จุฬาฯ เผยผลวิจัย พบ 60% คนต้องการซื้อคอนโดฯ 20% ซื้อคอนโดฯก่อนซื้อบ้าน ด้านพฤกษา ผู้ประกอบการปรับตัวรับมือตลาดเปลี่ยน -AEC เพิ่มศักยภาพทำงานกระจายลงทุนลดเสี่ยง เสริมสภาพคล่องรองรับลงทุนคอนโดฯ ด้านนายก ส.การขายฯ เชื่อบ้านแนวราบ 3-5 ล้านบาทยังมาแรง
วานนี้ (21 มี.ค. 55) สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ จัดงานสัมมนา เรื่อง"Mega Change กับการตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย นานาทัศนะ...สุดยอดนักการตลาด" โดยรศ.มานพ พงศทัต ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมการขายการตลาดอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2555 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่ลูกค้าชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงปลายปี 2554 ที่มีเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่
วานนี้ (21 มี.ค. 55) สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ จัดงานสัมมนา เรื่อง"Mega Change กับการตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย นานาทัศนะ...สุดยอดนักการตลาด" โดยรศ.มานพ พงศทัต ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมการขายการตลาดอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2555 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่ลูกค้าชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงปลายปี 2554 ที่มีเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่
ทั้งนี้ พิจารณาได้จากตัวเลขของงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 26 เมื่อวันที่15-18 มีนาคมที่ผ่านมา ตัวเลขผู้เข้าชมงานมากกว่า1 แสนคน และยอดจองซื้อที่อยู่อาศัยในงานกว่า3,000 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาการขาดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มคลี่คลายลงหลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายในการแก้ปัญหาระบบบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ผู้บริโภคบางส่วนเริ่มกลับเข้าไปซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่น้ำท่วมมากขึ้นเช่นกัน
นอกจากนี้ จากการสำรวจและวิจัยความต้องการที่อยู่อาศัย ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่า ผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ที่เกิดขึ้นไม่มีผลต่อการย้ายถิ่นฐานในการอยู่อาศัยของกลุ่มลูกค้าในตลาดระดับล่าง-กลาง เนื่องจากที่อยู่อาศัยเดิมเป็นที่อยู่อาศัยที่ใกล้แหล่งงานเดิมโดยกลุ่มลูกค้าระดับล่างจะหันไปเลือกใช้วิธีการเช่าแทนการซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคระดับกลางจะเลือกปรับปรุงซ่อมแซมบ้าน และยังอยู่อาศัยในพื้นที่เดิม ส่วนกลุ่มที่จะมีการย้ายที่อยู่อาศัยใหม่เป็นกลุ่มตลาดบนซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกขายที่อยู่เดิมแล้วหาซื้อบ้านใหม่ในทำเลปลอดน้ำท่วม
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเลือกที่อยู่อาศัยในอนาคตนั้นจะเทไปในกลุ่มที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นชนชั้นกลางที่เริ่มทำงานจะเลือกที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดฯ มากขึ้น ซึ่งจากการสำรวจของจุฬาฯ พบว่าคนรุ่นใหม่กว่า 60%ต้องการคอนโดมิเนียม โดยในจำนวนนี้มีกว่า20% เป็นกลุ่มที่ตัดสินใจซื้อคอนโดฯ ก่อนเลือกซื้อรถยนต์
จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการเลือกที่อยู่อาศัยในอนาคตของกลุ่มชนชั้นกลางจะเลือกซื้อคอนโดฯ มากขึ้น โดยในปี55 นี้สัดส่วนคอนโดฯ จะอยู่ที่ประมาณ 55% จากตลาดรวมที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 51% ในปี 54
