงไม่สมบูรณ์ 100% ถูกใจทุกคนได้ เมื่อมีการใช้บังคับแล้ว หากเราเห็นว่ามีรายการใด หรือว่าการกำหนดพื้นที่อะไรมันไม่เหมาะสมหรือว่ามันไม่ถูกต้อง หรือว่ามันไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เราก็สามารถที่จะเสนอขอแก้ไขได้ในบางประเด็น ในบางเรื่องโดยไม่ได้แก้ไขทั้งหมดทั้งผัง ผมคิดว่าเราจะทำควบคู่ขนานกันไปคือเมื่อประกาศใช้แล้ว มีการควบคุมแล้วเราก็ถือตรงนี้เป็นกฎกติกามารยาทที่จะต้องปฏิบัติร่วมกันของคนในสังคม
ในขณะเดียวกันเราก็เริ่มดูข้อมูล ศึกษาความต้องการรวมทั้งแนวโน้มต่างๆในอนาคตถ้าเห็นว่าผังนี้ไม่ดี หรือว่าเป็นอย่างไร จะแก้ไขตรงไหนก็ประชุมกันเลยเราก็มีคณะกรรมการด้านนี้อยู่ ซึ่งมีทั้งภาคเอกชนต่างๆ หอการค้า สภาอุตสาหกรรม ชมรมธนาคาร หรือว่ามหาวิทยาลัย ภาควิชาการ ภาคผู้นำชุมชน ท้องถิ่นต่างๆก็มาระดมความเห็นกัน ระดมว่ามันมีปัญหาหรือไม่ ประเด็นมันอยู่ตรงไหน เราจะแก้ไขตรงไหน ก็เสนอเข้าไป ซึ่งเราจะทำคู่ขนานกัน 2 อย่าง มีกฎกติกาด้วย และเริ่มศึกษาและก็แก้ไขด้วย
ในส่วนที่ประชาชนไม่เห็นด้วยกลุ่มอนุรักษ์ในบางจุด ผมคิดว่าส่วนใหญ่เห็นด้วยเพราะว่าผ่านขั้นตอนประชาคม รับฟังความคิดเห็นของประชาชน มีการประชุมแก้ไขให้เป็นไปตามความต้องการของพี่น้องประชาชน แล้วก็มีการปิดประกาศ 90 วัน รับคำร้องของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งก็มีคำร้อง 2,000 กว่าคำร้อง ทุกคำร้องก็เป็นคำร้องตามกฎหมาย ก็พิจารณาคำร้องตามเหตุผลข้อเท็จจริงความต้องการของพี่น้องประชาชนแล้วก็ถือข้อยุติ ซึ่งส่วนใหญ่แทบจะทั้งหมดก็ยอมรับในการตัดสินกับผังที่จะออกมา อันนี้เป็นผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ไปถึงข้อตอนกฤษฎีกาแล้วตอนนี้ ผมคิดว่าไม่น่ามีปัญหา ที่นี้อาจจะมีว่าเป็นบางรายที่พวกนักลงทุน หรือว่านักธุรกิจต่างๆก็จะต้องพิจารณาเป็นรายๆไป แต่ในภาพรวมส่วนใหญ่เห็นด้วยแทบทั้งหมด
"อยากจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าในระยะเวลาอันใกล้นี้ก็จะมีผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่ขึ้นมาเป็นกรอบการพัฒนาว่าจังหวัดเชียงใหม่ในอนาคต 20 ปีเราจะมุ่งให้ไปสู่อนาคตอย่างไรที่มันอยู่ด้วยกันได้ทั้งหมด ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม อัตลักษณ์ของพื้นที่เรา เรื่องของวัฒนธรรม แล้วก็ในขณะเดียวกันเราก็จะเร่งดำเนินการว่าในส่วนตรงไหนที่มันไม่ตรงกับข้อเท็จจริง หรือว่าความต้องการต่างๆของภาคส่วนต่างๆของสังคมเราก็จะเสนอให้มีการ พิจารณาทบทวนในประเด็นต่างๆเหล่านี้ จะประกาศ ก็ยังตอบไม่ได้ว่าจะประกาศเมื่อไหร่ ก็คิดว่าเร็วๆนี้ เข้าใจว่าขั้นตอนแทบจะทั้งหมดก็เกือบจะเสร็จสิ้นแล้วคาดว่าอีกไม่นานก็จะออกมาใช้บังคับ"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,723 18-21 มีนาคม พ.ศ. 2555