จากบทเรียนอุทกภัยครั้งใหญ่ ส่งผลกระทบรุนแรงไปทั้งประเทศ ไม่เว้นแม้แต่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร(กทม.)ที่หลายเขตต้องจมบาดาล ขณะที่รัฐบาล ภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศย้ำว่า หลังน้ำลด ได้ตั้งงบประมาณกว่า 900,000 ล้านบาท ฟื้นฟูประเทศแบบบูรณาการ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเหมือนปี 2554นี้
ทุ่มสาธารณูปโภคป้องน้ำท่วม
ทว่า การทุ่มงบประมาณครั้งนี้ ประเมินว่าได้มุ่งเน้นไปที่การเยียวยา เรื่องจิตใจ การซ่อมแซมบ้านเรือน สถานที่ราชการ สาธารณูปโภคเสียเป็นส่วนใหญ่ ในทางกลับกัน หัวใจสำคัญ ที่รัฐบาลต้องคำนึงถึงและต้องดำเนินการควบคู่กันไป ในงบประมาณก้อนโตก้อนนี้นั้นที่ต้องทำเป็นอันดับแรก และควรทำเป็นวาระแห่งชาติ ก็คือ การบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างเป็นระบบในระยะยาวมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น ทางด่วนน้ำ สะพานน้ำ อุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำ เหมือนต่างประเทศ แม้กระทั่ง เขื่อน เจ้าพระยาแห่งใหม่ การขุดคูคลองเก่าตามแม่น้ำสายต่างๆ ที่ช่วยให้ การเดินทางของน้ำสู่อ่าวไทยสั้นลง เฉกเช่น คลองลัดโพธิ์ ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งทุกอย่างจะต้องวางแผนอย่างรอบคอบรัดกุม เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งปัจจุบันและอนาคต ทั้งที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม ศูนย์การค้า สถานประกอบการต่างๆ
กระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นเด่นชัด จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ครั้งนี้ คือ ภาพบ้านจัดสรร จมน้ำกว่า 50,000 หน่วย ในพื้นที่ กทม. ปทุมธานี และนนทบุรี นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง แรงงานตกงานนับแสนราย นับเป็นภาพที่น่าตื่นตระหนกตกใจอย่างที่ไม่มีใครคาดถึง
ทุน-การเมืองเปลี่ยนสีผัง
แม้ผังเมืองรวมจังหวัด และผังเมืองชุมชน จะเข้มงวด มีการกำหนดกติกาชัดเจนว่าพื้นที่ไหนพัฒนาอะไร พื้นที่ไหน ห้ามสร้าง แต่แท้ที่จริงแล้ว ผังเมือง บ้านเรายังอ่อนแอมาก เพราะ
1. อะลุ้มอล่วยมากเกินไป หากใครขอปรับเปลี่ยน การใช้ประโยชน์ที่ดินได้มากขึ้น เช่น พื้นที่สีเขียว หรือ ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม ก็ขอปรับเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย พื้นที่ สีส้ม หรือ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เปลี่ยนเป็นพื้นที่ สีแดงหรือ ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม ทำให้พื้นที่ที่เคยเป็นที่โล่งว่างเป็นทางระบายน้ำสะดวก ก็มีการถมดินลงทุนพัฒนากันเต็มพื้นที่
2. ลักไก่พัฒนาในที่ห้ามสร้าง
3. งบประมาณมีจำกัด การวางผังเมืองในประเทศ ไม่ถึง 10% โดยจะเป็นลักษณะผังชุมชนมากกว่า ส่วนที่เหลือ จะเป็นพื้นที่ที่ ไม่มีผังเมืองควบคุม จึงเป็นช่องโหว่ที่ทำให้เกิดการพัฒนา ประกอบกับผังเมืองรวมจังหวัดที่ปูเต็มทั้งจังหวัดมีไม่กี่จังหวัด คือ กทม. ,นนทบุรี ,สมุทรปราการ เชียงใหม่ ภูเก็ต ฯลฯ ที่สำคัญผังมีอายุเพียง 5 ปีต่ออายุได้ 2 ครั้งครั้งละ 1ปี และการต่ออายุแต่ละครั้ง ค่อนข้างลำบาก มีเจ้าถิ่นต่อต้าน ส่งผลให้ ผังหมดอายุกลายเป็นสุญญากาศไปโดยปริยาย
อย่างไรก็ดี มาตรการทางผังเมือง นับเป็นอีกมิติหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อ การแก้ปัญหาน้ำท่วม ระยะยาว เพราะเกี่ยวเนื่องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินของทุกภาคส่วน จากการสอบถาม นายอุดม พัวสกุล อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง อธิบายว่าที่ผ่านมา มีการใช้ผังเมืองอย่างสะเปะสะปะ มีการถมดินสร้างที่อยู่อาศัย โรงงานผิดที่ผิดทาง สร้างในพื้นที่ห้ามสร้าง
โดยเฉพาะพื้นที่ เกษตรกรรม(พื้นที่สีเขียว) และพื้นที่อนุรักษ์เกษตรกรรม(สีเขียวทแยงขาว) ที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำ หรือ ฟลัดเวย์ เนื่องจากราคาที่ดินต่ำ ต้นทุนถูก โดยเฉพาะพื้นที่ชานเมือง รอยต่อของแต่ละจังหวัด ส่งผลให้ เกิดการขวางการไหลของน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วม รวมถึงการก่อสร้างถนน สะพาน ทางพิเศษ และมี บ้านจัดสรรพัฒนากระจายไปตามความเจริญ ยิ่งส่งผลให้ เกิดการขวางทางน้ำได้เช่นกัน
โยธาเร่งปูผังประเทศ
ทางออก ต้องปรับปรุงผังเมืองแบบบูรณาการ และ ต้อง วางผังเมืองรวมผืนเดียวทั้งประเทศ แบบไม่มีวันหมดอายุ ขณะเดียวกัน แต่ละจังหวัดจะต้องมีผังเมืองปูเต็มทั้งจังหวัด โดยให้ท้องถิ่นนำไปกำหนดรายละเอียดการใช้ประโยชน์ที่ดินและอนุมัติเอง โดยอายุผังเมืองต่อไป จะมีอายุ 10 ปีต่ออายุได้ 2 ครั้งครั้งละ2ปี และสามารถแก้ไขปรับเปลี่ยนได้ทุกเวลาหากพื้นที่นั้นมีการเปลี่ยนแปลง
นอกจากนี้ พื้นที่กทม.และปริมณฑล 6จังหวัดจะต้องเร่งออกผังเมืองที่บังคับใช้ร่วมกันเพื่อป้องกันการนำที่ดินแนวตะเข็บชายแดนของแต่ละเมืองไปพัฒนาโดยเฉพาะพื้นที่ห้ามสร้างที่เป็นร่องระบายน้ำ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ และ อยู่ระหว่างผลักดันร่างพ.ร.บ.ผังเมืองใหม่ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่เข้าสภาผู้แทนราษฎร
ขณะเดียวกันพื้นที่ไหนกำหนดให้เป็นโซนระบายน้ำ คูคลอง จะต้องกำหนดชัดเจน และกำหนด แนวถนน รถไฟฟ้า อนาคต อย่างไรก็ดี หากจำเป็นต้องสร้างถนนขวางทางน้ำต้องทำเป็นสะพานสูงมีทางลอดให้น้ำผ่านได้
ส่วนพื้นที่ไหนต้องนำไปทำสาธารณูปโภคของรัฐ อาทิ โครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม ควรออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.)เวนคืนทันที หรือ กำหนดเป็นผังเฉพาะ ที่สำคัญผังเมืองที่กำหนดโซนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่ควร กำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ หรือ โควตา ให้พัฒนา กิจการอื่น เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่เขียวลาย ต้องเก็บไว้เป็นที่โล่งว่างจริงๆ เป็นต้น
กทม.เน้นลดโลกร้อน
สอดคล้องกับ กทม. ที่ อยู่ระหว่างการยกร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ที่จะประกาศใช้ปี 2556 ที่จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับการลดโลกร้อน เน้นพื้นที่สีเขียว พื้นที่เว้นว่างมากๆ โดยเชิญชวนให้ เอกชนเว้นที่ว่างมากๆ พื้นทำสวนสาธารณะ ทางสาธารณะ ทำแก้มลิงส่วนตัวทุกหลัง เพื่อช่วยท้องถิ่นก่อนระบายออกสู่ทางสาธารณะ
หากเอกชนช่วยราชการก็จะได้สิทธิ์พัฒนาเพิ่ม ยอมรับผังเมืองใหม่ เข้มข้นเน้น อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น มากกว่าผังเดิมและไม่มี พื้นที่โควตาที่จะให้ พัฒนา อาคารสูงในพื้นที่ที่กำหนดเป็นบ้านแนวราบ ไม่ อนุญาตพัฒนาอาคารสูงอาคารขนาดใหญ่ในซอยเล็ก เช่น 6-10 เมตร เพราะถนนแคบเมืองแออัด ส่งผลกระทบด้านจราจรและ น้ำท่วมได้
ขณะเดียวกัน ต่อไปผังเมืองจะกำหนด โซนรับน้ำที่ชัดเจนเหมือนโซนตะวันออก ที่กำหนดไว้ ที่ 200-300 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งการกำหนดแนวถนนที่ไม่ขวางทางน้ำ แก้มลิงขนาดใหญ่ คูคลองที่จะเป็นช่องทางระบายน้ำเพิ่ม ที่ชัดเจน โดยห้ามนำไปพัฒนาบ้านจัดสรร
ปรับกระบวนยุทธ์
แม้ว่าบ้านจัดสรรจะถูกมองว่าเป็น ตัวการใหญ่ ขวางทางน้ำ แต่ความต้องการ ที่อยู่อาศัยยังมีสูง โดยเอกชนมักมองหาที่ดิน ที่เป็นต้นทุนที่ถูก แต่หากถูกจนเกินไป สาธารณูปโภครัฐเข้าไม่ถึงทั้งประปา ถนนหนทาง และ ยังเป็นพื้นที่ สีเขียว สีเขียวทแยงขาว ซึ่งเป็น พื้นที่ ระบายน้ำ เสี่ยงน้ำท่วม ย่อมเสี่ยงต่อการขายเช่นกันเพราะ ผู้บริโภค เห็นบทเรียนที่ชัดเจนแล้วว่าน้ำท่วมที่ไหนบ้างและทำเลไหนทำท่วมมาก น้ำท่วมปานกลางและน้ำท่วมน้อย จนกระทั่งไม่ท่วมเลย
แน่นอนว่า ผู้ประกอบการจะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการพัฒนา โดยเน้นที่ดินทำเลดี ดังที่กล่าวไปแล้ว ขณะเดียวกัน หากมีที่ดินอยู่ย่านน้ำท่วมแล้วหากประเมินว่าบ้านแนวราบจะเสี่ยงเกินไปก็ควรปรับเป็นแนวสูงอย่างคอนโดมิเนียม หรือ หากตลาดแนวราบยังมีความต้องการสูงโดยเฉพาะแนวรถไฟฟ้าชานเมือง ก็ควร ลงทุนทำระบบป้องกันน้ำท่วมเองโดยไม่ต้องพึ่งภาครัฐ เป็นต้น
นอกจากนี้ อาคารสูงอย่างคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน และโรงงาน จะต้องปรับตัว โดยทำระบบไว้ตอนกลางของอาคารหรือ บริเวณพื้นที่ที่พ้นน้ำ พอสมควร เช่นระบบควบคุมเครื่องจักร ระบบเครื่องจักร ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบควบคุมไฟฟ้า ประปา ลิฟต์ เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการมัก ต้องการพื้นที่ขายหรือ เช่าให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็ ลืมนึกไปว่า ความสูญเสียพร้อมจะเกิดขึ้นได้ เฉกเช่นน้ำท่วมใหญ่ในวันนี้
ทำกรีนเบล
อย่างไรก็ดี หากจำกันได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เคยมีพระราชดำรัส เมื่อปี 2523 ที่พระราชทานให้แก่ข้าราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชน ถึงการกันพื้นที่สีเขียว หรือ กรีนเบล ให้เป็นพื้นที่ว่าง เพื่อให้น้ำไหลผ่าน ป้องกันน้ำท่วม หากบ้านจัดสรร และโรงงาน ต้องการพัฒนา ก็ควรมีระบบ ป้องกันน้ำท่วมที่ดีพอ ที่จะรองรับได้ รวมถึง การเวนคืน ทางระบายน้ำ หรือคูคลอง ก็ต้อง ยอมเสียพื้นที่ที่อยู่อาศัยบ้างเพื่อส่วนรวม
เท่ากับว่า พระองค์ท่านทรงเล็งเห็นความสำคัญของ ผังเมืองประเทศแบบบูรณา ที่เน้น แนวพื้นที่สีเขียวป้องกันน้ำท่วมอย่างแท้จริง
แม้รัฐบาลจะทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาล เพื่อฟื้นฟูประเทศ และเยียวยาจิตใจ แต่อย่าลืม แผนลงทุนสร้างสาธารณูปโภคป้องกันน้ำท่วมและผังเมืองที่ เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเมืองแบบยั่งยืนไปพร้อมๆกัน
หากไม่ต้องการให้เหตุการณ์ซ้ำรอยอีกครั้ง !
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,688 17-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ทว่า การทุ่มงบประมาณครั้งนี้ ประเมินว่าได้มุ่งเน้นไปที่การเยียวยา เรื่องจิตใจ การซ่อมแซมบ้านเรือน สถานที่ราชการ สาธารณูปโภคเสียเป็นส่วนใหญ่ ในทางกลับกัน หัวใจสำคัญ ที่รัฐบาลต้องคำนึงถึงและต้องดำเนินการควบคู่กันไป ในงบประมาณก้อนโตก้อนนี้นั้นที่ต้องทำเป็นอันดับแรก และควรทำเป็นวาระแห่งชาติ ก็คือ การบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างเป็นระบบในระยะยาวมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น ทางด่วนน้ำ สะพานน้ำ อุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำ เหมือนต่างประเทศ แม้กระทั่ง เขื่อน เจ้าพระยาแห่งใหม่ การขุดคูคลองเก่าตามแม่น้ำสายต่างๆ ที่ช่วยให้ การเดินทางของน้ำสู่อ่าวไทยสั้นลง เฉกเช่น คลองลัดโพธิ์ ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งทุกอย่างจะต้องวางแผนอย่างรอบคอบรัดกุม เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งปัจจุบันและอนาคต ทั้งที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม ศูนย์การค้า สถานประกอบการต่างๆ
กระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นเด่นชัด จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ครั้งนี้ คือ ภาพบ้านจัดสรร จมน้ำกว่า 50,000 หน่วย ในพื้นที่ กทม. ปทุมธานี และนนทบุรี นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง แรงงานตกงานนับแสนราย นับเป็นภาพที่น่าตื่นตระหนกตกใจอย่างที่ไม่มีใครคาดถึง
ทุน-การเมืองเปลี่ยนสีผัง
แม้ผังเมืองรวมจังหวัด และผังเมืองชุมชน จะเข้มงวด มีการกำหนดกติกาชัดเจนว่าพื้นที่ไหนพัฒนาอะไร พื้นที่ไหน ห้ามสร้าง แต่แท้ที่จริงแล้ว ผังเมือง บ้านเรายังอ่อนแอมาก เพราะ
1. อะลุ้มอล่วยมากเกินไป หากใครขอปรับเปลี่ยน การใช้ประโยชน์ที่ดินได้มากขึ้น เช่น พื้นที่สีเขียว หรือ ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม ก็ขอปรับเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย พื้นที่ สีส้ม หรือ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เปลี่ยนเป็นพื้นที่ สีแดงหรือ ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม ทำให้พื้นที่ที่เคยเป็นที่โล่งว่างเป็นทางระบายน้ำสะดวก ก็มีการถมดินลงทุนพัฒนากันเต็มพื้นที่
2. ลักไก่พัฒนาในที่ห้ามสร้าง
3. งบประมาณมีจำกัด การวางผังเมืองในประเทศ ไม่ถึง 10% โดยจะเป็นลักษณะผังชุมชนมากกว่า ส่วนที่เหลือ จะเป็นพื้นที่ที่ ไม่มีผังเมืองควบคุม จึงเป็นช่องโหว่ที่ทำให้เกิดการพัฒนา ประกอบกับผังเมืองรวมจังหวัดที่ปูเต็มทั้งจังหวัดมีไม่กี่จังหวัด คือ กทม. ,นนทบุรี ,สมุทรปราการ เชียงใหม่ ภูเก็ต ฯลฯ ที่สำคัญผังมีอายุเพียง 5 ปีต่ออายุได้ 2 ครั้งครั้งละ 1ปี และการต่ออายุแต่ละครั้ง ค่อนข้างลำบาก มีเจ้าถิ่นต่อต้าน ส่งผลให้ ผังหมดอายุกลายเป็นสุญญากาศไปโดยปริยาย
อย่างไรก็ดี มาตรการทางผังเมือง นับเป็นอีกมิติหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อ การแก้ปัญหาน้ำท่วม ระยะยาว เพราะเกี่ยวเนื่องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินของทุกภาคส่วน จากการสอบถาม นายอุดม พัวสกุล อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง อธิบายว่าที่ผ่านมา มีการใช้ผังเมืองอย่างสะเปะสะปะ มีการถมดินสร้างที่อยู่อาศัย โรงงานผิดที่ผิดทาง สร้างในพื้นที่ห้ามสร้าง
โดยเฉพาะพื้นที่ เกษตรกรรม(พื้นที่สีเขียว) และพื้นที่อนุรักษ์เกษตรกรรม(สีเขียวทแยงขาว) ที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำ หรือ ฟลัดเวย์ เนื่องจากราคาที่ดินต่ำ ต้นทุนถูก โดยเฉพาะพื้นที่ชานเมือง รอยต่อของแต่ละจังหวัด ส่งผลให้ เกิดการขวางการไหลของน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วม รวมถึงการก่อสร้างถนน สะพาน ทางพิเศษ และมี บ้านจัดสรรพัฒนากระจายไปตามความเจริญ ยิ่งส่งผลให้ เกิดการขวางทางน้ำได้เช่นกัน
โยธาเร่งปูผังประเทศ
ทางออก ต้องปรับปรุงผังเมืองแบบบูรณาการ และ ต้อง วางผังเมืองรวมผืนเดียวทั้งประเทศ แบบไม่มีวันหมดอายุ ขณะเดียวกัน แต่ละจังหวัดจะต้องมีผังเมืองปูเต็มทั้งจังหวัด โดยให้ท้องถิ่นนำไปกำหนดรายละเอียดการใช้ประโยชน์ที่ดินและอนุมัติเอง โดยอายุผังเมืองต่อไป จะมีอายุ 10 ปีต่ออายุได้ 2 ครั้งครั้งละ2ปี และสามารถแก้ไขปรับเปลี่ยนได้ทุกเวลาหากพื้นที่นั้นมีการเปลี่ยนแปลง
นอกจากนี้ พื้นที่กทม.และปริมณฑล 6จังหวัดจะต้องเร่งออกผังเมืองที่บังคับใช้ร่วมกันเพื่อป้องกันการนำที่ดินแนวตะเข็บชายแดนของแต่ละเมืองไปพัฒนาโดยเฉพาะพื้นที่ห้ามสร้างที่เป็นร่องระบายน้ำ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ และ อยู่ระหว่างผลักดันร่างพ.ร.บ.ผังเมืองใหม่ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่เข้าสภาผู้แทนราษฎร
ขณะเดียวกันพื้นที่ไหนกำหนดให้เป็นโซนระบายน้ำ คูคลอง จะต้องกำหนดชัดเจน และกำหนด แนวถนน รถไฟฟ้า อนาคต อย่างไรก็ดี หากจำเป็นต้องสร้างถนนขวางทางน้ำต้องทำเป็นสะพานสูงมีทางลอดให้น้ำผ่านได้
ส่วนพื้นที่ไหนต้องนำไปทำสาธารณูปโภคของรัฐ อาทิ โครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม ควรออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.)เวนคืนทันที หรือ กำหนดเป็นผังเฉพาะ ที่สำคัญผังเมืองที่กำหนดโซนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่ควร กำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ หรือ โควตา ให้พัฒนา กิจการอื่น เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่เขียวลาย ต้องเก็บไว้เป็นที่โล่งว่างจริงๆ เป็นต้น
กทม.เน้นลดโลกร้อน
สอดคล้องกับ กทม. ที่ อยู่ระหว่างการยกร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ที่จะประกาศใช้ปี 2556 ที่จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับการลดโลกร้อน เน้นพื้นที่สีเขียว พื้นที่เว้นว่างมากๆ โดยเชิญชวนให้ เอกชนเว้นที่ว่างมากๆ พื้นทำสวนสาธารณะ ทางสาธารณะ ทำแก้มลิงส่วนตัวทุกหลัง เพื่อช่วยท้องถิ่นก่อนระบายออกสู่ทางสาธารณะ
หากเอกชนช่วยราชการก็จะได้สิทธิ์พัฒนาเพิ่ม ยอมรับผังเมืองใหม่ เข้มข้นเน้น อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น มากกว่าผังเดิมและไม่มี พื้นที่โควตาที่จะให้ พัฒนา อาคารสูงในพื้นที่ที่กำหนดเป็นบ้านแนวราบ ไม่ อนุญาตพัฒนาอาคารสูงอาคารขนาดใหญ่ในซอยเล็ก เช่น 6-10 เมตร เพราะถนนแคบเมืองแออัด ส่งผลกระทบด้านจราจรและ น้ำท่วมได้
ขณะเดียวกัน ต่อไปผังเมืองจะกำหนด โซนรับน้ำที่ชัดเจนเหมือนโซนตะวันออก ที่กำหนดไว้ ที่ 200-300 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งการกำหนดแนวถนนที่ไม่ขวางทางน้ำ แก้มลิงขนาดใหญ่ คูคลองที่จะเป็นช่องทางระบายน้ำเพิ่ม ที่ชัดเจน โดยห้ามนำไปพัฒนาบ้านจัดสรร
ปรับกระบวนยุทธ์
แม้ว่าบ้านจัดสรรจะถูกมองว่าเป็น ตัวการใหญ่ ขวางทางน้ำ แต่ความต้องการ ที่อยู่อาศัยยังมีสูง โดยเอกชนมักมองหาที่ดิน ที่เป็นต้นทุนที่ถูก แต่หากถูกจนเกินไป สาธารณูปโภครัฐเข้าไม่ถึงทั้งประปา ถนนหนทาง และ ยังเป็นพื้นที่ สีเขียว สีเขียวทแยงขาว ซึ่งเป็น พื้นที่ ระบายน้ำ เสี่ยงน้ำท่วม ย่อมเสี่ยงต่อการขายเช่นกันเพราะ ผู้บริโภค เห็นบทเรียนที่ชัดเจนแล้วว่าน้ำท่วมที่ไหนบ้างและทำเลไหนทำท่วมมาก น้ำท่วมปานกลางและน้ำท่วมน้อย จนกระทั่งไม่ท่วมเลย
แน่นอนว่า ผู้ประกอบการจะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการพัฒนา โดยเน้นที่ดินทำเลดี ดังที่กล่าวไปแล้ว ขณะเดียวกัน หากมีที่ดินอยู่ย่านน้ำท่วมแล้วหากประเมินว่าบ้านแนวราบจะเสี่ยงเกินไปก็ควรปรับเป็นแนวสูงอย่างคอนโดมิเนียม หรือ หากตลาดแนวราบยังมีความต้องการสูงโดยเฉพาะแนวรถไฟฟ้าชานเมือง ก็ควร ลงทุนทำระบบป้องกันน้ำท่วมเองโดยไม่ต้องพึ่งภาครัฐ เป็นต้น
นอกจากนี้ อาคารสูงอย่างคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน และโรงงาน จะต้องปรับตัว โดยทำระบบไว้ตอนกลางของอาคารหรือ บริเวณพื้นที่ที่พ้นน้ำ พอสมควร เช่นระบบควบคุมเครื่องจักร ระบบเครื่องจักร ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบควบคุมไฟฟ้า ประปา ลิฟต์ เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการมัก ต้องการพื้นที่ขายหรือ เช่าให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็ ลืมนึกไปว่า ความสูญเสียพร้อมจะเกิดขึ้นได้ เฉกเช่นน้ำท่วมใหญ่ในวันนี้
ทำกรีนเบล
อย่างไรก็ดี หากจำกันได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เคยมีพระราชดำรัส เมื่อปี 2523 ที่พระราชทานให้แก่ข้าราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชน ถึงการกันพื้นที่สีเขียว หรือ กรีนเบล ให้เป็นพื้นที่ว่าง เพื่อให้น้ำไหลผ่าน ป้องกันน้ำท่วม หากบ้านจัดสรร และโรงงาน ต้องการพัฒนา ก็ควรมีระบบ ป้องกันน้ำท่วมที่ดีพอ ที่จะรองรับได้ รวมถึง การเวนคืน ทางระบายน้ำ หรือคูคลอง ก็ต้อง ยอมเสียพื้นที่ที่อยู่อาศัยบ้างเพื่อส่วนรวม
เท่ากับว่า พระองค์ท่านทรงเล็งเห็นความสำคัญของ ผังเมืองประเทศแบบบูรณา ที่เน้น แนวพื้นที่สีเขียวป้องกันน้ำท่วมอย่างแท้จริง
แม้รัฐบาลจะทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาล เพื่อฟื้นฟูประเทศ และเยียวยาจิตใจ แต่อย่าลืม แผนลงทุนสร้างสาธารณูปโภคป้องกันน้ำท่วมและผังเมืองที่ เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเมืองแบบยั่งยืนไปพร้อมๆกัน
หากไม่ต้องการให้เหตุการณ์ซ้ำรอยอีกครั้ง !
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,688 17-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554