ด้านนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การปรับตัวของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดในอนาคตและการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)ผู้ประกอบการจะต้องให้น้ำหนักใน 3 เรื่องหลักๆประกอบด้วย 1. การปรับเปลี่ยนระบบบริหารจัดการธุรกิจ โดยการเพิ่มศักยภาพการบริหารงานให้มีความคล่องตัวและทำงานได้รวดเร็ว 2.การปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ กระจายความเสี่ยงในการลงทุนโครงการใหม่มากขึ้น เช่น การกระจายทำเล และปรับตัวสินค้าให้ตรงต่อความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ให้มากที่สุด
และ 3. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเงิน หรือการบริหารจัดการหนี้และสภาพคล่องทางการเงินขององค์กรให้มีศักยภาพมากที่สุดเนื่องจากในอนาคตตลาดจะย้ายเข้าไปในกลุ่มที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดฯ มากขึ้น ซึ่งการลงทุนพัฒนาคอนโดฯนั้นผู้ประกอบการจะก่อหนี้มากขึ้น แต่รับรู้รายได้ช้าตามระยะเวลาการก่อสร้าง
ด้านนายไพโรจน์ สุขจั่น นายกสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่าภาพรวมตลาดอสังหาฯ ปี 55 ตลาดแนวราบต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว เนื่องจากทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการยังมีความกังวลในเรื่องของภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะในโซนพื้นที่เสี่ยงและแนวเส้นทางฟลัดเวย์ที่ภาครัฐได้กำหนด ดังนั้นทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคจึงมีการปรับตัวไม่ว่า จะเป็นเรื่องของทำเลที่ตั้งรูปแบบบ้าน ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการต้องเร่งสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และคาดว่าจะมีการแข่งขันสูงในบางทำเล โดยบ้านราคา 3-5 ล้านบาททำเลชานเมืองยังไปได้
อย่างไรก็ดี เชื่อว่าผู้ประกอบการได้กระจายความเสี่ยงโดยหันไปพัฒนาโครงการในจังหวัดท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น ชลบุรี พัทยาฯลฯ ขณะที่ในปี 58 ประเทศไทยจะเข้าสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแรงงานแหล่งเงินทุน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นด้วย
ด้านนายสมศักดิ์ ชุติศิลป์ กรรมการผู้จัดการบริษัท บี.ซี.พี.เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด กล่าวถึงสถานการณ์ตลาดบ้านมือสองว่า ภาพรวมตลาดยังคงชะลอตัว โดย 2 เดือนแรกของปีนี้ยอดขายยังลดลง 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2554 คาดว่าไตรมาส 2 ตลาดเริ่มฟื้นตัว โดยทำเลที่ยังเติบโตได้ดีจะอยู่ในโซนบางนา ศรีนครินทร์เป็นต้น สำหรับเรื่องAEC นั้นอาชีพโบรกเกอร์จะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากเนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายใดๆ รองรับใครๆ ก็สามารถทำได้ต่อไปต่างชาติจะมาบริหารการขายมากขึ้นจึงอยากให้ภาครัฐกำหนดคุณสมบัติให้ชัดเจน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
นอกจากนี้ จากการสำรวจและวิจัยความต้องการที่อยู่อาศัย ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่า ผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ที่เกิดขึ้นไม่มีผลต่อการย้ายถิ่นฐานในการอยู่อาศัยของกลุ่มลูกค้าในตลาดระดับล่าง-กลาง เนื่องจากที่อยู่อาศัยเดิมเป็นที่อยู่อาศัยที่ใกล้แหล่งงานเดิมโดยกลุ่มลูกค้าระดับล่างจะหันไปเลือกใช้วิธีการเช่าแทนการซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคระดับกลางจะเลือกปรับปรุงซ่อมแซมบ้าน และยังอยู่อาศัยในพื้นที่เดิม ส่วนกลุ่มที่จะมีการย้ายที่อยู่อาศัยใหม่เป็นกลุ่มตลาดบนซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกขายที่อยู่เดิมแล้วหาซื้อบ้านใหม่ในทำเลปลอดน้ำท่วม
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเลือกที่อยู่อาศัยในอนาคตนั้นจะเทไปในกลุ่มที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นชนชั้นกลางที่เริ่มทำงานจะเลือกที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดฯ มากขึ้น ซึ่งจากการสำรวจของจุฬาฯ พบว่าคนรุ่นใหม่กว่า 60%ต้องการคอนโดมิเนียม โดยในจำนวนนี้มีกว่า20% เป็นกลุ่มที่ตัดสินใจซื้อคอนโดฯ ก่อนเลือกซื้อรถยนต์
จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการเลือกที่อยู่อาศัยในอนาคตของกลุ่มชนชั้นกลางจะเลือกซื้อคอนโดฯ มากขึ้น โดยในปี55 นี้สัดส่วนคอนโดฯ จะอยู่ที่ประมาณ 55% จากตลาดรวมที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 51% ในปี 54
ด้านนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การปรับตัวของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดในอนาคตและการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)ผู้ประกอบการจะต้องให้น้ำหนักใน 3 เรื่องหลักๆประกอบด้วย 1. การปรับเปลี่ยนระบบบริหารจัดการธุรกิจ โดยการเพิ่มศักยภาพการบริหารงานให้มีความคล่องตัวและทำงานได้รวดเร็ว 2.การปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ กระจายความเสี่ยงในการลงทุนโครงการใหม่มากขึ้น เช่น การกระจายทำเล และปรับตัวสินค้าให้ตรงต่อความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ให้มากที่สุด
และ 3. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเงิน หรือการบริหารจัดการหนี้และสภาพคล่องทางการเงินขององค์กรให้มีศักยภาพมากที่สุดเนื่องจากในอนาคตตลาดจะย้ายเข้าไปในกลุ่มที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดฯ มากขึ้น ซึ่งการลงทุนพัฒนาคอนโดฯนั้นผู้ประกอบการจะก่อหนี้มากขึ้น แต่รับรู้รายได้ช้าตามระยะเวลาการก่อสร้าง
ด้านนายไพโรจน์ สุขจั่น นายกสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่าภาพรวมตลาดอสังหาฯ ปี 55 ตลาดแนวราบต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว เนื่องจากทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการยังมีความกังวลในเรื่องของภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะในโซนพื้นที่เสี่ยงและแนวเส้นทางฟลัดเวย์ที่ภาครัฐได้กำหนด ดังนั้นทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคจึงมีการปรับตัวไม่ว่า จะเป็นเรื่องของทำเลที่ตั้งรูปแบบบ้าน ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการต้องเร่งสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และคาดว่าจะมีการแข่งขันสูงในบางทำเล โดยบ้านราคา 3-5 ล้านบาททำเลชานเมืองยังไปได้
อย่างไรก็ดี เชื่อว่าผู้ประกอบการได้กระจายความเสี่ยงโดยหันไปพัฒนาโครงการในจังหวัดท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น ชลบุรี พัทยาฯลฯ ขณะที่ในปี 58 ประเทศไทยจะเข้าสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแรงงานแหล่งเงินทุน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นด้วย
ด้านนายสมศักดิ์ ชุติศิลป์ กรรมการผู้จัดการบริษัท บี.ซี.พี.เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด กล่าวถึงสถานการณ์ตลาดบ้านมือสองว่า ภาพรวมตลาดยังคงชะลอตัว โดย 2 เดือนแรกของปีนี้ยอดขายยังลดลง 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2554 คาดว่าไตรมาส 2 ตลาดเริ่มฟื้นตัว โดยทำเลที่ยังเติบโตได้ดีจะอยู่ในโซนบางนา ศรีนครินทร์เป็นต้น สำหรับเรื่องAEC นั้นอาชีพโบรกเกอร์จะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากเนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายใดๆ รองรับใครๆ ก็สามารถทำได้ต่อไปต่างชาติจะมาบริหารการขายมากขึ้นจึงอยากให้ภาครัฐกำหนดคุณสมบัติให้ชัดเจน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน